คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดภรรยาต่อหนี้สามีหลังใช้พ.ร.บ.บรรพ 5: พิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การที่สามีไปก่อหนี้ขึ้นระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยาและภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแค่ไหนเพียงใดนั้น ไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ในครอบครัวตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 4 แต่เป็นปัญหาที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกร่วมกับสามีต่างหาก จะเทียบกับเรื่องแบ่งสินสมรสก็ไม่ได้ เพราะนั่นเป็นเรื่องภายใน ไม่ได้เกี่ยวข้องถึงความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
เป็นสามีภรรยากันตามกฎหมายเก่าสามีไปก่อหนี้ขึ้นเมื่อใช้บรรพ 5 แล้วการที่ภรรยาจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพียงใดนั้น ต้องวินิจฉัยไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่ตามกฎหมายเก่า
หนี้ซึ่งก่อขึ้นระหว่างสมรสจะถือว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยาได้ก็ต้องเป็นกรณีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1482 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อจดทะเบียนกรรมสิทธิ์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลว่าที่ดินโฉนดที่ 259 มีชื่อผู้ร้อง นายทองสามีผู้ร้องและนางชด เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เมื่อ 20 ปีเศษมานี้ นางชดได้สละกรรมสิทธิ์ส่วนของตนโดยอพยพไปอยู่จังหวัดสระบุรีและมิได้กลับเข้าครอบครองที่ดินแปลงนี้อีก และวันที่ 20 ตุลาคม 2493 นายทองสามีผู้ร้องถึงแก่กรรม ผู้ร้องจึงได้ครอบครองที่แปลงนี้ทั้งหมดแต่ผู้เดียวโดยสงบเปิดเผยโดยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนของนางชดและส่วนของนายทองสามีผู้ร้อง จึงขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินส่วนของนางชดและของนายทองเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง คำร้องขอเช่นว่านี้เป็นการอ้างว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382 ซึ่งผู้ร้องมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวเพื่อให้ศาลไต่สวนแสดงว่าตนมีกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 188 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 86/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความจำเป็นในการสร้างทางผ่านตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1349 วรรค 3
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรค 3 ที่บัญญัติว่าที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ ให้เสียหายน้อยที่สุดที่จะเป็นได้ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้นั้นความพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน จะมีแค่ไหนเพียงไร เป็นข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คไม่ใช่การชำระด้วยเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 จึงไม่ต้องใช้หลักฐานตาม มาตรา 653
การใช้เช็คชำระเงินกู้ย่อมเป็นการชำระหนี้ด้วยการออกตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรค3 จึงเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่งมิใช่การชำระหนี้ด้วยเงิน จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2
ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 19/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลายื่นคำให้การ: หลักการนับเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การนับระยะเวลายื่นคำให้การภายใน 8 วัน ตามที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177,178 บัญญัติไว้นั้นต้องนับตามวิธีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158,160 บัญญัติไว้ คือไม่นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมคำนวณเข้าด้วยถ้าระยะเวลานั้นผ่อนออกไป ให้นับเอาวันซึ่งต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมนั้นเป็นวันต้นแห่งระยะเวลาซึ่งผ่อนออกไป
ศาลชั้นต้นสั่งในวันที่ 22 สิงหาคม 2503 ว่าให้ยึดเวลายื่นคำให้การไป 3 วัน จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การได้ในวันที่ 25 สิงหาคม 2503

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้ด้วยการชำระเงิน vs. การยอมรับทรัพย์สินอื่นแทนเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๖๕๓
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้ เงินโจทก์แต่ จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์จริง แต่ได้ชำระเงินกู้พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โดยโจทก์จำเลยตกลงกันว่า โจทก์จะเป็นผู้รับเงินค่าจ้างทำทางจากกรมทางฯ แทนบริษัทพาณิชย์ฯ ซึ่งจำเลยรับจ้างจากบริษัทพาณิชย์ ฯ ขุดดินถมคันทางที่บริษัทพาณิชย์ฯ รับจ้างสร้างทางจากกรมทางฯ และโจทก์ก็ได้รับเงินจากกรมทางฯ ไปแล้วโดยโจทก์ได้หักเงินจำนวนนั้น ชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้ พร้อมด้วยดอกเบี้ยครบถ้วนแล้ว หนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่มีเหลืออยู่ ที่จำเลยให้การต่อสู้ดังนี้ ย่อมหมายความว่า หนี้เงินกู้รายนี้ได้ระงับโดยมีใช้เงินกันแล้ว หาใช่ระงับไปเพราะมีการยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินไม่ เมื่อการใช้หนี้เงินกู้รายนี้ จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดงทั้งจำเลยยอมรับว่าสัญญากู้เวลานี้ยังอยู่ที่โจทก์โดยมิได้มีการสลักหลังกันแต่ประการใด จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำสืบการใช้เงินกู้นี้ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรค 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้ด้วยการชำระเงินและการนำสืบพยานหลักฐานการชำระหนี้ภายใต้ข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินโจทก์จริง แต่ได้ชำระเงินกู้พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว โดยโจทก์จำเลยตกลงกันว่า โจทก์จะเป็นผู้รับเงินค่าจ้างทำทางจากกรมทางฯ แทนบริษัทพาณิชย์ฯ ซึ่งจำเลยรับจ้างจากบริษัทพาณิชย์ฯขุดดินถมคันทางที่บริษัทพาณิชย์ฯ รับจ้างสร้างทางจากกรมทางฯ และโจทก์ได้รับเงินจากกรมทางฯ ไปแล้วโดยโจทก์ได้หักเงินจำนวนนั้นชำระหนี้เงินที่จำเลยกู้พร้อมด้วยดอกเบี้ยครบถ้วนแล้ว หนี้สินระหว่างโจทก์จำเลยจึงไม่มีเหลืออยู่ ที่จำเลยให้การต่อสู้ดังนี้ ย่อมหมายความว่า หนี้เงินกู้รายนี้ได้ระงับไปแล้ว ซึ่งเท่ากับจำเลยได้ต่อสู้คดีว่าหนี้ระงับโดยมีการใช้เงินกันแล้ว หาใช่ระงับไปเพราะมีการยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินไม่ เมื่อการใช้หนี้เงินกู้รายนี้ จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดงทั้งจำเลยยอมรับว่าสัญญากู้เวลานี้ยังอยู่ที่โจทก์โดยมิได้มีการสลักหลังกันแต่ประการใด จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะนำสืบการใช้เงินกู้นี้ได้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้าง: การพิจารณาช่วงเวลาการจ่ายเงินเพื่อกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เงินเดือนมีลักษณะเป็นเงินค่าจ้าง ทำงานนั่นเอง แต่มีลักษณะจ่ายเป็นรายเดือนจึงเรียกว่าเงินเดือน
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยข้าวเปลือกแทนเงิน และการระงับหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
จำเลยให้การรับว่า ได้ทำสัญญายืมเงิน โจทก์จริง แต่โจทก์ได้ยอมรับชำระหนี้ ด้วยข้าวเปลือก แทนเงินตามสัญญายืม ดังนี้ หนี้เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 จำเลยย่อมสืบได้ ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 653 วรรค 2 (อ้างฎีกาที่ 905/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยข้าวเปลือกแทนเงิน และผลของการระงับหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321
จำเลยให้การรับว่า ได้ทำสัญญายืมเงินโจทก์จริง แต่โจทก์ได้ยอมรับชำระหนี้ด้วยข้าวเปลือกแทนเงินตามสัญญายืม ดังนี้ หนี้เป็นอันระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 จำเลยย่อมสืบได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 653 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 905/2497)
of 42