พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: เงื่อนไขและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญานั้น มีบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 30 และ 31 เฉพาะกรณีที่ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการหรือพนักงานอัยการขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายในคดีที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น นอกเหนือจากสองกรณีนี้แล้ว การขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมไม่อาจจะมีได้ ดังนั้น เมื่อผู้เสียหายคนหนึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ผู้เสียหายอื่นจะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่อาจกระทำได้ และจะอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(2) ซึ่งบัญญัติให้สิทธิบุคคลภายนอกในกรณีร้องสอดขอเข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยร่วม ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาอนุโลมบังคับใช้ในกรณีนี้ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะอำนาจฟ้องดังกล่าวถือว่ากฎหมายได้กำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษโดยเฉพาะในมาตรา 30 และ 31 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้
การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ คู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
การให้วินิจฉัยปัญหาโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกานั้น เป็นอำนาจและหน้าที่ของประธานศาลฎีกาโดยเฉพาะ คู่ความจะร้องขอขึ้นมาหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3797-3798/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท, ข้อจำกัดการอุทธรณ์, ผลของคำพิพากษาฎีกาต่อคู่ความ
คดีสำนวนแรกโจทก์ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากที่พิพาทแม้ไม่ปรากฏตามคำฟ้องว่าที่พิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละเท่าใดแต่ก็ได้ความจากคดีในสำนวนหลังซึ่งมีผู้ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกให้ร่วมกันใช้ค่าขาดประโยชน์จากที่พิพาทเป็นเงินปีละ 2,400 บาทถือได้ว่าที่พิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทเมื่อจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาอาศัยคดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาได้ ข้อเท็จจริงคงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้บังคับคดีสำนวนแรกตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคงรับวินิจฉัยเฉพาะฎีกาของจำเลยที่ 1 ในสำนวนหลัง (โจทก์ในสำนวนแรก) ซึ่งคดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงแต่เมื่อศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์ให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 245,247
คดีสำนวนแรกศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1(ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนหลัง) แต่ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ที่พิพาทเป็นของ พ.จำเลยที่ 1 (ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก) ดังนี้ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้สิทธิแก่ พ.จำเลยที่ 1 ในการที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาฎีกานี้ต่อไป
คดีสำนวนแรกศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยที่ 1(ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนหลัง) แต่ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่า ที่พิพาทเป็นของ พ.จำเลยที่ 1 (ซึ่งเป็นโจทก์ในสำนวนแรก) ดังนี้ในคดีสำนวนหลังศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้สิทธิแก่ พ.จำเลยที่ 1 ในการที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิที่เกิดขึ้นจากผลของคำพิพากษาฎีกานี้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการพิพากษาเกินคำขอ กรณีต่อเติมบ้าน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินสองแปลงโดยระบุว่าจำเลยเป็นผู้อาศัย จำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่ง ส่วนอีกแปลงหนึ่งมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์ ที่ดินแปลงที่จำเลยมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์นี้เมื่อคำนวณค่าเช่าที่ดินบริเวณใกล้เคียงก็ดี หรือค่าตอบแทนที่จำเลยได้รับจากที่ดินแปลงนี้ก็ดี อาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาทแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านเลขที่ 6 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินนั้นของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยต่อเติมบ้านดังกล่าว 1 ห้องนอน เป็นการต่อเติมอย่างถาวร แม้จำเลยจะไปขอเลขบ้านใหม่เป็นบ้านเลขที่ 6/2 ส่วนที่ต่อเติมนี้ย่อมเป็นส่วนควบกับบ้านหลังเดิมและที่ดิน ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากบ้านเลขที่ 6/2 ได้ ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านเลขที่ 6 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินนั้นของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยต่อเติมบ้านดังกล่าว 1 ห้องนอน เป็นการต่อเติมอย่างถาวร แม้จำเลยจะไปขอเลขบ้านใหม่เป็นบ้านเลขที่ 6/2 ส่วนที่ต่อเติมนี้ย่อมเป็นส่วนควบกับบ้านหลังเดิมและที่ดิน ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากบ้านเลขที่ 6/2 ได้ ไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่และการต่อเติมบ้านซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินสองแปลงโดยระบุว่าจำเลยเป็นผู้อาศัยจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงหนึ่งส่วนอีกแปลงหนึ่งมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่จำเลยมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์นี้เมื่อคำนวณค่าเช่าที่ดินบริเวณใกล้เคียงก็ดีหรือค่าตอบแทนที่จำเลยได้รับจากที่ดินแปลงนี้ก็ดีอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ5,000บาทแล้วเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีเกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง. โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านเลขที่6ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินนั้นของโจทก์เมื่อปรากฏว่าจำเลยต่อเติมบ้านดังกล่าว1ห้องนอนเป็นการต่อเติมอย่างถาวรแม้จำเลยจะไปขอเลขบ้านใหม่เป็นบ้านเลขที่6/2ส่วนที่ต่อเติมนี้ย่อมเป็นส่วนควบกับบ้านหลังเดิมและที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากบ้านเลขที่6/2ได้ไม่เกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3609/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจใช้ได้แม้ระบุข้อจำกัดบางประการ การมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนจำเลยสมบูรณ์
ตามคำให้การของจำเลยที่3ได้ระบุชื่อจำเลยที่3ว่าจำเลยที่3โดยธ.ผู้รับมอบอำนาจและธ.ลงชื่อในคำให้การว่าผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่3ส่วนหนังสือมอบอำนาจท้ายคำให้การมีข้อความระบุว่าจำเลยที่3ขอมอบอำนาจให้ธ.กระทำกิจการแทนจนเสร็จสิ้นแม้ในคำให้การข้อ1จะใช้คำว่าเข้าเป็นจำเลยที่3แทนผู้มอบอำนาจในคดีนี้ก็มีความหมายเพียงให้ดำเนินคดีแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจเท่านั้นนอกจากนี้ที่หนังสือมอบอำนาจได้ระบุกิจการบางอย่างซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60บัญญัติห้ามไว้ก็เป็นเพียงทำให้ผู้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจกระทำกิจการบางอย่างเท่านั้นหาเป็นผลทำให้หนังสือมอบอำนาจเสียไปทั้งหมดไม่การมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ใช้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และฎีกาในคดีขับรถประมาททำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย: ข้อจำกัดการฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้โทษไม่เกินหนึ่งปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้รอการกำหนดโทษจำเลยและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยไว้ภายในเวลา2ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำคุกจำเลย9เดือนโดยไม่รอการลงโทษต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา219.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3401/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: การบังคับใช้กฎหมายไทยเมื่อเกิดความเสียหายในไทย และข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
แม้ผู้ขายสินค้าในประเทศสหรัฐอเมริกาได้จ้างจำเลยทั้งสองผู้ขนส่งซึ่งมีสัญชาติเดนมาร์กให้ขนส่งสินค้าทางทะเลจากประเทศสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทย แต่เมื่อของที่ขนส่งทางทะเลได้มาถึงท่าเรือกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วพบว่าตู้คอนเทนเนอร์ใบหนึ่งแตกของสูญหายไปบางส่วนมูลคดีนี้จึงเกิดขึ้นในประเทศไทยต้องบังคับกันตามกฎหมายแห่งประเทศไทย หามีปัญหาว่าจะพึงใช้กฎหมายใดบังคับอันจะต้องวินิจฉัยมาตรา13แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช2481ไม่ ป.พ.พ.มาตรา609วรรคสองบัญญัติว่ารับขนของทางทะเลให้บังคับตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการนั้นแต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับและไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.ลักษณะรับขนในหมวดรับขนของอันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี การที่จำเลยได้ออกใบตราส่งกำหนดเงื่อนไขไว้ด้านหลังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดสำหรับความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเกินไปกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรา4(5)แห่งกฎหมายว่าด้วยการขนส่งสินค้าทางทะเลของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็คือการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามป.พ.พ.มาตรา625นั่นเองเมื่อข้อความดังกล่าวระบุไว้ด้านหลังของใบตราส่งโดยไม่มีลายมือชื่อของผู้ส่งสินค้าลงไว้ด้วยจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งข้อความจำกัดความรับผิดดังกล่าวไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งผู้รับตราส่งและโจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเป็นบริวาร: ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อคดีเดิมต้องห้าม
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทซึ่งขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละห้าพันบาท จำเลยให้การว่าบ้านพิพาทเป็นของนาย ส. สัญญาซื้อขายบ้านพิพาทเป็นโมฆะและทำขึ้นเพื่อค้ำประกันเงินกู้ ต่อมาจำเลยประนีประนอมยอมความกับโจทก์ ยอมออกจากบ้านพิพาทและชำระค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในอันที่จะได้รับยกเว้น ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคสอง
ในชั้นบังคับคดีมีประเด็นว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลย ให้ขับไล่ผู้ร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารของจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่ในกรณีอื่นอันอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคู่ความเดิมในคดีฟ้องขับไล่ ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงผู้ร้องจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสาม ที่ผู้ร้องฎีกาว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องผู้ร้องจึงไม่ใช่บริวารจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ในชั้นบังคับคดีมีประเด็นว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลย ให้ขับไล่ผู้ร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารของจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่ในกรณีอื่นอันอยู่บนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคู่ความเดิมในคดีฟ้องขับไล่ ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงผู้ร้องจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสาม ที่ผู้ร้องฎีกาว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องผู้ร้องจึงไม่ใช่บริวารจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการพิพากษาถึงที่สุดในคดีขับไล่: ข้อจำกัดในการฎีกาเมื่อคู่ความเดิมต้องห้าม
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทซึ่งขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละห้าพันบาทจำเลยให้การว่าบ้านพิพาทเป็นของนายส.สัญญาซื้อขายบ้านพิพาทเป็นโมฆะและทำขึ้นเพื่อค้ำประกันเงินกู้ต่อมาจำเลยประนีประนอมยอมความกับโจทก์ยอมออกจากบ้านพิพาทและชำระค่าเสียหายศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้วถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในอันที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง ในชั้นบังคับคดีมีประเด็นว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยให้ขับไล่ผู้ร้องศาลอุทธรณ์พิพากษายืนเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารของจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่ในกรณีอื่นอันอยู่บนอสังหาริมทรัพย์เมื่อคู่ความเดิมในคดีฟ้องขับไล่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงผู้ร้องจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสามที่ผู้ร้องฎีกาว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องผู้ร้องจึงไม่ใช่บริวารจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องเกี่ยวกับประเด็นที่เคยมีคำพิพากษาแล้วเท่านั้น
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144จะต้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว โจทก์ขอให้หมายบังคับคดีครั้งแรกมีประเด็นว่าจำเลยผิดนัดเพราะมิได้ชำระเงินงวดเดือนธันวาคม2525หรือไม่โจทก์ขอให้หมายบังคับคดีในครั้งหลังมีประเด็นว่าจำเลยผิดนัดเพราะชำระเงินไม่ตรงกับวันที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่จึงเป็นคนละประเด็นกันกรณีจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144.