พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้จดทะเบียนไม่สมบูรณ์ หากมีเจตนาระงับข้อพิพาท
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกส่วนแบ่งที่ดินคนละ 1 แปลงจากจำเลยตามที่จำเลยตกลงยอมแบ่งให้ มาในคำฟ้องเดียวกันเป็นเรื่องโจทก์แต่ละคนต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน (อ้างฎีกาที่ 1712/2514)แต่ไม่ปรากฏว่าราคาที่ดินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมีจำนวนเท่าใดโจทก์ทั้งสามคงตั้งราคาทรัพย์รวมกันมาเป็นเงิน 5,500 บาท แต่ทรัพย์พิพาทเดิมเป็นผืนเดียวกัน และจำนวนเนื้อที่ดินของโจทก์แต่ละคนก็ไม่แตกต่างกันมาก จึงพออนุมานได้ว่าราคาทรัพย์สินที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมีจำนวนไม่เกิน 5,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์จึงฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248(เทียบฎีกาประชุมใหญ่ที่ 1525/2511)
บันทึกถ้อยคำที่จำเลยให้ไว้ต่อนายอำเภอมีข้อความว่า ที่จำเลยยกที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสามนั้น เพราะคนทั้งสามเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับมารดาจำเลย และมีส่วนร่วมในนาแปลงนี้กับมารดาจำเลย บันทึกถ้อยคำดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ในฐานเป็นการให้ทรัพย์สินนาพิพาทเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525แต่คดีปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อพิพาทระหว่างกันในเรื่องนาพิพาทนี้อยู่แล้ว การที่จำเลยไปให้ถ้อยคำและลงชื่อไว้ตามบันทึกดังกล่าว จึงแสดงถึงเจตนาของฝ่ายโจทก์และจำเลยที่จะระงับข้อพิพาทนั้นซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไป ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850แล้ว แม้จำเลยจะลงชื่อไปฝ่ายเดียว โจทก์ก็มีสิทธินำสัญญานี้มาฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ (อ้างฎีกาที่ 308/2509)
ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แต่ศาลล่างมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในบางประเด็นไว้ ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าเป็นประเด็นที่จำเลยได้ต่อสู้ไว้และพยานหลักฐานก็ได้นำสืบกันมาในสำนวนแล้วก็ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างวินิจฉัยใหม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อนั้นไปได้เลย
บันทึกถ้อยคำที่จำเลยให้ไว้ต่อนายอำเภอมีข้อความว่า ที่จำเลยยกที่นาพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสามนั้น เพราะคนทั้งสามเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับมารดาจำเลย และมีส่วนร่วมในนาแปลงนี้กับมารดาจำเลย บันทึกถ้อยคำดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ในฐานเป็นการให้ทรัพย์สินนาพิพาทเพราะมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525แต่คดีปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้มีข้อพิพาทระหว่างกันในเรื่องนาพิพาทนี้อยู่แล้ว การที่จำเลยไปให้ถ้อยคำและลงชื่อไว้ตามบันทึกดังกล่าว จึงแสดงถึงเจตนาของฝ่ายโจทก์และจำเลยที่จะระงับข้อพิพาทนั้นซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไป ถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850แล้ว แม้จำเลยจะลงชื่อไปฝ่ายเดียว โจทก์ก็มีสิทธินำสัญญานี้มาฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ (อ้างฎีกาที่ 308/2509)
ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง แต่ศาลล่างมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในบางประเด็นไว้ ถ้าศาลฎีกาเห็นว่าเป็นประเด็นที่จำเลยได้ต่อสู้ไว้และพยานหลักฐานก็ได้นำสืบกันมาในสำนวนแล้วก็ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างวินิจฉัยใหม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อนั้นไปได้เลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2465/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่จดทะเบียนแล้วย่อมผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ แม้มีการขายฝากและหลุดเป็นสิทธิ
เจ้าของที่ดินและตึกพิพาทเอาที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากในระหว่างขายฝากได้เอาตึกพิพาทไปให้จำเลยเช่า โดยผู้ซื้อฝากมิได้รู้เห็นยินยอมอนุญาต สัญญาเช่าจึงไม่ผูกพันผู้ซื้อฝาก แต่เจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับผู้เช่ายังคงถูกผูกพันอยู่ตามสัญญาเช่า เพราะสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าเป็นบุคคลสิทธิ เมื่อเจ้าของที่ดินขายฝาก แล้วไม่ไถ่คืน ทรัพย์สินที่ขายฝากหลุดเป็นสิทธิแก่ผู้ซื้อฝากผู้ซื้อฝากได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ ในที่สุดเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทได้ซื้อที่ดินและตึกพิพาทคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์อีกครั้งหนึ่ง จึงต้องถือว่า ตึกพิพาทมีสัญญาเช่าที่จดทะเบียนโดยชอบ ระหว่างเจ้าของที่ดินและตึกพิพาทกับจำเลยผู้เช่า เมื่อเจ้าของนำที่ดินและตึกพิพาทไปขายฝากใหม่ผู้ซื้อฝากคนใหม่จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่า ซึ่งเจ้าของที่ดินมีอยู่ต่อจำเลยแม้ภายหลังผู้ซื้อฝากจะได้ทรัพย์สินหลุดเป็นสิทธิแล้วขายต่อให้แก่โจทก์ สัญญาเช่าดังกล่าวก็ยังคงตกติดมายังโจทก์อีกมิได้ระงับไปแต่อย่างใด โจทก์ผู้รับโอนถูกผูกพันตามสัญญาเช่านั้น จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากตึกพิพาท หรือเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2240/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามคำท้าสาบานและการฟ้องซ้ำในประเด็นเดิม
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้จดทะเบียนรับรอง ก. เป็นบุตรแล้วตกลงท้าสาบานกันโดยถ้าจำเลยสาบานได้ ต้องฟังว่าก. ไม่ใช่บุตรของจำเลย จำเลยสาบานได้ตามคำท้า โจทก์จึงขอถอนฟ้อง และแถลงต่อศาลว่า ไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยอีก ศาลสั่งอนุญาต คำแถลงของโจทก์เช่นนี้เป็นการยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 ซึ่งบัญญัติมิให้โจทก์มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยได้ใหม่ จึงผูกมัดตัวโจทก์ตามคำท้า โจทก์จะนำคดีมาฟ้องจำเลยขอให้จดทะเบียนรับ ก. เป็นบุตร อันมีประเด็นอย่างเดียวกันอีกหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่าเลี้ยงชีพหลังแยกทาง: สัญญาผูกพันโดยไม่ต้องจดทะเบียนเมื่อมีเจตนาชัดเจน
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์ไว้ มีความว่า จำเลยได้เสียเป็นสามีภริยากับโจทก์มาประมาณ 10ปี แต่มิได้จดทะเบียนสมรสบัดนี้จำเลยประสงค์จะแต่งงานใหม่กับหญิงอื่น แต่โดยคุณงามความดีที่มีไมตรีต่อกันมานาน จำเลยจึงตกลงจ่ายเงินค่าเลี้ยงชีพให้แก่โจทก์เดือนละ 300 บาท ตลอดเวลาที่โจทก์ยังไม่มีสามีใหม่ ถ้าไม่ปฏิบัติตามสัญญา ขอให้โจทก์ฟ้องร้องต่อศาลหรือทางราชการกรมเจ้าสังกัดของจำเลยได้การแสดงเจตนาของจำเลย ดังนี้ มีลักษณะในทำนองที่จำเลยประสงค์จะมิให้เกิดข้อยุ่งยากขึ้นในระหว่างจำเลยกับโจทก์ในเมื่อจำเลยแต่งงานใหม่กับหญิงอื่น หาใช่การให้คำมั่นว่า จะให้ทรัพย์สินแก่โจทก์โดยเสน่หาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 526 ประกอบด้วยมาตรา 521 ไม่ จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีการจดทะเบียนสัญญาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อให้สัญญานี้มีผลบังคับ จำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างผูกพันแม้ไม่มีตราบริษัท หากยอมรับผลงานและชำระเงินเป็นงวด
ข้อบังคับของบริษัทจำเลยกำหนดว่ากรรมการผู้จัดการมีอำนาจลงนามแทนบริษัทแต่ต้องประทับตราบริษัท การที่บริษัทจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์โดยในสัญญาไม่ได้ประทับตราบริษัทจำเลยแต่เมื่อบริษัทจำเลยยอมรับเอาผลงานที่โจทก์ทำให้ จนมีการชำระเงินค่าจ้างเรียบร้อยไปงวดหนึ่งแล้ว บริษัทจำเลยจะ ปฏิเสธว่าสัญญาจ้างดังกล่าวไม่ผูกพันบริษัทจำเลยหาได้ไม่ (อ้างฎีกาที่ 1525/2494)
สัญญาจ้างซึ่งระบุว่าผู้จ้างจะจ่ายเงินค่าแรงงานในการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ นั้น เมื่อผู้รับจ้างทำงานเสร็จตามงวดแล้ว ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินตามงวดที่เสร็จไปแล้วได้ ไม่ต้องรอให้งานเสร็จครบถ้วนตามสัญญา
สัญญาจ้างซึ่งระบุว่าผู้จ้างจะจ่ายเงินค่าแรงงานในการก่อสร้างให้แก่ผู้รับจ้างเป็นงวด ๆ นั้น เมื่อผู้รับจ้างทำงานเสร็จตามงวดแล้ว ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ว่าจ้างจ่ายเงินตามงวดที่เสร็จไปแล้วได้ ไม่ต้องรอให้งานเสร็จครบถ้วนตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเดิมผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเดิม ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันหากเกิน 3 ปี
จำเลยเช่าตึกแถวของ อ. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญากันเองไว้ล่วงหน้า 3 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี 3 ฉบับ อีกฉบับหนึ่ง 1 ปี แม้จำเลยจะอ้างว่าสัญญาเช่ารายนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือการเช่าธรรมดาเพราะจำเลยได้เสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ อ. ก็ตาม แต่เมื่อมิได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าดังกล่าวก็มีผลผูกพันระหว่างจำเลยกับ อ. เท่านั้น
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1755/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแพ่งต้องผูกพันตามข้อเท็จจริงที่ศาลตัดสินในคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งและคดีอาญาที่เกี่ยวเนื่องกันมาในคำฟ้องฉบับเดียวกัน การพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสารที่โจทก์กล่าวหาในส่วนอาญาว่าจำเลยทำปลอมขึ้นนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาชี้ขาดถึงที่สุดว่า เป็นใบมอบอำนาจเอกสารที่แท้จริงถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ดังนี้ คดีในส่วนแพ่งที่โจทก์มีคำขอให้ศาลสั่งทำลายนิติกรรมและเอกสารต่าง ๆ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาบังคับให้ตามคำขอได้ ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์
เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเอกสารที่โจทก์กล่าวหาในส่วนอาญาว่าจำเลยทำปลอมขึ้นนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาชี้ขาดถึงที่สุดว่า เป็นใบมอบอำนาจเอกสารที่แท้จริงถูกต้องสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว ดังนี้ คดีในส่วนแพ่งที่โจทก์มีคำขอให้ศาลสั่งทำลายนิติกรรมและเอกสารต่าง ๆ ศาลจึงไม่อาจพิจารณาบังคับให้ตามคำขอได้ ต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1169/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สลักหลังเช็คผูกพันในฐานะผู้รับอาวัล แม้ไม่ได้ทำตามแบบอาวัลทั่วไป ศาลแก้ดอกเบี้ยได้
ผู้ที่ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือต้องผูกพันในฐานะเป็นผู้รับอาวัลสำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921, 989 โดยไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 939 อันเป็นแบบอาวัลทั่วไป
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย ยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกาขึ้นมา และศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างคำนวณดอกเบี้ยผิดโดยให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยเกินไป ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เรื่องดอกเบี้ยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้
หนี้ตามเช็คเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายรับผิดใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย ยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกาขึ้นมา และศาลฎีกาเห็นว่า ศาลล่างคำนวณดอกเบี้ยผิดโดยให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยเกินไป ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้เรื่องดอกเบี้ยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน และการรับรองการแบ่งแยกโฉนด ย่อมมีผลผูกพันตามสัญญา
สัญญาซื้อขายที่ดินระบุว่าผู้ขายจะต้องทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดให้กับผู้ซื้อและโอนใส่ชื่อผู้ซื้อ ณ สำนักงานที่ดิน ถือเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขาย
ลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินโดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าส่วนหนึ่งของที่ดินนั้นเป็นของบุคคลอื่นและตนได้รับรองไว้ด้วยว่าจะจัดการรังวัดแบ่งแยกที่ดินส่วนนั้นให้เขา ถือเป็นการแสดงเจตนาลงชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนผู้มีกรรมสิทธิ์ตนเองไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนนั้น
ลงชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินโดยรู้อยู่ก่อนแล้วว่าส่วนหนึ่งของที่ดินนั้นเป็นของบุคคลอื่นและตนได้รับรองไว้ด้วยว่าจะจัดการรังวัดแบ่งแยกที่ดินส่วนนั้นให้เขา ถือเป็นการแสดงเจตนาลงชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนผู้มีกรรมสิทธิ์ตนเองไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนการขุดร่องน้ำ แม้ไม่ได้จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันบังคับได้ระหว่างคู่สัญญา
การที่โจทก์จำเลยตกลงกันให้โจทก์ขุดร่องน้ำผ่านที่นาของจำเลยเพื่อใช้สอยน้ำร่วมกัน แม้จะไม่ได้จดทะเบียนทรัพย์สิทธิต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนอย่างหนึ่ง มีผลก่อให้เกิดบุคคลสิทธิในอันที่จะเรียกร้องบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา (อ้างฎีกาที่ 760/2507)