คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขออนุญาตอุทธรณ์ฎีกาโดยตรงในคดีงดการบังคับคดี ต้องเป็นกรณีที่สามารถอุทธรณ์ฎีกาได้ตามปกติ
ข้อกฎหมายที่จะขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ได้นั้น จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่สามารถอุทธรณ์และฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอให้งดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 293 กฎหมายบัญญัติให้คำสั่งเป็นที่สุดไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงตามวรรคสามของบทบัญญัติมาตราดังกล่าว จำเลยทั้งสองจะขออนุญาตอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11903/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกา: อำนาจศาลในการส่งเรื่องไปยังศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
โจทก์ยื่นคำร้องว่าเดิมโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีรวม 7 คน รับรองให้โจทก์ฎีกา แต่ผู้พิพากษา 2 คน ไม่รับรองให้ฎีกา จึงเหลือผู้พิพากษาอีก 5 คน ที่ยังไม่ได้พิจารณารับรอง การที่ศาลชั้นต้นรับฟังว่าผู้พิพากษาที่มีสิทธิรับรองฎีกาไม่อนุญาตให้ฎีกา และมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และมีคำสั่งให้ส่งคำร้องให้ผู้พิพากษาอีก 5 คน พิจารณารับรองแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของโจทก์ โจทก์ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง กรณีไม่ใช่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ต้องส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ไปยังศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ไปยังศาลอุทธรณ์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8584/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลชั้นต้นเมื่อได้รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ และผลของการยื่นคำร้องเกินกำหนดเวลา
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ส่งคำร้องนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 ไม่มีหน้าที่ตรวจสั่งไม่รับเหมือนอย่างชั้นรับหรือไม่รับอุทธรณ์ตามความในมาตรา 232 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์จึงไม่ชอบอย่างไรก็ตาม ต่อมาจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบกรณีศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย และศาลชั้นต้นได้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์และสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 และศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์พ้นกำหนด 15 วัน ไม่ชอบด้วยมาตรา 234 จึงไม่รับวินิจฉัย ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลย จึงมีผลเป็นการยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8377/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฟ้อง – ผลกระทบต่อคำพิพากษา – การนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามมาตรา 229
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่ส่งคำร้องของจำเลยที่ 2 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย เป็นคำสั่งก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18, 227, 228
การอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหรือไม่ก็ตาม นอกจากผู้อุทธรณ์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แล้ว หากอุทธรณ์คำสั่งนั้นมีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นผู้อุทธรณ์ก็ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นเพียงประการเดียวโดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นด้วย แต่อุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 มีผลกระทบต่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยตรง เพราะหากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ก็จะอนุญาตให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ย่อมทำให้ศาลชั้นต้นต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ โดยต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นถูกเพิกถอนไปด้วย เท่ากับเป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า บทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ใช้บังคับคดีนี้เป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 ขอให้ศาลฎีการอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน มีลักษณะเลื่อนลอยไม่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 229 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 2, 30, 272 อย่างไรหรือเป็นเพราะเหตุใด เป็นฎีกาที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวและส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7890/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานต้องยื่นต่อศาลแรงงานเดิมภายใน 15 วัน มิได้ยื่นโดยตรงต่อศาลฎีกา
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานจะอุทธรณ์ได้เฉพาะในข้อกฎหมายไปยังศาลฎีกาภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ทั้งการอุทธรณ์นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 54 วรรคสองอีกด้วย โจทก์นำอุทธรณ์มายื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง มิได้ยื่นต่อศาลแรงงานกลางซึ่งเป็นศาลแรงงานที่มีคำสั่งจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11417/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากองค์คณะไม่ครบถ้วนในการวินิจฉัยอำนาจการยื่นคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่อายัดจำนวน 15,875,688.13 บาท ผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นตรวจคำร้องขอแล้วสั่งว่า ผู้ร้องไม่อาจร้องขอเพิกถอนให้ปล่อยทรัพย์ที่อายัด ไม่รับคำร้อง เป็นการวินิจฉัยอำนาจในการยื่นคำร้องขอของผู้ร้องว่าไม่มีอำนาจตามกฎหมาย อันเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) แล้ว ซึ่งมีผลเป็นการพิพากษายกคำร้องขอของผู้ร้องทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำร้องขอของผู้ร้องไว้ก่อน กรณีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อปรากฏว่าในการสั่งคำร้องขอของศาลชั้นต้นมีผู้พิพากษาคนเดียวตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 (2) เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8395/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาและการสิ้นสุดสิทธิจากการไม่โต้แย้งคำพิพากษา
แม้อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองจะต้องห้ามไม่ให้อุทธรณ์ทันทีเพราะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ก็ตาม แต่การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวก็มีผลเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นของจำเลยทั้งสองตามมาตรา 226 (2) แล้ว จำเลยทั้งสองจึงอุทธรณ์ปัญหาข้อนี้ได้เมื่อคดีเสร็จการพิจารณาและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเหตุให้คดีถึงที่สุดและสิทธิการดำเนินคดีของจำเลยทั้งสองสิ้นสุดลงเช่นนี้ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยในประเด็นที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่ามีเหตุสมควรเรียกนาง บ. ผู้จัดการมรดกของ ค. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7896-8256/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะผู้รับเหมาชั้นต้นและการร่วมรับผิดในค่าชดเชยกรณีการผลิตตามคำสั่ง
การที่บริษัท น. กำหนดรายชื่อผู้ขายวัตถุดิบและรายชื่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำที่โรงงานของจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพและรูปแบบการผลิตรองเท้าของจำเลยที่ 2 เป็นกรณีที่บริษัท น. สอดแทรกเข้าไปในกระบวนการผลิตรองเท้าตั้งแต่กำหนดตัวผู้จำหน่ายวัตถุดิบ กำหนดตัวผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า จำเลยที่ 2 ไม่มีอิสระในการเลือกซื้อวัตถุดิบและเลือกจ้างผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า จนถึงในกรณีการผลิตไม่ได้คุณภาพหรือรูปแบบตามความประสงค์ของบริษัท น. เจ้าหน้าที่ของบริษัท น. ที่ประจำอยู่ที่โรงงานก็แจ้งให้จำเลยที่ 2 แก้ไขในส่วนโรงงานผลิตได้อีกด้วย ดังนั้นทุกขั้นตอนการผลิตของจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในการควบคุมของบริษัท น. ทั้งนี้ก็เพื่อให้จำเลยที่ 2 ผลิตรองเท้าที่มีคุณภาพวัตถุดิบและคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐานเดียวกับรองเท้าของบริษัท น. ทั่วโลก อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญที่จำเลยที่ 2 ต้องทำให้สำเร็จประโยชน์ของบริษัท น. สัญญาระหว่างจำเลยที่ 2 กับบริษัท น. จึงไม่ใช่สัญญาอันมีวัตถุประสงค์ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในรองเท้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ตกลงรับผลิตรองเท้าจนสำเร็จประโยชน์ในการให้คุณภาพของรองเท้าที่จำเลยที่ 2 ผลิตมีมาตรฐานเดียวกับรองเท้าของบริษัท น. ทั่วโลก จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นของบริษัท น. ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างผลิตรองเท้าตามความหมายของคำว่า "ผู้รับเหมาชั้นต้น" ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการทุเลาการบังคับ: คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 เป็นที่สุดและไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
การทุเลาการบังคับ กฎหมายกำหนดวิธีการให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้นๆ ไป การทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับแล้วจำเลยที่ 2 จะฎีกาคำสั่งต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ระงับการยึดทรัพย์หลังพ้นจากล้มละลาย: อุทธรณ์ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่อ้างว่าได้รับการปลดจากล้มละลายแล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 ขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ไม่ระงับการยึดหุ้นของจำเลยที่โจทก์ได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทรัพย์ยึดไว้ มิใช่คำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ต้องด้วยข้อยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
of 38