พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์มีคำพิพากษาต้องกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,289, 339, 340 ตรี, 83 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 288, 339, 340 ตรี, 80 ลงโทษตามมาตรา 288, 80 นอกนั้นให้ยกศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องข้อหาตามมาตรา 288, 80 และมาตรา340 ตรีด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ เมื่อข้อหาตามมาตรา 289 ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับข้อหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีภาษีโรงเรือน: คดีที่คำขอได้ชัดเจนเป็นจำนวนเงินและไม่เกิน 20,000 บาท
คำฟ้องที่ขอให้ศาลพิพากษาว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและคำชี้ขาดของจำเลยให้โจทก์ชำระค่าภาษีโรงเรือนเป็นเงิน5,400บาทไม่ถูกต้องก็คือให้ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่จำเลยประเมินและมีคำชี้ขาดโจทก์จึงมีคำขอให้จำเลยคืนเงินภาษีโรงเรือนที่โจทก์อ้างว่าจำเลยคิดให้โจทก์เสียเกินไปให้แก่โจทก์ด้วยหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีทุกข์ของโจทก์ย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่โจทก์ไม่ต้องชำระหนี้และได้รับเงินที่เสียเกินไปนั้นคืนฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง1ข้อ1ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีต่อกระทง และการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยเป็น 2 กระทงแต่ละกระทงมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
ฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาทำร้าย และไม่มีเจตนาที่จะขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงาน กับฎีกาขอให้ลดโทษและขอรอการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาว่า จำเลยไม่มีเจตนาทำร้าย และไม่มีเจตนาที่จะขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงาน กับฎีกาขอให้ลดโทษและขอรอการลงโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีที่ทุนทรัพย์น้อยกว่า 20,000 บาท และการสันนิษฐานความเป็นผู้ถือหุ้น
ผู้ร้องอุทธรณ์ว่าผู้ร้องไม่ได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นโดยชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ได้มีการรับโอนหุ้นตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 จึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า ผู้ร้องเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทลูกหนี้ ตามมาตรา 1141ถือว่าผู้ร้องโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อที่ว่า ผู้ร้องไม่ได้รับโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้ และไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทลูกหนี้ที่ผู้ร้องยกบทกฎหมายดังกล่าวขึ้นอ้าง ก็เพียงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทลูกหนี้อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงนั่นเอง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 20,000 บาท คดีย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามมาตรา 224 และผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกา ตามมาตรา 247 ประกอบมาตรา 224 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้น, การหักกลบลบหนี้ และข้อจำกัดในการหักหนี้ค่าหุ้นตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 บัญญัติยกเว้นเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341, 342 เท่านั้นว่า หนี้ซึ่งหักกลบลบกันไม่ได้ตาม มาตรา 341, 342 นั้นย่อม หักกลบลบกันได้ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไม่รวมถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119 ซึ่งบัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ถือหุ้นหักหนี้กับบริษัท ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) จึงจะขอหักหนี้ค่าพิมพ์หนังสือที่บริษัทลูกหนี้ (จำเลย) เป็นหนี้อยู่กับหนี้ค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2372/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้น การหักกลบลบหนี้ และข้อจำกัดการหักหนี้กับบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้น
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 บัญญัติยกเว้นเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 341,342 เท่านั้นว่า หนี้ซึ่งหักกลบลบกันไม่ได้ตาม มาตรา 341,342 นั้นย่อม หักกลบลบกันได้ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไม่รวมถึง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119 ซึ่งบัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้ผู้ถือหุ้นหักหนี้ กับบริษัท ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทลูกหนี้(จำเลย) จึงจะขอหักหนี้ค่าพิมพ์หนังสือที่บริษัทลูกหนี้(จำเลย) เป็นหนี้อยู่กับหนี้ค่าหุ้นที่ผู้ร้องค้างชำระบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญา จำเลยต้องกระทำความผิดตามที่บรรยายในฟ้อง หากศาลรับฟังพยานหลักฐานเกินกว่าที่กล่าวอ้างในฟ้อง เป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำและกระทำการปลอมปนน้ำมันที่จำหน่ายโดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้าน้ำมันร่วมกันจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินชนิดพิเศษซึ่งมีคุณภาพต่ำกว่าคุณภาพที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดและร่วมกันกระทำการปลอมปนน้ำมันดังกล่าวด้วยเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องถึงน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำกว่าคุณภาพที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่ 200 ลิตรขึ้นไปเพื่อให้เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้กระทำการปลอมน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวเพื่อจำหน่ายโจทก์จึงจะนำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวหาได้ไม่และศาลก็รับฟังข้อเท็จจริงนั้นมาปรับบทกฎหมายซึ่งมิได้บรรยายมาในฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานพาอาวุธและการทำร้ายร่างกาย: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์และหลักต่างกรรมกัน
ข้อหาความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ และโจทก์บรรยายฟ้องข้อหาตามมาตรา 371 กับความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297 เป็นกรณีต่างกรรมกัน มิใช่เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท การที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาความผิดตามมาตรา 297 จึงไม่มีสาเหตุที่จะต้องรับพิจารณาความผิดตาม มาตรา 371 ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และยุติไปแล้ว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตาม มาตรา371 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินและบ้านโดยไม่ได้จดทะเบียน และข้อจำกัดในการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
จำเลยฎีกาว่า การซื้อขายที่ดินและบ้านไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้แต่ศาลชั้นต้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3798/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิด – ข้อจำกัดการฎีกา
จำเลยใช้รถยนต์บรรทุกทรายเกินน้ำหนักที่กำหนดเดินบนทางหลวงแผ่นดินศาลชั้นต้นลงโทษปรับ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยวินิจฉัยข้อกฎหมายว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แต่ใช้ดุลพินิจไม่ริบ โจทก์ฎีกาขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218