พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375-1437/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงานต่างประเทศ: ศาลพิพากษาชอบธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงาน และประเด็นค่าล่วงเวลา
โจทก์ทั้งหกสิบสามบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นตัวแทนทำสัญญาจ้างแรงงานแทนบริษัท ฤ. นายจ้างซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ในประเทศกาตาร์ แม้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้ว่าจ้างและส่งโจทก์ทั้งหกสิบสามไปทำงานที่ประเทศกาตาร์โดยเป็นตัวแทนของบริษัท ฤ. หรือฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นผู้ตกลงรับโจทก์ทั้งหกสิบสามเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ หากจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดในฐานะตัวแทนของตัวการที่อยู่ต่างประเทศหรือในฐานะนายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง ไม่ถือว่าศาลแรงงานกลางวินิจฉัยหรือพิพากษาเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดพยานหลักฐานในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามข้ออ้างในคำฟ้องหรือไม่เท่านั้น
โจทก์ทั้งหกสิบสามฟ้องขอให้จำเลยคืนหนังสือค้ำประกันธนาคารหรือออกหนังสือแสดงความยินยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชี เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยเรียกให้ธนาคารชำระเงินและธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันของโจทก์ทั้งหกสิบสามให้แก่จำเลยแล้ว จึงให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวคืนแก่โจทก์ทั้งหกสิบสาม ซึ่งเป็นการพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินที่ ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามที่เห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งหกสิบสามโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ให้จำเลยคืนเงินตามจำนวนที่โจทก์แต่ละคนวางไว้ที่ธนาคารเพื่อให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ให้โจทก์ทั้งหกสิบสามได้
โจทก์ทั้งหกสิบสามฟ้องขอให้จำเลยคืนหนังสือค้ำประกันธนาคารหรือออกหนังสือแสดงความยินยอมให้โจทก์ถอนเงินจากบัญชี เมื่อศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเลยเรียกให้ธนาคารชำระเงินและธนาคารได้ชำระเงินตามหนังสือค้ำประกันของโจทก์ทั้งหกสิบสามให้แก่จำเลยแล้ว จึงให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวคืนแก่โจทก์ทั้งหกสิบสาม ซึ่งเป็นการพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินที่ ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ศาลแรงงานกลางจึงมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตามที่เห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งหกสิบสามโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 ให้จำเลยคืนเงินตามจำนวนที่โจทก์แต่ละคนวางไว้ที่ธนาคารเพื่อให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ให้โจทก์ทั้งหกสิบสามได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11578/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมรณะของคู่ความระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องดำเนินการตามกฎหมายก่อนมีคำพิพากษา
ผู้คัดค้านถึงแก่ความตายก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ถือว่าผู้คัดค้านถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 6 จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 6 ที่จะมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาคดีไปโดยที่ยังมิได้ดำเนินการดังกล่าวนั้น เป็นการมิได้ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณาตามมาตรา 243 (2) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แล้วส่งสำนวนพร้อมคำพิพากษาคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 6 เพื่อสั่งเกี่ยวกับการมรณะของผู้คัดค้านแล้วมีคำพิพากษาใหม่ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 และมีคำสั่งรับฎีกาของผู้คัดค้านล้วนเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11242/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไต่สวนมูลฟ้องคดีเช็ค: ศาลต้องให้โอกาสสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติม แม้มีการเปลี่ยนแปลงพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา
โจทก์ไม่อ้างและนำเช็คทั้งสองฉบับตามฟ้องในคดีนี้เป็นพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยอ้างส่งเช็คที่เตรียมไว้ในคดีอื่นเป็นพยานในคดีนี้แทน ต่อมาได้มีการนำเช็คทั้งสองฉบับตามฟ้องมาเปลี่ยนและแนบไว้ในสำนวนหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีมีมูลแล้ว เห็นว่า แม้เช็คและใบคืนเช็คเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดี ในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แต่โจทก์ไม่ได้นำเช็คทั้งสองฉบับเข้าสืบและอ้างส่งเป็นพยานต่อศาลในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และต่อมามีการแก้ไขคำเบิกความของพยาน และนำเช็คทั้งสองฉบับมาเปลี่ยนและแนบไว้ในสำนวนซึ่งจำเลยฎีกาว่าเป็นการกระทำโดยไม่ชอบก็ตาม ก็ต้องถือว่าคดีนี้ได้มีการไต่สวนมูลฟ้องแล้ว ไม่ใช่คดีที่ยังไม่มีการไต่สวนมูลฟ้องตามที่จำเลยฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีมีมูลและให้ประทับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 ส่วนการที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยหรือพิพากษายกฟ้อง เป็นเรื่องที่คู่ความจะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ซึ่งโจทก์สามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพิ่มเติม รวมทั้งอ้างเช็คทั้งสองฉบับตามฟ้องซึ่งโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้วนอกเหนือจากที่นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ ที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์และพิพากษายกฟ้องโดยไม่ให้โอกาสโจทก์นำสืบพยานหลักฐานจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11235/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลสั่งจำหน่ายคดีให้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยไม่นำข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อนเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในสัญญาที่ตกลงกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจไม่ช้ากว่าวันยื่นคำให้การหรือภายในระยะเวลาที่มีสิทธิยื่นคำให้การตามกฎหมายให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้คู่สัญญาไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ทำคำร้องยื่นต่อศาลให้มีคำสั่งจำหน่ายคดีภายในกำหนดระยะเวลาตามความใน พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 14 แต่ได้ยื่นคำให้การโต้แย้งไว้แล้วว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยไม่ดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการก่อน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์ให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุดังกล่าว และแม้คำให้การจำเลยที่ 1 จะปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในเรื่องอื่น ๆ ด้วยและขอให้ยกฟ้อง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 สละข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามที่ระบุไว้ในสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาล และความรับผิดชอบต่อทนายความที่แต่งตั้ง
ตาม ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 หมวด 1 วิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ไม่นำวิธีพิจารณาคดีสามัญมาใช้บังคับ จำเลยได้ยื่นคำให้การฉบับแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 ก่อนวันกำหนดนัดไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน จึงยังมีเวลาที่จำเลยจะยื่นคำร้องแก้ไขคำให้การได้อีกจนกว่าจะถึงวันนัด ครั้นถึงวันนัด คู่ความประสงค์จะเจรจาตกลงกันศาลชั้นต้นจึงอนุญาตให้เลื่อนคดีไปเป็นวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ดังนั้นจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้อีกจนถึงวันดังกล่าว แม้ตาม ป.วิ.พ มาตรา 193 วรรคสี่ บัญญัติว่า ถ้าจำเลยไม่ให้การตามวรรคสาม ให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งไม่ยอมเลื่อนเวลาให้จำเลยยื่นคำให้การ โดยให้ถือว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ก็ตาม แต่กรณีนี้ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำให้การไว้ภายในกำหนดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2551 ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้จำเลยเลื่อนยื่นคำให้การได้ซึ่งหมายรวมถึงการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ด้วย ทั้งปรากฏว่าในวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ซึ่งเป็นวันนัดไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยาน ที่เลื่อนมาจำเลยได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การ ศาลชั้นต้นได้จ่ายสำเนาให้ พ. ทนายโจทก์รับสำเนาแล้ว ทนายโจทก์ไม่ค้าน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามคำร้องดังกล่าว คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเป็นการสั่งโดยชอบ หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบ โจทก์ต้องโต้แย้ง แต่โจทก์ก็มิได้โต้แย้งคำสั่งศาลดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งคำสั่งให้รับคำให้การอันเป็นคำคู่ความเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานอกจากที่ระบุไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 227 และมาตรา 228 เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลจดข้อโต้แย้งนั้นลงในรายงานหรือยื่นคำแถลงโต้แย้งเป็นหนังสือ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ทราบการยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยดังกล่าวเพราะทนายโจทก์ฉ้อฉลไม่แจ้งให้โจทก์ทราบนั้น เห็นว่า โจทก์เป็นผู้แต่งตั้ง พ. เป็นทนายความของโจทก์มีอำนาจในการว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ รวมทั้งการจำหน่ายสิทธิของโจทก์ได้ด้วย โจทก์ในฐานะตัวการจึงต้องผูกพันและรับผิดชอบในสิ่งที่ พ. ตัวแทนของโจทก์กระทำไปภายในขอบอำนาจที่โจทก์มอบหมายด้วย ข้ออ้างของโจทก์ที่ปฏิเสธไม่รับรู้การปฏิบัติหน้าที่ของ พ. จึงไม่มีเหตุผลรับฟัง ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยไว้โดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10242/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามสิทธิเรียกร้องทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องจากคดีอาญา ศาลต้องยึดตามข้อเท็จจริงที่ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุด
การฟ้องขอให้ศาลบังคับตามสิทธิเรียกร้องในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องมาจากการกระทำความผิดอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งหมายถึงข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นโดยตรงที่เป็นประเด็นสำคัญและศาลต้องฟังยุติมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว มิใช่ประเด็นปลีกย่อย
คดีแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาเพียงว่า จำเลยได้บุกรุกที่ดินพิพาทจริง ส่วนปัญหาว่าจำเลยบุกรุกเป็นเนื้อที่เท่าใด เป็นข้อปลีกย่อยที่จะต้องนำสืบรายละเอียดกันในชั้นพิจารณา
คดีแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาเพียงว่า จำเลยได้บุกรุกที่ดินพิพาทจริง ส่วนปัญหาว่าจำเลยบุกรุกเป็นเนื้อที่เท่าใด เป็นข้อปลีกย่อยที่จะต้องนำสืบรายละเอียดกันในชั้นพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9832-9836/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาล การลงชื่อรับเงินไม่ถือเป็นการยินยอมเลิกจ้าง
การที่โจทก์ทั้งห้าลงชื่อรับเงินสิทธิประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายคุ้มครองแรงงานในหนังสือยกเลิกสัญญาจ้างที่จำเลยทำขึ้นโดยไม่มีข้อความใดว่าโจทก์ทั้งห้าขอลาออกจากการเป็นลูกจ้าง ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งห้าลาออกด้วยความสมัครใจ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างของจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 จำเลยต้องรับโจทก์ทั้งห้ากลับเข้าทำงาน แต่เมื่อระหว่างเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าไม่ได้ทำงานให้จำเลย จึงนำเอาระยะเวลาดังกล่าวรวมเข้าเป็นอายุงานด้วยไม่ได้ คงนับอายุงานใหม่ต่อจากอายุงานเดิมที่คำนวณถึงวันก่อนวันเลิกจ้างเท่านั้น
โจทก์ทั้งห้าบรรยายฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่ชอบ เป็นการตั้งประเด็นโดยตรงว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการขอให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อการเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าจึงเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างที่ถูกเลิกจ้างได้
โจทก์ทั้งห้าบรรยายฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่ชอบ เป็นการตั้งประเด็นโดยตรงว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการขอให้ชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 เมื่อการเลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งห้าจึงเรียกร้องค่าเสียหายระหว่างที่ถูกเลิกจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8331-8332/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีเช็คหลายฉบับ ศาลไม่เกินคำขอแม้ไม่ได้ขอให้นับโทษต่อกัน
ป.วิ.อ.มาตรา 158 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ไม่ได้ระบุให้โจทก์ต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับการขอให้นับโทษจำคุกในแต่ละกระทงติดต่อกันหรือขอให้รวมโทษในแต่ละกระทง เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องระบุวันที่จำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คทั้งเจ็ดฉบับต่างวันกัน และจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ แสดงว่าจำเลยทั้งสองเจตนาสั่งจ่ายเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องหรือมีคำขอให้ศาลพิพากษานับโทษจำคุกแต่ละกระทงติดต่อกันหรือขอให้รวมโทษในคำฟ้องแต่ละสำนวน ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสองในแต่ละสำนวนทุกกรรมเป็นกระทงความผิดและรวมโทษในแต่ละสำนวนได้ ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง จึงต้องนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 มาใช้บังคับ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499กับกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 นำ ป.วิ.พ. มาตรา 225 มาใช้บังคับกับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง จึงต้องนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 มาใช้บังคับ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499กับกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 นำ ป.วิ.พ. มาตรา 225 มาใช้บังคับกับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8268/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับตามสัญญาประกัน เนื่องจากไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรงกับศาล
ตามสัญญาประกันมีผู้ประกันเป็นผู้ทำสัญญาประกันต่อศาล ผู้ประกันจึงเป็นคู่สัญญากับศาล หากมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าวผู้ประกันเป็นฝ่ายอาจถูกบังคับตามสัญญาประกันแต่เพียงผู้เดียว จำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงไม่จำต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกัน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8136/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่เพิกถอนการยึดทรัพย์แทนเจ้าพนักงานบังคับคดี หากไม่ได้โต้แย้งการยึดตั้งแต่แรก
การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดห้องชุดของจำเลยเพื่อนำออกขายทอดตลาด หากจำเลยเห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวเกินกรณีจำเป็นแก่การบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยชอบที่จะโต้แย้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้วินิจฉัยว่าการยึดชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดียื่นคำร้องขอถอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเพราะไม่มีพยานมาไต่สวน จึงเป็นเรื่องระหว่างศาลกับเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยซึ่งไม่ได้โต้แย้งการยึดและมีคำขอให้เพิกถอนการยึดมาตั้งแต่ต้น จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องแทนเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้