พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12434/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องทำทันทีหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา มิฉะนั้นขาดอำนาจพิจารณา
คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งได้จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ และต้องอุทธรณ์คำสั่งหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณานั้น จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งรับอุทธรณ์ในส่วนอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไว้ด้วย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก็ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบและถือว่าปัญหานี้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 การที่จำเลยฎีกาปัญหานี้ขึ้นมาจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12353/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันสังคม: คำสั่งยึดทรัพย์สินและการไม่ต้องอุทธรณ์ก่อนฟ้อง
ในกรณีที่นายจ้างไม่พอใจคำสั่งเป็นหนังสือของเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมที่ให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งไม่นำส่งเงินสมทบหรือเงินเพิ่ม หรือนำส่งจำนวนไม่ครบ อันเป็นการสั่งตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 50 วรรคหนึ่ง ต้องด้วยข้อยกเว้นไม่ต้องอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ก่อนตามมาตรา 85 วรรคหนึ่ง
แม้ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2548 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 50 วรรคสาม ข้อ 35 จะกำหนดว่าในกรณีที่มีคำสั่งอายัดเงิน ผู้ต้องส่งเงินตามคำสั่งอายัดจะปฏิเสธไม่ส่งมอบเงินหรือต้องการโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตนให้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมตามแบบคำร้องท้ายระเบียบนี้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้นก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงานกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ที่จะต้องส่งเงินตามคำสั่งอายัดที่จะยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งอายัดเงินนั้นหรือไม่ก็ได้ และภายใต้กฎเกณฑ์เช่นไร ไม่เกี่ยวกับขั้นตอนการฟ้องคดี จึงยกมาเป็นข้อตัดอำนาจโจทก์ไม่ให้ฟ้องคดีไม่ได้
เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่ใช่กรณีที่มีบทบัญญัติให้ต้องร้องเรียกต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
แม้ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2548 ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 50 วรรคสาม ข้อ 35 จะกำหนดว่าในกรณีที่มีคำสั่งอายัดเงิน ผู้ต้องส่งเงินตามคำสั่งอายัดจะปฏิเสธไม่ส่งมอบเงินหรือต้องการโต้แย้งหนี้ที่เรียกร้องเอาแก่ตนให้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมตามแบบคำร้องท้ายระเบียบนี้ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้นก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงานกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ที่จะต้องส่งเงินตามคำสั่งอายัดที่จะยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งอายัดเงินนั้นหรือไม่ก็ได้ และภายใต้กฎเกณฑ์เช่นไร ไม่เกี่ยวกับขั้นตอนการฟ้องคดี จึงยกมาเป็นข้อตัดอำนาจโจทก์ไม่ให้ฟ้องคดีไม่ได้
เมื่อคำฟ้องของโจทก์ไม่ใช่กรณีที่มีบทบัญญัติให้ต้องร้องเรียกต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ก่อนที่จะนำคดีมาสู่ศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8020/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุด ห้ามฎีกา
เมื่อศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาคำร้องนั้น แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิ ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7766/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญา: การไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาทำให้เสียสิทธิอุทธรณ์
ระหว่างการพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย วันที่ 19 มกราคม 2553 ก่อนสืบพยานศาลสอบถามทนายจำเลยเกี่ยวกับปัญหาอำนาจศาลตามคำให้การจำเลย ทนายจำเลยแถลงยังติดใจในประเด็นดังกล่าว และศาลวินิจฉัยว่ากรณีไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางหรือไม่ แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย โดยไม่ได้เสนอปัญหาให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย อันเป็นคำสั่งในระหว่างการพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง และศาลมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2553 ทั้งนี้โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 226 จึงไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7383/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องวางค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษา หากไม่วาง ศาลมีอำนาจไม่รับอุทธรณ์
บทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ใช้บังคับแก่การอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งในทุกกรณี หาได้ใช้บังคับเฉพาะการอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีเท่านั้นไม่ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณา ผู้อุทธรณ์ก็อยู่ในบังคับต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์เช่นกัน การจำกัดสิทธิการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 หาได้เป็นบทบัญญัติยกเว้นให้ผู้อุทธรณ์ไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมต่อศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามมาตรา 229 ไม่ การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลย ซึ่งเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา และจำเลยมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยอนุญาตให้สืบพยานจำเลยและพิจารณาพิพากษาใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ถูกยกเลิกเพิกถอนไป ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว การอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมมีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยตรง จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที และกรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ที่ศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนที่จะมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมา ก็ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: พยานหลักฐานใหม่ต้องขัดแย้งและสำคัญแก่คดี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจตัดสินและคำสั่งเป็นที่สุด
ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 8 เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องไต่สวนคำร้องแล้วส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาว่าจะสั่งรับคำร้องนั้นไว้เพื่อดำเนินการพิจารณาคดีนั้นใหม่หรือไม่ตามมาตรา 9 ซึ่งในการพิจารณาสั่งคำร้องนั้น มาตรา 10 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น" และวรรคสองบัญญัติว่า "คำสั่งของศาลอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด" ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องหยิบยกขึ้นอ้างล้วนแต่ประกอบด้วยพยานหลักฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนและศาลได้วินิจฉัยชั่งน้ำหนักในคดีถึงที่สุดนั้นแล้วทั้งสิ้นหาใช่เป็นพยานหลักฐานใหม่อันขัดแย้งและสำคัญแก่คดีไม่ เหตุตามคำร้องจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาคดีใหม่ พ.ศ.2526 มาตรา 5 (1) (2) (3) เท่ากับเห็นว่า คำร้องของผู้ร้องไม่มีมูล คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกคำร้องของผู้ร้องย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 10 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15991/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน หากฟ้องไม่ชัดเจนเรื่องวันกระทำผิดและวันปิดประกาศคำสั่ง ฟ้องอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 47 ทวิ กำหนดให้มีการปิดประกาศคำสั่งที่ให้ระงับการก่อสร้างและที่ให้รื้อถอนไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ อาคารหรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว และให้ถือว่าผู้ซึ่งจะต้องรับคำสั่งได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วเมื่อพ้นกำหนดสามวันนับแต่วันที่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว ดังนั้น วันที่ปิดประกาศคำสั่งจึงเป็นวันเริ่มนับระยะเวลาที่ให้ถือว่าจำเลยทราบคำสั่งและมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด มิฉะนั้นก็จะมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง วันที่ปิดประกาศคำสั่งจึงบ่งบอกวันกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง แต่คดีนี้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าปิดประกาศแจ้งคำสั่งดังกล่าวเมื่อใด ดังนั้น จึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อใด จึงถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาที่เกิดการกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์ในความผิดทั้งสองฐานนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10758/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งแก้ฟ้องและเหตุอันควรในการแก้ไขฟ้องอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 196 บัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาจนกว่าจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในประเด็นสำคัญและมีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นด้วย โดยมิได้บัญญัติให้คู่ความต้องโต้แย้งไว้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 226 ฉะนั้น เมื่อจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้แม้จะมิได้โต้แย้งไว้ก็ตาม ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และไม่รับวินิจฉัยนั้นไม่ชอบ
ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตามคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์อ้างเหตุว่าคำฟ้องของโจทก์ผิดพลาดในรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยในการพิมพ์ ขอแก้คำฟ้องจาก ร่วมกันลักเอารถจักรยานยนต์ เป็น ร่วมกันลักเอารถยนต์ ดังนี้ เหตุที่โจทก์อ้างมานั้นถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้เนื่องจากเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องดังกล่าวเป็นการแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำความผิดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 ฉะนั้นจึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 164 และมิใช่เป็นการแก้ฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่สมบูรณ์ให้เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือสมบูรณ์ดังที่จำเลยฎีกา
ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ตามคำร้องขอแก้ฟ้องของโจทก์อ้างเหตุว่าคำฟ้องของโจทก์ผิดพลาดในรายละเอียดปลีกย่อยเล็กน้อยในการพิมพ์ ขอแก้คำฟ้องจาก ร่วมกันลักเอารถจักรยานยนต์ เป็น ร่วมกันลักเอารถยนต์ ดังนี้ เหตุที่โจทก์อ้างมานั้นถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้เนื่องจากเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องดังกล่าวเป็นการแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำความผิดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 ฉะนั้นจึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 164 และมิใช่เป็นการแก้ฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่สมบูรณ์ให้เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายหรือสมบูรณ์ดังที่จำเลยฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4314/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งยกคำร้องปล่อยตัวผู้ต้องขัง: แม้ผู้ร้องไม่อุทธรณ์ ผู้ถูกคุมขังก็มีสิทธิอุทธรณ์ได้
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นบิดาของจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยจำเลยที่ 1 โดยอ้างว่า จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้สิทธิยื่นคำร้องตามมาตรา 90 (5) เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ผู้ถูกคุมขัง เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง แม้ผู้ร้องไม่อุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถูกคุมขังเองเป็นผู้มีส่วนได้เสียและได้รับผลกระทบโดยตรงจากคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้อง มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นได้ เนื่องจากไม่มีบทกฎหมายใดห้ามหรือจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในกรณีนี้ไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14177/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีสัญญาประกัน: การดำเนินการภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำสั่ง ถือว่าชอบแล้ว แม้บังคับคดีเกินกำหนด
พนักงานอัยการซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการบังคับคดีตามสัญญาประกันจำเลยตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (8) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะบังคับคดี ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นให้ออกหมายบังคับคดีแก่ผู้ร้อง (ผู้ประกันที่ 1) ในวันที่ 10 มีนาคม 2542 และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 ต่อมาวันที่ 9 เมษายน 2542 ศาลชั้นต้นในฐานะที่เป็นผู้บังคับตามสัญญาประกันได้ส่งเงินค่าใช้จ่ายในการบังคับคดีที่ผู้ร้อง (ผู้ประกันที่ 1) วางต่อศาลชั้นต้นให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี ดังนี้ ถือได้ว่าพนักงานอัยการขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้บังคับคดีตามคำสั่งอันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนในการขอให้บังคับคดีแก่ผู้ร้อง (ผู้ประกันที่ 1) แล้ว เมื่อพนักงานอัยการดำเนินการขอให้บังคับคดีแก่ผู้ร้อง (ผู้ประกันที่ 1) ภายในกำหนดเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำสั่ง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเมื่อใดนั้นเป็นขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดี แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะไปบังคับคดีเกินสิบปีนับแต่วันมีคำสั่ง ก็ถือได้ว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งภายในสิบปีนับแต่วันมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 แล้ว แม้ต่อมามี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 มาตรา 34 ให้เพิ่มความเป็นมาตรา 119 วรรคสอง บัญญัติให้ถือว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกันดังกล่าวก็ตาม ก็ต้องถือว่าผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลชั้นต้นได้มีการร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำสั่งแล้ว ดังนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปโดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตขยายระยะเวลาการบังคับคดีแก่ผู้ร้อง (ผู้ประกันที่ 1) อีก