พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18850/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คหลังล้มละลาย: การออกเช็คชำระหนี้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ถือเป็นการผูกนิติสัมพันธ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด หลังจากนั้นจำเลยออกเช็คพิพาทตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ค่าซื้อหลักทรัพย์ (หุ้น) แก่โจทก์ การออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์เป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นกับโจทก์ตามกฎหมายลักษณะตั๋วเงินประเภทเช็คซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย โดยมิใช่กรณีกระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้จัดการทรัพย์ หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 หนี้ตามเช็คพิพาทไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงขาดองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 จำเลยไม่มีความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15663-15664/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คหลังถูกพิทักษ์ทรัพย์ และข้อยกเว้น พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 ใช้บังคับแก่การเรียกดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินเท่านั้นไม่อาจจะนำมาใช้บังคับแก่หนี้เงินที่เกิดจากมูลหนี้ประเภทอื่นได้ การคิดดอกเบี้ยในมูลหนี้การซื้อขายเช่นคดีนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 24 บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตน ..." หมายความว่าบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ไม่ได้เท่านั้น หามีผลทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์ต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่ และมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย คดีนี้เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2546 จำเลยออกเช็คลงวันที่ 15 ธันวาคม 2546 เพื่อชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2546 หนี้ที่จำเลยออกเช็คจึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ แม้เช็คพิพาทดังกล่าวธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2546 หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยก็ตาม การกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยยังดำเนินต่อไปได้และไม่ทำให้จำเลยพ้นผิด จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 24 บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือกิจการของตน ..." หมายความว่าบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ไม่ได้เท่านั้น หามีผลทำให้หนี้ที่เกิดขึ้นก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์ต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วยไม่ และมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย คดีนี้เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2546 จำเลยออกเช็คลงวันที่ 15 ธันวาคม 2546 เพื่อชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2546 หนี้ที่จำเลยออกเช็คจึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนที่จำเลยจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ แม้เช็คพิพาทดังกล่าวธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2546 หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยก็ตาม การกระทำความผิดทางอาญาของจำเลยยังดำเนินต่อไปได้และไม่ทำให้จำเลยพ้นผิด จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12758/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทรัพย์สินจำนองหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน & อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น แม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น เว้นแต่การบังคับคดีได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 110 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 112 ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วน แต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา 110 วรรคท้าย
คดีนี้หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 แล้ว ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์จำนอง หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้แทน หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดไว้อันถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย แต่กลับปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ต่อไปในวันที่ 8 มิถุนายน 2548 และเพิ่งมามีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2551 ว่าให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นการสอบถามภายหลังจากที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว จึงมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือถือได้ว่าได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ประกอบกับทรัพย์จำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เดิม แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์เดิมในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังที่ศาลล่างวินิจฉัย โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้ โดยหาจำต้องไปยื่นคำร้องในคดีล้มละลายดังที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาไม่
คดีนี้หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 แล้ว ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับทรัพย์จำนอง หรือมอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้แทน หรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีหนังสือสอบถามไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่ยึดไว้อันถือได้ว่าเป็นการกระทำแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย แต่กลับปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ต่อไปในวันที่ 8 มิถุนายน 2548 และเพิ่งมามีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ที่ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2551 ว่าให้สอบถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นการสอบถามภายหลังจากที่ดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปแล้ว จึงมีผลเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่ง ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือถือได้ว่าได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ประกอบกับทรัพย์จำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้แก่โจทก์เดิม แม้ศาลล้มละลายกลางจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ย่อมไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์เดิมในฐานะเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นต่อไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังที่ศาลล่างวินิจฉัย โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีนี้ได้ โดยหาจำต้องไปยื่นคำร้องในคดีล้มละลายดังที่ผู้ซื้อทรัพย์ฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7136/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัว, การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด, และเหตุไม่ควรให้ล้มละลาย
ในการขอแก้ไขคำฟ้องนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติเอาไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย โดยได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอม หลังจากมีการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้ว โจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลย แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องทำนองว่าโจทก์ได้สืบหาทรัพย์สินของจำเลยแล้วพบว่าจำเลยมีที่ดิน 4 แปลง ติดจำนองสถาบันการเงินอยู่ หากมีการยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาดก็ยังไม่สามารถใช้หนี้ให้แก่โจทก์โดยสิ้นเชิง โดยยังมีหนี้ค้างชำระเกินกว่า 1,000,000 บาท เมื่อคำฟ้องเดิมของโจทก์ครบเงื่อนไขในการฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายแล้ว การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเฉพาะเพียงส่วนที่เกี่ยวกับข้อสันนิษฐานที่ว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้น เป็นเพียงการขอแก้ไขรายละเอียดอันเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตจึงเป็นการชอบแล้ว
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 13 บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้วให้กำหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน และให้ออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน" การที่กฎหมายได้บัญญัติเหตุดังกล่าวไว้ก็เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพิจารณาคดีล้มละลายที่จะให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็วกว่าคดีแพ่งสามัญ จึงกำหนดให้ศาลนั่งพิจารณาเป็นการด่วนโดยไม่ได้กำหนดวันยื่นคำให้การเหมือนอย่างคดีแพ่งสามัญ ฉะนั้นจำเลยจะยื่นคำให้การหรือไม่ก็ได้ หากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การ จำเลยก็มีโอกาสยื่นได้ก่อนวันนั่งพิจารณา การที่จำเลยยื่นคำให้การภายหลังที่มีการเสร็จการพิจารณาแล้ว จึงเป็นการมิชอบ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 13 บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีล้มละลายไว้แล้วให้กำหนดวันนั่งพิจารณาเป็นการด่วน และให้ออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนั่งพิจารณาไม่น้อยกว่า 7 วัน" การที่กฎหมายได้บัญญัติเหตุดังกล่าวไว้ก็เพื่อเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพิจารณาคดีล้มละลายที่จะให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็วกว่าคดีแพ่งสามัญ จึงกำหนดให้ศาลนั่งพิจารณาเป็นการด่วนโดยไม่ได้กำหนดวันยื่นคำให้การเหมือนอย่างคดีแพ่งสามัญ ฉะนั้นจำเลยจะยื่นคำให้การหรือไม่ก็ได้ หากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การ จำเลยก็มีโอกาสยื่นได้ก่อนวันนั่งพิจารณา การที่จำเลยยื่นคำให้การภายหลังที่มีการเสร็จการพิจารณาแล้ว จึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการได้รับชำระหนี้จากเงินขายทอดตลาดก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้มีการพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาของลูกหนี้ที่ 1 ในคดีแพ่งซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินจำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้ที่ 1 ออกขายทอดตลาดแล้วแต่ผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีคำสั่งริบมัดจำจำนวน 47,651 บาท ของผู้ซื้อและจ่ายชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องแล้ว เงินมัดจำที่ถูกริบดังกล่าวย่อมเป็นเงินที่ได้จากการเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้จำนองนั้น ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 732 บัญญัติให้จัดใช้เงินจำนวนสุทธิดังกล่าวแก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับและถ้ายังมีเงินเหลืออยู่อีกก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนองต่อมาเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดและผู้คัดค้านโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใหม่แล้วปรากฏว่าเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดใหม่รวมกับเงินมัดจำที่ริบดังกล่าวไม่เพียงพอชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้อง จึงไม่มีเงินเหลือที่จะให้ส่งมอบแก่ลูกหนี้ที่ 1 ผู้จำนองอีก การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนเงินมัดจำดังกล่าวเพื่อนำเข้าสู่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ย่อมกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินจำนองดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7309/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการบังคับคดีหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และการโต้แย้งสิทธิเรียกร้องในคดีแพ่ง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดอันมีผลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แต่เพียงผู้เดียวตามมาตรา 22 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 กล่าวคือในส่วนคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจขอเข้าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการที่จะบังคับตามสิทธิในคดีแพ่งต่อไป การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งโต้แย้งว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวไม่มีสิทธิในการบังคับคดีต่อไป เนื่องจากมีการโอนสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาให้แก่บริษัท พ. ไปก่อนแล้ว และขอให้คืนทรัพย์ที่ยึดแก่ผู้ร้องนั้นเป็นข้อพิพาทโต้แย้งสิทธิในการบังคับคดี ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องในคดีแพ่งดังกล่าว และอำนาจในการพิจารณาว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีแพ่งนั้นจะมีสิทธิบังคับคดีหรือไม่ย่อมเป็นอำนาจของศาลในคดีแพ่ง ผู้ร้องจะยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางโดยอ้างว่าเป็นการคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทรัพย์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลายหลังปลดจากล้มละลาย: หนี้ก่อนพิทักษ์ทรัพย์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
ก่อนถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยที่ 2 ถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทั้งได้รับการปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 ซึ่งมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่ศาลแพ่งมีคำพิพากษาก่อนวันที่ศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นหนี้ที่โจทก์ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าว ทั้งเป็นหนี้ที่ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อสัญญาทางแพ่ง: สัญญาไม่ระงับ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าปรับได้จนถึงวันบอกเลิกสัญญา
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเพียงทำให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ป. ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทน หามีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างดังกล่าวต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้มีประกันหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และหมดอายุการบังคับคดีตามคำพิพากษา ยังมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจำนอง
เมื่อผู้ร้องฟ้องต่อศาลแพ่งขอให้จำเลยชำระหนี้กู้ยืมและบังคับจำนองจนศาลได้มีคำพิพากษาแล้ว ผู้ร้องมีสิทธิบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ส่วนที่ว่าในขณะที่ผู้ร้องยังมีสิทธิบังคับคดี ศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 22 นั้น แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 110 วรรคสาม เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีจนล่วงเลยระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ สิทธิในการบังคับคดีในมูลหนี้ตามคำพิพากษาอันเป็นหนี้ประธานนั้นเป็นอันสิ้นไป แต่ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 ในหนี้จำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี เช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องในจำนวนดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 95
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128-7131/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ล้มละลายฟ้องคดีอาญาและการขอถอนฟ้องจำเลย แม้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
โจทก์เป็นนิติบุคคลฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นคดีอาญาในข้อหายักยอก รับของโจร และความผิดต่อพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 โดยขอให้ลงโทษทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียวมิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายมาด้วย จึงไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) ที่โจทก์จะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อีกทั้งตามบทบัญญัติมาตรา 4, 5, และ 6 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็มิได้กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษาให้ล้มละลายด้วย ดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องสำหรับจำเลยที่ 4 ได้
โจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องคดีเอง คดีอยู่ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ให้ศาลชั้นต้นแยกคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 4 ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ต้องถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องสิ้นผลไปแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง แต่เมื่อศาลชั้นต้นส่งคำร้องมาศาลฎีกาในขณะที่ฎีกาของจำเลยที่ 4 อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เพื่อให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ไปเสียเลยโดยอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องสำหรับจำเลยที่ 4
โจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องคดีเอง คดีอยู่ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ให้ศาลชั้นต้นแยกคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 4 ขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ต้องถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องสิ้นผลไปแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง แต่เมื่อศาลชั้นต้นส่งคำร้องมาศาลฎีกาในขณะที่ฎีกาของจำเลยที่ 4 อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เพื่อให้กระบวนพิจารณาเป็นไปโดยรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ไปเสียเลยโดยอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องสำหรับจำเลยที่ 4