พบผลลัพธ์ทั้งหมด 469 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขับรถชนคนตาย แม้ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ใช่สาเหตุโดยตรง
จำเลยขับรถยนต์เบนไปทางขวาคร่อมกึ่งกลางถนน เพื่อจะหลบให้พ้นท้ายรถยนต์โดยสารซึ่งวิ่งสวนทางมาและเลี้ยวขวาตัดหน้ารถจำเลยเพื่อจะเข้าซอยโดยจำเลยเห็นว่าทางข้างหน้าปลอดภัย ไม่มีรถสวนมานั้นย่อมอยู่ในวิสัยที่จำเลยกระทำได้ บังเอิญผู้ตายวิ่งโผล่พ้นท้ายรถยนต์โดยสารออกมาอยู่ห่างรถจำเลยเป็นระยะ 1 วานั้น เป็นระยะกระชั้นชิด รถจำเลยจึงชนผู้ตายถึงแก่ความตาย แม้ว่าจุดที่ผู้ตายถูกรถยนต์จำเลยชนจะอยู่พ้นกึ่งกลางถนนไปเล็กน้อย ซึ่งปกติถือว่ามิใช่ทางวิ่งของรถจำเลยก็ตามก็ถือได้ว่าการที่จำเลยขับรถชนผู้ตายเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่อาจป้องกันได้
แม้จำเลยจะขับรถเร็วอันเป็นการฝ่าฝืนกฎจราจรก็ตาม ก็เป็นคนละเรื่องมิใช่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถูกรถจำเลยชน ย่อมถือได้ว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานขับรถยนต์ชนผู้ตายโดยประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
แม้จำเลยจะขับรถเร็วอันเป็นการฝ่าฝืนกฎจราจรก็ตาม ก็เป็นคนละเรื่องมิใช่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้ผู้ตายถูกรถจำเลยชน ย่อมถือได้ว่าจำเลยไม่มีความผิดฐานขับรถยนต์ชนผู้ตายโดยประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถราชการไปในกิจส่วนตัว นายทหารไม่ต้องรับผิดค่าเสียหายจากอุบัติเหตุ
นายทหารสั่งให้ทหารพลขับขับรถยนต์ของกรมทหารไปซื้อปูนซีเมนต์ขนไปให้วัด ซึ่งนายทหารนั้นเป็นกรรมการวัดอยู่เป็นการใช้ให้ไปปฏิบัติงานเป็นการส่วนตัวของนายทหารผู้นั้น การไปปฏิบัติงานของทหารพลขับนั้นจึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการไปปฏิบัติงานในหน้าที่ตามทางราชการของกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม เมื่อทหารพลขับขับรถโดยประมาทชนผู้อื่นตายกองทัพบกและกระทรวงกลาโหม ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ และการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด
คำฟ้องซึ่งบรรยายฐานะของโจทก์ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ (ระบุยี่ห้อและเลขหมายทะเบียน) แต่กรรมสิทธิ์ยังไม่สมบูรณ์ เพราะอยู่ในระหว่างผ่อนชำระเงินตามสัญญาเช่าซื้อที่ทำไว้กับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อ เป็นคำฟ้องซึ่งแจ้งชัดแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเป็นผู้จัดการซ่อมแซมรถให้คืนสู่สภาพเดิมโดยทุนทรัพย์ของโจทก์เองและผู้ให้เช่าซื้อยินยอมให้โจทก์มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายในนามของโจทก์ได้อีกด้วย ดังนี้ เมื่อมีผู้ทำละเมิดทำให้รถที่โจทก์เช่าซื้อเสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดได้
โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์ ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเป็นผู้จัดการซ่อมแซมรถให้คืนสู่สภาพเดิมโดยทุนทรัพย์ของโจทก์เองและผู้ให้เช่าซื้อยินยอมให้โจทก์มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายในนามของโจทก์ได้อีกด้วย ดังนี้ เมื่อมีผู้ทำละเมิดทำให้รถที่โจทก์เช่าซื้อเสียหาย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความกรมธรรม์ประกันภัย: อุบัติเหตุและการบาดเจ็บทางร่างกายเป็นเหตุให้เสียชีวิต
กรมธรรม์ประกันภัยทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษโจทก์แนบสำเนากรมธรรม์ประกันภัยฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยคำแปลเป็นภาษาไทยมาพร้อมฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องขอยืดเวลายื่นคำให้การ อ้างว่ากรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษและโจทก์แปลติดมาท้ายฟ้องนั้น จำเลยจำต้องตรวจคำแปลกับต้นฉบับว่าแปลถูกต้องหรือไม่ศาลอนุญาต เมื่อจำเลยยื่นคำให้การ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าคำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องนั้นมีข้อความไม่ถูกต้องคดีจึงไม่มีประเด็นโต้เถียงกันว่า คำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง การที่วินิจฉัยว่ากรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความอย่างใด และมีความหมายเป็นประการใดศาลจึงต้องยึดถือคำแปลภาษาไทยดังปรากฏที่โจทก์แนบมาพร้อมฟ้อง
คำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยมีข้อความเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย (ผู้รับประกันภัย) ว่า "กรมธรรม์นี้คุ้มครองถึงความสูญเสียไม่ว่าจะเนื่องด้วยสาเหตุอื่นใดอันเกิดแต่การได้รับบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือลำพังก็ตามทีตามเงื่อนไขบทบัญญัติข้อยกเว้นและข้อคุ้มครองที่ระบุไว้ในที่นี้"ส่วนประโยชน์ที่ได้รับระบุไว้ว่า การประกันภัยที่จะอำนวยผลประโยชน์ในหนี้ใช้ได้เฉพาะในเรื่องการได้รับบาดเจ็บอันตรายอันอาจทำให้สูญเสียชีวิต แขนขาขาดและชดใช้ค่ารักษาพยาบาล อันจะเกิดขึ้นโดยตรงหรือไม่ว่าโดยลำพัง จากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม ตามที่ได้ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ฯลฯ" ดังนี้ เห็นว่าการที่ พ. (ผู้เอาประกันภัย) หกล้มขณะลงจากรถ ย่อมถือว่าเป็นอุบัติเหตุ เมื่อเป็นเหตุให้มดลูกแตกปริจึงถือว่าเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ พ. ถึงแก่ความตายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยมีข้อความเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย (ผู้รับประกันภัย) ว่า "กรมธรรม์นี้คุ้มครองถึงความสูญเสียไม่ว่าจะเนื่องด้วยสาเหตุอื่นใดอันเกิดแต่การได้รับบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือลำพังก็ตามทีตามเงื่อนไขบทบัญญัติข้อยกเว้นและข้อคุ้มครองที่ระบุไว้ในที่นี้"ส่วนประโยชน์ที่ได้รับระบุไว้ว่า การประกันภัยที่จะอำนวยผลประโยชน์ในหนี้ใช้ได้เฉพาะในเรื่องการได้รับบาดเจ็บอันตรายอันอาจทำให้สูญเสียชีวิต แขนขาขาดและชดใช้ค่ารักษาพยาบาล อันจะเกิดขึ้นโดยตรงหรือไม่ว่าโดยลำพัง จากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม ตามที่ได้ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ฯลฯ" ดังนี้ เห็นว่าการที่ พ. (ผู้เอาประกันภัย) หกล้มขณะลงจากรถ ย่อมถือว่าเป็นอุบัติเหตุ เมื่อเป็นเหตุให้มดลูกแตกปริจึงถือว่าเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ พ. ถึงแก่ความตายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความกรมธรรม์ประกันภัย: ศาลยึดถือคำแปลภาษาไทยที่โจทก์แนบ หากจำเลยไม่โต้แย้ง และถือว่าอุบัติเหตุเป็นสาเหตุโดยตรง
กรมธรรม์ประกันภัยทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษโจทก์แนบสำเนากรมธรรม์ประกันภัยฉบับภาษาอังกฤษ พร้อมด้วยคำแปลเป็นภาษาไทยมาพร้อมฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง จำเลยยื่นคำร้องขอยืดเวลายื่นคำให้การ อ้างว่ากรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษและโจทก์แปลติดมาท้ายฟ้องนั้น จำเลยจำต้องตรวจคำแปลกับต้นฉบับว่าแปลถูกต้องหรือไม่ศาลอนุญาต เมื่อจำเลยยื่นคำให้การ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าคำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องนั้นมีข้อความไม่ถูกต้องคดีจึงไม่มีประเด็นโต้เถียงกันว่า คำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องนั้นไม่ถูกต้อง การที่วินิจฉัยว่ากรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความอย่างใด และมีความหมายเป็นประการใดศาลจึงต้องยึดถือคำแปลภาษาไทยดังปรากฏที่โจทก์แนบมาพร้อมฟ้อง
คำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยมีข้อความเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย (ผู้รับประกันภัย) ว่า 'กรมธรรม์นี้คุ้มครองถึงความสูญเสียไม่ว่าจะเนื่องด้วยสาเหตุอื่นใดอันเกิดแต่การได้รับบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือลำพังก็ตามที ตามเงื่อนไขบทบัญญัติข้อยกเว้นและข้อคุ้มครองที่ระบุไว้ในที่นี้'ส่วนประโยชน์ที่ได้รับระบุไว้ว่า การประกันภัยที่จะอำนวยผลประโยชน์ในหนี้ใช้ได้เฉพาะในเรื่องการได้รับบาดเจ็บอันตรายอันอาจทำให้สูญเสียชีวิต แขนขาขาดและชดใช้ค่ารักษาพยาบาลอันจะเกิดขึ้นโดยตรงหรือไม่ว่าโดยลำพังจากสาเหตุใด ๆก็ตาม ตามที่ได้ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ฯลฯ' ดังนี้ เห็นว่าการที่ พ. (ผู้เอาประกันภัย) หกล้มขณะลงจากรถ ย่อมถือว่าเป็นอุบัติเหตุ เมื่อเป็นเหตุให้มดลูกแตกปริ จึงถือว่าเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ พ. ถึงแก่ความตายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำแปลกรมธรรม์ประกันภัยเป็นภาษาไทยมีข้อความเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลย (ผู้รับประกันภัย) ว่า 'กรมธรรม์นี้คุ้มครองถึงความสูญเสียไม่ว่าจะเนื่องด้วยสาเหตุอื่นใดอันเกิดแต่การได้รับบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นโดยตรงหรือลำพังก็ตามที ตามเงื่อนไขบทบัญญัติข้อยกเว้นและข้อคุ้มครองที่ระบุไว้ในที่นี้'ส่วนประโยชน์ที่ได้รับระบุไว้ว่า การประกันภัยที่จะอำนวยผลประโยชน์ในหนี้ใช้ได้เฉพาะในเรื่องการได้รับบาดเจ็บอันตรายอันอาจทำให้สูญเสียชีวิต แขนขาขาดและชดใช้ค่ารักษาพยาบาลอันจะเกิดขึ้นโดยตรงหรือไม่ว่าโดยลำพังจากสาเหตุใด ๆก็ตาม ตามที่ได้ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ฯลฯ' ดังนี้ เห็นว่าการที่ พ. (ผู้เอาประกันภัย) หกล้มขณะลงจากรถ ย่อมถือว่าเป็นอุบัติเหตุ เมื่อเป็นเหตุให้มดลูกแตกปริ จึงถือว่าเป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้ พ. ถึงแก่ความตายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: สถานะทางกฎหมายของโจทก์ (ภริยาและบุตร) และอายุความฎีกา
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 20 พฤษภาคม 2511 การนับอายุความฎีกาจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2511 กำหนดหนึ่งเดือนจึงสิ้นสุดในวันที่ 20 มิถุนายน 2511 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวัดแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น แต่ในวันดังกล่าวนี้เป็นวันหยุดราชการ จึงต้องนับถึงวันที่ 21 มิถุนายน 2511 ซึงเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าในอายุความฎีกาด้วย
ปัญหาที่ว่า โจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และโจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์เป็นเพียงบุตรนอกสมรสของผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งผู้ตายได้แจ้งทะเบียนคนเกิดว่าเป็นบุตรของตน และอุปการะเลี้ยงดูโดยเปิดเผยตลอดมาเท่านั้น การที่ผู้ตายแจ้งทะเบียนคนเกิดว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของตนก็ดี หรือได้ทำการอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 2 ฉันบุตรตลอดมาก็ดี ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายขึ้นมาไม่ เพราะบุตรนอกสมรสจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ ก็ต้องเป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ที่ 2 คงมีฐานะเป็นเพียงบุตรที่ผู้ตายรับรองแล้วตามมาตรา 1627 และมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) จึงไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ (อ้างฎีกาที่ 1259/2506)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็มิใช่ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทำศพผู้ตายจากจำเลยได้
ปัญหาที่ว่า โจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย และโจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
โจทก์ที่ 2 มิใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โจทก์เป็นเพียงบุตรนอกสมรสของผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งผู้ตายได้แจ้งทะเบียนคนเกิดว่าเป็นบุตรของตน และอุปการะเลี้ยงดูโดยเปิดเผยตลอดมาเท่านั้น การที่ผู้ตายแจ้งทะเบียนคนเกิดว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของตนก็ดี หรือได้ทำการอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ที่ 2 ฉันบุตรตลอดมาก็ดี ก็หาทำให้โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายขึ้นมาไม่ เพราะบุตรนอกสมรสจะกลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้ ก็ต้องเป็นไปตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1526 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ที่ 2 คงมีฐานะเป็นเพียงบุตรที่ผู้ตายรับรองแล้วตามมาตรา 1627 และมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) จึงไม่มีสิทธิได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากผู้ที่ทำให้บิดาตนถึงแก่ความตายได้ (อ้างฎีกาที่ 1259/2506)
เมื่อโจทก์ที่ 1 มิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็มิใช่ผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าทำศพผู้ตายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาเป็นหลักในการพิจารณาคดีแพ่งเกี่ยวกับความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ในประเด็นที่ว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายหรือไม่นั้น จำเลยแถลงขอให้ถือเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 835/2507 ระหว่างโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ และจำเลยคดีนี้เป็นจำเลย โดยคดีนั้นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทฝ่ายเดียว เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย ซึ่งคดีนั้นศาลชั้นต้นได้พิจารณารวมกับคดีอาญาเลขดำที่ 949/2507 ระหว่างพนักงานอัยการโจทก์ จำเลยคดีนี้เป็นจำเลย โดยอัยการโจทก์ฟ้องว่าจำเลยและบุตรโจทก์ต่างประมาทเป็นเหตุให้รถชนกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษารวมกันโดยฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1336 - 1337/2507 ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงใจคดีนี้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย จึงถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 835/2507 คดีหมายเลขแดงที่ 1336/2507 และตรงตามคำแถลงของจำเลยที่ให้ถือเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมาเป็นหลักในการวินิจฉัยประเด็นนี้ในคดีนี้ และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยอ้างอิงคำพิพากษาคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง
ในประเด็นที่ว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายหรือไม่นั้น จำเลยแถลงขอให้ถือเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่835/2507 ระหว่างโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ และจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยโดยคดีนั้นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทฝ่ายเดียวเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายซึ่งคดีนั้นศาลชั้นต้นได้พิจารณารวมกับคดีอาญาเลขดำที่ 949/2507ระหว่างพนักงานอัยการโจทก์ จำเลยคดีนี้เป็นจำเลยโดยอัยการโจทก์ฟ้องว่าจำเลยและบุตรโจทก์ต่างประมาทเป็นเหตุให้รถชนกันและศาลชั้นต้นได้พิพากษารวมกันโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายศาลอุทธรณ์พิพากษายืนปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1336-1337/2517 ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายจึงถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 835/2507 คดีหมายเลขแดงที่ 1336/2507 และตรงตามคำแถลงของจำเลยที่ให้ถือเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมาเป็นหลักในการวินิจฉัยประเด็นนี้ในคดีนี้และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้คำพิพากษาในคดีอาญาเป็นหลักฐานในคดีแพ่งเรื่องละเมิด ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ในประเด็นที่ว่า จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตายหรือไม่นั้น. จำเลยแถลงขอให้ถือเอาข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่835/2507 ระหว่างโจทก์คดีนี้เป็นโจทก์ และจำเลยคดีนี้เป็นจำเลย. โดยคดีนั้นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์โดยประมาทฝ่ายเดียว. เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย. ซึ่งคดีนั้นศาลชั้นต้นได้พิจารณารวมกับคดีอาญาเลขดำที่ 949/2507ระหว่างพนักงานอัยการโจทก์. จำเลยคดีนี้เป็นจำเลย. โดยอัยการโจทก์ฟ้องว่าจำเลยและบุตรโจทก์ต่างประมาทเป็นเหตุให้รถชนกัน. และศาลชั้นต้นได้พิพากษารวมกันโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ขับรถยนต์โดยประมาท เป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย. ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน. ปรากฏตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1336-1337/2517. ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้.ว่าจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย.จึงถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 835/2507. คดีหมายเลขแดงที่ 1336/2507. และตรงตามคำแถลงของจำเลยที่ให้ถือเอาข้อเท็จจริงในคดีอาญาดังกล่าวมาเป็นหลักในการวินิจฉัยประเด็นนี้ในคดีนี้. และชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าของสัมปทานเดินรถต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุ และการเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากความเสียหายต่อร่างกายและขาดประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
จำเลยที่ 3 ได้รับสัมปทานเดินรถ แล้วให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์เข้าร่วมเดิน ทาสีบอกเครื่องหมายเหมือนรถของจำเลยที่ 3 คนขับและคนขายตั๋วก็แต่งตัวเหมือนพนักงานของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ควบคุมการเดินรถของจำเลยที่ 2 เช่นเดียวกับรถของจำเลยที่ 3 และได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ค่าขายตั๋วเป็นค่าบริการของจำเลยที่ 3 เช่นนี้ ถือได้ว่าการเดินรถคันเกิดเหตุเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดชอบด้วยในเหตุละเมิดที่จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ก่อขึ้นตามทางการที่จ้าง (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 841/2510)
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ
ผลของการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย โดยทุพพลภาพตลอดชีวิต โจทก์จึงเรียกค่าการที่เสียความสามารประกอบงานอาชีพได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 444 และความทุพพลภาพที่เกิดขึ้นยังเข้ากรณีเป็นความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 โจทก์จึงเรียกได้ทั้งสองประการ