คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลภายในกำหนดระยะเวลา ทำให้คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ไม่รับอุทธรณ์เป็นที่สุด
เดิมจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยยื่นอุทธรณ์พร้อมกับคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงิน และมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2549 ซึ่งจำเลยทราบคำสั่งในวันดังกล่าวแล้ว หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แต่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2549 จึงเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยเพราะเหตุดังกล่าว จึงมีผลเป็นการไม่รับอุทธรณ์ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8005/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: การคัดค้านคำสั่งศาลด้วยถ้อยคำดูหมิ่นผู้พิพากษา ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างทำนองว่า ป. มิได้ทำพินัยกรรมดังที่จำเลยอ้างโดยขอส่งสมุดบันทึกและกระดาษบันทึกเพื่อไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบกับพินัยกรรมแต่จำเลยคัดค้านไม่ยอมรับว่าสมุดบันทึกและกระดาษบันทึกไม่ใช่ลายมือของ ป. การที่ศาลชั้นต้นไม่ยอมรับสมุดบันทึกและกระดาษบันทึกเพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบกับพินัยกรรมจึงเป็นการสั่งไปตามอำนาจหน้าที่ การที่โจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้านระบุว่าศาลไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด คำสั่งหรือการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนหรือวิธีการโดยไม่สุจริตเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนรังเกียจโจทก์ไม่พอใจโจทก์ ดังนี้ เป็นการดูหมิ่นผู้พิพากษาซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นการละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8005/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดอำนาจศาล: คำแถลงคัดค้านคำสั่งศาลที่มีลักษณะดูหมิ่นผู้พิพากษา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ยอมรับสมุดบันทึกและกระดาษบันทึกที่มีลายมือเขียนของผู้ทำพินัยกรรมเพื่อส่งไปตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบกับพินัยกรรมเป็นการสั่งไปตามอำนาจหน้าที่ การที่โจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้าน ระบุว่าศาลไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด คำสั่งหรือการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่หรือโดยไม่ถูกต้องตามรูปแผนขั้นตอนหรือวิธีการโดยไม่สุจริตเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนรังเกียจโจทก์ไม่พอใจโจทก์ ดังนี้เป็นการดูหมิ่นผู้พิพากษาซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่จึงเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นการละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1) แม้ต่อมาโจทก์จะยื่นคำแถลงขอถอนคำแถลงคัดค้าน ก็ไม่ทำให้คำแถลงคัดค้านหมดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7951/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: จำเลยต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อน หากโต้แย้งเขตอำนาจศาล มิใช่การยกขึ้นในคำให้การ
จำเลยโต้แย้งเรื่องเขตอำนาจศาลไว้ในคำให้การ ไม่ได้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองตามขั้นตอนของกฎหมาย ทั้งมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นที่รับคำฟ้องเห็นเองเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลนั้น ตาม พ.ร.บ.ว่าดัวยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคสาม ซึ่งจะต้องเป็นกรณีที่ศาลเห็นเองว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลอื่น ดังนั้นเมื่อจำเลยมิได้กระทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด ทั้งกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นเองว่าอยู่ในอำนาจของศาลนั้นก็ไม่ใช่กรณีที่ถือได้ว่ามีปัญหาขัดแย้งกันเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลจึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ว่าดัวยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 10 วรรคหนึ่งและวรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7191/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดจากการใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริตและจงใจทำให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้อื่น
การที่จำเลยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งสองในคดีนี้เป็นจำเลยในข้อหาละเมิดต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้โดยอ้างว่าการที่โจทก์ทั้งสองดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9597/2546 เป็นการละเมิดต่อจำเลยนั้น แม้จะถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิทางศาลตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ก็ตาม แต่หากการใช้สิทธิทางศาลที่มีความมุ่งหมายหรือเจตนาที่จะให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายก็ย่อมเป็นการละเมิด คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องอ้างว่าจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยเป็นฝ่ายไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 9597/2546 การที่จำเลยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยในข้อหาละเมิด เรียกทรัพย์คืนต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โดยอ้างว่าโจทก์ทั้งสองดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยฝ่าฝืนกฎหมายนั้นเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตและจงใจให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องก็ย่อมทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายได้ กรณีถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลเป็นคดีนี้ได้
คดีนี้แม้โจทก์ที่ 1 จะขอให้พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่หากศาลฎีกาพิพากษาให้ตามขอ ก็เป็นการย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดีจึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ดังนี้จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7108/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: หน้าที่ลูกหนี้ร่วม, การเปลี่ยนแปลงพฤติการณ์, และการคืนค่าขึ้นศาล
ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์" ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันในการให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะทำนองเป็นลูกหนี้ร่วมกัน หาใช่เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียวไม่ ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 การกำหนดความรับผิดเป็นอย่างอื่นตามกฎหมายดังกล่าวอาจกำหนดโดยนิติกรรมสัญญาหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถึงแม้โจทก์และจำเลยจะแยกกันอยู่และโจทก์นำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปอยู่ด้วยกับโจทก์ก็ตาม เมื่อมิได้ตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเพื่อแบ่งส่วนตามความรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดชำระค่าค่าเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มีทรัพย์สินมากกว่าและโจทก์นำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปอยู่ด้วยเพื่อปฏิเสธที่จะไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ แม้จำเลยจะได้ออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ดังที่จำเลยอ้างก็เป็นเรื่องให้การศึกษาซึ่งเป็นคนละส่วนกับค่าอุปการะเลี้ยงดู จำเลยก็จะนำมาอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูเห็นสมควรเป็นจำนวนเพียงใดนั้น ศาลมีอำนาจกำหนดโดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 ทั้งศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกในภายหลังได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/39
ทุนทรัพย์ที่จะนำมาคำนวณในการชำระค่าขึ้นศาลแต่ละชั้นศาลตามตาราง 1 (1) ท้าย ป.วิ.พ. ต้องเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในแต่ละชั้นศาล ส่วนทุนทรัพย์หรือจำนวนเงินที่จะต้องชำระหลังจากวันฟ้องในศาลชั้นต้นเป็นหนี้ในอนาคตไม่ถือเป็นทุนทรัพย์ที่จะนำมาคิดคำนวณเพื่อชำระค่าขึ้นศาล เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแก่โจทก์คนละ 8,000 บาท ต่อเดือนนับแต่วันฟ้องจนกว่าบุตรผู้เยาว์ทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้เป็นการพิพากษาให้ชำระหนี้ในอนาคตจึงไม่มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาที่จะนำมาคิดคำนวณเป็นค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ การที่จำเลยอุทธรณ์และฎีกาว่าไม่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองเป็นระยะเวลาในอนาคตที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษานั้น ก็ไม่ต้องด้วยตาราง 1 (4) ท้าย ป.วิ.พ. เพราะกรณีตามตาราง 1 (4) เป็นกรณีที่ขอให้ชำระ ดังนั้น อุทธรณ์และฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องชำระค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (2) (ก) คือ 200 บาท เท่านั้น แต่จำเลยชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาเกินมา เห็นสมควรคืนค่าขึ้นส่วนที่เกิน 200 บาท แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินในคดียาเสพติด: การประกาศในหนังสือพิมพ์เป็นกระบวนการสำคัญที่ศาลต้องปฏิบัติตาม
คดีนี้พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 30, 31 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเรื่องการริบทรัพย์สินของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาจึงต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคสอง โดยเมื่อศาลสั่งรับคำร้องแล้วให้ศาลสั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกัน เพื่อให้บุคคลซื้ออาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้ประกาศคำร้องในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกัน จึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบและทำให้บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินไม่รู้ว่ามีการยื่นคำร้องขอให้ริบรถยนต์กระบะของกลางอันทำให้เสียสิทธิในการยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดี แม้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านว่าเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลาง และขอให้คืนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้คัดค้านก็ตาม ก็ไม่อาจแก้ไขกระบวนการพิจารณาที่เสียไปแล้วตั้งแต่ต้นให้กลับมาเป็นชอบด้วยกฎหมายได้ ศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6321/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาท: ศาลต้องพิจารณาความน่าจะทำให้เสียชื่อเสียง แม้จำเลยไม่ได้มุ่งร้าย
โจทก์ฟ้องจำเลยข้อหาหมิ่นประมาทตาม ป.อ. มาตรา 326 ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยและครอบครัวให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวโจทก์และ ด. มาตั้งแต่อดีตตลอดมา และกรณีมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลยกันอยู่ ดังนั้นการที่จำเลยเขียนจดหมายโดยกล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือของจำเลยและครอบครัวแก่ครอบครัวของโจทก์มาในอดีต และความเป็นมาของที่ดินที่โจทก์อ้างว่าได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง แม้จะมีข้อความที่อ้างว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ แต่เมื่อพิจารณาจดหมายทั้งฉบับประกอบกับจำเลยส่งจดหมายให้เฉพาะบรรดาพี่น้องเพื่อปรึกษาในการดำเนินการให้โจทก์คืนที่ดินแก่จำเลย ซึ่งมีลักษณะเป็นเพียงการตัดพ้อต่อว่าโจทก์เท่านั้น ทั้งพฤติการณ์ของจำเลยไม่มีเจตนาใส่ความให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่แก้ไขแล้ว โจทก์อุทธรณ์สรุปได้ความว่า โจทก์มีความเห็นว่าการพิจารณาว่าจำเลยมีเจตนาใส่ความหรือไม่ เพียงแต่พิจารณาดูว่าจำเลยคิด ตกลงใจ และกระทำตามที่ตกลงใจในเรื่องการใส่ความ คือการเขียนและส่งจดหมายที่มีข้อความหมิ่นประมาทไปยังบุคคลที่สามก็ครบองค์ประกอบในความผิดฐานนี้ คือการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามในประการที่น่าจะทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิจารณาไปถึงว่าจำเลยมุ่งหมายเพื่อจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังหรือไม่ อันเป็นเจตนาพิเศษ เพราะเป็นเพียงผลที่คาดหมายว่าน่าจะเกิด ซึ่งข้อเท็จจริงยุติแล้วว่าจำเลยได้ส่งจดหมายที่มีข้อความตามฟ้องให้แพร่หลายแก่บุคคลที่สาม และข้อความดังกล่าวพิเคราะห์ตามมาตรฐานของวิญญูชนทั่วไป น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังได้ เมื่อบุคคลที่สามได้รับทราบถึงข้อความและรู้ว่าจำเลยกล่าวถึงใครแล้ว แม้บุคคลที่สามจะเป็นพี่น้องของจำเลยก็ตามและไม่อาจถือว่าจำเลยกระทำเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตนโดยชอบด้วย ป.อ. มาตรา 329 เพราะที่ดินพิพาทยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่ว่าเป็นของบุคคลใด ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ดังนี้ เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นนำข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วมาวินิจฉัยโดยปรับเข้ากับตัวบทกฎหมายไม่ถูกต้อง โดยปัญหาที่ศาลชั้นต้นจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้เพียงว่า ข้อความตามฟ้องนั้นเป็นการใส่ความโจทก์โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 22 ที่แก้ไขแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: การไม่ปฏิบัติตามกำหนด และเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2546 แต่เมื่อครบกำหนดจำเลยที่ 4 ไม่ได้วางเงินค่าธรรมเนียมศาล จำเลยที่ 4 เพิ่งมายื่นคำร้องขอวางเงินค่าธรรมเนียมศาลบางส่วนในวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 ถือได้ว่าเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจำเลยที่ 4 จะต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลภายในกำหนดเวลา หากพ้นกำหนดจำเลยที่ 4 จะสามารถยื่นคำร้องได้ต่อเมื่อมีเหตุสุดวิสัย ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 4 ยื่นคำร้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว ซึ่งตามเหตุผลในคำร้องที่อ้างว่าจำเลยที่ 4 หาเงินค่าธรรมเนียมศาลมาได้เพียงบางส่วนและจะนำค่าธรรมเนียมศาลส่วนที่เหลือมาวางภายใน 30 วัน ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 วางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่ชอบ กรณีเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีไปได้ตามมาตรา 246 ประกอบมาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062-6063/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดฟังคำสั่งศาล และผลของการไม่ชำระค่าธรรมเนียมศาลตามกำหนด
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 68 บัญญัติให้ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นภูมิลำเนาของบริษัท โจทก์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 162/18 หมู่ที่ 10 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ปิดกิจการไปตั้งแต่ปี 2540 แต่โจทก์ก็อ้างมาในฎีกาว่า โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเลิกบริษัท จึงถือว่าโจทก์ยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ที่เดิม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดหมายนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่บ้านหลังดังกล่าวจึงเป็นการส่งที่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) แล้ว ศาลชั้นต้นหาจำต้องส่งหมายนัดฟังคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้แก่กรรมการผู้จัดการของโจทก์และทนายโจทก์ด้วยไม่
of 364