พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังการร้าง และการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินระหว่างการร้าง โดยใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะจะขาดจากการสมรสใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว เหตุที่จะขาดจากการสมรสต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บังคับ และการที่สามีภริยามาร้างกันระหว่างใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 สามีขายทรัพย์สินสมรสไปแล้วซื้อทรัพย์อื่นมาแทนทรัพย์นั้นก็ต้องเป็นสินสมรส แต่ทรัพย์ที่สามีหาได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส
ในชั้นฎีกา ผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นฎีกา ถ้าทรัพย์ที่เรียกร้องมีหลายอย่างตีราคารวมกันมา แต่ผู้ฎีกาฎีกาเฉพาะทรัพย์บางอย่างการคำนวณค่าขึ้นศาลศาลควรจัดการตีราคาทรัพย์แยกจากกันก่อนแล้วจึงเรียกค่าขึ้นศาล
ในชั้นฎีกา ผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นฎีกา ถ้าทรัพย์ที่เรียกร้องมีหลายอย่างตีราคารวมกันมา แต่ผู้ฎีกาฎีกาเฉพาะทรัพย์บางอย่างการคำนวณค่าขึ้นศาลศาลควรจัดการตีราคาทรัพย์แยกจากกันก่อนแล้วจึงเรียกค่าขึ้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพก่อนทำสัญญาประกันภัยทำให้สัญญามีโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กรมธรรม์ประกันชีวิตขาดอายุ บริษัทต่ออายุให้ เพราะผู้ถูกประกันชีวิตทำใบรับรองว่าสุขภาพดีเช่นเดิม แต่ความจริงผู้ถูกประกันชีวิตรู้อยู่ว่า ป่วยเกี่ยวกับท้องและสุขภาพไม่สมบูรณ์เป็นการปกปิดความจริงอันควรต้องแจ้งให้บริษัททราบบริษัทบอกล้างสัญญาซึ่งเป็นโมฆียะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1509 การผัดผ่อนไม่ทำให้ขยายอายุความ
เหตุขอหย่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1500(2) นั้น เมื่อไม่ได้ยกขึ้นอ้างฟ้องร้องเสียในกำหนด 3 เดือนสิทธิฟ้องร้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1509
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยผัดไปโดยอ้างว่า จำเลยขอผัดผ่อนไว้(ขอผัดการหย่า อย่าเพิ่งฟ้องร้อง) ย่อมไม่เป็นเหตุที่จะกระทำให้อายุความตาม กฎหมายในเรื่องนี้ยืดออกไปได้
การที่โจทก์ยอมให้จำเลยผัดไปโดยอ้างว่า จำเลยขอผัดผ่อนไว้(ขอผัดการหย่า อย่าเพิ่งฟ้องร้อง) ย่อมไม่เป็นเหตุที่จะกระทำให้อายุความตาม กฎหมายในเรื่องนี้ยืดออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาไถ่ถอนขายฝากเกินกำหนดตามกฎหมาย มิชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496
ขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกันถูกต้องตามกฎหมาย กำหนดไถ่ถอนภายใน 1 ปี ในวันครบกำหนดได้ตกลงขยายการไถ่ถอนกันด้วยปากเปล่าต่อไป 1 ปี ครั้นครบกำหนดได้ตกลงทำหนังสือว่ายอมให้ต่อการไถ่ถอนกันไปอีก 1 ปี ต่อมาภายในกำหนดเวลาไถ่ถอนครั้งที่ 2 ผู้ขายฝากไปขอไถ่ถอนดังนี้ ถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นการขยายเวลาการไถ่ถอนการขายฝาก ไม่ใช่เป็นเรื่องคำมั่นจะขายทรัพย์ที่ขายฝาก
เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก จะตกลงขยายเวลาการขายฝากในภายหลังไม่ได้ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496
เมื่อถึงกำหนดไถ่ถอนการขายฝาก จะตกลงขยายเวลาการขายฝากในภายหลังไม่ได้ ขัดต่อ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของตัวการและตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 และ 824
บทบัญญัติของ ม.824 ซึ่งว่าตัวแทนของตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จะต้องรับผิดตามสัญญาที่ได้ทำแทนไปแต่โดยลำพังนั้น เป็นบทยกเว้นจากหลักทั่วไปของ ม.820 เป็นผลให้ตัวแทนต้องรับผิดเป็นส่วนตัว หาใช่เป็นบทยกเว้นความรับผิดของตัวการต่อบุคคลภายนอกไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนองต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบก่อนฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728
ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองเอาทรัพย์ที่จำนองหลุดเป็นสิทธิตามประมวลแพ่ง ฯ มาตรา 729 ต้องบอกกล่าวให้ผู้จำนองทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ดังบัญญัติไว้ใน ม.728 เพราะมาตรา 728 และ 729 เป็นบทบังคับจำนอง ต้องอ่านคู่กันไป ถ้าไม่บอกกล่าวก่อน จะบังคับเอาทรัพย์ให้หลุดจำนองไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: การสมรสหลังใช้กฎหมายใหม่และการบังคับจดทะเบียน
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสกันภายหลังใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต่อมาได้ตกลงทำหนังสือหย่ากันไว้โดยความยินยอมทั้ง 2 ฝ่าย และมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คนถูกต้องตาม มาตรา 1498 วรรคสอง แต่จำเลยบิดพริ้วไม่ยอมไปจดทะเบียนการหย่าตามมาตรา 1499 โจทก์ย่อมฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่าเพื่อความสมบูรณ์ตาม มาตรา 1499 ได้ และถ้าจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ก็ให้ถือคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213
ถ้าผัวเมียสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หนังสือหย่านี้จะใช้ได้สมบูรณ์ทันทีในขณะได้ทำหนังสือสัญญาหย่านี้เสร็จ(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2500)
ถ้าผัวเมียสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หนังสือหย่านี้จะใช้ได้สมบูรณ์ทันทีในขณะได้ทำหนังสือสัญญาหย่านี้เสร็จ(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สมบัติชอบด้วยกฎหมาย แม้จะกลับมาอยู่กินฉันสามีภรรยาภายหลัง
เป็นสามีภรรยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การหย่าขาดจึงเป็นเพียงตกลงยินยอมทำหนังสือหย่ากันเองก็ใช้ได้ แม้ต่อมาภายหลังจะกลับมาได้เสียกันใหม่ก็จะถือว่ายังคงเป็นสามีภรรยากันตลอดมาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาใบอนุญาตขนย้ายข้าว: เริ่มนับวันถัดจากวันที่ออกใบอนุญาต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ได้รับอนุญาตให้ขนย้ายข้าวเปลือกไปต่างท้องที่มีกำหนด 25 วันนับแต่วันอนุญาตนั้นต้องเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนที่ดินเวนคืนตามคำพิพากษา ไม่ถือเป็นการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1305
ที่ดินที่ถูกทางราชการเวนคืนไป แล้วต่อมามีคำพิพากษาให้คืนที่ที่ถูกเวนคืนแก่เจ้าของ การคืนนั้นไม่ต้องกระทำตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องการโอนแก่กัน