คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภารจำยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัดและที่ธรณีสงฆ์ห้ามยกอายุความขึ้นต่อสู้ และการได้ภารจำยอมโดยอายุความใช้ไม่ได้กับที่ดินวัด
คดีก่อนโจทก์รับมรดกความจากมารดาซึ่งได้ฟ้องผู้เช่าที่ดินวัดร้างเป็นจำเลยมิได้ฟ้องกรมการศาสนาจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าด้วย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ว่าเดินเข้าออกที่สะพานปลาไม่จำเป็นต้องรับอนุญาตจากใครดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าโจทก์ใช้เป็นทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะและท่าปลามาเป็นเวลา 20 ปีเศษ ได้ภารจำยอม บัดนี้จำเลยล้อมรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กปิดกั้นทางผ่านของโจทก์ จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าได้ภารจำยอม โดยทางอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัด หรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2504 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้าง วัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตาม เมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัดและภารจำยอม: วัดมิอาจเสียสิทธิในที่ดินโดยอายุความ แม้เป็นวัดร้าง
คดีก่อนโจทก์รับมรดกความจากมารดาซึ่งได้ฟ้องผู้เช่าที่ดินวัดร้างเป็นจำเลยมิได้ฟ้องกรมการศาสนาจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าด้วย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ว่าเดินเข้าออกที่สะพานปลาไม่จำเป็นต้องรับอนุญาตจากใคร ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าโจทก์ใช้เป็นทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะและท่าปลามาเป็นเวลา 60 ปีเศษได้ภารจำยอม บัดนี้จำเลยล้อมรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กปิดกั้นทางผ่านของโจทก์ จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าได้ภารจำยอม โดยทางอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้างวัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตามเมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมคงอยู่แม้จำเลยซื้อที่ดินโดยสุจริตจากศาลขายทอดตลาด ไม่ใช่ข้อพิพาทสิทธิทรัพย์สินเดียวกัน
ที่ดินของโจทก์มีทางภารจำยอมผ่านที่ดินของจำเลยมากว่า10 ปี จำเลยซื้อที่ดินจากศาลขายทอดตลาดและจดทะเบียนโดยสุจริต จำเลยอ้างมาตรา 1299 ยันโจทก์ไม่ได้ มาตรา1299 หมายความถึงกรณีที่โต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพย์สิทธิอันเดียวกันมิใช่ภารจำยอมของโจทก์กับกรรมสิทธิ์ของจำเลย ที่ดินของโจทก์ยังเป็นสามยทรัพย์อยู่ต่อไปแม้โจทก์จะจดทะเบียนเป็นเจ้าของหลังจากที่จำเลยจดทะเบียนซื้อที่ดินของจำเลยก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ประโยชน์ต่อเนื่อง & เจตนาได้มาซึ่งสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่าได้ภารจำยอมเป็นทางเดินในที่ดินของจำเลยโดยอายุความดังนี้ ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ภารจำยอมจริงหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับข้อที่ว่าโจทก์ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยมาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภารจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ผู้อื่นจะได้ใช้ทางเดินนี้ด้วยหรือไม่ก็ไม่มีผลเกี่ยวกับการได้ภารจำยอมของโจทก์ โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวในฟ้องว่ามีผู้อื่นได้ใช้ทางพิพาทนี้ด้วย เมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าผู้อาศัยอยู่ข้างในได้ใช้ทางเดินและรถผ่านด้วย แม้จะมิได้กล่าวว่าเป็นผู้ใด มีที่ดินอยู่ตรงไหนก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์เบิกความว่า เมื่อ พ.ศ.2486 โจทก์ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 82 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดที่ 2177 ทั้งบ้านและที่ดินนี้เป็นของมารดาโจทก์ โจทก์เข้าออกทางพิพาทตลอดมาจนถึง พ.ศ.2493 จึงไปอยู่ต่างจังหวัดและต่อมาอีก 3-4 ปีจึงมารับครอบครัวไปอยู่ด้วย ดังนี้แม้จะนับเวลาที่ครอบครัวของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าด้วย ก็หาทำให้ที่พิพาทตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมโดยอายุความในช่วงเวลานั้นเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ไม่ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 นั้น อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภารจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เมื่อระยะเวลาที่โจทก์เดินผ่านหรือใช้ที่พิพาทตอนนั้น โจทก์เพียงอาศัยบ้านและที่ดินของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นการใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โจทก์จึงจะฟ้องอ้างว่าโจทก์เองได้ภารจำยอมเหนือที่พิพาทโดยอาศัยอายุความในช่วงเวลาดังกล่าวไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1466/2505) แต่เมื่อต่อมา โจทก์ได้เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 30212 โดยมารดาโจทก์แบ่งแยกให้จากที่ดินโฉนดที่ 2177 โจทก์ได้กลับมาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์ เช่นนี้โจทก์มีสิทธินับเวลาตอนก่อนของโจทก์ที่ได้ใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มารวมกับเวลาที่โจทก์ใช้ที่พิพาทในตอนหลังเมื่อเป็นเจ้าของอสังริมทรัพย์เพื่อให้ได้ภารจำยอมในที่พิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 113/2504) แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือโจทก์จะต้องใช้ที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ออกจากที่ดินโฉนดที่ 2177 ไปอยู่ต่างจังหวัดเมื่อ พ.ศ.2493 และหลังจากนั้นอีก 3-4 ปีครอบครัวของโจทก์ก็ตามไปอยู่ด้วย โจทก์เพิ่งกลับมาปลูกบ้านบนที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 30212 เมื่อเดือนมิถุนายน 2510 ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้ที่พิพาทติดต่อกันตลอดมาเพราะโจทก์ได้ขาดการใช้ที่พิพาทเป็นเวลาถึงกว่า 10 ปี การใช้ที่พิพาทของโจทก์ตอนก่อนที่โจทก์ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดเป็นอันสะดุดหยุดลงไปแล้ว โจทก์จะนับระยะเวลาตอนนั้นมาร่วมกับระยะเวลาการใช้ที่พิพาทตอนใหม่ของโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์เพิ่งกลับมาใช้หรือเดินผ่านที่พิพาทใหม่นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี โจทก์จึงยังไม่ได้ภารจำยอมในที่พิพาทโดยอายุความ
ระหว่างไปอยู่ที่ต่างจังหวัด แม้โจทก์จะได้กลับบ้านเดือนละ 2-3 ครั้ง และเข้าออกตามทางพิพาท ก็เป็นเพียงเพื่อไปหาผู้ที่อยู่ในที่ดินโฉนดที่ 2177 อันเป็นการเยี่ยมเยียนชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ไม่ถือว่าการใช้ทางพิพาทของโจทก์ในระหว่างนั้นเป็นการใช้ทางพิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความต้องใช้ต่อเนื่อง 10 ปี การขาดการใช้ทำให้ระยะเวลาสะสมเดิมเป็นอันสิ้นสุด
โจทก์ฟ้องว่า ได้ภารจำยอมเป็นทางเดินในที่ดินของจำเลยโดยอายุความ ดังนี้ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ภารจำยอมจริงหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับข้อที่ว่าโจทก์ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยมาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภารจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ผู้อื่นจะได้ใช้ทางเดินนี้ด้วยหรือไม่ก็ไม่มีผลเกี่ยวกับการได้ภารจำยอมของโจทก์ โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวในฟ้องว่ามีผู้อื่นได้ใช้ทางพิพาทนี้ด้วย เมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าผู้อาศัยอยู่ข้างในได้ใช้ทางเดินและรถผ่านด้วยแม้จะมีได้กล่าวว่าเป็นผู้ใด มีที่ดินอยู่ตรงไหน ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์เบิกความว่า เมื่อ พ.ศ.2486 โจทก์ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 82 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดที่ 2177 ทั้งบ้านและที่ดินนี้เป็นของมารดาโจทก์ โจทก์เข้าออกทางพิพาทตลอดมาจนถึง พ.ศ.2493 จึงไปอยู่ต่างจังหวัด และต่อมาอีก 3-4 ปี จึงมารับครอบครัวไปอยู่ด้วย ดังนี้แม้จะนับเวลาที่ครอบครัวของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าด้วย ก็หาทำให้ที่พิพาทตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมโดยอายุความในช่วงเวลานั้นเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ไม่ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 นั้น อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภารจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เมื่อระยะเวลาที่โจทก์เดินผ่านหรือใช้ที่พิพาทตอนนั้น โจทก์เพียงอาศัยบ้านและที่ดินของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นการใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โจทก์จึงจะฟ้องอ้างว่าโจทก์เองได้ภารจำยอมเหนือที่พิพาทโดยอาศัยอายุความในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1466/2505) แต่เมื่อต่อมา โจทก์ได้เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 30212 โดยมารดาโจทก์แบ่งแยกให้จากที่ดินโฉนดที่ 2177 โจทก์ได้กลับมาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์ เช่นนี้โจทก์มีสิทธินับเวลาตอนก่อนของโจทก์ที่ได้ใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มารวมกับเวลาที่โจทก์ใช้ที่พิพาทในตอนหลังเมื่อเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ได้ภารจำยอมในที่พิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่113/2504) แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กล่าวคือโจทก์จะต้องใช้ที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ออกจากที่ดินโฉนดที่ 2177 ไปอยู่ต่างจังหวัดเมื่อ พ.ศ.2493 และหลังจากนั้นอีก 3-4 ปีครอบครัวของโจทก์ก็ตามไปอยู่ด้วย โจทก์เพิ่งกลับมาปลูกบ้านบนที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 30212 เมื่อเดือนมิถุนายน 2510 ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้ที่พิพาทติดต่อกันตลอดมาเพราะโจทก์ได้ขาดการใช้ที่พิพาทเป็นเวลาถึงกว่า 10 ปี การใช้ที่พิพาทของโจทก์ตอนก่อนที่โจทก์ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดเป็นอันสะดุดหยุดลงไปแล้วโจทก์จะนับระยะเวลาตอนนั้นมาร่วมกับระยะเวลาการใช้ที่พิพาทตอนใหม่ของโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์เพิ่งกลับมาใช้หรือเดินผ่านที่พิพาทใหม่นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี โจทก์จึงยังไม่ได้ภารจำยอมในที่พิพาทโดยอายุความ
ระหว่างไปอยู่ที่ต่างจังหวัด แม้โจทก์จะได้กลับบ้านเดือนละ 2-3 ครั้งและเข้าออกตามทางพิพาทก็เป็นเพียงเพื่อไปหาผู้ที่อยู่ในที่ดินโฉนดที่ 2177 อันเป็นการเยี่ยมเยียนชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นไม่ถือว่าการใช้ทางพิพาทของโจทก์ในระหว่างนั้นเป็นการใช้ทางพิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: การจดทะเบียนเพื่อรักษาสิทธิ
เจ้าของทางเดินภารจำยอมซึ่งได้มาโดยอายุความเรียกให้เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนได้ เป็นการจำเป็นเพื่อรักษาสิทธิภารจำยอมตามมาตรา 1391

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอม: สิทธิจำกัดการใช้ทาง – เจ้าของที่ดินตอนในห้ามขยายทาง
ภารจำยอมเป็นทางเดินกว้าง 1.25 เมตร ไม่มีสภาพเป็นทางรถยนต์เข้าออก โจทก์เจ้าของที่ดินตอนในไม่มีสิทธิให้จำเลยเจ้าของภารยทรัพย์เปิดเป็นทางรถยนต์กว้าง 3 เมตร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเดินต่อเนื่องเกิน 10 ปี ทำให้เกิดสิทธิ
ผู้ซื้อที่ดินนับเวลาใช้ทางเดินเป็นภารจำยอมรวมกับที่ผู้ขายที่ดินใช้มาก่อนเป็นเวลาเกิน 10 ปี จึงได้สิทธิโดยอายุความได้
ฟ้องขอให้เปิดทางภารจำยอมยาวประมาณ 50 เมตร ได้ความตามแผนที่วิวาทที่ทำในการพิจารณาคดีว่ายาว 56 เมตรศาลพิพากษาให้เปิดทางตามที่พิจารณาได้ความ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและสร้างสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริต การได้มาซึ่งภารจำยอมตามอำนาจปรปักษ์
ที่ดินและอาคารของโจทก์และของจำเลยร่วมอยู่ติดกันโดยต่างรับซื้อมาจากบุคคลอื่นกันสาดของอาคารที่จำเลยร่วมซื้อได้รุกล้ำที่ดินที่โจทก์ซื้ออยู่ก่อนแล้ว ต่อมาจำเลยร่วมได้สร้างห้องน้ำบนกันสาดนั้น อันเป็นการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นสืบต่อจากเจ้าของเดิม โดยจำเลยร่วมมิได้ขออนุญาตต่อผู้ใด ถือได้ว่าจำเลยร่วมได้สร้างห้องน้ำขึ้นโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิโดยอำนาจปรปักษ์เกินกว่า 10 ปีแล้ว กันสาดและห้องน้ำเหนือที่ดินของโจทก์ย่อมตกอยู่ในภารจำยอม โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้จำเลยรื้อห้องน้ำบนกันสาดนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและสร้างสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริต ครอบครองปรปักษ์เกิน 10 ปี ทำให้เกิดภารจำยอม
ที่ดินและอาคารของโจทก์และของจำเลยร่วมอยู่ติดกันโดยต่างรับซื้อมาจากบุคคลอื่นกันสาดของอาคารที่จำเลยร่วมซื้อได้รุกล้ำที่ดินที่โจทก์ซื้ออยู่ก่อนแล้ว ต่อมาจำเลยร่วมได้สร้างห้องน้ำบนกันสาดนั้น อันเป็นการใช้ส่วนแห่งแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์เฉพาะที่กันสาดรุกล้ำเข้าไปนั้นสืบต่อจากเจ้าของเดิมโดยจำเลยร่วมมิได้ขออนุญาตต่อผู้ใด ถือได้ว่าจำเลยร่วมได้สร้างห้องน้ำขึ้นโดยสุจริตย่อมได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิโดยอำนาจปรปักษ์เกินกว่า 10 ปีแล้วกันสาดและห้องน้ำเหนือที่ดินของโจทก์ย่อมตกอยู่ในภารจำยอมโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้จำเลยรื้อห้องน้ำบนกันสาดนั้น
of 46