พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการมีผลผูกพัน แม้ฟ้องคดีก่อนเสนอข้อพิพาทเข้าอนุญาโตตุลาการ ศาลสั่งจำหน่ายคดีได้
แม้ในสัญญาตัวแทนจำหน่ายจะมีเพียง อ. กรรมการคนหนึ่งของจำเลยลงลายมือชื่อท้ายสัญญาโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยตามข้อบังคับของบริษัท ซึ่งปกติจะไม่มีผลผูกพันจำเลยแต่ปรากฏจากคำฟ้องของโจทก์เองว่า หลังจากทำสัญญากับจำเลยแล้ว โจทก์ได้ปฏิบัติตามสัญญากับจำเลยอย่างถูกต้องครบถ้วนตลอดมา นอกจากนี้ จำเลยรวมทั้งโจทก์ต่างถือเอาสัญญานี้มาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของตน ถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ. กรรมการผู้มีอำนาจของตนแล้ว สัญญานี้จึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยในฐานะคู่สัญญา สัญญาตัวแทนจำหน่ายดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
ในสัญญาตัวแทนจำหน่ายมีข้อความระบุว่า ข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจากข้อสัญญานี้จะต้องตัดสินชี้ขาดภายใต้ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของหอการค้านานาชาติ ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับข้อสัญญาในเรื่องข้อมูลการค้าของโจทก์ จึงต้องตัดสินชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการด้วย ไม่ชอบที่โจทก์จะนำมายื่นฟ้องเป็นคดีนี้ต่อศาล
ก่อนหน้าการใช้บังคับ พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ สิทธิในความลับทางการค้าก็ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยสัญญาระหว่างคู่สัญญา และโดยหลักละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และ 421 อยู่แล้ว จึงเป็นสิทธิทางแพ่งอย่างหนึ่งที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ โจทก์กับจำเลยจึงสามารถตกลงกันในเรื่องข้อมูลความลับทางการค้าลงในสัญญาดังกล่าวได้
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลยละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าเกี่ยวกับข้อมูลการค้าบุหรี่ของโจทก์ จำเลยได้ยื่นคำให้การต่อสู้ว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้วินิจฉัยชี้ขาดตามข้อตกลงดังกล่าวก่อน เป็นการผิดสัญญาและกฎหมายอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง คำให้การดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยประสงค์จะขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่โจทก์ไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้วินิจฉัยชี้ขาดก่อนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง แล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายก่อนว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่นั้น ย่อมเป็นการยืนยันความต้องการดังกล่าวของจำเลย แม้จำเลยจะยื่นคำร้องช้ากว่าวันยื่นคำให้การ ก็ไม่เป็นเหตุทำให้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการใช้บังคับไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อให้ศาลได้ทำการไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการเสียก่อนที่จะได้มีการพิจารณาคดีตามประเด็นข้อพิพาท ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว
ในสัญญาตัวแทนจำหน่ายมีข้อความระบุว่า ข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจากข้อสัญญานี้จะต้องตัดสินชี้ขาดภายใต้ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของหอการค้านานาชาติ ข้อพิพาทที่เกี่ยวกับข้อสัญญาในเรื่องข้อมูลการค้าของโจทก์ จึงต้องตัดสินชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการด้วย ไม่ชอบที่โจทก์จะนำมายื่นฟ้องเป็นคดีนี้ต่อศาล
ก่อนหน้าการใช้บังคับ พ.ร.บ.ความลับทางการค้าฯ สิทธิในความลับทางการค้าก็ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยสัญญาระหว่างคู่สัญญา และโดยหลักละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และ 421 อยู่แล้ว จึงเป็นสิทธิทางแพ่งอย่างหนึ่งที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ โจทก์กับจำเลยจึงสามารถตกลงกันในเรื่องข้อมูลความลับทางการค้าลงในสัญญาดังกล่าวได้
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องว่าจำเลยละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าเกี่ยวกับข้อมูลการค้าบุหรี่ของโจทก์ จำเลยได้ยื่นคำให้การต่อสู้ว่า การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้วินิจฉัยชี้ขาดตามข้อตกลงดังกล่าวก่อน เป็นการผิดสัญญาและกฎหมายอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง คำให้การดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยประสงค์จะขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่โจทก์ไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการให้วินิจฉัยชี้ขาดก่อนที่จะฟ้องคดีต่อศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง แล้ว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายก่อนว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่นั้น ย่อมเป็นการยืนยันความต้องการดังกล่าวของจำเลย แม้จำเลยจะยื่นคำร้องช้ากว่าวันยื่นคำให้การ ก็ไม่เป็นเหตุทำให้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการใช้บังคับไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนารมณ์เพื่อให้ศาลได้ทำการไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการเสียก่อนที่จะได้มีการพิจารณาคดีตามประเด็นข้อพิพาท ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหลังโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ และสิทธิในการขอให้ศาลมีคำพิพากษาโดยขาดนัด
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำร้องขัดทรัพย์ให้โจทก์แก้คดีภายในสิบห้าวันนับแต่วันรับหมาย ณ บ้านของโจทก์โดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลโดยชอบแล้ว โจทก์ต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2544 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำให้การภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าวถือว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 และผู้ร้องต้องมีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวันนับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้โจทก์ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลง เพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัด โดยนับตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2544 ครบกำหนดสิบห้าวันคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 เมื่อผู้ร้องไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5293/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าธรรมเนียมศาลในการอุทธรณ์: หลักเกณฑ์และข้อยกเว้น
การยื่นอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินมาชำระหรือวางต่อศาลชั้นต้นพร้อมกับการยื่นอุทธรณ์ 2 จำนวน คือ ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ และเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 229 เพื่อเป็นประกันว่าหากในที่สุดศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ผู้อุทธรณ์รับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนคู่ความที่ชนะคดีแล้ว ผู้ชนะคดีจะมีสิทธิได้รับค่าธรรมเนียมจากเงินที่ผู้อุทธรณ์วางไว้ได้ โดยผู้ชนะคดีไม่ต้องดำเนินการบังคับคดี เงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งนี้มิใช่ค่าธรรมเนียมศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 155 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วเชื่อว่ามีความสามารถพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ได้ จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระ จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกเว้นให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาล ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่และวรรคห้า เนื่องจากเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมศาล แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาเสียทีเดียว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลโดยไม่ได้รับการยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเว้นให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อคดีปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกคำสั่งศาลชั้นต้นส่วนที่ไม่ชอบนั้นเสียได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) หาเป็นการสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ไม่ คำสั่งศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แล้วเชื่อว่ามีความสามารถพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ได้ จึงมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระ จึงถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกเว้นให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาล ก็ไม่ใช่กรณีที่จะถือว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลให้แต่เฉพาะบางส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่และวรรคห้า เนื่องจากเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมศาล แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาชำระย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาเสียทีเดียว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลโดยไม่ได้รับการยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเว้นให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาล จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อคดีปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกคำสั่งศาลชั้นต้นส่วนที่ไม่ชอบนั้นเสียได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) หาเป็นการสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ไม่ คำสั่งศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4499/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 และ 249 กรณีข้อเท็จจริงและไม่ได้ยกขึ้นว่ากันในชั้นศาล
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นให้ยกฟ้องโจทก์ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา จึงเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องร่วมกันรับผิดชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นเงิน 150,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 200,000 บาท โดยดอกเบี้ยภายหลังวันฟ้องไม่นำมาคำนวณรวมเป็นทุนทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 190 (1) คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4472/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: มูลคดีเกิดที่ไหน แม้จำเลยมีภูมิลำเนาที่อื่น
จำเลยเป็นสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร การตกลงรับ ก. ผู้ตายเป็นสมาชิกของจำเลยพิจารณาอนุมัติที่กรุงเทพมหานคร แต่เมื่อการสมัครสมาชิกของจำเลยและการขอเปิดบัญชีเงินฝากของ ก. กระทำโดยผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสุรินท์ และต่อมาจำเลยได้ตกลงรับ ก. เป็นสมาชิก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสุรินทร์จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามข้อตกลงในการเป็นสมาชิกของจำเลย ถือได้ว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาสุรินทร์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3966/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมการส่งคำบังคับ: ศาลมีอำนาจสั่งให้โจทก์ชำระได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง
โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลออกคำบังคับเพื่อให้จำเลยทั้งสามปฏิบัติตามคำพิพากษา เมื่อศาลชั้นต้นออกคำบังคับจึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นออกคำบังคับตามคำแถลงของโจทก์ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมในการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม การนำใบกำกับภาษีซื้อที่ไม่ถูกต้องมาใช้ และอำนาจหน้าที่ของศาลในการพิจารณาคดี
หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มระบุมาตราที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินกระทำการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากร ในแต่ละเดือนภาษี โดยมีรายละเอียดยอดขายและภาษีขาย ยอดซื้อและภาษีซื้อ รายการคำนวณภาษี ทั้งตามแบบแสดงรายการฯ ตามผลการตรวจสอบและยอดแตกต่าง และสรุปยอดรวมภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม โดยขอให้นำเงินไปชำระ ณ สำนักงานสรรพากรภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ด้านหลังหนังสือแจ้งการประเมินก็ระบุเหตุผลที่ประเมินว่า ยอดขายแสดงไว้ต่ำไปเป็นจำนวนเงินเท่าใด ยอดซื้อที่เสียภาษีแล้วโดยนำภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 มาถือเป็นเครดิตเท่าใด ทั้งยังระบุข้อควรทราบว่า ถ้าไม่ชำระภาษีภายในวันที่...จะต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 และเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินตามมาตรา 12 กรณีไม่เห็นด้วยกับการประเมินจะต้องยื่นอุทธรณ์ด้วยแบบ ภ.ส.6 ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 30 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ระบุเหตุผลที่วินิจฉัยว่า ตามหลักฐานที่ตรวจสอบปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้อุทธรณ์นำใบกำกับภาษีซื้อที่ไม่ตรงตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้มาถือเป็นภาษีซื้อ ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวย่อมเป็นใบกำกับภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (2) แต่เนื่องจากผลการคำนวณภาษี ผู้อุทธรณ์ยังคงมีภาษีชำระเกินเหลืออยู่จึงไม่ต้องรับผิดชำระภาษีตามการประเมิน หากยังคงต้องชำระเบี้ยปรับจากการแสดงภาษีไว้คลาดเคลื่อนตามมาตรา 89 (4) ซึ่งมีเหตุอันควรผ่อนผัน จึงพิจารณาเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ให้ผู้อุทธรณ์นำเงินภาษี เบี้ยปรับไปชำระ หากประสงค์จะอุทธรณ์ให้อุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลา 30 วัน ตามมาตรา 30 (2) ทั้งหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จึงมีเหตุผลที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 37 ครบถ้วนแล้ว
สำหรับประเด็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลภาษีอากรกลางยังมิได้วินิจฉัยโดยมีคำสั่งให้งดการสืบพยาน จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะนำมาวินิจฉัยให้ได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาวินิจฉัยก่อน ประกอบกับจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีสิงหาคม 2544 ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 สมควรที่ศาลภาษีอากรกลางจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความให้สิ้นกระแสความเสียก่อน จึงให้ยกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางและให้ศาลภาษีอากรกลางดำเนินการสืบพยานฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยในประเด็นนี้ก่อนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ข)
สำหรับประเด็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลภาษีอากรกลางยังมิได้วินิจฉัยโดยมีคำสั่งให้งดการสืบพยาน จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะนำมาวินิจฉัยให้ได้ โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาวินิจฉัยก่อน ประกอบกับจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีสิงหาคม 2544 ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 สมควรที่ศาลภาษีอากรกลางจะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความให้สิ้นกระแสความเสียก่อน จึงให้ยกคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางและให้ศาลภาษีอากรกลางดำเนินการสืบพยานฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยในประเด็นนี้ก่อนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3195/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีแรงงาน: ศาลจำหน่ายคดีโดยไม่ชอบเมื่อโจทก์ไม่มาศาลหลังการสืบพยานโจทก์
การที่จะถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดีต่อไปและศาลแรงงานมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลเมื่อศาลสั่งรับฟ้องคดีโจทก์แล้วสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดตามมาตรา 37 เพื่อที่ศาลจะได้ไกล่เกลี่ยให้โจทก์และจำเลยตกลงกันตามมาตรา 38 เท่านั้น ส่วนกรณีที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดอื่นหลังจากนั้น พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 200 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งข้อเท็จจริงคดีนี้ปรากฏว่าเมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องของโจทก์แล้ว ได้นัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ในวันที่ 13 มีนาคม 2549 เวลา 9 นาฬิกา โดยสั่งให้โจทก์มาศาลในวันเวลานัดด้วย ต่อมาโจทก์และจำเลยก็มาศาลตามวันเวลานัดดังกล่าว และศาลทำการไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 แต่ตกลงกันไม่ได้ จึงนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 27 เมษายน 2549 เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลจดประเด็นข้อพิพาทไว้ตามมาตรา 39 แล้วสืบพยานโจทก์ จากนั้นจึงนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 25 กรกฎาคม 2549 แต่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลย จึงเห็นได้ว่าการที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยมิใช่เป็นการไม่มาศาลตามมาตรา 37 เพราะขั้นตอนต่างๆ ตามมาตรา 37, 38, 39 ผ่านพ้นไปแล้ว จึงมิใช่กรณีที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความตามมาตรา 40 วรรคหนึ่งได้ และกรณีดังกล่าวมิใช่การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานที่จะถือว่าเป็นการขาดนัดพิจารณาและศาลจะมีอำนาจสั่งจำหน่ายคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200, 202 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 อีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกเสียจากสารบบความจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติข้างต้น ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่มิชอบดังกล่าวเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณาคดี
จำเลยที่ 2 มิได้เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการขายสินค้าให้แก่กรมสรรพาวุธทหารบกซึ่งมีโจทก์เป็นนายหน้า จึงถือไม่ได้ว่าสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการงานของจำเลยที่ 2 เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตั้งต้นคดีแก่จำเลยที่ 1 ณ สถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสำนักทำการงานที่จำเลยที่ 2 ใช้ประกอบกิจการจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 3 (2) (ข), 83 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา ม.158(5) กรณีเบิกความเท็จต่อศาล
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า ความจริงจำเลยเห็น ส. เป็นคนร้าย แต่จำเลยมาเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีอาญาว่า ส. มิใช่คนร้าย อันเป็นการบรรยายถึงว่าความเท็จและความจริงเป็นอย่างไรแล้ว แม้โจทก์มิได้บรรยายรายละเอียดว่าข้อความอันเป็นเท็จที่จำเลยเบิกความเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร แต่โจทก์ได้บรรยายถึงข้อที่ว่า ส. ต้องหาว่าร่วมกันฆ่าผู้ตาย กับ ส. เป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายและจำเลยอันเป็นข้อสำคัญในคดี เมื่อความจริงจำเลยเห็น ส. เป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายและจำเลย แล้วจำเลยเบิกความว่าจำเลยไม่ทราบว่าคนร้ายเป็นใคร และ ส. มิใช่คนร้ายคำเบิกความของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้องย่อมเป็นข้อสำคัญในคดีที่เข้าใจได้ในตัวเองฟ้องโจทก์ดังกล่าวมีรายละเอียดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)