คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นข้อพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 517 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างและการไม่จดประเด็นข้อพิพาท: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง
เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างมีอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) วรรคแรก เมื่อกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นวันก่อนวันสิ้นเดือนหนึ่งวัน การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ 1 ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2523 ก่อนโจทก์ถูกสั่งพักงานจึงตกเป็นวันที่ 30 ตุลาคม 2523 โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา การถูกสั่งพักงาน ถูกข้อหาปล้นทรัพย์ถูกดำเนินคดีอาญา ไม่เป็นอุปสรรคกีดกันมิให้โจทก์สามารถบังคับตามสิทธิของตนได้ และไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์มิได้บังคับตามสิทธิของตนภายในเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
ศาลแรงงานกลางมิได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางจดประเด็นข้อพิพาท ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้อง ดังนี้ คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ปฏิเสธไม่ยอมจดประเด็นข้อพิพาทเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างและการไม่จดประเด็นข้อพิพาท: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
เงินเดือนของโจทก์เป็นค่าจ้างที่คนงานเรียกเอาจากนายจ้างมีอายุความสองปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9)วรรคแรกเมื่อกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นวันก่อนวันสิ้นเดือนหนึ่งวัน การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันที่ 1ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2523ก่อนโจทก์ถูกสั่งพักงานจึงตกเป็นวันที่ 30 ตุลาคม 2523โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา การถูกสั่งพักงาน ถูกข้อหาปล้นทรัพย์ถูกดำเนินคดีอาญา ไม่เป็นอุปสรรคกีดกันมิให้โจทก์สามารถบังคับตามสิทธิของตนได้ และไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์มิได้บังคับตามสิทธิของตนภายในเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
ศาลแรงงานกลางมิได้จดประเด็นข้อพิพาทไว้ โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางจดประเด็นข้อพิพาท ศาลแรงงานกลางสั่งยกคำร้องดังนี้ คำสั่งของศาลแรงงานกลางที่ปฏิเสธไม่ยอมจดประเด็นข้อพิพาทเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯมาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3188/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมยกให้ที่ดิน: ศาลต้องวินิจฉัยทุกประเด็นข้อพิพาท ไม่ยกฟ้องทั้งหมด
ตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ขอให้พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกให้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ให้ที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ตามเดิมดังนี้ เมื่อคำขอส่วนที่ให้พิพากษาให้ที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ไม่อาจบังคับได้ก็ชอบที่ศาลจะพิพากษาให้ยกคำขอเฉพาะส่วนนี้ไป คำฟ้องและคำขอส่วนอื่นที่บังคับได้ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัย แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งหมด เป็นการไม่พิพากษาคดีตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อที่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3188/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมยกให้ที่ดิน และขอบเขตการพิพากษาคดีที่ศาลต้องวินิจฉัยทุกประเด็นข้อพิพาท
ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกให้ระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2ให้ที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่2ตามเดิมดังนี้เมื่อคำขอส่วนที่ให้พิพากษาให้ที่ดินตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่2ไม่อาจบังคับได้ก็ชอบที่ศาลจะพิพากษาให้ยกคำขอเฉพาะส่วนนี้ไปคำฟ้องและคำขอส่วนอื่นที่บังคับได้ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งหมดเป็นการไม่พิพากษาคดีตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อที่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้วไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลฎีกายืนตามศาลแรงงานกลาง เหตุจำเลยอุทธรณ์เกินกรอบประเด็นที่ต่อสู้ไว้
คำให้การของจำเลยอ้างเหตุแต่เพียงว่า โจทก์เล่นการพนันกับพนักงานในขณะทำงาน คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันเกิน 3 วัน หรือดื่มสุราในเวลาทำงานหรือไม่ แม้ทางพิจารณาจำเลยจะได้นำสืบถึงเหตุดังกล่าว ก็เป็นการนำสืบนอกประเด็น
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์มีหน้าที่พิสูจน์อักษรแต่โจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่อย่างร้ายแรง ทำให้การพิสูจน์อักษรในหนังสือฉบับพิเศษของหนังสือพิมพ์เส้นทางเศรษฐกิจฉบับดีเด่นแห่งปี ประจำปี 2528 ผิดพลาดไป 20 แห่ง เป็นข้อผิดพลาดมาก จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง จึงเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ เป็นการอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47 (5) แต่อุทธรณ์ของจำเลยอ้างเหตุว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตามประกาศ ฯ ดังกล่าวข้อ 47 (2)ซึ่งจำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำ/ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในคดีสัญญาจ้างเหมา กรณีประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน แม้คดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด
คดีก่อน จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย ในข้อหาว่า โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ที่โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลน ตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาด ของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 จึงมีประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ และจะต้องใช้ค่าเสียหาย แก่จำเลยที่ 1เท่าใด ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญา กับโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชนต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดิน ของเอกชนดังกล่าวแล้ว จึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย แก่โจทก์ ดังนี้ มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา จ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษา รุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการ ดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้น จะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1 ต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นข้อพิพาท และหน้าที่ของตัวแทนในการส่งมอบทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนโจทก์จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นตัวแทนจำเลยร่วมประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่าโจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนหรือไม่ส่วนที่จำเลยให้การเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาท จำเลยร่วมซึ่งร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยโดยอ้างเหตุว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีตามป.วิ.พ.มาตรา57(2)มีฐานะเสมอด้วยจำเลยและมีสิทธิต่อสู้คดีได้เพียงเท่าที่จำเลยมีอยู่เท่านั้นจึงไม่ต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่เพื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นหรือไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดประเด็นข้อพิพาท, ตัวแทน, หน้าที่ส่งมอบเงิน, และการผิดนัด
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนโจทก์จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นตัวแทนโจทก์แต่เป็นตัวแทนจำเลยร่วมประเด็นข้อพิพาทมีเพียงว่าโจทก์ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนหรือไม่ส่วนที่จำเลยให้การเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ตั้งจำเลยเป็นตัวแทนนั้นศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเลยไปถึงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาท. จำเลยร่วมซึ่งร้องขอเข้าเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยโดยอ้างเหตุว่ามีส่วนได้เสียในผลแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(2)มีฐานะเสมอด้วยจำเลยและมีสิทธิต่อสู้คดีได้เพียงเท่าที่จำเลยมีอยู่เท่านั้นจึงไม่ต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่เพื่อวินิจฉัยว่าจำเลยร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นหรือไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2087/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทเรื่องโทรศัพท์เป็นอุปกรณ์ประกอบทรัพย์สินไม่ยกขึ้นพิจารณาในชั้นฎีกาหากมิได้ยกขึ้นตั้งแต่ศาลชั้นต้น
ปัญหาที่ว่าโทรศัพท์เป็นเครื่องอุปกรณ์อันใช้ประกอบกับทรัพย์เป็นประธานคือบ้านและที่ดินอันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่นั้นไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อมิได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นย่อมยกขึ้นฎีกามิได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องตั้งประเด็นชัดเจน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยเรื่องนี้ของศาลล่างนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์จำเลยให้การแต่เพียงว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยทั้งสองโดยป.พี่ชายของจำเลยยกให้จำเลยทั้งสองได้ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาโดยจำเลยหาได้อ้างว่าได้ที่พิพาทมาโดยการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาติดต่อกันเป็นเวลาถึงสิบปีไม่แม้จำเลยจะให้การต่อไปว่าที่ดินที่จำเลยเข้าทำนาทั้งหมดเป็นของจำเลยจำเลยเข้าทำนามา20ปีเศษแล้วโดยโจทก์ไม่เคยคัดค้านหรือโต้แย้งเลยก็เป็นข้อความที่ปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปทำนาในที่พิพาทและเป็นการยืนยันคำให้การในตอนต้นว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยมิใช่เป็นการตั้งประเด็นการครอบครองปรปักษ์แต่อย่างใดเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยจึงหามีความหมายว่าจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์รวมอยู่ด้วยไม่การที่จำเลยนำสืบและศาลวินิจฉัยว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382จึงนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาจึงต้องวินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยตามความหมายที่ถูกต้อง.
of 52