คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่กระทบคำพิพากษาไม่ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นด้วย..." บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินของศาลชั้นต้นตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่น ๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยร่วมได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้วมีคำสั่งว่าคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยร่วมเพียงแต่กล่าวอ้างว่ามีพยานบุคคลและพยานหลักฐานซึ่งหากนำเข้าสู่การพิจารณาจะทำให้พยานหลักฐานของจำเลยร่วมมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วม โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่า หากพิจารณาคดีใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแตกต่างจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องของจำเลยร่วมจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยร่วมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นโดยอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ อุทธรณ์ของจำเลยร่วมดังกล่าวหากศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยร่วม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยร่วมและไต่สวนพยานของจำเลยร่วมแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีว่าจะอนุญาตให้จำเลยร่วมพิจารณาคดีใหม่หรือไม่ การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยร่วมในชั้นนี้จึงไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับแต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยร่วมจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้วางค่าธรรมเนียม
การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่นั้น หากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมพิพากษาให้พิจารณาใหม่ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ต้องถูกเพิกถอนไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หลังจากที่มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แต่มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งนั้นเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางเงินค่าธรรมเนียม ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ มีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที โดยไม่ต้องกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวเสียก่อนเพราะกรณีมิใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โดยมิได้สั่งให้จำเลยที่ 1 วางเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว ถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบโดยมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์หลังจากที่มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์แต่มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีและการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมาย การยกปัญหาข้อเท็จจริงหลังพ้นกำหนดอุทธรณ์
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/21 (5) ประกอบมาตรา 88/5 และมาตรา 30 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ปัญหาข้อเท็จจริงใดที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิหยิบยกขึ้นอุทธรณ์เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ทำการไต่สวนหาความจริงและพิจารณาวินิจฉัย ปัญหาข้อเท็จจริงนั้นย่อมเป็นอันยุติ โจทก์จะยกปัญหาข้อเท็จจริงนั้นขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลไม่ได้ เพราะล่วงเลยเวลาที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลไม่ได้ การที่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ
โจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2536 ในขณะที่ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ มีผลใช้บังคับ การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีนี้จึงต้องนำ พ.ร.ฎ. ฉบับนี้มาใช้บังคับ แม้ พ.ร.ฎ. ฉบับนี้จะถูกยกเลิกโดย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342)ฯ แต่การยกเลิกนั้นก็ไม่มีผลทำให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับเดิมกลายเป็นไม่ต้องเสียภาษีไปได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับเดิมในขณะที่ พ.ร.ฎ. ฉบับเดิมมีผลใช้บังคับไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีกต่อไป การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะจากโจทก์โดยอาศัยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ. ฉบับเดิม จึงเป็นการประเมินโดยมีกฎหมายให้อำนาจและปรากฏตามบันทึกการปิดหนังสือแจ้งการประเมินว่า เจ้าหน้าที่ได้ปิดหนังสือแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบโดยชอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 ซึ่งอยู่ภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันครบกำหนดชำระภาษีคือวันที่ 15 มีนาคม 2536 จึงเป็นการประเมินภาษีภายในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์อย่างคนอนาถาที่มิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย และผลของการไม่ทราบคำสั่งศาล
จำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา โดยไม่ได้ยื่นอุทธรณ์มาด้วย เป็นการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคหนึ่ง จึงไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณาศาลชั้นต้นสามารถสั่งยกคำร้องได้ทันทีโดยไม่ต้องไต่สวน และไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 4 นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระเพราะจำเลยที่ 4 มิได้ยื่นอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และมีคำสั่งต่อไปว่าหากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยังติดใจอุทธรณ์ให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระต่อศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ไปฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตามนัด ศาลชั้นต้นจึงอ่านคำสั่งให้ฝ่ายโจทก์ฟังฝ่ายเดียวและถือว่าได้อ่านคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฟังโดยชอบแล้ว ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ทราบคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ในส่วนที่กำหนดให้นำค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระต่อศาลชั้นต้นด้วย เพราะเป็นคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องแจ้งให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1869/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องอุทธรณ์จากความผิดพลาดในการส่งหมายและการเพิกเฉยจำเลย
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่า รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 1 นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่โจทก์และผู้ซื้อทรัพย์ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ และในอุทธรณ์ดังกล่าวมีข้อความประทับว่า "ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้น ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว" โดยทนายจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ใต้ข้อความดังกล่าวจึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ทราบคำสั่งแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 1 จะเสียค่าใช้จ่ายในการนำส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ไว้แล้วก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หมดหน้าที่ที่จะต้องจัดการนำส่งตามคำสั่งศาลชั้นต้น เมื่อเจ้าหน้าที่ศาลผู้ส่งหมายรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ารอจำเลยที่ 1 แถลง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่นำส่งเองแต่ให้เจ้าหน้าที่ศาลไปนำส่งตามลำพังเช่นนี้ ต้องถือว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล จะอ้างว่าไม่ทราบผลการส่งหมายไม่ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า รอจำเลยที่ 1 แถลง โดยไม่กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 แถลงและไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบอีก ก็ถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนถึงวันที่เจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 มิได้แถลงต่อศาลว่าจะดำเนินการอย่างไร รวมระยะเวลาเกือบ 2 เดือน จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246 เป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ซื้อทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1)
ส่วนการส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์นั้น เป็นการส่งหมายข้ามเขตซึ่งศาลแพ่งกรุงเทพใต้เป็นผู้ส่ง เมื่อส่งไม่ได้และศาลชั้นต้นมิได้แจ้งผลการส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ก็ย่อมไม่ทราบถึงผลการส่งหมายดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นคำแถลงให้ดำเนินการต่อไปจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดอันเป็นการทิ้งฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องอ้างเหตุตามที่กล่าวอ้างในฟ้องเดิม การเปลี่ยนแปลงเหตุฟ้องในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าโจทก์มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ผู้ตาย และมิได้เป็นผู้ปกครองตามกฎหมายของเด็กหญิง ผ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายตามฟ้องจากจำเลยทั้งสอง โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์โต้แย้งคำวินิจฉัยดังกล่าวของศาลชั้นต้น แต่โจทก์หาได้กระทำไม่ โจทก์กลับอุทธรณ์ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ได้รับมอบอำนาจจาก จ. ซึ่งเป็นทายาทอีกคนหนึ่งของ ป. ผู้ตายตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้แก้ไข ดังนั้น เหตุที่ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องตามที่โจทก์อุทธรณ์จึงเป็นคนละเหตุกับที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง เป็นการอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์เป็นภริยาของ ป. และเป็นบุพการีตามความเป็นจริงของเด็กหญิง ผ. โจทก์จึงเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของเด็กหญิง ผ. มีอำนาจฟ้องนั้น เป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองอุทธรณ์โดยอัยการและการพิจารณาโทษคดีเช็ค การแก้ไขโทษให้เหมาะสมกับพฤติการณ์
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ทวิ บัญญัติว่า "ในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 22 ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา... หรือพนักงานอัยการซึ่งอธิบดีกรมอัยการได้มอบหมายลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย ก็ให้รับอุทธรณ์นั้นไว้พิจารณาต่อไป" โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับแนบหนังสือรับรองของอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 และหนังสือมอบหมายของอัยการสูงสุดให้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงมีอำนาจรับรองอุทธรณ์แทนมาท้ายอุทธรณ์ และในตอนท้ายของอุทธรณ์มีข้อความระบุไว้ด้วยว่า คดีนี้อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ซึ่งอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยได้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์แล้ว ตามหนังสือแนบท้ายอุทธรณ์นี้ แม้ในตอนท้ายของอุทธรณ์ดังกล่าวจะมิได้ระบุว่าให้ถือว่าหนังสือรับรองเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์ดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ตามพฤติการณ์ดังกล่าวก็ย่อมถือได้แล้วว่าหนังสือรับรองแนบท้ายอุทธรณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์และอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ได้ลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ตามความประสงค์ของกฎหมายแล้ว ทั้งมาตรา 22 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ ก็มิได้บัญญัติว่าการรับรองอุทธรณ์จะต้องระบุวันเดือนปีที่ทำการรับรองและต้องมีรายละเอียดของเหตุผลที่สมควรให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีดังกล่าวแต่ประการใด ดังนั้น เมื่อข้อความในหนังสือรับรองแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูงเขต 1 ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ารูปคดีนี้มีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัย จึงรับรองอุทธรณ์คดีนี้ หนังสือรับรองดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับคำร้องเรียกบุคคลภายนอกเข้าเป็นจำเลยร่วมในคดีฟ้องแย้งและการต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่บังคับเอากับ ป. เนื่องจากเป็นฟ้องแย้งที่บังคับเอากับบุคคลภายนอกไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม กับมีคำสั่งยกคำร้องที่จำเลยที่ 1 ขอหมายเรียก ป. เข้าเป็นจำเลยฟ้องแย้งร่วมกับโจทก์ จำเลยที่ 1 คงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอหมายเรียก ป. โดยมิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องแย้งในส่วนที่บังคับเอากับ ป. แต่อย่างใด คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงถึงที่สุดไปแล้ว จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นฎีกาหาได้ไม่ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้เรียก ป. เข้าเป็นจำเลยร่วมกับโจทก์ในส่วนฟ้องแย้งนั้นเป็นคำร้องที่ยื่นเพื่อขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี มิใช่เพื่อตั้งประเด็นระหว่างคู่ความจึงไม่ใช่คำคู่ความ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งไม่รับคำคู่ความแต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) จำเลยที่ 1 จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องชัดเจนในประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย หากมิได้ยกข้อต่อสู้ในชั้นต้น แม้มีพยานหลักฐานก็ไม่อุทธรณ์ได้
การอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีหรือปัญหาข้อกฎหมายว่ามีอยู่อย่างไร เพื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยคดีตามข้ออุทธรณ์ได้ถูกต้องตามประเด็นที่โต้เถียงกัน ซึ่งต้องพิจารณาจากคำฟ้องคำให้การและประเด็นข้อพิพาทในคดีเป็นสำคัญ ไม่ใช่พิจารณาจากข้อเท็จจริงและการนำสืบของคู่ความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่แปลงหนี้มาจากราคาที่ดินที่จำเลยซื้อจากโจทก์และตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินและหนังสือรับสภาพหนี้เป็นเอกสารปลอม จำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ โจทก์เคยขายที่ดินให้แก่จำเลยและโจทก์รับเงินไปจากจำเลยแล้ว ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่า จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์หรือไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่าหนี้เดิมระหว่างโจทก์และจำเลยระงับเพราะการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยเป็น อ. และ อ. ชำระหนี้ 100,000 บาท ให้โจทก์ไปแล้วนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
of 349