พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา: ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาคำร้องให้คู่ความก่อน
ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ บัญญัติหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า ผู้อุทธรณ์จะต้องทำเป็นคำร้องมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์และส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องแก่จำเลยอุทธรณ์แล้ว หากไม่มีคู่ความอื่นยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 และจำเลยอุทธรณ์มิได้คัดค้านคำร้องดังกล่าวต่อศาลภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ ก็ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องนั้นว่าจะอนุญาตหรือไม่และให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด สำหรับคดีนี้ปรากฏว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายพร้อมคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตคำร้องของโจทก์ไปทันทีโดยที่ยังมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้คู่ความฝ่ายหนึ่งมีโอกาสคัดค้าน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่อาจมีผลทำให้อุทธรณ์ของโจทก์ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวโดยชอบได้ คดีจึงยังไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกา ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของโจทก์ให้ได้ และการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนการพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง แต่เนื่องจากคดีนี้ได้พ้นระยะเวลาที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำแก้อุทธรณ์แล้ว จึงเห็นสมควรกำหนดระยะเวลาให้จำเลยทั้งสองยื่นคำคัดค้านไว้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาล: คำสั่งที่ไม่ใช่การยกคำร้องขอทำคดีอนาถา ต้องอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน
อุทธรณ์ของผู้ร้องเป็นอุทธรณ์ที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โดยอ้างว่าผู้ร้องทิ้งคำร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมิได้สั่งในเนื้อหาของคำร้องดังกล่าวของผู้ร้องแต่ประการใด จึงมิได้เป็นคำสั่งที่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งผู้ร้องจะต้องอุทธรณ์ภายใน 7 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย แต่คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านได้ภายในกำหนด 1 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 ข้อเท็จจริงได้ความตามท้องสำนวนว่าผู้ร้องทราบคำสั่งยกคำร้องของศาลชั้นต้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2548 ซึ่งยังไม่พ้นกำหนด 1 เดือน ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะรับอุทธรณ์ของผู้ร้องไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลอนุญาตได้หากเชื่อโดยสุจริตและมีเหตุผลอันสมควร
โจทก์ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปเพียง 1 เดือน นับแต่วันที่ครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งระยะเวลาที่ขอขยายดังกล่าวประกอบกับเป็นการขอขยายเป็นครั้งแรกย่อมอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะคาดหมายว่าศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้ตามขอ โจทก์จึงเชื่อโดยสุจริตว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาตามขอ แต่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาน้อยกว่าที่ขอ ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าการที่โจทก์ไม่สามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในครั้งที่ 2 ได้ก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้ขยายในครั้งแรกเป็นเหตุสุดวิสัย ที่ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาครั้งที่ 2 เพราะเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 229 ป.วิ.พ. เฉพาะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งที่กระทบคำพิพากษาเท่านั้น
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย..." บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่น ๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ให้ยกคำร้อง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้ไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับแต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีอาญา: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในสำนวนแล้ววินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดอาญาตามฟ้อง การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์นำสืบจึงไม่มีเจตนา พิพากษายกฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จและจำเลยมีเจตนาแจ้งความเท็จ เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับอนุญาตหรือมีการรับรองให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ
ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าการที่จำเลยแจ้งข้อความว่าโจทก์เอาสมุดบันทึกของ อ. ไป เป็นการกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนและเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
ส่วนอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยว่าการที่จำเลยแจ้งข้อความว่าโจทก์เอาสมุดบันทึกของ อ. ไป เป็นการกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เป็นการวินิจฉัยผิดจากพยานหลักฐานในสำนวนนั้น เป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนและเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอนาถาต้องมีเหตุผลสมควรในการอุทธรณ์ มิใช่แค่ยากจน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ที่บัญญัติให้ผู้ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถามีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขออนาถาของตนใหม่ได้ก็เฉพาะเพื่ออนุญาตให้ผู้ขอนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมในประเด็นที่ว่าผู้ขอเป็นคนยากจนเท่านั้น หาได้ให้สิทธิแก่ผู้ขอที่จะขอให้ศาลพิจารณาใหม่ในประเด็นว่าคดีของผู้ขอมีเหตุอันสมควรจะอุทธรณ์ด้วยไม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองด้วยเหตุผลที่ว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายใน 7 วัน ย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย ประเด็นที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ย่อมยุติ จำเลยทั้งสองขอให้ศาลพิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ในประเด็นดังกล่าวอีกไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอใหม่ก็ได้แต่เฉพาะประเด็นเรื่องจำเลยทั้งสองเป็นคนยากจนเท่านั้น ส่วนการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์นั้นนอกจากผู้ขอจะเป็นคนยากจนแล้ว คดีของผู้ขอต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ศาลจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองนำพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมก็ตาม คดีก็ต้องฟังตามข้อยุติว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟัง ทั้งกำหนดเวลาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองนำค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้วได้
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองด้วยเหตุผลที่ว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายใน 7 วัน ย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย ประเด็นที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุสมควรที่จะอุทธรณ์ย่อมยุติ จำเลยทั้งสองขอให้ศาลพิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ในประเด็นดังกล่าวอีกไม่ได้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอใหม่ก็ได้แต่เฉพาะประเด็นเรื่องจำเลยทั้งสองเป็นคนยากจนเท่านั้น ส่วนการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์นั้นนอกจากผู้ขอจะเป็นคนยากจนแล้ว คดีของผู้ขอต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ศาลจะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองนำพยานหลักฐานมาสืบเพิ่มเติมก็ตาม คดีก็ต้องฟังตามข้อยุติว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟัง ทั้งกำหนดเวลาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยทั้งสองนำค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระได้ล่วงพ้นไปแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาชอบที่จะกำหนดเวลาให้จำเลยทั้งสองนำค่าธรรมเนียมมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้วได้
การดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นไต่สวนอนาถาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีเหตุฉ้อฉลหรือขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย แม้การบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่อุทธรณ์ได้
จำเลยฎีกาโดยยกข้ออ้างเป็นเรื่องที่ว่าการขายทอดตลาดอาคารพาณิชย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับคดี มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์หลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะทำให้เห็นว่าสัญญาประนีประยอมความนั้นเกิดโดยการฉ้อฉลของโจทก์ และข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมนั้นก็มิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ในอันที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง: ข้อจำกัดและข้อยกเว้นเรื่องการฉ้อฉลและการละเมิดกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้ (1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล (2) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน" จำเลยฎีกาว่า นาง ด. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย และโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำยึดอาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 ร่วมกันแจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า อาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 มีนาง ล. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ความจริงอาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 เป็นกรรมสิทธิ์ของนาง พ. ทำให้การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยโจทก์เป็นผู้ซื้ออาคารพาณิชย์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และพฤติการณ์ของโจทก์กับนาง ด. เป็นการฉ้อฉลจำเลย เห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าการขายทอดตลาดอาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 ของพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับคดี หาใช่เรื่องที่โจทก์หลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะทำให้เห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเกิดโดยการฉ้อฉลของโจทก์แต่อย่างใดไม่ และข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมนั้นก็มิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น ข้ออ้างของจำเลยจึงมิได้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ในอันที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: เหตุละเมิดความสงบเรียบร้อยฯ เป็นเหตุอุทธรณ์ มิใช่เหตุเพิกถอนกระบวนพิจารณา
คำร้องของจำเลยที่อ้างว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความโดยหลงผิดในสาระสำคัญแห่งสัญญาเนื่องจากจำเลยไม่เข้าใจถึงข้อความที่ระบุในสัญญาให้โจทก์บังคับจำเลยให้ออกจากอาคารพิพาท คำพิพากษาของศาลจึงตกเป็นโมฆะ สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับโจทก์ร่วมได้สิ้นสุดลงก่อนที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เท่ากับจำเลยกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาตามยอมเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันเป็นเพียงเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 (2) ที่จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้เท่านั้น แต่มิใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยกเลิกเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ดำเนินการมาแล้วเสียทั้งหมดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2287/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายที่มิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งตาม กม.ล้มละลาย พ.ศ.2542 ต้องห้ามอุทธรณ์
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้มีคำสั่งว่าจำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญา ซื้อขายที่ดินของจำเลยตลอดจนมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและให้คืนโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยอันเป็นผลของการยกเลิกการล้มละลายนั้น มิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง ที่จะอุทธรณ์ได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ทั้งไม่มีกรณีจำต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย