คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการต้องพิจารณาก่อนประเด็นอื่น หากไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลเดิมเป็นโมฆะ
จำเลยให้การว่า โจทก์ยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเนื่องจากโจทก์ยังไม่ดำเนินการตามกระบวนการระงับข้อพิพาทของสัญญา เป็นการฝ่าฝืนต่อเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาว่าจ้างโจทก์ โจทก์ก็นำสืบยอมรับว่ามีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการอยู่ในสัญญาจ้างดังกล่าวซึ่งเป็นสัญญาหลัก เพียงแต่โจทก์นำสืบว่าตามข้อสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยเลือกฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้นก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่ ควรที่จะวินิจฉัยเสียก่อนว่ามีหรือไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นได้ รวมทั้งข้อที่ว่าข้อตกลงอนุญาโตตุลาการใช้บังคับไม่ได้เพราะโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาท โดยเลือกที่จะฟ้องคดีต่อศาลแทน ดังที่โจทก์นำสืบหรือไม่ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยในขณะทำสัญญา ซึ่งหากศาลเห็นว่าโจทก์ต้องไปดำเนินการตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญาก่อน ก็สั่งจำหน่ายคดีเสียเพื่อให้โจทก์ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาอายุความว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วพิพากษายกฟ้อง ย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยคำพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2535 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องพิจารณาข้อตกลงก่อนตัดสินเรื่องอื่น
จำเลยให้การข้อหนึ่งว่า โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเนื่องจากยังไม่ดำเนินการตามกระบวนการระงับข้อพิพาทของสัญญาและนำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการอันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขในสัญญาว่าจ้าง ในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยก็ยังสืบพยานยืนยันข้อต่อสู้นี้ โดยโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนก็นำสืบรับว่ามีกระบวนการระงับข้อพิพาทตามสัญญา และมีข้อตกลงว่าหากดำเนินการตามกระบวนการนั้นแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาข้อพิพาทได้ จะต้องนำข้อพิพาทเข้าสู่การระงับโดยอนุญาโตตุลาการ กล่าวคือ ยอมรับว่ามีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการอยู่ในสัญญาจ้างดังกล่าวซึ่งเป็นสัญญาหลัก เพียงแต่โจทก์นำสืบว่าตามข้อสัญญาดังกล่าวโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้วิธีระงับข้อพิพาทโดยกระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยเลือกฟ้องคดีต่อศาล ดังนั้นก่อนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่ ควรที่จะวินิจฉัยเสียก่อนว่ามีหรือไม่มีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นโมฆะหรือใช้บังคับไม่ได้ด้วยเหตุประการอื่น หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นได้ รวมทั้งข้อที่ว่าข้อตกลงอนุญาโตตุลาการใช้บังคับไม่ได้เพราะโจทก์มีสิทธิเลือกที่จะไม่ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท โดยเลือกที่จะฟ้องคดีต่อศาลแทน ดังที่โจทก์นำสืบหรือไม่ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยในขณะทำสัญญา ซึ่งหากศาลเห็นว่าโจทก์ต้องไปดำเนินการตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามสัญญาก่อน ก็สั่งจำหน่ายคดีนี้เสียเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ โดยศาลไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความฟ้องคดี อำนาจฟ้อง และความรับผิดของจำเลยในการชำระหนี้แก่โจทก์ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยปัญหาอายุความว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วพิพากษายกฟ้อง ย่อมเป็นเหตุที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยคำพิพากษา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษายกคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยให้ไปดำเนินการไต่สวน และมีคำสั่งหรือคำพิพากษาใหม่ตามรูปคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดีหลังขาดนัด – ผลกระทบต่อการยื่นคำขอออกหมายบังคับคดี
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) ย่อมถึงที่สุดเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามมาตรา 147 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 และส่งให้จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 จำเลยทั้งสองมิได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดในวันที่ 2 มีนาคม 2550 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันที่ 23 เมษายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2338/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดีแข่งรถและการพักใช้ใบอนุญาตที่ไม่ปรากฏในฟ้อง
จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกขับรถแข่งขันในทางโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและความเดือดร้อนของผู้อื่น โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าจำเลยทั้งสิบสี่เป็นผู้มีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ที่ศาลล่างทั้งสองให้พักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยทั้งสิบสี่มีกำหนดคนละ 6 เดือน เป็นการพิพากษาที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2023-2026/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินธรณีสงฆ์: ศาลเพิกถอนโฉนดที่ออกทับที่ดินสงฆ์ แม้เจ้าของที่ดินเดิมจะได้รับโฉนดโดยชอบ
นอกจากคดีนี้แล้วปรากฏว่าศาลฎีกาเคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า การออกโฉนดในบริเวณรอบๆ องค์พระพุทธบาทไม่ชอบเป็นการออกทับที่ธรณีสงฆ์ของผู้ร้องสอด เจ้าหน้าที่ของรัฐหาได้คำนึงถึงเขตพุทธาวาส สังฆาวาส อันเป็นที่ธรณีสงฆ์แต่อย่างใด เมื่อพิจารณาพงศาวดารพระพุทธบาทแล้ว ทำให้เห็นศรัทธาของพระเจ้าทรงธรรมที่ทรงมีต่อองค์พระพุทธบาทอย่างแรงกล้า ทรงดั้นด้นเสด็จพระราชดำเนินทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวยังมีสภาพเป็นป่า การเสด็จพระราชดำเนินกระทำด้วยความยากลำบาก พระองค์มิได้ทรงย่อท้อแต่อย่างใด ดังนั้นที่พระองค์ทรงมีพระบรมราชโองการอุทิศถวายที่ดินที่มีสภาพเป็นป่าในขณะนั้นออกไปเป็นบริเวณโดยรอบหนึ่งโยชน์ (400 เส้น) นั้น จึงสมเหตุสมผล ส่วนที่ต่อมาความเจริญเข้ามาสู่ที่ดินดังกล่าว ประกอบกับผู้ร้องสอดไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง จึงเป็นเหตุให้มีการรุกล้ำทั้งจากเอกชนและหน่วยราชการ รวมทั้งมีการออกโฉนดในที่ดินด้วย และเมื่อพิจารณาตำแหน่งที่ดินของโจทก์แล้ว จะเห็นได้ว่าอยู่ห่างจากวัดผู้ร้องสอดเพียง 20 เส้น จึงฟังได้ว่าเป็นที่ดินของผู้ร้องสอด แม้จะฟังได้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างในทำนองว่ามี พ.ร.ฎ. ในภายหลังเปลี่ยนสถานะที่ดินของผู้ร้องสอดไปแล้วเป็นเหตุให้ราษฎรสามารถมีกรรมสิทธิ์ได้นั้นก็ตาม แต่พระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินมีศักดิ์ทางกฎหมายสูงกว่าพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น แม้จะออก พ.ร.ฎ. จริง ก็ไม่สามารถลบล้างพระบรมราชโองการได้ อีกทั้งที่ดินดังกล่าวอยู่ห่างจากวัดผู้ร้องสอดไม่มากเชื่อว่าผู้ร้องสอดสามารถดูแลได้ ดังจะเห็นได้ว่า ผู้ร้องสอดให้จำเลยทั้งสี่เช่าอยู่อาศัยเพียงแต่ขณะที่มีการออกโฉนดทางเจ้าพนักงานมิได้แจ้งให้ผู้ร้องสอดทราบ จึงทำให้ผู้ร้องสอดไม่มีโอกาสคัดค้านการออกโฉนดดังกล่าว เมื่อการออกโฉนดดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้ร้องสอดไม่ร้องขอให้เพิกถอน แต่เมื่อฟังได้ว่าที่ดินเป็นของผู้ร้องสอด ศาลก็มีอำนาจเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผ่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษา: ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่ความคัดค้านก่อนมีคำสั่ง
ป.วิ.พ.มิได้บัญญัติว่าคำร้องของจำเลยที่ขอผ่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษาเป็นคำร้องที่ทำได้แต่ฝ่ายเดียว ก่อนที่จะไต่สวนหรือมีคำสั่งศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะให้โอกาสโจทก์คัดค้าน โดยมีคำสั่งให้ส่งสำเนาคำร้องเช่นว่านั้นแก่โจทก์ล่วงหน้า หากจะคัดค้านประการใดให้ยื่นเข้ามาภายในเวลาที่กำหนดการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษาและงดการบังคับคดีไปเลยทีเดียว เป็นการก้าวล่วงข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) อันเป็นบทกฎหมายในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลฎีกาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียตามมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน – ข้อโต้แย้งสิทธิ – ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้ แม้ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอรังวัดออกโฉนดที่พิพาท อ้างว่าเป็นของจำเลย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แม้ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิก็ตาม ประกอบกับโจทก์ขอให้บังคับจำเลยและบริวารมิให้เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทด้วย หากโจทก์ชนะคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 852/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองลูกระเบิด, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน, และการใช้ดุลพินิจของศาลในการพิจารณาคดีอาญา
พยานโจทก์มีรายงานการตรวจพิสูจน์ของพันตำรวจโท ว. ว่า ของกลางจัดเป็นเครื่องกระสุนปืนตามความหมาย แห่ง พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ และเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ แม้จะได้ความต่อไปตามรายงานฉบับดังกล่าวว่าของกลางดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ใช้ทำการระเบิดไม่ได้ เพราะชนวนเสื่อมสภาพ แต่ก็ถือได้ว่าของกลางเป็นลูกระเบิดตามกฎหมาย จึงต้องมีความผิดข้อหามีลูกระเบิดไว้ในครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8381/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก-การจำหน่ายคดี: ศาลจำหน่ายคดีได้หากโจทก์ไม่มาตามนัด แม้ศาลจะสั่งให้ดำเนินคดีแบบมโนสาเร่
ศาลชั้นต้นให้ดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยากซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เว้นแต่มาตาม 190 จัตวา มาใช้บังคับ โดยมาตรา 193 ทวิ วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ให้อำนาจแก่ศาลที่จะมีคำสั่งจำหน่ายคดี หากปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งให้มาศาลตามมาตรา 193 แล้วไม่มาในวันนัดพิจารณาโดยมิได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่มาศาลให้ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แสดงว่าการดำเนินคดีไม่มีข้อยุ่งยาก หากโจทก์ทราบนัดแล้วไม่ได้ขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุข้อข้องที่ไม่มาศาล ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำมาตรา 198 ทวิ มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8316/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ศาลมีอำนาจสั่งวางเงินประกันและยกคำร้องหากไม่ปฏิบัติตาม
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 ไปในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงกรณีตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ซึ่งในวรรคสามของมาตราดังกล่าวให้นำวรรคห้าของมาตรา 296 มาใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง โดยอนุโลม มาตรา 296 วรรคห้า บัญญัติว่า "ในการยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรานี้... ฯลฯ... ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องวางเงินหรือหาประกันต่อศาลตามจำนวนและภายในระยะเวลาที่ศาลเห็นสมควรกำหนด เพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลนั้นได้ ถ้าผู้ยื่นคำร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล ให้ศาลมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสีย คำสั่งของศาลที่ออกตามความในวรรคนี้ให้เป็นที่สุด" เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 2 นำเงินจำนวน 4,000,000 บาท มาวางเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ภายในวันที่ 11 กันยายน 2549 จำเลยที่ 2 ไม่นำเงินมาวางภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด แต่กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินออกไปอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยที่ 2 ดังนี้ คำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคห้า ประกอบมาตรา 309 ทวิ วรรคสาม จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปอีก
การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่า จะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4) การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้ไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 โดยเห็นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
of 364