พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระค่าเช่าและการรับโอนสิทธิหน้าที่จากสัญญาเช่าเดิม ผู้เช่ามีหน้าที่ชำระค่าเช่า ณ ภูมิลำเนาผู้ให้เช่า
เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงกันให้ฝ่ายผู้ให้เช่าไปเก็บค่าเช่าจากผู้เช่าผู้เช่าจึงมีหน้าที่ไปชำระค่าเช่า ณ ภูมิลำเนาของผู้ให้เช่าฉะนั้น การที่ผู้ให้เช่าไม่ไปเก็บค่าเช่าจึงไม่เป็นข้อแก้ตัวให้ผู้เช่าพ้นความรับผิดในการผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271-1273/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าและการละเมิดสิทธิ โจทก์มีสิทธิแต่ผู้เดียวในการค้าขายสินค้ามีเครื่องหมายการค้านั้น
การที่คู่ความทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้แทนตนในคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 60 นั้น แม้การมอบอำนาจจะมีหนังสือมอบอำนาจก็ตาม แต่กฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าในการยื่นคำฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจนั้นติดมากับฟ้องด้วย ซึ่งต่างกับกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61,63 และ 64 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่าต้องยื่นใบแต่งทนาย แสดงใบมอบอำนาจ ทำหนังสือแต่งตั้งหรือยื่นใบมอบฉันทะต่อศาล ฉะนั้น แม้โจทก์จะมิได้ยื่นใบมอบอำนาจต่อศาลในขณะยื่นคำฟ้อง ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2508)
ผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า หาใช่จำกัดเฉพาะผู้ทำสินค้าขึ้นเท่านั้นไม่ แม้โจทก์จะมิใช่ผู้ประดิษฐ์หรือผลิตสินค้า แต่เป็นผู้รับโอนเครื่องหมายการค้าที่เจ้าของเดิมจดทะเบียนไว้ พร้อมด้วยกิจการบริการจำหน่ายสินค้าในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะค้าขายสินค้าที่มีเครื่องหมายซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้น ฉะนั้น การที่จำเลยสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าในบังคับแห่งสิทธิของโจทก์เข้ามาจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอม ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ เพราะการสั่งสินค้าเข้ามาจำหน่ายย่อมเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ติดมากับสินค้านั้นด้วย (วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 15/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินจากการยืมเงินเพื่อปลูกสร้าง: การโอนสิทธิยังไม่สมบูรณ์แบบ
จำเลยดำเนินการปลูกสร้างแต่ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์เพราะขาดเงิน จำเลยจึงยืมเงินผู้ร้องโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะทำการปลูกสร้างต่อไปให้แล้วเสร็จ ตึกแถวที่ปลูกสร้างนี้จำเลยจะเป็นผู้จัดหาผู้เช่าเข้ามาเช่าโดยตกลงทำสัญญากับผู้ร้องแต่ละห้อง และเจ้าของที่ดินได้ให้ความยินยอมด้วย จำเลยกับผู้ร้องยังได้ตกลงกันอีกว่า ถ้าจำเลยชำระเงินที่ยืมคืนเมื่อใด ผู้ร้องจะโอนสิทธิในการปลูกสร้าง รวมทั้งสิทธิให้เช่าตึกแถวแก่จำเลยทันที ผู้ร้องยังรับรองต่อไปด้วยว่า ถ้าจำเลยสร้างไม่เสร็จ ผู้ร้องจะเป็นผู้สร้างและออกทุนเองแทนจำเลย ปรากฏว่าจำเลยสร้างไม่เสร็จ ผู้ร้องจึงต้องปลูกสร้างต่อจนเสร็จ ข้อตกลงดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงเป็นผู้ทำการปลูกสร้างต่อไป รวมทั้งสิทธิที่จะทำสัญญาเช่ากับผู้เช่าที่จำเลยจัดหามาเท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์และสิทธิในการจัดหาคนมาเช่าก็ยังคงเป็นของจำเลยอยู่ตามเดิมและไม่เป็นการโอนสิทธิของจำเลยให้ผู้ร้องโดยเด็ดขาด ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินจากการยืมเงินปลูกสร้าง: การโอนสิทธิไม่สมบูรณ์และอำนาจร้องขัดทรัพย์
จำเลยดำเนินการปลูกสร้างแต่ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์เพราะขาดเงิน จำเลยจึงยืมเงินผู้ร้องโดยมีข้อตกลงว่า จำเลยจะทำการปลูกสร้างต่อไปให้แล้วเสร็จ ตึกแถวที่ปลูกสร้างนี้จำเลยจะเป็นผู้จัดหาผู้เช่าเข้ามาเช่าโดยตกลงทำสัญญากับผู้ร้องแต่ละห้องและเจ้าของที่ดินได้ให้ความยินยอมด้วยจำเลยกับผู้ร้องยังได้ตกลงกันอีกว่า ถ้าจำเลยชำระเงินที่ยืมคืนเมื่อใด ผู้ร้องจะโอนสิทธิในการปลูกสร้างรวมทั้งสิทธิให้เช่าตึกแถวแก่จำเลยทันที ผู้ร้องยังรับรองต่อไปด้วยว่า ถ้าจำเลยสร้างไม่เสร็จ ผู้ร้องจะเป็นผู้สร้างและออกทุนเองแทนจำเลย ปรากฏว่าจำเลยสร้างไม่เสร็จ ผู้ร้องจึงต้องปลูกสร้างต่อจนเสร็จ ข้อตกลงดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงเป็นผู้ทำการปลูกสร้างต่อไปรวมทั้งสิทธิที่จะทำสัญญาเช่ากับผู้เช่าที่จำเลยจัดหามาเท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์และสิทธิในการจัดหาคนมาเช่าก็ยังคงเป็นของจำเลยอยู่ตามเดิม และไม่เป็นการโอนสิทธิของจำเลยให้ผู้ร้องโดยเด็ดขาด ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 683/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิ การครอบครองปรปักษ์ และการฟ้องเรียกคืนการครอบครอง
ผู้ที่มิใช่เจ้าของที่ดิน ทำหนังสือสัญญาโอนขายที่ดินมือเปล่าที่อำเภอ แม้ผู้ซื้อจะได้รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต ก็ไม่ได้สิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299,1300
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าโจทก์ได้มอบให้จำเลยที่ 1 ดูแลจัดให้คนเช่าจำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทนั้นไปโอนขายให้แก่จำเลยที่2 โดยทำสัญญาซื้อขายกันที่อำเภอ จำเลยที่ 2 รับโอนไว้โดยสุจริต ดังนี้ แม้จะได้ความต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ได้ครอบครองที่พิพาทนั้นมาเกินกว่า 1 ปีแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็คงได้สิทธิไปเพียงเท่าที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ คือ มีฐานะเป็นผู้ยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์สืบต่อจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น จะถือว่าจำเลยที่ 2 แย่งการครอบครองจากโจทก์ยังไม่ได้ จนกว่าจำเลยที่ 2 จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมือเปล่าโจทก์ได้มอบให้จำเลยที่ 1 ดูแลจัดให้คนเช่าจำเลยที่ 1 เอาที่พิพาทนั้นไปโอนขายให้แก่จำเลยที่2 โดยทำสัญญาซื้อขายกันที่อำเภอ จำเลยที่ 2 รับโอนไว้โดยสุจริต ดังนี้ แม้จะได้ความต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ได้ครอบครองที่พิพาทนั้นมาเกินกว่า 1 ปีแล้วก็ตาม จำเลยที่ 2 ก็คงได้สิทธิไปเพียงเท่าที่จำเลยที่ 1 มีอยู่ คือ มีฐานะเป็นผู้ยึดถือที่พิพาทแทนโจทก์สืบต่อจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น จะถือว่าจำเลยที่ 2 แย่งการครอบครองจากโจทก์ยังไม่ได้ จนกว่าจำเลยที่ 2 จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิประทานบัตรทำเหมืองแร่ตามกฎหมาย และผลผูกพันตามสัญญาต่อทายาท
บ.ผู้ถือประทานบัตรทำเหมืองแร่ถึงแก่กรรม ทรัพย์สินของบ. ได้โอนตกมาเป็นของบริษัทโจทก์รวมทั้งประทานบัตรรายนี้ด้วยการที่คณะรัฐมนตรีต้องเป็นผู้อนุมัติให้บริษัทโจทก์ถือประทานบัตรสืบเนื่องจาก บ. ก็เพราะ พ.ร.บ.การทำเหมืองแร่ พ.ศ.2461 มาตรา 46 บัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐบาลที่จะอนุญาตในกรณีเข้าถือประทานบัตรสืบเนื่องจากเจ้าของเดิมผู้ถึงแก่กรรม ไม่ใช่เป็นเรื่องโจทก์ยื่นเรื่องราวขอประทานบัตรขึ้นใหม่เป็นคนละรายต่างหากโจทก์จึงรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่
ผ. ทำสัญญาให้ไว้แก่ บ. ยอมให้บ. ทำเหมืองแร่ในที่ดินของ ผ. ได้ตามเรื่องราวที่ขอประทานบัตร ต่อมาบ. ถึงแก่กรรม และบริษัทโจทก์ถือประทานบัตรนี้สืบเนื่องจากบ. ตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ดังกล่าวแล้ว ฝ่ายผ. ก็ถึงแก่กรรมและที่ดินของ ผ. ก็เป็นมรดกตกทอดแก่จำเลย โจทก์จำเลยย่อมรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของเดิม เมื่อจำเลยขัดขวางไม่ยอมให้บริษัทโจทก์เข้าทำเหมืองแร่ในที่ดินนี้. โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องร้องบังคับจำเลยได้
ผ. ทำสัญญาให้ไว้แก่ บ. ยอมให้บ. ทำเหมืองแร่ในที่ดินของ ผ. ได้ตามเรื่องราวที่ขอประทานบัตร ต่อมาบ. ถึงแก่กรรม และบริษัทโจทก์ถือประทานบัตรนี้สืบเนื่องจากบ. ตามพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่ดังกล่าวแล้ว ฝ่ายผ. ก็ถึงแก่กรรมและที่ดินของ ผ. ก็เป็นมรดกตกทอดแก่จำเลย โจทก์จำเลยย่อมรับโอนมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าของเดิม เมื่อจำเลยขัดขวางไม่ยอมให้บริษัทโจทก์เข้าทำเหมืองแร่ในที่ดินนี้. โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องร้องบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเฉพาะตัว: การโอนสิทธิในบ้านไม่ทำให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเช่า หากไม่มีสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดิน
แม้ผู้เช่าที่ดินของโจทก์เพื่อปลูกสร้างเคหะอยู่อาศัยจะได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ ก็ดี หากผู้เช่าที่ดินได้ขายฝากเฉพาะเคหะจนหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลย เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง เพราะสัญญาเช่าที่ดินเป็นการเฉพาะตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเฉพาะตัว: ผู้รับโอนสิทธิในบ้านไม่ได้รับความคุ้มครองหากไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับเจ้าของที่ดิน
แม้ผู้เช่าที่ดินของโจทก์เพื่อปลูกสร้างเคหะอยู่อาศัยจะได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ก็ดี หากผู้เช่าที่ดินได้ขายฝากเฉพาะเคหะจนหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยเมื่อจำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ ก็ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะสัญญาเช่าที่ดินเป็นการเฉพาะตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินแทนสินสอด และสิทธิเรียกร้องสินสอดเมื่อไม่จดทะเบียนสมรส
บิดามารดาของฝ่ายชายยกที่นามือเปล่าให้แก่มารดาของฝ่ายหญิงแทนเงินค่าสินสอด โดยทำหนังสือสัญญากันเองและได้ชี้เขตแบ่งแยกออกจากที่นาผืนใหญ่ของตน ทั้งมารดาของฝ่ายหญิงก็เข้าครอบครองที่นานั้นแล้ว ดังนี้ ถือได้ว่าสิทธิครอบครองที่นาส่วนนั้นตกได้แก่มารดาของฝ่ายหญิงแล้ว โดยไม่จำต้องไปจดทะเบียน
สิทธิของชายที่จะเรียกคืนสินสอดในกรณีที่การสมรสไม่สมบูรณ์เพราะขาดการจดทะเบียนนั้น จะต้องปรากฏว่าหญิงเป็นฝ่ายผิด ไม่ยอมจดทะเบียนสมรส
สิทธิของชายที่จะเรียกคืนสินสอดในกรณีที่การสมรสไม่สมบูรณ์เพราะขาดการจดทะเบียนนั้น จะต้องปรากฏว่าหญิงเป็นฝ่ายผิด ไม่ยอมจดทะเบียนสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าธรรมดา vs. สัญญาต่างตอบแทน, ระยะเวลาสัญญาเช่าที่ไม่จดทะเบียน, และการโอนสิทธิโดยไม่สุจริต
ในการทำสัญญาเช่าห้อง ผู้เช่าออกเงินให้ผู้ให้เช่า 5,000 บาท ในสัญญาเช่ากล่าวถึงว่าเป็นเงินค่าก่อสร้างค่าแป๊ะเจี๊ยะ เมื่อคดีได้ความว่าในขณะทำสัญญานี้ผู้ให้เช่ามีห้องพร้อมอยู่ แล้วไม่จำต้องก่อสร้างขึ้นแต่อย่างใด ดังนี้ เงินที่ผู้เช่าออกไปนั้น จึงไม่ใช่เงินค่าก่อสร้าง คงเป็นเงินกินเปล่าตามธรรมดาสัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาเช่าธรรมดา ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน
สัญญาเช่าที่ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน เมื่อกำหนดระยะเวลาเช่าไว้ 10 ปีโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่านั้น คงบังคับกันได้เพียง 3 ปี
สัญญาเช่าที่ไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทน เมื่อกำหนดระยะเวลาเช่าไว้ 10 ปีโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่านั้น คงบังคับกันได้เพียง 3 ปี