คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชัดเจนโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามีสิทธิไม่รับพิจารณา
อุทธรณ์ไม่ว่าจะเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายจะต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งถึงข้อโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ด้วยเหตุผลใด และที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ซึ่งจะเป็นประเด็นในการวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นการคัดลอกคำให้การของจำเลยทั้งสามมาเกือบทั้งสิ้น มิได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นไว้โดยชัดแจ้งดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอันจะพึงรับไว้พิจารณา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งการที่ศาลอุทธรณ์จะดำเนินกระบวนพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 240 (2) นั้น อุทธรณ์ดังกล่าวต้องเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ครบถ้วนตามอุทธรณ์ จำเป็นต้องยกคำพิพากษาเพื่อส่งกลับไปพิพากษาใหม่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินกับ ร. มีกำหนดเวลา 10 ปี และเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ทั้งมีข้อตกลงว่า หากสัญญาสิ้นสุดแล้วให้ต่อสัญญาออกไปอีก 5 ปี แต่ ร. ถึงแก่ความตายแล้ว ขอให้จำเลยซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันและเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. จดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งว่า โจทก์ผิดสัญญาเนื่องจากไม่ชำระค่าเช่าและขุดดินโดยไม่ได้รับอนุญาต ขอให้โจทก์ชำระค่าเช่า ส่งมอบที่ดินคืน และกลบที่ดินคืนสู่สภาพเดิม โจทก์ให้การขอให้ยกฟ้องแย้ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและยกฟ้องแย้ง จำเลยอุทธรณ์ทั้งในส่วนของฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง ประเด็นแห่งคดีจึงมีทั้งในส่วนของฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 คงวินิจฉัยสรุปความว่า สัญญาเช่าที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่มีผลบังคับ 10 ปี ซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีเฉพาะในส่วนของฟ้องเดิม แม้จะกล่าวในตอนท้ายว่า อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น และไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นตามอุทธรณ์ของจำเลยอีก เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง แต่ก็ต้องหมายถึงประเด็นอื่นเฉพาะในส่วนของฟ้องเดิมเท่านั้น ไม่ใช่ประเด็นในส่วนของฟ้องแย้งที่ว่า โจทก์ผิดสัญญาเนื่องจากไม่ชำระค่าเช่าและขุดดินโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ยังไม่ได้วินิจฉัยประเด็นในส่วนของฟ้องแย้งให้ครบถ้วนตามอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ได้กล่าวหรือแสดงคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 141 (5) แม้ศาลฎีกาแผนกคำสั่งคำร้องและขออนุญาตฎีกาในศาลฎีกามีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยฎีกา แต่เมื่อคดีปรากฏเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง และศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอันสมควร ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 นั้นเสียได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 252 เมื่อวินิจฉัยดั่งนี้ ที่โจทก์ฎีกาจึงไม่ต้องวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 286/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาอุทธรณ์ขอเพิ่มโทษปรับให้ถูกต้องตามกฎหมาย หากไม่ทำคำพิพากษาไม่ชอบ
คดีนี้โจทก์ยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ขอให้ลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยอ้างว่า ศาลชั้นต้นลงโทษปรับต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ส่งให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาโดยชอบจึงถือว่าเป็นอุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 2 แล้ว ดังนั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ว่ามีเหตุที่จะลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษหรือไม่ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ ป.วิ.อ. ว่าด้วยการพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง, 186 (6) (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 226/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาผู้ถูกจำคุก: การส่งหมายนัด/สำเนาอุทธรณ์ต้องส่งที่เรือนจำ ไม่ใช่ตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุก 6 ปี 10 เดือน ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3099/2559 ของศาลจังหวัดเลย จำเลยจึงเป็นผู้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีดังกล่าวอยู่ในเรือนจำกลางอุดรธานี เรือนจำกลางอุดรธานีจึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยในช่วงระยะเวลาที่จำเลยถูกจำคุกในคดีดังกล่าว ไม่ใช่ที่อยู่ตามฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไปยังที่อยู่ของจำเลยตามฟ้อง จึงไม่ใช่ภูมิลำเนาของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 47 ที่บัญญัติว่า ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล หรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้แก่เรือนจำ หรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว ศาลชั้นต้นต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์เพื่อให้จำเลยแก้ไปที่เรือนจำกลางอุดรธานี หาใช่ส่งไปยังที่อยู่ตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาคดีโดยมิได้มีการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยเพื่อแก้นั้น เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 200 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วนกรณีอุทธรณ์ทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้ง ศาลมีอำนาจจำหน่ายคดีในส่วนที่ทิ้งฟ้อง
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะเพราะเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ และขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินตกเป็นโมฆะและฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายดังกล่าว จึงเป็นประเด็นข้อพิพาทโดยตรงที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้และยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงินหรือไม่ แล้วจึงวินิจฉัยฟ้องแย้งของจำเลยต่อไป ดังนั้น การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท และวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนอีก 215,500 บาท นั้น แม้ในอุทธรณ์ของจำเลยแผ่นสุดท้ายจะมีลายมือเขียนคำว่า "ฟ้องแย้ง" ไว้เหนือตราประทับเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมศาลซึ่งเป็นลายมือเขียนของพนักงานรับฟ้องอุทธรณ์ ที่อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้ง แต่คดีนี้ทุนทรัพย์ในส่วนฟ้องเดิมและในส่วนฟ้องแย้งมีจำนวน 28,000,000 บาทเท่ากัน และตามสำเนาใบรับเงินค่าธรรมเนียมท้ายอุทธรณ์ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องเดิมหรือฟ้องแย้ง ทั้งการตรวจรับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณานั้นเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำการแทนศาลอุทธรณ์ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยโดยรวมเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้เงิน มิใช่นิติกรรมที่สมบูรณ์ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย การที่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาเพียงจำนวนเดียว 200,000 บาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนฟ้องเดิมครบถ้วนแล้ว ศาลอุทธรณ์ต้องพิจารณาคดีในส่วนฟ้องเดิมตามอุทธรณ์ของจำเลยต่อไป ส่วนที่จำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการเสียค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่จำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์เฉพาะในส่วนฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2566 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้รับประกันภัยค้ำจุนในคดีความรับผิดจากอุบัติเหตุ กรณีผู้ตายมีส่วนประมาท
แม้จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องนำสืบให้ได้ความตามคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ ทั้งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทมากกว่าหรือไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่ต้องฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายในประเด็นพิพาทว่าจำเลยที่ 1 ประมาทแต่เพียงฝ่ายเดียวตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องหรือไม่ ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ประมาทฝ่ายเดียว และให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยซึ่งต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทมากกว่าจำเลยที่ 1 หรือประมาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1 และความเสียหายของโจทก์เป็นพับ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้ การอุทธรณ์ในประเด็นดังกล่าว ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องควบคู่กับการอุทธรณ์คำพิพากษา หากไม่อุทธรณ์เนื้อหาคำพิพากษาด้วย อุทธรณ์นั้นเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณานอกจากจะอุทธรณ์ได้เมื่อศาลพิพากษาแล้ว จะต้องมีการอุทธรณ์คำพิพากษานั้นด้วย ซึ่งหมายความว่า ผู้อุทธรณ์นอกจากจะโต้แย้งว่าคำสั่งระหว่างพิจารณาไม่ชอบอย่างไรแล้ว จะต้องโต้แย้งในเนื้อหาของคำพิพากษาว่าไม่ถูกต้องอย่างไรด้วย โดยในส่วนหลังนี้ต้องบรรยายให้ได้ความครบถ้วนตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง จึงจะเป็นอุทธรณ์ที่จะพึงรับไว้พิจารณา ซึ่งเมื่อพิจารณาถ้อยคำในอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์โต้แย้งแต่เพียงว่าศาลชั้นต้นไม่ควรงดสืบพยานเพียงประการเดียว แต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า เนื้อหาคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ขัดกับข้อเท็จจริงหรือขาดข้อเท็จจริงใดที่สมควรจะมีอยู่ หรือมีข้อกฎหมายสารบัญญัติใดที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาจบรรยายว่าพยานหลักฐานในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมีน้ำหนัก หรือหากมีการสืบพยานต่อไป พยานโจทก์จะมีน้ำหนักพอให้ลงโทษจำเลยได้เพราะอย่างไร เป็นต้น ดังนี้ กรณีฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความใน ป.วิ.อ. มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลล้มละลายที่ไม่รับคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนด ไม่เข้าข่ายคำสั่งที่อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 25 (3) มีความหมายว่า คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้ มิได้หมายความรวมถึงคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องขออนุญาตยื่นคำขอรับชำระหนี้เนื่องจากพ้นกำหนดเวลาโดยที่เจ้าหนี้ยังมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แต่อย่างใด คำสั่งดังกล่าวคงวินิจฉัยเพียงว่า ตามคำร้องของเจ้าหนี้นั้น กรณีเป็นเหตุสุดวิสัยและมีเหตุผลอันสมควรที่จะทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้ามาในคดีล้มละลายหรือไม่เท่านั้น แต่หาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในการได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ว่า เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้หรือไม่เพียงใด เมื่อคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91/1 ศาลล้มละลายกลางไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง คำสั่งของศาลล้มละลายกลางดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 25 (3) และมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "คำสั่งยกคำร้อง" ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 25 (1) เพราะคำสั่งยกคำร้องตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงคำสั่งยกคำร้องขอให้จำเลยล้มละลาย อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ผู้ร้องอุทธรณ์โดยมิได้ยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5073/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอให้บวกโทษคดีที่รอการกำหนดโทษ และการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงใหม่เกินกว่าเหตุ ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
จำเลยทั้งสามในคดีนี้ต้องคำพิพากษาให้รอการกำหนดโทษและคดีถึงที่สุดแล้ว ที่โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยทั้งสามตามที่ศาลชั้นต้นรอการกำหนดโทษไว้นั้น ป.อ. มาตรา 58 บัญญัติหลักเกณฑ์เรื่องการบวกโทษว่า ศาลที่พิพากษาคดีหลังจะกำหนดโทษที่รอการกำหนดโทษไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง แสดงว่าการขอในกรณีเช่นนี้กฎหมายประสงค์ให้โจทก์ในคดีหลังยื่นคำขอให้บวกโทษ จะมายื่นคำร้องในคดีนี้ซึ่งเป็นคดีก่อนและคดีถึงที่สุดไปแล้วไม่ได้เพราะจะเป็นแก้ไขคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาทุนทรัพย์เพื่ออุทธรณ์ในคดีฟอกเงิน ความสัมพันธ์ผู้กระทำผิดและทรัพย์สิน
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ตกเป็นของแผ่นดินนั้น แม้ปัญหาว่าทรัพย์สินตามคำร้องแต่ละรายการเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือไม่ สามารถพิจารณาทรัพย์สินแต่ละรายการแยกจากกันได้ แต่การพิจารณาเกี่ยวกับทรัพย์สินแต่ละรายการก็ต้องพิจารณาในประเด็นหลักเดียวกันว่ามีการกระทำความผิดมูลฐานตามคำร้องหรือไม่ และสำหรับผู้คัดค้านที่อ้างว่าเป็นเจ้าของที่แท้จริงหรือเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง อาจต้องพิจารณาว่าผู้คัดค้านนั้นเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงินหรือไม่ด้วย ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยเกี่ยวกับทรัพย์สินแต่ละรายการของผู้คัดค้านแต่ละราย จึงไม่ได้แยกเป็นแต่ละรายการอย่างแท้จริง และไม่ได้ขึ้นอยู่กับการแยกทรัพย์สินเป็นแต่ละรายการตามคำร้องของผู้ร้อง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ที่จะพิจารณาเกี่ยวกับข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องเป็นไปตามราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่ผู้คัดค้านแต่ละรายอุทธรณ์คัดค้านเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้คัดค้านรายนั้นรวมกัน กรณีนี้ทรัพย์สินรายการที่ 3 ของผู้คัดค้านที่ 2 แม้มีราคาประเมิน 32,484.24 บาท แต่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทที่ผู้คัดค้านที่ 2 อุทธรณ์รวม 3 รายการ มีราคาประเมินรวม 1,879,495.26 บาท คดีของผู้คัดค้านที่ 2 เกี่ยวกับทรัพย์สินทั้ง 3 รายการ จึงเกินห้าหมื่นบาท ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
of 349