พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1730-1731/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการขัดต่อสัญญาและไม่เป็นธรรม ศาลมีอำนาจปฏิเสธการบังคับตามคำชี้ขาดได้
อุทธรณ์ของผู้ร้องซึ่งกล่าวอ้างว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้ร้องจึงมีอำนาจอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (2) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ซึ่งบัญญัติไว้อย่างเดียวกันกับ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 26 (2) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด
สัญญาให้บริการโทรศัพท์พกพา (สัญญา TPS) ระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านกำหนดสิทธิหน้าที่ของผู้ร้องและผู้คัดค้านเกี่ยวกับที่มาและเงื่อนไขการคืนทรัพย์สินในกรณีผู้คัดค้านผิดสัญญาแล้ว ผู้ร้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาว่า ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือเงินคืนจากผู้ร้องและต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่ผู้ร้องในสภาพที่ดีและใช้งานได้ในทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลง นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดอีกว่ากรณีความเสียหายเกิดขึ้น ให้ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเงินจากธนาคาร ผู้ออกหนังสือค้ำประกันทั้งหมดหรือบางส่วนตามแต่จะเห็นสมควรเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่าผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา และผู้คัดค้านยังมีหนี้ค้างชำระแก่ผู้ร้องอยู่ ย่อมถือว่าผู้ร้องได้รับความเสียหาย ภายหลังจากผู้ร้องบอกเลิกสัญญาแล้วสิทธิหน้าที่ของผู้ร้องและผู้คัดค้านในฐานะคู่สัญญาย่อมเป็นไปตามข้อสัญญาดังกล่าว การที่คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้ร้องรับมอบทรัพย์สินจากผู้คัดค้านและให้ผู้ร้องชดใช้มูลค่าทรัพย์สินแก่ผู้คัดค้าน โดยไม่กำหนดเงื่อนไขว่าต้องส่งมอบคืนในสภาพที่ดีและใช้งานได้ รวมทั้งไม่กำหนดว่าหากผู้คัดค้านไม่สามารถส่งมอบคืนในสภาพที่ดีและใช้งานได้ให้ผู้คัดค้านใช้เงินแทนมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน และการชี้ขาดให้ผู้ร้องคืนเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้คัดค้านโดยไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ร้องนำไปหักจากหนี้ที่ผู้คัดค้านยังค้างชำระแก่ผู้ร้องตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่เป็นตามสัญญา การบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 44 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น
สัญญาให้บริการโทรศัพท์พกพา (สัญญา TPS) ระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านกำหนดสิทธิหน้าที่ของผู้ร้องและผู้คัดค้านเกี่ยวกับที่มาและเงื่อนไขการคืนทรัพย์สินในกรณีผู้คัดค้านผิดสัญญาแล้ว ผู้ร้องใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาว่า ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือเงินคืนจากผู้ร้องและต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่ผู้ร้องในสภาพที่ดีและใช้งานได้ในทันทีที่สัญญาสิ้นสุดลง นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดอีกว่ากรณีความเสียหายเกิดขึ้น ให้ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องเงินจากธนาคาร ผู้ออกหนังสือค้ำประกันทั้งหมดหรือบางส่วนตามแต่จะเห็นสมควรเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อคณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่าผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญา และผู้คัดค้านยังมีหนี้ค้างชำระแก่ผู้ร้องอยู่ ย่อมถือว่าผู้ร้องได้รับความเสียหาย ภายหลังจากผู้ร้องบอกเลิกสัญญาแล้วสิทธิหน้าที่ของผู้ร้องและผู้คัดค้านในฐานะคู่สัญญาย่อมเป็นไปตามข้อสัญญาดังกล่าว การที่คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้ร้องรับมอบทรัพย์สินจากผู้คัดค้านและให้ผู้ร้องชดใช้มูลค่าทรัพย์สินแก่ผู้คัดค้าน โดยไม่กำหนดเงื่อนไขว่าต้องส่งมอบคืนในสภาพที่ดีและใช้งานได้ รวมทั้งไม่กำหนดว่าหากผู้คัดค้านไม่สามารถส่งมอบคืนในสภาพที่ดีและใช้งานได้ให้ผู้คัดค้านใช้เงินแทนมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน และการชี้ขาดให้ผู้ร้องคืนเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้คัดค้านโดยไม่ได้ให้สิทธิแก่ผู้ร้องนำไปหักจากหนี้ที่ผู้คัดค้านยังค้างชำระแก่ผู้ร้องตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่เป็นตามสัญญา การบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าวย่อมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 44 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในระหว่างการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16255/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอในคดีทำร้ายร่างกาย - ศาลจำกัดเฉพาะประเด็นที่โจทก์ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้กำลังทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมโดยชก ต่อย และเตะ โดยไม่ได้บรรยายว่าจำเลยขับรถยนต์พุ่งชนท้ายรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมจนรถล้มทำให้ศีรษะของโจทก์ร่วมกระแทกกำแพงเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ศาลไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยและรับฟังลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297 ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15731/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของแผนฟื้นฟูกิจการต่อความรับผิดของผู้ค้ำประกัน: ศาลเห็นว่าข้อตกลงยกเว้นความรับผิดขัดต่อกฎหมาย
ผลของคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนเป็นเหตุเฉพาะตัวของลูกหนี้เท่านั้น ที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลภายนอกซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง คำสั่งของศาลที่เห็นชอบด้วยแผนไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลเหล่านั้นในหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน และบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดอีกเช่นไร ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง การที่แผนพื้นฟูกิจการกำหนดว่า เจ้าหนี้ตกลงจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องหรือดำเนินคดีหรือบังคับคดีใด ๆ กับผู้ค้ำประกัน ผู้จำนอง ผู้จำนำ ซึ่งได้ให้ไว้เป็นประกันในภาระหนี้ใด ๆ ของลูกหนี้ตลอดระยะเวลาที่แผนยังคงมีผลใช้บังคับ จึงขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา 90/60 วรรคสอง เฉพาะข้อกำหนดส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่ข้อกำหนดดังกล่าวก็มิใช่รายการสำคัญ ทั้ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ก็ได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้แล้วในมาตรา 90/60 วรรคสอง การที่ข้อกำหนดดังกล่าวตกไปจึงไม่กระทบถึงความสมบูรณ์ของแผนที่เหลืออยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15508/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องทุเลาการบังคับคดีในศาล ไม่ถือเป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน
การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาล ถือว่าศาลทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานในการยุติธรรมในการพิจารณาคดี มิได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานอย่างเจ้าพนักงานทั่วไป การที่จำเลยทั้งสองกับพวกยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับในคดีส่วนแพ่งอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างหนึ่งในศาล จึงมิใช่เป็นเรื่องการแจ้งความแก่เจ้าพนักงาน การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เข้าลักษณะความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตาม ป.อ. มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15140/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งในคดีอาญาที่จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลมีอำนาจพิจารณาตามระเบียบได้
คดีนี้เดิมจำเลยให้การปฏิเสธ เมื่อสืบพยานโจทก์ไป 1 ปาก จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพ กรณีจึงเป็นไปตามข้อ 7 แห่งระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 พ.ศ.2548 ที่ระบุว่า "ในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพ หรือคดีเสร็จไปโดยศาลชั้นต้นไม่ได้พิพากษา เช่น คดีที่โจทก์ถอนฟ้อง หรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย หรือจำเลยถึงแก่ความตาย เป็นต้น หรือในกรณีที่มีการสืบพยานไว้ก่อนฟ้องคดีต่อศาล หรือไต่สวนชันสูตรพลิกศพ หรือในคดีที่ทนายความปฏิบัติหน้าที่ได้เพียงบางส่วน โดยไม่ได้เป็นความผิดของทนายความผู้นั้น และศาลเห็นว่ามีเหตุผลพิเศษที่ทนายความผู้นั้นควรได้รับเงินรางวัล ให้ศาลมีอำนาจสั่งจ่ายเงินรางวัลให้แก่ทนายความได้ตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท" การสั่งจ่ายเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งให้จึงต้องเป็นไปตามอัตราที่ระบุไว้ในข้อดังกล่าว โดยไม่จำต้องอ้างอิงตารางอัตราเงินรางวัลทนายความที่ศาลตั้งให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 ท้ายระเบียบ ที่ศาลชั้นต้นสั่งจ่ายเงินรางวัลทนายความให้แก่ผู้ร้อง 2,000 บาท จึงชอบแล้ว ฎีกาของผู้ร้องฟังไม่ขึ้น
อำนาจในการกำหนดเงินรางวัลให้ทนายความ เป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม ประกอบระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ข้อ 5 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฎีกาให้ศาลฎีกากำหนดเงินรางวัลทนายความใหม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ร้องในข้อนี้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
อำนาจในการกำหนดเงินรางวัลให้ทนายความ เป็นอำนาจเฉพาะของศาลชั้นต้นตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 173 วรรคสาม ประกอบระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการจ่ายเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายแก่ทนายความที่ศาลตั้งให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 173 พ.ศ.2548 ข้อ 5 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฎีกาให้ศาลฎีกากำหนดเงินรางวัลทนายความใหม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ร้องในข้อนี้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12873/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: ต้องยื่นคัดค้านก่อนศาลมีคำสั่ง
คดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30 ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 วรรคสอง จะนำเอาวิธีพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเกี่ยวกับการขาดนัดยื่นคำให้การ ขาดนัดพิจารณาและการขอพิจารณาคดีใหม่มาใช้บังคับในกรณีนี้โดยที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าทรัพย์สินที่พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ริบเป็นรถยนต์ที่ใช้เป็นยานพาหนะเพื่อความสะดวกในการส่งมอบยาเสพติดให้โทษอันเป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและศาลได้ประกาศให้หนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นเป็นเวลา 2 วัน ติดต่อกันอันเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนของมาตรา 30 วรรคสอง แล้ว หากผู้คัดค้านที่อ้างว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ของกลางต้องการยื่นคำร้องขอคัดค้านจะต้องยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งให้ริบรถยนต์ของกลางแล้ว ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดีในภายหลังเพื่อขอให้พิจารณาคดีใหม่อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีหลังศาลสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ แม้หนี้เกิดระหว่างฟื้นฟูกิจการ
แม้มูลแห่งหนี้ตามสัญญาจ้างแรงงานของผู้ร้องเกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจนถึงก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและมิได้กำหนดไว้ในแผน ซึ่งผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางขออนุญาตฟ้องลูกหนี้ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ แต่เมื่อปรากฏต่อมาว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยแผนและมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้พื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ย่อมมีผลให้การถูกจำกัดสิทธิในการที่ผู้ร้องจะฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) สิ้นไป ตามมาตรา 90/12 วรรคแรก ตอนต้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิฟ้องลูกหนี้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากศาลล้มละลายกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10847/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีขัดแย้งกันเองและไม่สุจริต ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ โดยอ้างว่าจำเลยปลอมหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนว่าโจทก์ให้ทรัพย์สินที่พิพาทแก่จำเลย และมาฟ้องคดีนี้ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่ อ้างว่าโจทก์ทำสัญญาให้ทรัพย์สินที่พิพาทแก่จำเลยซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่ได้ปลอมหนังสือมอบอำนาจ การกระทำของโจทก์ตามข้ออ้างในคดีทั้งสองเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่แตกต่างและขัดกัน ซึ่งหากศาลจังหวัดเชียงใหม่เห็นว่าเป็นการปลอมหนังสือมอบอำนาจ ไม่ใช่การให้ทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลย โจทก์ก็ชนะคดีที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากศาลจังหวัดเชียงใหม่เห็นว่าไม่เป็นการปลอมเอกสาร ย่อมมีผลโดยปริยายว่าเป็นการให้อันเป็นประโยชน์แก่คดีนี้ จึงเป็นการดำเนินคดีที่โจทก์มุ่งประสงค์ต่อผลให้โจทก์ชนะคดีแน่นอนไม่ว่าศาลใดศาลหนึ่ง โดยไม่คำนึงถึงข้อความจริงซึ่งโจทก์ย่อมรู้ดี และเมื่อพิจารณาถึงคดีที่โจทก์ฟ้องต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่อ้างเหตุว่าจำเลยปลอมเอกสารอันอาจเป็นมูลเหตุให้จำเลยถูกดำเนินคดีอาญาข้อหาปลอมแปลงเอกสารด้วยแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10328/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นพยานหลักฐานในคดีอาญา: ศาลมีอำนาจรับพยานแม้โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน หากจำเลยไม่ติดใจ
วิธีพิจารณาในข้อที่เกี่ยวกับการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญานั้น ป.วิ.อ. ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในมาตรา 173/1, 173/2 และ 240 แล้ว โดยมีเจตนารมณ์ไม่เน้นบังคับให้โจทก์ต้องระบุชื่อเอกสารแต่ละฉบับหรือชื่อวัตถุแต่ละอันที่อยู่ในสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนไว้ในบัญชีระบุพยาน เพราะในคดีอาญาที่จำเลยไม่ให้การหรือให้การปฏิเสธ กฎหมายมีมาตรการให้มีการตรวจพยานหลักฐานโดยให้โจทก์ส่งเอกสารและวัตถุที่โจทก์จะอ้างเป็นพยานให้อีกฝ่ายตรวจสอบตามที่คู่ความร้องขอหรือศาลเห็นสมควรก่อนสืบพยานโจทก์ โดยมีวัตถุประสงค์ให้การพิจารณาเป็นไปด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะกำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานก่อนกำหนดวันนัดสืบพยานหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว กรณีจึงไม่จำต้องใช้ ป.วิ.พ. เรื่องการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีแพ่งมาใช้บังคับในคดีอาญานี้ตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น ที่โจทก์อ้างบัญชีระบุพยานโจทก์ซึ่งไม่ใช่พยานบุคคลว่า "สรรพเอกสารและวัตถุพยานของกลางในสำนวนการสอบสวนคดีนี้" ก็เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลชั้นต้นให้เลื่อนวันนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลย ตรวจพยานหลักฐานและกำหนดวันนัดสืบพยานเดิมไปเป็นนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยและกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกวันตรวจพยานหลักฐานโดยปริยาย กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.วิ.อ. มาตรา 240 ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลมิได้กำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานตามมาตรา 173/1 ซึ่งตามวรรคหนึ่งของมาตราดังกล่าว กำหนดให้คู่ความที่ประสงค์จะอ้างเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของตนเป็นพยานหลักฐาน ให้ยื่นพยานเอกสารนั้นต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสตรวจและขอคัดสำเนาเอกสารได้ก่อนที่จะนำสืบพยานเอกสารนั้นเว้นแต่ "...หรือศาลเห็นสมควรสั่งเป็นอย่างอื่นอันเนื่องจากสภาพและความจำเป็นแห่งเอกสารนั้น" การที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวโดยจำเลยยอมรับต่อศาลชั้นต้นที่สอบจำเลยว่าไม่ติดใจตรวจสอบเอกสารของโจทก์แล้ว ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยสอบคำให้การจำเลยและให้ฝ่ายจำเลยตรวจดูเอกสารและฝ่ายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าว แล้วศาลชั้นต้นรับเอกสารไว้ โดยนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป และศาลชั้นต้นได้ให้ฝ่ายจำเลยตรวจเอกสารดังกล่าวดูแล้ว โดยจำเลยไม่ต้องการสำเนา การที่ศาลชั้นต้นรับเอกสารดังกล่าวใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนั้น จึงเป็นอำนาจที่ศาลชั้นต้นกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเนื่องมาจากสภาพและความจำเป็นแห่งเอกสารตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 240 วรรคหนึ่ง แล้ว
ศาลชั้นต้นให้เลื่อนวันนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลย ตรวจพยานหลักฐานและกำหนดวันนัดสืบพยานเดิมไปเป็นนัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การจำเลยและกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกวันตรวจพยานหลักฐานโดยปริยาย กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.วิ.อ. มาตรา 240 ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลมิได้กำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานตามมาตรา 173/1 ซึ่งตามวรรคหนึ่งของมาตราดังกล่าว กำหนดให้คู่ความที่ประสงค์จะอ้างเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของตนเป็นพยานหลักฐาน ให้ยื่นพยานเอกสารนั้นต่อศาลก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสตรวจและขอคัดสำเนาเอกสารได้ก่อนที่จะนำสืบพยานเอกสารนั้นเว้นแต่ "...หรือศาลเห็นสมควรสั่งเป็นอย่างอื่นอันเนื่องจากสภาพและความจำเป็นแห่งเอกสารนั้น" การที่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวโดยจำเลยยอมรับต่อศาลชั้นต้นที่สอบจำเลยว่าไม่ติดใจตรวจสอบเอกสารของโจทก์แล้ว ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป โดยสอบคำให้การจำเลยและให้ฝ่ายจำเลยตรวจดูเอกสารและฝ่ายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงตามเอกสารดังกล่าว แล้วศาลชั้นต้นรับเอกสารไว้ โดยนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป และศาลชั้นต้นได้ให้ฝ่ายจำเลยตรวจเอกสารดังกล่าวดูแล้ว โดยจำเลยไม่ต้องการสำเนา การที่ศาลชั้นต้นรับเอกสารดังกล่าวใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนั้น จึงเป็นอำนาจที่ศาลชั้นต้นกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันเนื่องมาจากสภาพและความจำเป็นแห่งเอกสารตามนัยแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 240 วรรคหนึ่ง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9345/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการไม่อนุญาตเลื่อนคดี ศาลชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนัดสืบพยานโจทก์และจำเลย ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2552 เวลา 9 นาฬิกา ถึงเวลา 16.30 นาฬิกา มีความหมายว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะออกนั่งพิจารณาคดีนี้ตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา และพิจารณาคดีต่อเนื่องกันไปจนเสร็จการพิจารณา เมื่อคดีเสร็จการพิจารณาแล้วก็จะมีคำพิพากษาโดยเร็วต่อเนื่องกันไปเช่นกัน เมื่อจำเลยไม่มาศาลก่อนศาลเริ่มต้นสืบพยานโจทก์โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตให้เลื่อนคดีจึงถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จการพิจารณาและโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในบันทึกหน้าสำนวนแสดงว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟังแล้ว ต่อมาเวลา 14 นาฬิกา ของวันเดียวกันทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีจึงเป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลมีคำวินิจฉัยชี้ขาดคดีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 26 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 ประกอบ มาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.วิ.พ. จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้เสนอคำขอเลื่อนคดีต่อศาลก่อนหรือในวันนัดพิจารณา ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะล่วงเลยเวลานั้นจึงชอบแล้ว