คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาเช่าซื้อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะ หากกรรมการลงนามไม่ครบตามข้อบังคับบริษัท และไม่ได้ประทับตรา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรค 2 บัญญัติว่า สัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ ซึ่งหมายความถึงว่า เจ้าของทรัพย์สินและผู้เช่าซื้อจะต้องลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อด้วยกันทั้งสองฝ่าย
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลและจดทะเบียนข้อบังคับไว้ว่าลายมือชื่อกรรมการใดๆ สองนายร่วมกันพร้อมด้วยตราบริษัทพึงมีผลผูกพันบริษัท แต่ตามสัญญาเช่าซื้อกรรมการบริษัทโจทก์ลงชื่อเพียงคนเดียวและไม่ได้ประทับตราบริษัท ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทหนึ่งซึ่งได้จดทะเบียนไว้ เท่ากับว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์หรือให้เช่าซื้อไม่ได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 953/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อโมฆะ หากกรรมการลงนามไม่ครบตามข้อบังคับบริษัท และไม่มีตราบริษัท
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรค 2 บัญญัติว่าสัญญาเช่าซื้อนั้น ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ ซึ่งหมายความถึงว่า เจ้าของทรัพย์สินและผู้เช่าซื้อจะต้องลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อด้วยกันทั้งสองฝ่าย
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลและจดทะเบียนข้อบังคับไว้ว่าลายมือชื่อกรรมการใดๆ สองนายร่วมกันพร้อมด้วยตราบริษัทพึงมีผลผูกพันบริษัทแต่ตามสัญญาเช่าซื้อกรรมการบริษัทโจทก์ลงชื่อเพียงคนเดียวและไม่ได้ประทับตราบริษัท ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทซึ่งได้จดทะเบียนไว้ เท่ากับว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์หรือผู้ให้เช่าซื้อไม่ได้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์ และการนำสืบหักล้างสัญญาเช่าซื้อว่าเป็นนิติกรรมอำพราง
ฟ้องโจทก์มีทุนทรัพย์ 37,500 บาท ส่วนฟ้องแย้งมีทุนทรัพย์ 30,000 บาท คำขออื่นตามฟ้องแย้งเป็นคำขอไม่มีทุนทรัพย์ต่อเนื่องจากคำขอมีทุนทรัพย์ ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เกินห้าหมื่นบาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 6
การที่จำเลยนำสืบว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมตกเป็นโมฆะใช้บังคับไม่ได้นั้น มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างสัญญาเช่าซื้อว่าไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมด จำเลยนำสืบได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการบริษัทในการลงนามสัญญาเช่าซื้อ, ความถูกต้องของสัญญา, และการคิดดอกเบี้ยค่าเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และมาตรา 1144 กรรมการบริษัทจำกัดเป็นผู้แทนของบริษัท มีอำนาจดำเนินกิจการทุกอย่างภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทได้ หาได้มีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจทั่วไปมีอยู่ไม่ มาตรา 1167 เป็นเรื่องความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอก เป็นต้นว่า กรรมการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัวหรือไม่ ดังนี้ จึงจะบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน หาได้หมายความว่ากรรมการบริษัทเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปของบริษัทไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574 ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติดๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใดๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญา ข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใดๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ การผิดสัญญา การยึดทรัพย์ และดอกเบี้ย ค่าเสียหาย การมอบอำนาจกรรมการบริษัท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 75 และมาตรา 1144กรรมการบริษัทจำกัดเป็นผู้แทนของบริษัท มีอำนาจดำเนินกิจการทุกอย่างภายในขอบข่ายแห่งวัตถุประสงค์และข้อบังคับของบริษัทได้ หาได้มีอำนาจจำกัดเพียงเท่าที่ตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจทั่วไปมีอยู่ไม่ มาตรา 1167 เป็นเรื่องความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัทและบุคคลภายนอก เป็นต้นมา กรรมการบริษัทจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเป็นส่วนตัวหรือไม่ ดังนี้ จึงจะบังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน หาได้หมายความว่ากรรมการบริษัทเป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปของบริษัทไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 560 ที่บัญญัติให้ผู้ให้เช่าบอกกล่าวให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าก่อนบอกเลิกสัญญาก็ดี มาตรา 574ที่บัญญัติว่าเมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อสองคราวติด ๆ กัน ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะบอกเลิกสัญญาได้ก็ดี ไม่ใช่บทบัญญัติเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
จำเลยฎีกาว่า โจทก์บอกเลิกสัญญาโดยไม่สุจริต นั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8 ที่ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินใด ๆ แก่เจ้าของตามข้อสัญญาประการหนึ่งประการใด ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นั้น สำหรับค่าติดตามเอาทรัพย์คืนก็ดี ค่าซ่อมแซมรถก็ดี เป็นเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามสัญญา ข้อ 9 อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาข้อ 8 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15ต่อปี แต่เงินค่าขาดประโยชน์จากใช้รถนั้น เป็นค่าเสียหายที่ไม่ได้กำหนดไว้ในสัญญาเช่าซื้อ ไม่อยู่ในความหมายของคำว่าเงินใด ๆ ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 8จึงคิดดอกเบี้ยได้เพียงร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
การที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานที่เป็นลูกจ้างของโจทก์นั้น เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายวิธีพิจารณาความโดยถูกต้องเท่าที่จำเป็น หาเป็นการฟุ่มเฟือยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อทำไว้ล่วงหน้า เจ้าของทรัพย์ยังไม่เป็นเจ้าของขณะทำสัญญา ศาลรับฟังได้หากมีผลบังคับใช้เมื่อเป็นเจ้าของ
แม้ขณะทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ยังไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อก็ตามแต่จำเลยได้ตกลงให้โจทก์ซื้อทรัพย์นั้นมาให้จำเลยเช่าซื้อ เห็นได้ว่าการทำสัญญาเช่าซื้อนี้เป็นการทำไว้ล่วงหน้า โดยเจตนาให้มีผลบังคับกันในเมื่อเจ้าของทรัพย์ได้ขายทรัพย์ที่จะเช่าซื้อให้โจทก์แล้วทั้งเมื่อทำสัญญาแล้วโจทก์ก็ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ดังกล่าวและจำเลยก็ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่บริษัทโจทก์อีกถึง 3 งวด ตามสัญญาเช่าซื้อ ดังนี้จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อจำเลยจะกลับมาอ้างว่าขณะทำสัญญาโจทก์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่เช่าซื้อ จึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
โจทก์เป็นฝ่ายนำสืบก่อน และได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ครั้นถึงวันนัดสืบพยานก่อนศาลเริ่มสืบพยานโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม โดยขออ้างเอกสารเป็นพยาน ซึ่งมีสิทธิยื่นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสอง แม้โจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารที่ระบุเพิ่มเติมให้จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันตามมาตรา 90 ศาลชั้นต้นก็อาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารดังกล่าว โดยเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี อันเป็นอำนาจตามบทบัญญัติของมาตรา 87(2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดินเงินผ่อน vs. สัญญาเช่าซื้อ ศาลวินิจฉัยเจตนาคู่สัญญาและแก้ไขคำพิพากษา
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายที่ดินเงินผ่อน ชื่อที่เรียกคู่สัญญาในสัญญาทุกข้อระบุว่าผู้ซื้อและผู้ขาย แม้มีสัญญาข้อหนึ่งว่าผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองใช้สิทธิปลูกสร้างในที่ดินได้ ก็มีเงื่อนไขว่านับตั้งแต่วันที่ผู้ขายกรุยดินยกถนนผ่านที่ดินเรียบร้อยแล้ว อันมีความหมายชัดว่าผู้ขายไม่ได้มอบที่ดินให้ผู้ซื้อทันที โจทก์ผู้ซื้อจึงไม่ได้ใช้และรับประโยชน์จากที่ดินพิพาทในวันทำสัญญาแต่ประการใด แสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาที่จะทำสัญญาจะซื้อขายกัน ซึ่งต่างกับสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยจะต้องนำที่ดินมาให้โจทก์เช่า หรือส่งมอบที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ หรือได้รับประโยชน์จากที่ดินนั้นโดยมีคำมั่นว่าจะขาย แม้คำบรรยายฟ้องมีว่า โจทก์ได้ตกลงเช่าซื้อที่พิพาท แต่ก็อ้างหนังสือสัญญาท้ายคำฟ้องซึ่งตรงกับหนังสือสัญญาดังกล่าวที่ส่งศาลและโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอาศัยสัญญาดังกล่าวเป็นหลัก ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
ศาลล่างเขียนหรือพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาดไป ว่าให้จำเลยเสียดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2514 (ที่ถูกคือ 2515) ศาลฎีกาแก้ไขได้เองให้ถูกต้อง โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 โดยพิพากษายืน แต่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2515

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบสิทธิในหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อและผลของการระงับสัญญาต่อการเกิดหนี้ของทายาท
โจทก์ฟ้องทายาทผู้ตายขอให้คืนเงินที่ผู้ตายกู้ยืมไปให้แก่โจทก์โดยกล่าวในฟ้องว่า ผู้ตายทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินเพื่อปลูกห้องแถวโดยสิ่งปลูกสร้างจะต้องตกเป็นของผู้ตาย ต่อมาผู้ตายได้ทำสัญญากู้ยืมเงินจากโจทก์ตกลงจะชำระคืนให้โจทก์ภายในเวลาที่กำหนด หรือเมื่อห้องที่โจทก์เช่าถูกไฟไหม้ หรืออาคารที่สร้างชำรุด และโจทก์ไม่ทำการก่อสร้างใหม่ภายใน 6 เดือน ให้ถือว่าสัญญากู้ยืมเป็นอันระงับ ผู้ตายต้องคืนเงินให้แก่โจทก์และระบุไว้ในสัญญาข้อหนึ่งว่า "ในระหว่างอายุแห่งสัญญานี้ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ถ้าผู้ให้สัญญา (ผู้ตาย) ถึงแก่กรรม ผลแห่งสัญญานี้ผู้ให้สัญญายอมให้ผูกพันทายาทผู้รับทรัพย์มรดกรายนี้ต่อไปจนครบอายุสัญญา หรือตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้....."ตามสัญญาข้อนี้แสดงให้เห็นว่าหนี้รายนี้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อทายาทของผู้ตายได้รับที่ดินแปลงที่โจทก์เช่าจากเจ้ามรดกแล้ว กรณีแห่งคดีนี้จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลย (ทายาท) คืนเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยในฐานะที่จำเลยเป็นผู้สืบสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับผู้ตาย ซึ่งโจทก์ถือว่าจำเลยเป็นผู้รับมรดกของผู้ตายเฉพาะที่แปลงที่โจทก์เช่าเป็นคู่สัญญากับโจทก์ กรณีมิใช่โจทก์เป็นเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดก จะนำบทบัญญัติมาตรา 1754 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ข้อกำหนดซ่อมแซมทรัพย์สินไม่เป็นโมฆะ หากผู้เช่าซื้อสามารถปฏิบัติตามได้
สัญญาเช่าซื้อมีข้อความว่า ในระหว่างอายุสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อตกลงจะเก็บรักษา ซ่อมแซม เปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ทรัพย์ที่เช่าซื้อให้คงสภาพเดิม และใช้การได้ดีอยู่เสมอ โดยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าซื้อ และถ้าทรัพย์ที่เช่าซื้อเกิดความเสียหายใด ๆ หรือสูญหายแม้แต่บางส่วนไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อหรือบุคคลภายนอก หรือโดยอุปัทวเหตุ หรือโดยเหตุสุดวิสัย ผู้เช่าซื้อจะต้องจัดการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้คืนสู่สภาพเดิม โดยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าซื้อ และผู้เช่าซื้อจะไม่ว่าจ้างบุคคลอื่นนอกจากเจ้าของเป็นผู้ทำการซ่อมแซมทรัพย์ที่เช่าซื้อผู้เช่าซื้อให้สัญญาว่าจะใช้และรักษาทรัพย์ที่เช่าซื้ออย่างวิญญูชนพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเองข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวข้างต้น เป็นข้อกำหนดซึ่งโจทก์ผู้เช่าซื้อสามารถปฏิบัติได้ หาเป็นการพ้นวิสัยแต่อย่างใดไม่ สัญญาเช่าซื้อจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ข้อกำหนดซ่อมแซมไม่เป็นโมฆะ แม้มีภาระซ่อมแซมสูง
สัญญาเช่าซื้อมีข้อความว่า ในระหว่างอายุสัญญาเช่าซื้อผู้เช่าซื้อตกลงจะเก็บรักษา ซ่อมแซม เปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ทรัพย์ที่เช่าซื้อให้คงสภาพเดิม และใช้การได้ดีอยู่เสมอโดยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าซื้อ และถ้าทรัพย์ที่เช่าซื้อเกิดความเสียหายใด ๆ หรือสูญหายแม้แต่บางส่วนไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้เช่าซื้อหรือบุคคลภายนอก หรือโดยอุบัทวเหตุหรือโดยเหตุสุดวิสัย ผู้เช่าซื้อจะต้องจัดการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้คืนสู่สภาพเดิม โดยค่าใช้จ่ายของผู้เช่าซื้อ และผู้เช่าซื้อจะไม่ว่าจ้างบุคคลอื่นนอกจากเจ้าของเป็นผู้ทำการซ่อมแซมทรัพย์ที่เช่าซื้อผู้เช่าซื้อให้สัญญาว่าจะใช้และรักษาทรัพย์ที่เช่าซื้ออย่างวิญญูชนพึงปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเองข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวข้างต้น เป็นข้อกำหนดซึ่งโจทก์ผู้เช่าซื้อสามารถปฏิบัติได้หาเป็นการพ้นวิสัยแต่อย่างใดไม่ สัญญาเช่าซื้อจึงไม่เป็นโมฆะ
of 49