พบผลลัพธ์ทั้งหมด 555 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนต้องประเมินตามราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมินที่ใช้จดทะเบียน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า"เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้นมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฎว่า วันที่ 28 ธันวาคม2527 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกา ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 จึงต้องกำหนดเงินทดแทนให้เท่าราคาในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือหลักเกณฑ์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 ให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2527 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงไม่ถูกต้อง และขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพราะมิใช่ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามหก ที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีก็ตามเงินค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นธรรมโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน ค่าทดแทนต้องเป็นราคาซื้อขายจริงในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 จึงต้องกำหนดเงินทดแทนให้เท่าราคาในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือหลักเกณฑ์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 ให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2525 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงไม่ถูกต้อง และขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพราะมิใช่ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้กำหนดค่าตอบแทนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามหกที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีก็ตามเงินค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นธรรมโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองบ้านจากการซื้อขายและการครอบครองต่อเนื่อง การคัดค้านการเวนคืนที่ไม่สุจริต
แม้นาง ต. ได้ซื้อบ้านพิพาทจากนาง ม. โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ ต่อมานาง ต. ได้ขายบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายไว้ต่อกัน และเมื่อซื้อบ้านพิพาทดังกล่าวแล้วโจทก์ได้เช่าที่ดินซึ่งบ้านพิพาทตั้งอยู่จากนาง ข. เพื่ออยู่อาศัยตลอดมา ถือว่า โจทก์ได้รับมอบการครอบครองบ้านพิพาทจากผู้ขายและได้เข้าครอบครองแล้ว ย่อมได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุตรนาง ม. เจ้าของบ้านพิพาทเดิมมิได้ครอบครองบ้านดังกล่าวไปคัดค้านการจ่ายเงินทดแทนการเวนคืนบ้านพิพาทจากกรมทางหลวงจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยทั้งสองให้เพิกถอนคำคัดค้านและห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องกับบ้านพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3068/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไม่ใช่ราคาตามบัญชีราคาประเมิน
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 เรื่องทางหลวง ข้อ 76 นั้นกำหนดว่า เงินค่าทดแทนที่จะจ่ายให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้นต้องกำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับเมื่อกรมโยธาธิการจำเลยที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ โดยถือบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2525-2527 อันเป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญชีดังกล่าวจึงมิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นได้ตามภาวะเศรษฐกิจ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์และไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3068/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนต้องเป็นราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ การใช้บัญชีราคาคงที่ไม่เป็นธรรม
ตามประกาศของคณะปฎิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 กำหนดว่าเงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนโดยถือบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2525-2527 อันเป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใชับัญชีดังกล่าวมิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นได้ตามภาวะเศรษฐกิจ ย่อมไม่เป็นธรรมต่อโจทก์และไม่ชอบด้วยกฎหมายถือไม่ได้ว่าเป็นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินและการเวนคืน: โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนจากผู้เวนคืนได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่บังคับให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์ หาทำให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่ โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทต่อเมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 4 อยู่ ซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 18 (1) บัญญัติว่า เงินค่าทดแทนนั้นให้กำหนดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์ซึ่งไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนตามกฎหมายโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทนเพื่มจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2747/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน: โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าทดแทน
แม้ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ หากจำเลยที่ 3และที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเป็นเพียงคำพิพากษาที่บังคับให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย หาใช่ทำให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไม่กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 4 อยู่โจทก์จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทต่อเมื่อจำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แต่เมื่อก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำพิพากษานั้น ที่ดินพิพาทถูกเวนคืนตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ กรณีจึงมีเหตุรอนสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเกิดขึ้นที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ได้ และตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 บัญญัติว่า เงินค่าทดแทนนั้นให้กำหนดแก่บุคคลดังต่อไปนี้(1) เจ้าของทรัพย์ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน ฯลฯ โจทก์ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนดังกล่าว จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืนตามราคาตลาด: ศาลฎีกาตัดสินให้ใช้ราคาซื้อขายจริงเป็นเกณฑ์
ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 มิได้บังคับว่าหากในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานทะเบียนที่ดินแล้ว จะต้องถือเอาราคาที่ดินของกรมที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมมาเป็นเกณฑ์ การที่จำเลยที่ 2 ถือเอาราคาที่ดินตามบัญชีดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์จึงไม่ถูกต้องเพราะมิใช่ราคาซื้อขายกันในท้องตลาด โจทก์จึงมีอำนาจขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดได้ ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯ ใช้บังคับ ไม่มีการซื้อขายที่ดินบริเวณที่ถูกเวนคืนการที่โจทก์นำสืบว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่มีสภาพและทำเลที่ตั้งเช่นเดียวกับที่ดินของโจทก์ ในราคาตารางวาละ 15,000 บาทจึงเป็นการเพียงพอที่ศาลจะใช้ดุลพินิจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบเพื่อคำนวณหาราคาที่ดินของโจทก์ตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับได้ จะถือว่าโจทก์ไม่นำสืบจึงต้องถือตามที่จำเลยที่ 2กำหนดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินตามประกาศคณะปฏิวัติฯ vs. พ.ร.บ.เวนคืนฯ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนและดอกเบี้ย
ที่ดินโจทก์ถูกเวนคืนโดยอาศัยพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนให้ท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตดุสิตเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2527 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28ธันวาคม 2527 พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 63แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 รายละเอียดในการเวนคืนที่ดินพิพาทของโจทก์จึงต้องบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 หาใช่บังคับตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่20 สิงหาคม 2530 ไม่ เมื่อโจทก์โต้แย้งเงินค่าทดแทนไว้แล้วโจทก์ไม่จำต้องยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายในหกสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทย่อมฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ตนเห็นว่ายังขาดอยู่ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสองจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลสั่งให้จ่ายเพิ่มขึ้น แม้ต่อมาบทบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530มาตรา 7 ก่อนที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนก็ตามก็หามีผลย้อนหลังใช้บังคับโจทก์ซึ่งมีสิทธิอยู่ก่อนแล้ว
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสองจำเลยต้องใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลสั่งให้จ่ายเพิ่มขึ้น แม้ต่อมาบทบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530มาตรา 7 ก่อนที่โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนก็ตามก็หามีผลย้อนหลังใช้บังคับโจทก์ซึ่งมีสิทธิอยู่ก่อนแล้ว