พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6258/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม หากไม่เกี่ยว ศาลต้องสั่งให้ฟ้องเป็นคดีต่างหาก
จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแย้งโดยอ้างว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งโจทก์แล้วพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการจะวินิจฉัยดังกล่าวได้ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมก่อน
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ก. ลูกหนี้เงินกู้ของโจทก์รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันระหว่างบริษัท ก. และจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นโมฆะ สัญญาทุกฉบับเป็นนิติกรรมอำพรางการที่โจทก์และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ตั้งจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนลงทุนทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน และฟ้องแย้งว่าโจทก์และ ว. ตัวการได้สั่งการให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าพัฒนาที่ดินโครงการจัดสรรแทนไปก่อน แต่โจทก์และ ว. ไม่ยอมชำระคืน ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 คงมีประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน แต่ตาม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องกล่าวอ้างว่า ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนโจทก์ในการลงทุนจัดทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน ซึ่งโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพราะผิดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าการกระทำทั้งหลายของ ว. ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างมาในฟ้องแย้งจะผูกพันโจทก์ให้ต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าพัฒนาที่ดินไปก่อนหรือไม่ล้วนแต่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่ อันเป็นคนละเรื่องคนละมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ก. ลูกหนี้เงินกู้ของโจทก์รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันระหว่างบริษัท ก. และจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นโมฆะ สัญญาทุกฉบับเป็นนิติกรรมอำพรางการที่โจทก์และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ตั้งจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนลงทุนทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน และฟ้องแย้งว่าโจทก์และ ว. ตัวการได้สั่งการให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าพัฒนาที่ดินโครงการจัดสรรแทนไปก่อน แต่โจทก์และ ว. ไม่ยอมชำระคืน ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 คงมีประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน แต่ตาม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องกล่าวอ้างว่า ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนโจทก์ในการลงทุนจัดทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน ซึ่งโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพราะผิดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าการกระทำทั้งหลายของ ว. ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างมาในฟ้องแย้งจะผูกพันโจทก์ให้ต้องรับผิดในการที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเงินค่าพัฒนาที่ดินไปก่อนหรือไม่ล้วนแต่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่ อันเป็นคนละเรื่องคนละมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6258/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ศาลไม่รับฟ้องแย้ง ชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ก. ลูกหนี้เงินกู้ของโจทก์ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 1 ให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันระหว่างบริษัท ก. และจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นโมฆะ เพราะเป็นนิติกรรมอำพรางการที่โจทก์และ ว. ตั้งจำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนลงทุนทำโครงการจัดสรรและพัฒนาที่ดิน และฟ้องแย้งว่าโจทก์และ ว. ตัวการได้สั่งการให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าพัฒนาที่ดินโครงการจัดสรรดังกล่าวรวมเป็นเงิน 147,647,250 บาท แทนโจทก์และ ว. ไปก่อนแต่โจทก์กับ ว. ซึ่งเป็นตัวการกลับไม่ยอมชำระเงินคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่ 1 ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว คงมีประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกัน แต่ตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่า ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 1 และบริษัท ก. เป็นตัวแทนโจทก์ในการลงทุนจัดทำโครงการจัดสรรและพัตนาที่ดินซึ่งโจทก์ไม่สามารถดำเนินการเองได้เพราะผิดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าการกระทำทั้งหลายของ ว. ตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวมาในฟ้องแย้งจะพูกพันโจทก์ให้ต้องรับผิดหรือไม่ในการที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่าได้ออกเงินค่าพัฒนาที่ดินไปก่อน เป็นค่าก่อสร้างถนนภายในโครงการ ค่าก่อสร้างถนนจากมิตราภาพเข้าโครงการและทำรั้วลวดหนามรอบโครงการ ค่าซื้อที่ดิน ค่าจ้างออกแบบสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ค่าขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ปลูกต้นไม้ ก่อสร้างสำนักงานขาย ขุดสระน้ำ นำไฟฟ้าแรงสูงและระบบไฟฟ้าเข้าใช้ในโครงการ การก่อสร้างคอนโดมิเนียม ไทม์ แชร์ริ่ง หรือคอนโดเทล ค่าแบ่งแยกที่ดินเป็นแปลงย่อย ค่าการตลาดและบริหารการขาย กรมสวัสดิการกองทัพบอก ค่าใช้จ่ายในการขาย การบริหารและค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดนั้นล้วนแต่เป็นการตั้งประเด็นขึ้นใหม่อันเป็นคนละเรื่องคนละมูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้เงินกู้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6252/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายใน 8 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ที่กำหนดให้คู่ความฝ่ายที่เสียหายต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเกิดมูลแห่งข้ออ้างนั้น ใช้บังคับแก่การยื่นคำร้องให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทุกกรณีไม่ว่าจะอยู่ในระหว่างพิจารณาหรือหลังจากศาลพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6244/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรส, ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, และหนี้ร่วมสมรส: หลักเกณฑ์การพิจารณาของศาล
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1522 กำหนดให้ศาลมีอำนาจกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรได้เป็นกรณีเฉพาะเมื่อศาลพิพากษาให้หย่าหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ ดังนั้น แม้จำเลยมิได้ฟ้องแย้งขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง ศาลชั้นต้นก็กำหนดให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรทั้งสองเป็นรายเดือนจนกว่าบุตรทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะได้ ปัญหาการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรดังกล่าว แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นพิพากษาเป็นประโยชน์แก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสองของโจทก์จำเลย
ในการเช่าซื้อรถยนต์พิพาท บิดาโจทก์เป็นผู้วางเงินจองให้ 10,000 บาท และบิดามารดาโจทก์ออกเงินดาวน์ให้อีกส่วนหนึ่ง รถยนต์คันดังกล่าวโจทก์จำเลยได้ออกเงินบางส่วนเป็นค่ารถยนต์ด้วย ทั้งเงินที่บิดามารดาโจทก์ช่วยออกเป็นค่ารถยนต์ ภายหลังก็ไม่ปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ได้ทวงถามให้โจทก์จำเลยชำระหนี้ส่วนนี้แต่อย่างไร แสดงว่าบิดามารดาโจทก์มีเจตนาที่จะออกเงินค่ารถยนต์ส่วนนี้ให้แก่โจทก์จำเลย รถยนต์คันดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้มาในระหว่างสมรส เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จึงเป็นสินสมรส การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่ ว. ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากัน โดยจำเลยไม่ทราบเรื่องจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์อันเป็นสินสมรสไปโดยมีเจตนาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1534 ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 โจทก์ต้องแบ่งสินสมรสดังกล่าวให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง
แม้การกู้เงินของจำเลยทั้งสองครั้งจะเป็นการกู้หลังจากจำเลยแยกมาอยู่กับบิดามารดาจำเลยแล้ว แต่จำเลยได้นำบุตรไปเลี้ยงดูด้วย จึงต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ โจทก์เป็นบิดาต้องมีส่วนอุปการะเลี้ยงดูบุตรเช่นกัน จำเลยนำสืบว่าจำเลยกู้เงินในการกู้ปี 2543 จำเลยได้ระบุในวัตถุประสงค์ขอกู้ว่า ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีหลักฐานใบสั่งซื้อสินค้า ส่วนการกู้ในปี 2546 เป็นการกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน ฟังได้ว่า จำเลยกู้เงินสองครั้งดังกล่าว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบุตรอันเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นในครอบครัวและเป็นหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นในระหว่างสมรสจึงเป็นหนี้ที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490
ในการเช่าซื้อรถยนต์พิพาท บิดาโจทก์เป็นผู้วางเงินจองให้ 10,000 บาท และบิดามารดาโจทก์ออกเงินดาวน์ให้อีกส่วนหนึ่ง รถยนต์คันดังกล่าวโจทก์จำเลยได้ออกเงินบางส่วนเป็นค่ารถยนต์ด้วย ทั้งเงินที่บิดามารดาโจทก์ช่วยออกเป็นค่ารถยนต์ ภายหลังก็ไม่ปรากฏว่าบิดามารดาโจทก์ได้ทวงถามให้โจทก์จำเลยชำระหนี้ส่วนนี้แต่อย่างไร แสดงว่าบิดามารดาโจทก์มีเจตนาที่จะออกเงินค่ารถยนต์ส่วนนี้ให้แก่โจทก์จำเลย รถยนต์คันดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์จำเลยได้มาในระหว่างสมรส เป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) สิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จึงเป็นสินสมรส การที่โจทก์โอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์ให้แก่ ว. ในระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากัน โดยจำเลยไม่ทราบเรื่องจึงเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์อันเป็นสินสมรสไปโดยมีเจตนาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1534 ให้ถือเสมือนหนึ่งว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสตามมาตรา 1533 โจทก์ต้องแบ่งสินสมรสดังกล่าวให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง
แม้การกู้เงินของจำเลยทั้งสองครั้งจะเป็นการกู้หลังจากจำเลยแยกมาอยู่กับบิดามารดาจำเลยแล้ว แต่จำเลยได้นำบุตรไปเลี้ยงดูด้วย จึงต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ โจทก์เป็นบิดาต้องมีส่วนอุปการะเลี้ยงดูบุตรเช่นกัน จำเลยนำสืบว่าจำเลยกู้เงินในการกู้ปี 2543 จำเลยได้ระบุในวัตถุประสงค์ขอกู้ว่า ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ และมีหลักฐานใบสั่งซื้อสินค้า ส่วนการกู้ในปี 2546 เป็นการกู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน ฟังได้ว่า จำเลยกู้เงินสองครั้งดังกล่าว เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของบุตรอันเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็นในครอบครัวและเป็นหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นในระหว่างสมรสจึงเป็นหนี้ที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6145/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: ต้องยื่นก่อนกำหนด และไม่ใช่การแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
ข้อความที่จำเลยขอแก้ไขเป็นการสละข้อต่อสู้เดิมที่ปฏิเสธว่าไม่เคยทำสัญญาค้ำประกัน แล้วยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ยอมรับว่าทำสัญญาค้ำประกันแต่ไม่ต้องรับผิดเนื่องจากคดีขาดอายุความ เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยทราบอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องที่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เนื่องจากไม่มีการชี้สองสถานและกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ทั้งข้อความที่ขอแก้ไขว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความนั้นไม่ใช่เป็นปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้อง จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่อำนาจฟ้อง จึงมิใช่เป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังที่โจทก์ได้สืบพยานไปบางส่วนแล้วจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5902/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งและประเด็นข้อพิพาทใหม่ในชั้นอุทธรณ์ ศาลมีอำนาจยกอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย
โจทกฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าห้องแถวพิพาทอีกต่อไป จึงบอกเลิกสัญญาและให้จำเลยกับบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากห้องแถวพิพาท ตอนแรกจำเลยให้การว่าจำเลยซื้อห้องแถวพิพาทจาก ซ.ในราคา 38,000 บาท จำเลยได้รับมอบการครอบครองมาแล้ว แต่ในตอนต่อมาจำเลยกลับให้การว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพากจาก ส. มารดาโจทก์ ซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองเป็นคำให้การที่ยืนยันในข้อเท็จจริงหลายทางไม่ชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงที่ให้การนั้นไปทางหนึ่งทางใด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แต่คำให้การจำเลยเป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีคงมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทจากโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าห้องแถวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยและวินิจฉัยตามนั้น จึงเป็นการไม่ชอบและถือว่าประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวเป็นขึ้นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจยกอุทธรณ์ของจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 242 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินในบริเวณศาล ถือเป็นประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
หลังจากที่ผู้กล่าวหาได้ตกลงว่าจ้างผู้ถูกกล่าวหาเป็นทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาบอกว่าจะติดต่อวิ่งเต้นคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ให้และได้ติดต่อแล้วจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้เบื้องบน 200,000 บาท ผู้กล่าวหาตกลงและนัดให้ไปรับมอบเงินที่บ้านของผู้กล่าวหา เมื่อผู้ถูกกล่าวหารับเงินดังกล่าวไปแล้ว ผลปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ผู้กล่าวหาจึงทวงเงินคืนหลายครั้งเคยมาติดตามทวงคืนในบริเวณศาล 3 ครั้ง แม้การเรียกเงินค่าวิ่งเต้นคดีจะมิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาล แต่ได้มีการติดต่อทวงถามคืนเงินในบริเวณศาลและมีการมอบเงินคืนที่บริเวณโรงรถของศาลกระบวนการเรียกร้องคืนเงินค่าวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินถือเป็นส่วนหนึ่งของการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลแล้ว การกระทำของผู้ถูกกล่าวหาจึงเป็นการละเมิดอำนาจศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกรับเงินเพื่อวิ่งเต้นคดีในศาลและการคืนเงิน ถือเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อย ละเมิดอำนาจศาล
แม้การเรียกเงินค่าวิ่งเต้นคดีจะมิได้เกิดขึ้นในบริเวณศาลเพราะมีการติดต่อทางโทรศัพท์และรับเงินกันที่บ้านของผู้กล่าวหา แต่หลังจากนั้นได้มีการติดต่อทวงถามคืนเงินดังกล่าวในบริเวณศาลหลายครั้งและในที่สุดก็มีการมอบเงินคืนให้แก่กันที่บริเวณโรงรถของศาล ถือได้ว่าพฤติการณ์ดังกล่าวมีผลเกี่ยวเนื่องต่อกันมาจากเรื่องการวิ่งเต้นคดีของศาลอุทธรณ์ แม้ระยะเวลาการคืนเงินดังกล่าวให้แก่กันจะมีระยะเวลาห่างจากตอนที่รับเงินมาเป็นเวลาถึง 3 ปีเศษ แต่การดำเนินการวิ่งเต้นคดียังไม่สิ้นสุด จนกระทั่งต้องมีการคืนเงินกัน กระบวนการเรียกร้องคืนเงินค่าวิ่งเต้นคดีและการคืนเงินดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5504/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับฟ้องคดีเนื่องจากฐานะยากจน ต้องดำเนินการภายใน 7 วันนับจากวันที่ทราบคำสั่ง
ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่าคดีนี้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ในวันเดียวกันนั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2549 ตามข้อความในคำร้องที่ว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ส่วนการที่ศาลชั้นต้นได้ประทับข้อความไว้ในด้านหน้าคำร้องว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งได้ในวันนี้ ผู้ยื่นจะมาติดตามเพื่อทราบคำสั่งทุก ๆ 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทราบคำสั่งแล้วและให้ทนายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ลงชื่อไว้นั้น ย่อมหมายความถึง การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในวันที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นคำร้องเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์
2549 จึงเกินกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จนถึงชั้นฎีกานั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย เมื่อจำเลยทั้งห้าเสียค่าคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ค่าคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม ค่าคำร้องอุทธรณ์คำสั่งกรณีที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าไต่สวนพยานเพิ่มเติม ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งห้า ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มา จึงต้องคืนให้แก่จำเลยทั้งห้าทั้งหมด
2549 จึงเกินกำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเวลาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
การดำเนินกระบวนพิจารณานับตั้งแต่จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์จนถึงชั้นฎีกานั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอ้างว่าเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคท้าย เมื่อจำเลยทั้งห้าเสียค่าคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ค่าคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม ค่าคำร้องอุทธรณ์คำสั่งกรณีที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าไต่สวนพยานเพิ่มเติม ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งห้า ค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มา จึงต้องคืนให้แก่จำเลยทั้งห้าทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งและการสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ทำให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
ภายหลังจากศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนให้โจทก์ในสภาพใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ราคาแทนเป็นเงิน 1,600,000 บาท โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนเรื่อยมา แต่หาไม่พบ เมื่อโจทก์ไม่สามารถบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสองชดใช้ราคาแทนจำนวน 1,600,000 บาท ตามคำพิพากษาดังกล่าว หนี้ส่วนนี้จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนที่โจทก์อาจนำมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายได้แล้ว