คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทรัพย์มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกต่อเนื่อง หากฟ้องคดีแรกขาดอายุความแล้ว คดีหลังก็ขาดอายุความตามไปด้วย
คดีเรื่องก่อน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งฟ้องนางสาวเสงี่ยมซึ่งเป็นทายาทด้วยกันขอส่วนแบ่งมรดก ทายาทคนอื่นมิได้เข้าเป็นคู่ความร่วมเพื่อขอส่วนแบ่งด้วย คดีถึงที่สุดโดยโจทก์กับนางสาวเสงี่ยมตกลงประนีประนอมยอมความกันให้ที่นามรดกโฉนดที่ 2154 และ 2155 ได้แก่โจทก์ ทรัพย์นอกนั้นได้แก่นางสาวเสงี่ยม ต่อมาโจทก์ไปจัดการขอรับมรดกที่ดินโฉนดนั้นต่อสำนักงานที่ดิน ทายาทอื่นได้โต้แย้งการรับมรดก โจทก์จึงฟ้องทายาทอื่นเป็นจำเลยขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องและถอนคำโต้แย้งนั้น จำเลยให้การตัดฟ้องว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความมรดก ดังนี้ การฟ้องร้องคดีเรื่องก่อนต้องฟ้องภายในอายุความ คือภายใน 1 ปี อายุความจึงจะสะดุดหยุดอยู่ อันอาจเป็นเหตุทำให้โจทก์ฟ้องคดีเรื่องหลังเกินกว่า 1 ปีได้ แต่ปรากฎว่าเจ้ามรดกตายเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2501 แต่โจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อนเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2502 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ขาดอายุความแล้ว ดังนั้นการฟ้องคดีเรื่องก่อนของโจทก์จึงไม่เป็นเหตุทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีเรื่องหลังได้เกินกว่า 1 ปี เมื่อคดีเรื่องหลังปรากฎว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองนาพิพาทรายนี้ตลอดมา และนับแต่เจ้ามรดกตาย โจทก์มิได้ครอบครองนาพิพาทรายนี้เลยเป็นเวลาเกือบ 2 ปี คดีเรื่องหลังของโจทก์ย่อมขาดอายุความมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกโดยบุตร ไม่ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
เรือนพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลย ตามปกติให้คนเช่าโจทก์ (บิดาจำเลย) มิได้อยู่เอง เมื่อมารดาจำเลยตาย จำเลยซึ่งเป็นบุตรก็ถือว่าตนมีส่วนได้รับมรดกด้วย จึงได้ใช้สิทธิเข้าครอบครองเรือนพิพาทที่ว่างอยู่ ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้สิทธิเข้าครอบครองทรัพย์มรดก มิได้มีเจตนาบุกรุกอันจะเป็นความผิดทางอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมและครอบครองปรปักษ์: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยเจ้าของร่วมและการคำนวณอายุความ
โจทก์อยู่กับมารดาที่เรือนมารดาในที่พิพาทก่อนมารดาตายมารดาตายที่พิพาทตกเป็นมรดกของมารดา โจทก์ก็ยังคงอยู่ที่เรือนมารดาอีกหลายเดือนนับแต่มารดาตาย แล้วเรือนมารดาก็ถูกรื้อถวายวัด โจทก์จึงมาอยู่ที่เรือนจำเลยในที่พิพาทอีกหลายเดือน รวมเวลาที่โจทก์อยู่ในที่พิพาทหลังจากมารดาตายได้ราวปีเศษ โจทก์จึงไปอยู่ที่จังหวัดอื่น นับว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกมากับจำเลยด้วยกันในตอนแรก โจทก์กับจำเลยจึงมีฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์มรดกร่วมกันมา การที่จำเลยครอบครองที่พิพาทต่อมาถือได้ว่าครอบครองที่พิพาทไว้แทนในฐานะเป็นเจ้าของร่วม แม้โจทก์มาฟ้องขอให้แบ่งมรดกที่พิพาทภายหลังมารดาตายแล้ว 18 ปี คดีก็ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยคนเดียว ขอให้แบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองคนละ 1 ใน 3 ส่วน แต่ปรากฏว่าคดีสำหรับโจทก์ที่ 1 ขาดอายุความมรดกแล้ว โจทก์ที่ 2 คงมีสิทธิรับมรดกร่วมกับจำเลยเพียง 2 คนดังนี้ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดก 1 ใน 2 ส่วน ไม่ได้เพราะเกินคำขอ คงพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดก 1 ใน 3 ส่วนตามคำขอ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 12/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์มรดกให้บุคคลไม่มีสิทธิ ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
ทายาทโดยธรรมทำสัญญายกทรัพย์มรดกที่ดินที่ตนมีสิทธิรับมรดกให้แก่บุคคลที่ไม่มีสิทธิรับมรดก แต่สัญญายกให้นั้นไม่มีข้อความแสดงว่าทั้งสองฝ่ายทำสัญญาเพื่อระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งเพื่อให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันแต่อย่างใดสัญญายกให้นั้นย่อมไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1619/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก อำนาจฟ้อง และการคุ้มครองค่าเช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
สถานที่เช่าเป็นเคหะสถานอันได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าหรือไม่นั้น จำเลยต้องนำสืบก่อน
ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 นั้น เป็นเรื่องที่คู่ความโต้เถียงกันว่า ฝ่ายใดมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เป็นประการสำคัญ การที่อ้างว่าผู้ใดไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาท ไม่ใช่ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงศาลชั้นต้นสั่งว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยให้นำส่งสำเนาให้โจทก์ภายใน 15 วัน" ศาลฎีกาเห็นว่า ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ตามธรรมดา ไม่ได้สั่งในรูปรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 2+ วรรคสองเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าประเด็นใดเป็นประเด็นข้อเท็จจริงต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ ก็ไม่หยิบยกประเด็นนั้น ๆ ขึ้นวินิจฉัย เป็นการถูกต้องแล้ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1599 ทายาทย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดก ตั้งแต่เจ้ามรดกตาย แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนสิทธินั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12+ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473-1474/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกของทายาทโดยไม่ต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตามมาตรา 1381 และอำนาจศาลในการบังคับแบ่งทรัพย์มรดก
จ.บุตรอาศัยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของบิดามารดาครั้นบิดาตาย ที่ดินแปลงนั้นในส่วนที่เป็นสินสมรส ของบิดาก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทซึ่งมี จ.รวมอยู่ด้วย การที่จ. อยู่ในที่ดินมรดกนับแต่นั้นมา ได้ชื่อว่าเป็นการอยู่การครอบครองของทายาท ในทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกันตามมาตรา 1748 แล้ว โดยไม่ต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทายาทของเจ้ามรดกมีโจทก์จำเลยกับคนอื่น รวม 11 คนเป็นทายาท คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยแบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกให้โจทก์ตามส่วน หากขัดข้องก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลย หรือมิฉะนั้น ให้จำเลยใช้เงินแก่โจกท์ ทั้ง 4 คน ๆ ละ 17,433.33 บาท ดังนี้ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เอาที่ดินและบ้านอันเป็นมรดกมาแบ่งให้แก่โจทก์ตามส่วน และว่าถ้าแบ่งไม่ตกลงก็ให้ประมูลกันเอง หรือขายทอดตลาดทรัพย์ที่จะต้องแบ่ง
(โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ก็ได้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473-1474/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทในทรัพย์มรดกและการครอบครองทรัพย์สินโดยทายาทโดยไม่ต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือ
จ.บุตรอาศัยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของบิดามารดา ครั้นบิดาตายที่ดินแปลงนั้นในส่วนที่เป็นสินสมรสของบิดาก็เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทซึ่งมี จ.รวมอยู่ด้วย การที่จ. อยู่ในที่ดินมรดกนับแต่นั้นมาได้ชื่อว่าเป็นการอยู่การครอบครองของทายาทในทรัพย์มรดก ซึ่งยังมิได้แบ่งกันตามมาตรา 1748 แล้ว โดยไม่ต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ทายาทของเจ้ามรดกมีโจทก์จำเลยกับคนอื่นรวม 10 คนเป็นทายาท คำขอท้ายฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยแบ่งที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์มรดกให้โจทก์ตามส่วน หากขัดข้องก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยหรือมิฉะนั้นให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ทั้ง 4 คนๆ ละ 17,433.33 บาท ดังนี้ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เอาที่ดินและบ้านอันเป็นมรดกมาแบ่งให้แก่โจทก์ตามส่วน และว่าถ้าแบ่งไม่ตกลงก็ให้ประมูลกันเองหรือขายทอดตลาดทรัพย์ที่จะต้องแบ่ง (โดยมิได้พิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ก็ได้)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทุนสงเคราะห์ ท.ส.ค. เป็นทรัพย์มรดก ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นได้ แม้ระบุผู้รับไว้ก่อน
เมื่อปรากฏว่าเงินทุนสงเคราะห์ (ท.ส.ค.) ของผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟ เป็นเงินที่เก็บจากผู้ปฏิบัติงานร้อยละ 5 ของเงินเดือนทุกเดือน และการรถไฟจ่ายสมทบอีกมีจำนวนร้อยละ 10 ถ้าผู้ปฏิบัติงานต้องออกจากงานรวมทั้งดอกเบี้ยและกองทุนจ่ายเพิ่มให้อีกเป็นจำนวนเท่ากันนั้น เห็นได้ว่าเงินทุนสงเคราะห์นี้เป็นเงินที่ผู้ปฏิบัติงานมีสิทธิได้รับอยู่ก่อนแล้ว หากผู้นั้นตายลงก็ย่อมตกเป็นมรดก
แม้จะระบุในสมุดประวัติ (ท.ส.ค.) ให้จำเลยเป็นผู้รับเงินทุนสงเคราะห์ก็ดี แต่หากต่อมาภายหลังเจ้าของเงินทุนสงเคราะห์ทำพินัยกรรมระบุยกให้โจทก์เป็นผู้รับ ก็เป็นการตัดจำเลยไปตามพินัยกรรมนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกเกิน 1 ปี ทำให้ทายาทหมดสิทธิในทรัพย์นั้น
ในคดีร้องขัดทรัพย์ ปรากฎว่าทรัพย์พิพาทที่โจทก์นำยึดโดยอ้างว่าเป็นของจำเลยนั้นเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายและผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของผู้ตายเป็นผู้ครอบครองมาฝ่ายเดียวนับแต่วันที่ผู้ตายได้ถึงแก่ความตายจนถึงวันที่โจทก์นำยึดเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี โดยจำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายมิได้เป็นผู้ครอบครองภายในระยะเวลาดังกล่าว ดังนี้ จำเลยย่อมหมดสิทธิในทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นมรดก โจทก์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทนั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดเจน: เหตุผลการไม่อนุมัติทรัพย์มรดกทั้งหมด และการอ้างอิงคำให้การแทนข้อกฎหมาย
ฎีกาที่บรรยายว่า 'โจทก์ไม่ควรได้รับทรัพย์รายพิพาททั้งหมดดังข้อต่อสู้ของจำเลย' เพียงเท่านี้มิได้กล่าวมาให้ชัดแจ้งว่าโจทก์ไม่ควรได้รับทรัพย์มรดกทั้งหมดเพราะเหตุใด หรือโจทก์ควรได้รับเท่าใด นั้น เป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงโดยชัดแจ้งในฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 และจะไปอ้างอิงคำให้การมาเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาไม่ได้ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยในข้อนี้ให้
of 49