คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4230/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่ขัดแย้งคำรับสารภาพและข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นเป็นเหตุต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งว่า อาวุธปืนของกลางตรวจพบรอยขูดลบเครื่องหมายทะเบียน แต่ไม่อาจยืนยันได้ว่าเครื่องหมายทะเบียนเดิมเป็นเลขใดตามรายงานผลการตรวจพิสูจน์แนบท้ายอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น เป็นการอุทธรณ์เพื่อขอให้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงมาตามฟ้องอันเป็นการขัดแย้งกับคำรับสารภาพของจำเลยและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนเกี่ยวกับรายงานผลการตรวจพิสูจน์ที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้าง แล้วอาศัยข้อเท็จจริงจากการไต่สวนดังกล่าวพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น เป็นการมิชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 208 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4135/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยอุทธรณ์ฐานโกงเจ้าหนี้: ข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 350 ประกอบมาตรา 83 ศาลชั้นต้นยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้องโดยวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายนั้นมีคำพิพากษายกฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสองต้องโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินให้โจทก์ ขณะจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินตามฟ้องให้แก่บุคคลภายนอก จำเลยทั้งสองจึงมิได้เป็นลูกหนี้ของโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีจึงไม่มีมูล ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันนับแต่ขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง และเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์จึงมีหนี้อันสมบูรณ์ที่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อยู่แล้วในขณะที่จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิด การกระทำของจำเลยทั้งสองครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้นั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยปรับข้อเท็จจริงที่รับฟังได้แล้วว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ตามฟ้องหรือไม่ โดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาแต่อย่างใด อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย มิใช่อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่าเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์นั้น เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3743-3744/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษอาญาในชั้นอุทธรณ์ และข้อจำกัดในการฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง, 279 วรรคแรก (เดิม) ประกอบมาตรา 285 ให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 285 ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี 4 เดือน รวม 13 กระทง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นลงโทษจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง จำคุกกระทงละ 4 ปี รวม 13 กระทง เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2563

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2563

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการวางค่าธรรมเนียมศาล ทำให้คำอุทธรณ์เป็นอันตกไป และไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล
ในคดีมโนสาเร่ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง โจทก์ยื่นอุทธรณ์พร้อมคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ แต่โจทก์ไม่นำค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ แต่โจทก์ไม่ได้ยื่น คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขออนุญาตวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ได้อีก แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์สัญญาประนีประนอมยอมความ: ข้อจำกัดสิทธิอุทธรณ์เมื่อข้ออ้างไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
เมื่อข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ที่โจทก์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมของศาลชั้นต้นได้ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์และศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ศาลฎีกาจึงพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 และยกฎีกาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการในคดีประกันภัย: เหตุเพิกถอนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ (1) การยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (2) คำสั่งหรือคำพิพากษานั้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน..." สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยภาคสมัครใจมีลักษณะเป็นสัญญาประกันภัยค้ำจุน ผู้คัดค้านจะรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกต่อเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดในวินาศภัยนั้น อนุญาโตตุลาการจึงมีสิทธิวินิจฉัยความรับผิดของผู้เอาประกันภัยต่อผู้ร้องได้ ส่วนกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ผู้คัดค้านต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย ตามชนิด ประเภท และขนาดของรถ พ.ศ.2554 ข้อ 3 (3) ที่ออกตามความในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ให้แก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตาย ในกรณีมีทายาทโดยธรรมหลายคน ก็ต้องแบ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ทายาทโดยธรรมครบทุกคน ดังนั้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการชอบด้วยกฎหมายแล้ว และยกคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่ใช่คำพิพากษาที่ฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นก็ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง (1) (2) ที่ผู้ร้องจะอุทธรณ์ได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5001/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศาลทำให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยผิดพลาดเรื่องกำหนดอุทธรณ์ ศาลฎีกายกคำพิพากษาและส่งให้พิจารณาใหม่
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องฉบับแรกให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 8 สิงหาคม 2559 ต่อมาโจทก์ยื่นอุทธรณ์วันที่ 2 กันยายน 2559 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลอนุญาต รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ โดยมิได้มีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับที่ 2 เนื่องจากเจ้าหน้าที่ธุรการมิได้นำคำร้องฉบับที่ 2 ของโจทก์กลัดเข้าสำนวน และเป็นเหตุให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดและยกอุทธรณ์ของโจทก์ หลังจากนั้นโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตรวจสอบ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 2 จริง ดังนั้น การที่เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นไม่ได้กลัดคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับที่ 2 เข้าสำนวนทำให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยโดยผิดหลงว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก เมื่อความผิดพลาดเกิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ศาลมิใช่โจทก์ และศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเห็นว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ศาลอนุญาตไว้ กรณีอนุมานได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องฉบับที่ 2 ของโจทก์แล้วโดยปริยาย เมื่อนับถึงวันที่ 2 กันยายน 2559 ยังไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และมาตรา 247 (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษและสมควร ศาลพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ ส่วนศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป
การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์รวม 5 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือนเศษ เป็นการแสดงอยู่ในตัวแล้วว่า ศาลชั้นต้นเห็นว่าตามคำร้องของจำเลยมีพฤติการณ์พิเศษ แต่การที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในครั้งต่อ ๆ ไปอีกหรือไม่นั้น นอกจากจะต้องได้ความว่ามีพฤติการณ์พิเศษแล้วยังจะต้องมีเหตุอันสมควรอีกด้วย ซึ่งการพิจารณาว่ามีเหตุอันสมควรหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์รวม 5 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือนเศษ และหากนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับสำเนาคำพิพากษาที่ขอคัดถ่ายไปจากศาลชั้นต้นจนถึงวันที่ครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นอนุญาตขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่ 5 เป็นเวลานานถึง 3 เดือนเศษ นับว่าเป็นระยะเวลาเพียงพอที่จำเลยจะเรียงอุทธรณ์ได้แล้วเสร็จ การที่จำเลยมาขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นครั้งที่ 6 อีก แสดงให้เห็นว่ามิได้ใส่ใจที่จะดำเนินการให้เสร็จลุล่วงไปภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยอีก
ศาลชั้นต้นอ้างเหตุในการยกคำร้องข้อหนึ่งว่า "...ข้ออ้างตามคำร้องหาใช่พฤติการณ์พิเศษไม่..." แต่เมื่ออ่านข้อความดังกล่าวประกอบข้อความอื่น ๆ ทั้งหมดแล้ว ก็มีความหมายเพียงว่า กรณีตามคำร้องไม่ใช่เหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่จำเลยอีกต่อไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4548/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการอุทธรณ์ต้องมีมอบอำนาจชัดเจน หากไม่มี ศาลต้องสั่งแก้ไขก่อน
การสละสิทธิหรือใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาและกระบวนพิจารณาที่เป็นไปในทางจำหน่ายสิทธิของคู่ความ ทนายความต้องได้รับมอบอำนาจจากตัวความโดยชัดแจ้ง ว. ทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยใบแต่งทนายความมิได้ระบุให้ ว. มีอำนาจยื่นอุทธรณ์แทนโจทก์ จึงเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่มีข้อบกพร่อง เท่ากับคำฟ้องอุทธรณ์ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ศาลชั้นต้นต้องสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเสียให้ถูกต้องก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์มาโดยไม่สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงชอบที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่องโดยให้โจทก์ลงชื่อในฐานะผู้อุทธรณ์ในคำฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องแล้วจึงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เสียทีเดียว เป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยความยุติธรรม แต่เมื่อตามใบแต่งทนายความฉบับหลังโจทก์ได้แต่งตั้ง ว. เป็นทนายความให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาแทนโจทก์ได้ในชั้นฎีกานี้แล้วจึงเป็นกรณีที่โจทก์ได้แก้ไขข้อบกพร่องในชั้นยื่นคำฟ้องอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก
of 349