คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2170/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางและเจตนาลวงในสัญญากู้ยืมและค้ำประกัน การพิสูจน์เพื่อแสดงเจตนาที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินบริษัท บ. โดยมีจำเลยที่ เป็นผู้ค้ำประกัน คู่สัญญากู้อยู่ว่ามิได้มีการกู้และค้ำประกันตามนั้น ความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามสัญญาอันแสดงเจตนาลวงนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 สัญญากู้อันถูกอำพรางไว้นั้น จำเลยที่ 2ก็ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพราะจำเลยที่ 2 ทำไปในฐานะเป็นทายาทของกองมรดก ส. ซึ่งมีอำนาจจัดการกู้เงินเพื่อประโยชน์ของกองมรดกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1745 ประกอบด้วยมาตรา 1358
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า ความจริงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. ได้ตั้งให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนไปขอกู้เงินจากบริษัท บ. ซึ่งที่ประชุมของบริษัททราบดีว่ากองมรดกของ ส. เป็นผู้กู้ แต่ให้ลงชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันเป็นนิติกรรมอำพราง จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิด ดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าความจริงจำเลยที่ 2 เป็นผู้กู้ มิใช่เป็นผู้ค้ำประกัน ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เพราะกรณีเป็นเรื่องนิติกรรมอำพราง ซึ่งมาตรา 94 ไม่ตัดสิทธิจำเลยในอันที่จะนำสืบแสดงว่าสัญญาที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง มาตรา 94 ก็ห้ามแต่เฉพาะเรื่องการนำพยานบุคคลเข้ามาสืบแทนเอกสารเท่านั้นไม่ได้ห้ามในการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยเอกสาร โดยมีการสืบพยานบุคคลประกอบข้อความและลายมือชื่อในเอกสารนั้น
จำเลยเพียงแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่า ที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น ไม่มีเหตุอันสมควรชอบที่โจทก์จะต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะร้องขอให้ศาลฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และจำเลยจะฎีกาในเรื่องดุลพินิจเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมโดยเฉพาะไม่ได้ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็อาจสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยได้ในฐานะที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในชั้นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1519/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายยางแอสฟัลท์, สัญญาค้ำประกัน, การตีความสัญญา, การชำระหนี้, ข้อพิพาททางแพ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระราคายางแอสฟัลท์ที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่าก่อนที่จะทำสัญญาซื้อขายจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยที่ 1 จะนำยางแอสฟัลท์ไปก่อสร้างทางซึ่งจำเลยที่ 1 รับเหมามาจากกรมทางหลวงตามเอกสารท้ายคำให้การและฟ้องแย้งแต่โจทก์ส่งยางแอสฟัลท์ให้จำเลยที่ 1 ล่าช้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบงานให้ทันกำหนดถูกกรมทางหลวงปรับ จึงให้โจทก์ชดใช้เงินค่าปรับ ดังนี้ ฟ้องแย้งได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วแม้จะไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียด ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบในชั้นพิจารณา. ก็หาทำให้เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ล่วงเลยอายุความ 2 ปี จึงขาดอายุความ เห็นได้ว่าอายุความที่โจทก์ตั้งเป็นข้อต่อสู้มาแต่แรกเป็นเรื่องอายุความในมูลสัญญาซื้อขายในชั้นฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ยกอายุความเรื่องละเมิดขึ้นต่อสู้เพราะมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาก่อนแล้วแต่ศาลชั้นต้น
โจทก์ส่งมอบยางแอสฟัลท์ให้จำเลยที่ 1 ล่าช้า เป็นเหตุให้จำเลยถูกปรับ เพราะส่งมอบงานให้กรมทางหลวงไม่ทันกำหนดแต่จำเลยที่ 1 ก็มีส่วนบกพร่องในการก่อสร้างทางล่าช้าด้วย โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในข้อนี้ให้จำเลยที่ 1 เพียงบางส่วน
จำเลยที่ 2 ค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายของจำเลยที่ 1 การตีความสัญญาค้ำประกันต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณี และถ้าตีความได้เป็นสองนัย ก็ต้องถือตามนัยที่ทำให้เป็นผลบังคับได้ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของมาตรา 368 และมาตรา10 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการที่จะทราบความประสงค์ของคู่สัญญาจะต้องพิจารณาถึงสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาประธานและสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นสัญญาอุปกรณ์ด้วย เมื่อสัญญาซื้อขายระบุว่า จำเลยที่ 1 ต้องชำระราคายางแอสฟัลท์ให้โจทก์ภายใน 60 วันนับแต่วันส่งมอบ โดยจำเลยที่ 1 ต้องนำจำเลยที่ 2 มาเป็นผู้ค้ำประกันการชำระราคา แต่สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า สัญญาค้ำประกันมีกำหนดระยะเวลา 120 วัน หากเกิดการเสียหายขึ้นภายในระยะเวลาดังกล่าว ต้องแจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบภายใน7 วันนับแต่วันได้รับความเสียหาย ดังนี้ ระยะเวลา120 วันตามสัญญาค้ำประกันย่อมต้องหมายความถึงระยะเวลาที่โจทก์อาจส่งมอบยางแอสฟัลท์ให้จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้หมายความตลอดถึงระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 จะต้องได้รับคำบอกกล่าวจากโจทก์ให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้นเมื่อโจทก์ส่งมอบยางแอสฟัลท์งวดสุดท้ายให้จำเลยที่ 1 ภายใน 120 วันแล้วจำเลยที่ 1 ยังมีโอกาสชำระหนี้ค่ายางแอสฟัสท์ได้ภายใน 60 วัน นับจากวันที่โจทก์ส่งมอบยางแอสฟัลท์ครั้งสุดท้าย และหากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระได้ภายใน7 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีอายุจำกัด ความรับผิดของผู้ค้ำประกันสิ้นสุดเมื่อพ้นระยะเวลาค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 จะผูกพันจำเลยที่ 2 ไว้
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจะชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1ในเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ในระหว่างระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ภายหลังระยะเวลาดังกล่าว โจทก์ก็ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันยังใช้บังคับได้ แม้มีการประนีประนอมยอมความในสัญญากู้เดิม
โจทก์ให้ ถ. กู้ยืมเงินไปโดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาโจทก์ฟ้อง ถ. ให้ชำระหนี้ แล้วโจทก์กับ ถ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ ถ. ไม่ชำระเงินตามสัญญา โจทก์จึงนำยึดทรัพย์ของ ถ. ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันให้ชำระเงินส่วนที่ยังขาดอยู่นั้นได้เพราะการที่โจทก์กับ ถ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมนั้น เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ไม่ทำให้หนี้ตามสัญญากู้ระงับ และไม่ใช่เป็นการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ อันจะทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันยังใช้บังคับได้ แม้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับหนี้เดิม
โจทก์ให้ ถ. กู้ยืมเงินไปโดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาโจทก์ฟ้องถ.ให้ชำระหนี้แล้วโจทก์กับถ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ ถ. ไม่ชำระเงินตามสัญญา โจทก์จึงนำยึดทรัพย์ของ ถ. ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันให้ชำระเงินส่วนที่ยังขาดอยู่นั้นได้เพราะการที่โจทก์กับ ถ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมนั้น เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ไม่ทำให้หนี้ตามสัญญากู้ระงับ และไม่ใช่เป็นการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้อันจะทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันของภริยา จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากสามี หากไม่ได้รับอนุญาต สัญญาเป็นโมฆียะ
การที่หญิงมีสามีทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของผู้อื่นก็ถือว่า ทำการที่จะผูกพันสินบริคณห์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 แล้ว ถ้าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของสามี สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้วสัญญานั้นก็ตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันสินบริคณห์ แต่โมฆะกรรมในกรณีเช่นนี้มิได้ทำให้สัญญาที่หญิงมีสามีไปทำไว้นั้นไม่มีผลเสียเลย หญิงนั้นยังคงต้องรับผิดใช้หนี้เป็นส่วนตัว คือให้ใช้ด้วยสินส่วนตัวของหญิงนั้นก่อน เมื่อไม่พอหรือไม่ปรากฏว่าหญิงนั้นมีสินส่วนตัว เจ้าหนี้จะต้องร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงนั้นตามมาตรา 1483 เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษา โจทก์จะยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9 -10/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันของภริยาที่ทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสามี: โมฆียะ & ผลกระทบต่อสินบริคณห์
การที่หญิงมีสามีทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของผู้อื่นก็ถือว่าทำการที่จะผูกพันสินบริคณห์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 แล้ว ถ้าทำไปโดยมิได้รับอนุญาตของสามี สัญญานั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้ว สัญญานั้น.ก็ตกเป็นโมฆะไม่ผูกพันสินบริคณห์ แต่โมฆะกรรมในกรณีเช่นนี้มิได้ทำให้สัญญาที่หญิงมีสามีไปทำไว้นั้นไม่มีผลเสียเลย หญิงนั้นยังคงต้องรับผิดใช้หนี้เป็นส่วนตัว คือให้ใช้ด้วยสินส่วนตัวของหญิงนั้นก่อน เมื่อไม่พอหรือไม่ปรากฏว่าหญิงนั้นมีสินส่วนตัว เจ้าหนี้จะต้องร้องขอต่อศาลให้แยกสินบริคณห์ออกเป็นส่วนของหญิงนั้นตามมาตรา 1483 เพื่อดำเนินการตามคำพิพากษา โจทก์จะยึดสินบริคณห์ก่อนขอแยกไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9-10/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์เมื่อได้รับการลงนามโดยผู้มีอำนาจ และจำเลยต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ. โดยเจตนาเข้าค้ำประกันความเสียหายที่ อ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์แล้ว อ. ส่งสัญญาไปยังการไฟฟ้าเขต การไฟฟ้าเขตส่งต่อไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ ส. ซึ่งเป็นผู้ว่าการไฟฟ้าได้ลงชื่อในสัญญานั้นแทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์แล้ว สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นอันสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1244/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์เมื่อมีการลงนามโดยผู้มีอำนาจ จำเลยต้องรับผิดตามสัญญา แม้เงินยืมเกิดขึ้นก่อน
จำเลยทำสัญญาค้ำประกัน อ. โดยเจตนาเข้าค้ำประกันความเสียหายที่ อ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่โจทก์แล้ว อ. ส่งสัญญาไปยังการไฟฟ้าเขต การไฟฟ้าเขตส่งต่อไปยังการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์ส. ซึ่งเป็นผู้ว่าการไฟฟ้าได้ลงชื่อในสัญญานั้นแทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคโจทก์แล้ว สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นอันสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: จำเลยให้การปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าไม่ได้ลงนาม แต่ศาลพิพากษาว่าจำเลยลงนามจริงและต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยให้การเพียงว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสำเนาหนังสือสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าจำเลยค้ำประกันในฐานะห้างหุ้นส่วนจำกัดมิใช่ในฐานะส่วนตัว
โจทก์มิได้ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่นายดีผู้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
of 50