คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังหย่ามีผลอย่างไร? ข้อตกลงไม่ใช่คำมั่นสัญญาแต่เป็นการโอนสิทธิ
สามีภริยาได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันและทำบันทึกแบ่งทรัพย์สินให้ภริยาด้วยนั้น การแบ่งทรัพย์นี้ไม่ใช่คำนั่นว่าจะให้ แต่เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1512

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อหลังเช็คถือเป็นการสลักหลังโอนสิทธิ ไม่ต้องทำสัญญาโอนกันอีก
การลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็ค ย่อมมีผลเป็นการโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นตามมาตรา 989, 920 ไม่ ต้องทำการโอนกันตามมาตรา 306 อีกและไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 939 วรรค 2 และ 3 เพราะมาตรา 921 บัญญัติไว้เป็นพิเศษแล้ว
(อ้างฎีกาที่ 51/2501)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในเช็คด้วยการลงลายมือชื่อด้านหลัง และข้อยกเว้นการปฏิบัติตามมาตราที่เกี่ยวข้อง
การลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็ค ย่อมมีผลเป็นการโอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นตาม มาตรา 920 ไม่ต้องทำการโอนกันตามมาตรา 306 อีก และไม่ต้องปฏิบัติตาม มาตรา 939 วรรค 2,3 เพราะมาตรา 921 บัญญัติให้เป็นพิเศษแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่า: สละเจตนา + ส่งมอบ หรือทำนิติกรรมให้ถูกต้องตามแบบ
การโอนสิทธิครอบครองในที่ดินมือเปล่าที่มิใช่มีมาแต่ดั้งเดิม แต่เป็นที่ดินมือเปล่าที่ตกอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น กระทำได้ด้วยการสละเจตนาครอบครองและส่งมอบทรัพย์ที่ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377,1378 หาขัดกับมาตรา 1299 วรรคแรกไม่ เพราะมาตรา 1299 ได้บัญญัติให้มาตรา 1299 วรรคแรกอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่น ฉะนั้น เมื่อมีมาตรา 1377,1378 บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น แต่ถ้าผู้โอนและผู้รับโอนประสงค์จะทำการโอนโดยผลของนิติกรรม ไม่ใช่โดยสละและส่งมอบ ก็ต้องทำนิติกรรมให้ถูกแบบดังบัญญัติไว้ในมาตรา 1299 วรรคแรก นิติกรรมนั้นจึงจะสมบูรณ์ในอันที่จะโอนสิทธิครอบครองไปได้
บุตรเอาที่ดินมือเปล่าของบิดาไปแจ้งสิทธิครอบครอง บิดาร้องอำเภอ จึงตกลงทำสัญญาที่อำเภอว่าบิดายกที่ดินให้บุตร แต่บุตรต้องให้ข้าวเปลือกเป็นรายปี และค่าทำศพบิดา ดังนี้ถือว่าเป็นสัญญประนีประนอมยอมความซึ่งมีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 มิใช่เป็นการให้โดยเสน่หาตามมาตรา 521 อีกทั้งเป็นการให้ที่มีภาระติดพันตามมาตรา 535 จึงถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24-25/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าและการโอนสิทธิสัญญาเช่า: สัญญาเช่าเดิมไม่ผูกพันผู้เช่ารายใหม่ที่ได้รับสิทธิจาก พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
โจทก์ให้บุคคลที่ 3 เช่าที่ดินปลูกสร้างอาคารให้เช่าช่วง มีกำหนด 10 ปี โดยมีข้อสัญญาว่า เมื่อครบ 10 ปีแล้ว อาคารตกเป็นของโจทก์ โดยบุคคลที่ 3 ผู้เช่าที่ดินจะไม่กระทำให้อาคารที่ปลูกสร้างนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไป เมื่อครบ 10 ปี ปรากฏว่า จำเลยเช่าอาคารนี้จากบุคคลที่ 3 นั้นเพื่ออยู่อาศัยมา 7 ปีแล้ว ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่า ฯ ดังนี้ โจทก์จะอาศัยสัญญาที่โจทก์ทำกับบุคคลที่ 3 ในข้อที่ว่าเมื่อครบ 10 ปี บุคคลที่ 3 จะไม่กระทำให้อาคารนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไปมาขับไล่จำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ผู้รับโอนอาคารพิพาทจากบุคคลที่ 3 ย่อมรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่ 3 ซึ่งมีต่อจำเลยนั้นด้วย สัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบุคคลที่ 3 นั้น ไม่ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคนนอกสัญญากล่าวในแง่การเช่า จำเลยเช่าจากบุคคลภายนอกโดยบุคคลภายนอกได้รับสิทธิให้เช่ามาจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยเช่าแล้ว จำเลยได้รับสิทธิเพิ่มเติมโดยบทบัญญัติของพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเช่าและสิทธิของผู้เช่าตามพรบ.ควบคุมค่าเช่า สัญญาเช่าเดิมไม่ผูกพันผู้เช่ารายใหม่
โจทก์ให้บุคคลที่ 3 เช่าที่ดินปลูกสร้างอาคารให้เช่าช่วง มีกำหนด 10 ปี โดยมีข้อสัญญาว่า เมื่อครบ10 ปีแล้ว อาคารตกเป็นของโจทก์ โดยบุคคลที่ 3 ผู้เช่าที่ดินจะไม่กระทำให้อาคารที่ปลูกสร้างนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไป เมื่อครบ 10 ปี ปรากฏว่าจำเลยเช่าอาคารนี้จากบุคคลที่ 3 นั้นเพื่ออยู่อาศัยมา 7 ปีแล้ว ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ ดังนี้โจทก์จะอาศัยสัญญาที่โจทก์ทำกับบุคคลที่ 3 ในข้อที่ว่าเมื่อครบ 10 ปี บุคคลที่ 3 จะไม่กระทำให้อาคารนี้มีภาระผูกพันกับบุคคลอื่นต่อไปมาฟ้องขับไล่จำเลยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ผู้รับโอนอาคารพิพาทจากบุคคลที่ 3 ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่ 3 ซึ่งมีต่อจำเลยนั้นด้วย สัญญาที่โจทก์ทำไว้กับบุคคลที่ 3 นั้น ไม่ผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคนนอกสัญญากล่าวในแง่การเช่า จำเลยเช่าจากบุคคลภายนอกโดยบุคคลภายนอกได้รับสิทธิให้เช่ามาจากโจทก์ แต่เมื่อจำเลยเช่าแล้วจำเลยได้รับสิทธิเพิ่มเติมโดยบทบัญญัติของพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินโดยมิชอบจากใบมอบอำนาจที่ไม่สมบูรณ์ ผู้รับซื้อโดยสุจริตก็ไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
ถ้ามีการปลอมใบมอบอำนาจให้ทำการขายฝากที่ดิน ผู้รับซื้อก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ผู้รับซื้อจะอ้างว่าเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตไม่ได้ เพราะการโอนย่อมมีไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1866/2484)
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้เขาเอาที่ดินมีโฉนดของตนไปทำการอย่างหนึ่งโดยไม่ได้กรอกข้อความในใบมอบอำนาจ เขากลับยักยอกลายมือชื่อนั้นไปทำการขายฝากที่ดินเสีย เมื่อผู้ซื้อรับโอนโดยสุจริต โจทก์จะอ้างความประมาทเลินเล่อของตนมาเพิกถอนนิติกรรมนั้น โดยอ้างว่านิติกรรมเป็นโมฆะหาได้ไม่สุจริตด้วยกันผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ (อ้างฎีกาที่ 491/2482)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินด้วยใบมอบอำนาจที่ไม่สมบูรณ์ ผู้รับซื้อโดยสุจริตอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์
ถ้ามีการปลอมใบมอบอำนาจให้ทำการขายฝากที่ดินผู้รับซื้อก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ผู้รับซื้อจะอ้างว่าเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตไม่ได้เพราะการโอนย่อมมีไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1866/2494)
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อมอบอำนาจให้เขาเอาที่ดินมีโฉนดของตนไปทำการอย่างหนึ่ง โดยไม่ได้กรอกข้อความในใบมอบอำนาจ เขากลับยักยอกลายมือชื่อนั้นไปทำการขายฝากที่ดินเสียเมื่อผู้ซื้อรับโอนโดยสุจริต โจทก์จะอ้างความประมาทเลินเล่อของตนมาเพิกถอนนิติกรรมนั้นโดยอ้างว่านิติกรรมเป็นโมฆะหาได้ไม่สุจริตด้วยกันผู้ประมาทเลินเล่อย่อมเป็นผู้เสียเปรียบ (อ้างฎีกาที่ 491/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับคดีจำกัดเฉพาะทรัพย์สินจำเลย แม้มีการโอนสิทธิบางส่วนให้ผู้อื่น
ในคดีก่อน นายคำฟ้องเรียกเงินนางนิตย์แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยนางนิตย์โอนที่ดิน10ไร่ส่วนของนางนิตย์ตีใช้หนี้เงินกู้ให้แก่นายคำถึงนายคำจะมิได้ร้องสอดเข้ามาในคดีหลังแต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าที่ดินเป็นของนายคำ 10 ไร่ โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเอาที่ดินส่วนของนายคำมาชำระหนี้ในคดีหลังที่โจทก์ชนะคดีจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1181/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภารจำยอมเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้ทางเดินต่อเนื่องในที่ดินของเจ้าของรวม และมีการโอนสิทธิในที่ดิน
เจ้าของรวมในที่ดินมีโฉนดต่างครอบครองเป็นส่วนสัดเกิด 10 ปี แล้วเจ้าของรวมคนหนึ่งได้ใช้ทางเดินในที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมอีกคนหนึ่งมาอีกระยะหนึ่ง จนเกิน 10 ปี แล้ว โอนขายที่ดินส่วนของตนให้โจทก์ไป ดังนี้ โจทก์ย่อมได้ภารจำยอมเหนือทางเดินนี้ด้วย
of 49