คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7309/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องเปิดเผยข้อมูลครบถ้วนเพื่อให้ผู้สนใจเข้าสู้ราคาได้อย่างเป็นธรรม หากไม่เป็นไปตามหลักการ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 โดยไม่ปิดประกาศแจ้งการขายไว้ที่หน้าสำนักงานบังคับคดีจังหวัดจันทบุรีต่างไปจากการขายทอดตลาดในคดีอื่น ย่อมทำให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายทอดตลาดไม่เป็นที่เปิดเผยตามวิถีทางที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบถึงการตัดสินใจเข้าสู้ราคาและจำนวนผู้เข้าสู้ราคาซึ่งอาจต้องถูกจำกัดให้น้อยลง ขัดต่อเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดที่ต้องเปิดโอกาสให้มีการสู้ราคากันโดยเปิดเผยเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 308 แม้จะเป็นการขายครั้งที่ 4 ซึ่งตามคำสั่งกรมบังคับคดีกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถือเอาราคาที่ผู้เข้าสู้ราคาเสนอสูงสุดซึ่งไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของราคาประเมินหรือราคาของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการกำหนดราคาทรัพย์แล้วแต่กรณีเป็นราคาที่สมควรขาย ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้ตามมาตรา 296 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขาดองค์ประกอบความผิดฐานแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ แม้มีคำขอท้ายฟ้อง ศาลไม่อาจลงโทษได้
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 ใจความว่า ด้วย ร.ม.ต.ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 47 และมาตรา 75 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ ออกประกาศกระทรวงเกษตรให้กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตลอดเขตท้องที่ทุกจังหวัดและโจทก์บรรยายฟ้องข้อ 2 ใจความว่า ก. ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ดังกล่าวในฟ้องข้อ 1 จำเลยทั้งหกร่วมกันตั้งโรงงานแปรรูปไม้ขึ้นที่บริเวณไม่มีเลขที่บ้าน หมู่ที่ 2 ตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยร่วมกันตั้งโรงงานทำเป็นสถานที่ขึ้นเพื่อทำการแปรรูปไม้ไผ่ซางโดยใช้เครื่องจักรกล ได้แก่แท่นเครื่องแปรรูปไม้ไผ่ซาง 4 แท่น แท่นเครื่องตัดไม้ไผ่ซางมีใบเลื่อยพร้อมมอเตอร์ 3 เครื่อง และตาชั่ง 1 เครื่อง เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ภายในโรงงาน ที่ใช้ทำการเลื่อยแปรรูปไม้ไผ่ซางให้เปลี่ยนรูป เปลี่ยนขนาด แปรเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม ทั้งนี้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และไม่มีเหตุอันควรได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ข. จำเลยทั้งหกได้บังอาจร่วมกันทำไม้ภายในเขตป่าฝั่งซ้ายของแม่น้ำป่าสัก ในท้องที่ตำบลหนองย่างทอย อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยได้ร่วมกันนำไม้ไผ่ซางที่มีอยู่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวมาผ่าเลื่อยให้เปลี่ยนรูป เปลี่ยนขนาด แปรเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม อันเป็นการกระทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยจำเลยทั้งหกไม่ได้รับสัมปทานและมิได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันทำการแปรรูปไม้หรือกระทำด้วยประการอื่นใดแก่ไม้ อันเป็นการทำให้ไม้เปลี่ยนรูปและขนาดไปจากเดิมโดยมิได้รับอนุญาตภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ อันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ อันเป็นความผิดคนละฐานซึ่งมีองค์ประกอบความผิดแตกต่างจากความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และความผิดฐานทำไม้ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องมา ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงและรายละเอียดแห่งการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันกระทำความผิดฐานแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตมาในฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุบทมาตราให้ลงโทษมาด้วย ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานนี้ได้ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7041/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์รับรองข้อเท็จจริงในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ ทำให้ศาลไม่จำเป็นต้องส่งสำนวนกลับไปพิจารณาใหม่
โจทก์ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์มีหน้าที่ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามกฎหมาย การที่โจทก์เพียงแต่อุทธรณ์ขึ้นไปเฉย ๆ โดยมิได้ร้องขอให้มีการรับรองอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ทั้ง ๆ ที่มีเวลาที่จะดำเนินการแต่โจทก์ก็หาดำเนินการไม่ ถึงแม้โจทก์จะอ้างว่าเหตุที่ไม่ดำเนินการเพราะโจทก์เข้าใจว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของโจทก์เอง จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นความบกพร่องของผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องส่งสำนวนพร้อมอุทธรณ์ไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของโจทก์เสียใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุ แม้ลงโทษอาญาแล้ว
จำเลยกับพวกเข้าไปขุด ถาง ปรับสภาพพื้นดิน และปลูกสร้างบ้านพักอาศัยพร้อมล้อมรั้วลวดหนาม ในที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความปกครองดูแลและใช้ประโยชน์ของกรมสวัสดิการทหารเรือ กองทัพเรือ การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท กล่าวคือ นอกจากจำเลยจะมีความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) แล้ว จำเลยยังมีความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างและทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดินของรัฐอันเป็นความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้างและบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินนั้นได้ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐอันเป็นเจ้าของที่ดินสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยเร็วโดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่เมื่อการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตาม ป.ที่ดินฯ มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ศาลก็ย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินของรัฐได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินราชพัสดุ แม้ลงโทษอาญาแล้ว
การกระทำของจำเลยนอกจากจะเป็นความผิดฐานร่วมกันบุกรุกที่ดินราชพัสดุตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) แล้ว ยังเป็นความผิดฐานเข้าไปยึดถือ ครอบครอง ก่นสร้างและทำด้วยประการใดให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดินของรัฐ อันเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 9 (1) (2), 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอำนาจสั่งในคำพิพากษาให้ผู้กระทำความผิด คนงาน ผู้รับจ้างและบริวารของผู้กระทำความผิดออกจากที่ดินนั้นได้ อันมิใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 แต่เป็นมาตรการที่มุ่งประสงค์ให้รัฐสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้โดยไม่จำต้องฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีแพ่งอีกต่างหาก ดังนั้น แม้ศาลจะลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 (2) ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่เมื่อเป็นความผิดตาม ป.ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ศาลก็มีอำนาจสั่งให้จำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินของรัฐได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6732/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่วางค่าธรรมเนียมอุทธรณ์ ศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ทันที หรือยกอุทธรณ์มากกว่าสั่งทิ้งอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้ปฏิบัติก่อน ดังนั้นในชั้นตรวจอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์เสียทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์เพื่อสั่งเกี่ยวกับการทิ้งอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์นั้นเสียโดยไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นเกี่ยวกับการทิ้งอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ทิ้งอุทธรณ์โดยมิได้สั่งยกอุทธรณ์ จึงมิชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาจึงต้องยกเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ลงนามไม่ต่อหน้าศาล ถือเป็นการสัตยาบัน ไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณา
การยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นกล่าวอ้างนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นๆ คดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลออกนั่งพิจารณาเพื่อพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาและมีคำพิพากษาตามยอมในวันเดียวกัน โดยศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงร่วมกันว่าสามารถทำยอมกันได้ พร้อมกับเสนอสัญญาประนีประนอมยอมความให้ศาลชั้นต้นตรวจพิจารณา ศาลชั้นต้นตรวจดูแล้วเห็นว่าไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงพิพากษาตามยอมและออกคำบังคับแก่จำเลย ซึ่งปรากฏว่าจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าว ทั้งได้ลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านคำพิพากษาและคำบังคับไว้ที่ปกสำนวนด้วย ข้อเท็จจริงในส่วนนี้จำเลยมิได้โต้แย้งมาในคำร้องว่าศาลชั้นต้นบันทึกไม่ถูกต้องตรงกับความจริงแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จะฟังตามคำร้องของจำเลยว่า จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าศาลตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยขณะลงลายมือชื่อจำเลยอยู่นอกห้องพิจารณาคดีและไม่พบเห็นผู้พิพากษาก็ตาม แต่การที่จำเลยยังคงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมและออกคำบังคับแก่จำเลย ถือได้ว่าจำเลยยอมรับความถูกต้องของสัญญาประนีประนอมยอมความและได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำที่อ้างว่าผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกเอาเหตุที่จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลขึ้นเป็นข้อค้านเรื่องผิดระเบียบได้อีก ทั้งการที่โจทก์มิได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยในกรณีเช่นนี้ก็หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659-660/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องขอให้สืบพยานเพิ่มเติม ศาลต้องดำเนินการตามขั้นตอน ป.วิ.พ. ก่อนวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า ทนายจำเลยที่ 2 จำเวลานัดสืบพยานคลาดเคลื่อน มิได้มีเจตนาประวิงคดี ขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้สืบพยานจำเลยที่ 2 ต่อไป หากเป็นจริงดังอ้างจำเลยที่ 2 ก็มิได้จงใจขาดนัดพิจารณา กรณีจึงต้องไต่สวนคำร้องเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21 (2) และ (4) ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องโดยไม่ทำการไต่สวน เป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ชอบที่จะต้องมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 2 เสียก่อนแล้วมีคำสั่ง ไม่สมควรก้าวล่วงข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยวินิจฉัยตามคำร้องและอุทธรณ์คำสั่งคำร้องของจำเลยที่ 2 เลยไปว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ประวิงคดี ฟังยังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ติดใจสืบพยาน และสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยที่ 2 ต่อไป แล้วพิพากษาใหม่ กรณีไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ (2) ประกอบด้วย มาตรา 247 และเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6523/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลล้มละลายอนุญาตถอนฟ้องโดยไม่สอบถามจำเลย ไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ไม่อุทธรณ์ได้
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของจำเลยทั้งสามที่ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ มิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง ที่จะอุทธรณ์ได้อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ และไม่มีกรณีที่ศาลฎีกาจำต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสามมาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาถึงที่สุดและการไม่อุทธรณ์ตามกำหนดเวลา ส่งผลให้ศาลชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดได้
หลังจากศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขยายระยะเวลาอุทธรณ์ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่จำเลยก็มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ขยาย คำพิพากษาจึงถึงที่สุด แม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายแล้ว โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์หรือเหตุสุดวิสัยก็ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดดังได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นแล้ว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลของคดีที่ถึงที่สุดแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะออกหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอได้ กรณีไม่มีเหตุที่จำเลยจะมาร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
of 364