คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: เหตุผลทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
การที่ภาวะเศรษฐกิจราคาน้ำมันแพงทำให้แหล่งเงินที่จำเลยขอกู้และหยิบยืมไม่มีเงินให้จำเลย จึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำมาวางเป็นค่าฤชาธรรมเนียมศาลได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาการค้าระหว่าประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ศาลจะมีคำสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงโทษจำคุกของผู้พิพากษาคนเดียว, อายุความคดีจราจร, และการแก้ไขปรับบทกฎหมาย
โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจลงแก่จำเลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5) นั้น หมายถึง โทษจำคุกสุทธิที่จะลงแก่จำเลย โดยไม่ต้องคำนึงว่าก่อนลดโทษจะกำหนดโทษจำคุกไว้สูงกว่า 6 เดือน หรือไม่ คดีนี้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงโดยผู้พิพากษาคนเดียวพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส จำคุก 8 เดือน เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุก 5 เดือน 10 วัน เป็นการลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 6 เดือน จึงชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1629/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องดำเนินคดีอนาถา: ศาลมีดุลพินิจไม่อนุญาตนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมหากไม่เปลี่ยนแปลงผลคำวินิจฉัย
โจทก์ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ยังพอมีฐานะ มิได้ยากจนจริง ยกคำร้องโจทก์มิได้อุทธรณ์ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนโดยอ้างว่าโจทก์มีฐานะยากจนลงกว่าเดิมเนื่องจากไม่อาจขอความช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมศาลจากบุตรคนโตได้ และโจทก์มีภาระเพิ่มมากขึ้นจากการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งพยานหลักฐานที่จะนำมาแสดงเพิ่มเติมเป็นพยานหลักฐานใหม่ที่ยังไม่ได้นำมาสืบและข้อเท็จจริงบางส่วนเพิ่งปรากฏขึ้นภายหลังนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะนำพยานหลักฐานมานำสืบหักล้างข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบไว้เดิม ซึ่งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดและเป็นยุติแล้ว จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ ไม่ได้บังคับว่าเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตให้ผู้ร้องนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าเป็นคนยากจนศาลจะต้องอนุญาตและทำการไต่สวน จึงเป็นดุลพินิจของศาลที่จะสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้แล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดี ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่ากรณีตามคำร้องของโจทก์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลได้ก็ชอบที่จะยกคำร้องของโจทก์เสียได้โดยไม่จำต้องมีคำสั่งรับคำร้องของโจทก์ไว้ดำเนินการไต่สวนก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังแผนที่พิพาทเป็นพยานหลักฐาน แม้ไม่ได้ระบุไว้ในบัญชีรายชื่อพยาน ศาลทำได้ตามประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ทำแผนที่พิพาทนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 วรรคท้าย ซึ่งบทมาตราดังกล่าวนี้ศาลสามารถสั่งได้เองโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดร้องขอ แม้คู่ความจะมิได้ระบุพยานเพิ่มเติม ศาลก็สามารถรับฟังพยานหลักฐานที่มีการสืบเพิ่มเติมนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ส่วนพยานหลักฐานนั้นจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดเป็นเรื่องของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน หาใช่เรื่องนอกประเด็นนอกคำฟ้องไม่ แม้จำเลยและผู้ร้องสอดจะไม่ได้ลงชื่อรับรองแผนที่พิพาท แต่จำเลยและผู้ร้องสอดก็มิได้โต้แย้งว่าแผนที่ดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงกับระวางโฉนดที่ดินแต่อย่างไร ศาลจึงรับฟังแผนที่พิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินทำขึ้นดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานอื่นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารต่างประเทศเป็นพยานหลักฐานได้ แม้ไม่มีคำแปล หากศาลไม่ได้สั่งให้แปล
เอกสารภาษาต่างประเทศที่โจทก์ยื่นต่อศาลโดยไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย แต่เป็นเรื่องที่ศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ทำคำแปลตามประมวลกฎหมายวีธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามหรือไม่ก็ได้ เมื่อศาลไม่ได้สั่งให้โจทก์ทำคำแปลก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยฟ้องซ้อนต้องใช้ข้อเท็จจริงที่ศาลรู้ได้เอง การสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ความต่อเนื่องของกรรม
แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 3405/2545 แล้ว เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 6091/2545 ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ก็ตาม ข้อเท็จจริงในสำนวนคดีดังกล่าวก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์จะรู้ได้เอง การที่ศาลอุทธรณ์ด่วนวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนโดยหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา เพราะเป็นการนำข้อเท็จจริงนอกฟ้องมาวินิจฉัยข้อกฎหมายแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจที่พนักงานคุมประพฤติรายงานต่อศาลมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบพยานของคู่ความและศาลไม่อาจนำมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ได้ การกระทำความผิดที่ต่อเนื่องเป็นกรรมเดียวแม้โจทก์แยกฟ้องเป็นหลายคดี ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจำเลยทุกคดีไม่ได้ และ ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง มิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลสืบพยานหลักฐานต่อไปในกรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ป.วิ.อ. มาตรา 228 บัญญัติให้ศาลมีอำนาจโดยพลการที่จะสืบพยานเพิ่มเติม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีเกี่ยวกับยาเสพติดต้องชัดเจน หากไม่ตรงกับข้อหาที่ลงโทษ ศาลต้องปรับแก้โทษให้ถูกต้อง
โจทก์บรรยายในฟ้องข้อ 1 ก. ว่า จำเลยนำเมทแอมเฟตามีนจำนวน 950 เม็ด น้ำหนัก 93.35 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 3.06 กรัม เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และบรรยายในฟ้องข้อ 1 ข. ว่า จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายแอมเฟตามีนดังกล่าวเท่านั้น แม้เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 3.06 กรัม ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคสาม (2) ให้ถือว่าเป็นการนำเข้าเพื่อจำหน่ายก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายจึงไม่อาจลงโทษจำเลยฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อจำหน่ายได้เพราะเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง คงลงโทษจำเลยได้เพียงฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 118/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการในการฎีกาคดีละเมิดอำนาจศาล และการพิพากษาคดีละเมิดอำนาจศาล
พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (7) บัญญัติว่า ในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษบุคคลใดโดยลำพัง ถ้าศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ปล่อยผู้นั้น เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะฎีกาก็ได้ และมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทย บัญญัติว่า ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกผู้ถูกกล่าวหาว่าร่วมกับพวกประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล เป็นการละเมิดอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 31 (1), 33 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษากลับว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีความผิด พนักงานอัยการจึงยื่นฎีกาขอให้ลงโทษผู้ถูกกล่าวหาตามคำสั่งศาลชั้นต้น การยื่นฎีกาของพนักงานอัยการดังกล่าวเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (7) แม้ศาลชั้นต้นจะเป็นผู้ทำการไต่สวนมาแต่แรก พนักงานอัยการก็มีอำนาจยื่นฎีกาคดีนี้ได้ และไม่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ประกาศใช้อยู่ในขณะนั้นแต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอในคดีหย่าและการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
แม้คำฟ้องแย้งจะมีข้อความระบุว่า หากศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลยและค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ก็ตาม แต่จำเลยให้การต่อสู้คดีและบรรยายคำฟ้องแย้งมาแต่แรกว่า เหตุหย่ามิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย โจทก์เป็นฝ่ายออกจากบ้านละทิ้งไม่ดูแลไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยและบุตรผู้เยาว์ทั้งสองซึ่งอยู่ในระหว่างศึกษาเล่าเรียนขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลย ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์และให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเพียงผู้เดียว แสดงให้เห็นถึงเจตนาแท้จริงตามคำฟ้องแย้งของจำเลยว่าไม่ประสงค์จะหย่ากับโจทก์ แต่ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่าบิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ซึ่งโจทก์ในฐานะบิดามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ไม่ว่าโจทก์จำเลยยังคงเป็นสามีภริยาหรือหย่าขาดกันแล้วหรือไม่ ทั้งย่อมเป็นเหตุผลอันสมควรให้ศาลมีคำสั่งให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อยู่แก่จำเลยผู้เป็นมารดาฝ่ายเดียวได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 (5) ไม่ว่าโจทก์จำเลยจะหย่าขาดกันหรือไม่เช่นเดียวกัน เมื่อโจทก์ไม่อุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรผู้เยาว์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษาให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองและให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเพียงฝ่ายเดียว จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
แม้จำเลยให้การและบรรยายคำฟ้องแย้งตอนแรกว่า โจทก์ไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยเป็นทำนองว่า โจทก์ในฐานะสามีไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของสามีตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง กำหนดก็ตาม แต่เมื่ออ่านคำฟ้องแย้งของจำเลยแต่แรกจนถึงคำขอท้ายฟ้องแย้งโดยตลอดทั้งหมดแล้ว ได้ใจความตามที่บรรยายว่า เหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของโจทก์ซึ่งเป็นสามีฝ่ายเดียว การฟ้องหย่าของโจทก์ทำให้จำเลยยากจนลง หากศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกัน ขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าเลี้ยงชีพให้แก่จำเลยเป็นรายเดือน ซึ่งตรงตามหลักเกณฑ์เรื่องค่าเลี้ยงชีพที่ ป.พ.พ. มาตรา 1526 บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในกรณีที่มีการหย่าแล้ว จะทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง ถือไม่ได้ว่าจำเลยฟ้องแย้งเรียกให้โจทก์ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูจำเลย เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้พิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดกัน จึงไม่อาจบังคับให้โจทก์รับผิดชำระค่าเลี้ยงชีพให้แก่จำเลยตามคำขอท้ายฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดอำนาจศาลในการลงโทษเกินคำขอในฟ้องอาญา แม้โจทก์บรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
โจทก์มิได้อ้างมาตรา 91 ตรี แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด และความผิดดังกล่าวมีโทษสูงกว่าโทษความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 ต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี และเป็นการเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ศาลจึงพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอมิได้
of 364