คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อสังหาริมทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 440 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ, สัญญาจะซื้อขายต้องมีเจตนาชัดเจน
ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ
เมื่อไม่มีเหตุให้สันนิษฐานว่าคู่สัญญายังมีเจตน์จำนงว่าถ้าสัญญาซื้อขายนี้ไม่สมบูรณ์ก็คงจะได้ตั้งใจให้สมบูรณ์เข้าแบบเป็นนิติกรรมอย่างอื่นแล้วก็ไม่มีผลบังคับเป็นสัญญาจะซื้อขาย ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การเปลี่ยนแปลงสัญญาด้วยวาจาทำไม่ได้ ผู้เช่าใช้สิทธิเรียกร้องไม่ได้หากเจ้าของไม่มีอำนาจ
สัญญาเช่าโกดัง ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด จำเลยจะสืบพยานบุคคลว่ามีข้อสัญญาด้วยวาจาเพิ่มเติมอีกไม่ได้
ผู้เช่าไม่มีอำนาจต่อสู้คดีว่าผู้ให้เช่าไม่มีอำนาจให้เช่าทรัพย์สินที่เป็นวัตถุแห่งสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังการขายทอดตลาด: สิทธิในการไถ่คืนทรัพย์เมื่อยังไม่มีนิติกรรม
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นว่า เจ้าพนักงานศาลขายทอดตลาดฝนกำลังตกหนัก จำเลยมาสายไป 20 นาที จะขอชำระเงินให้โจทก์ตามคำพิพากษา เจ้าพนักงานแจ้งว่า ขายแล้ว จึงขอให้จำเลยวางเงินชำระหนี้โจทก์และคืนทรัพย์ที่ยึดให้จำเลย
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง
จำเลยอุทธรณ์อ้างเหตุว่า ในวันขายทรัพย์ยังไม่หมดเวลาทำงานจำเลยมีความชอบธรรมที่จะนำเงินมาชำระหนี้ได้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยฎีกาว่า แม้ศาลขายทอดตลาดแล้วแต่ทรัพย์ที่ขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ยังมิได้ทำนิติกรรมซื้อขายต่อกรมการอำเภอ จำเลยชอบที่จะขอไถ่คืนทรัพย์ที่ขายได้ ดังนี้วินิจฉัยว่า จำเลยเพิ่งมากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 546/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิรวมในอสังหาริมทรัพย์ ห้างหุ้นส่วนสามัญ การซื้อขายสิทธิ และการร้องสอด
การรวมทุนกันประกอบกิจการมี และสวนยาง อีกนัยหนึ่ง ก็คือ การร่วมกันมีที่ดินสวนยางหรือทำเป็นสวนยาง เพื่อแสวงหาดอกผลธรรมดาจากสวนยางนั้น แม้จะเรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ (โดยมิได้จดทะเบียน) ก็ตาม ความสัมพันธ์เช่นนี้ จะต้องบังคับตามกฎหมายอันว่าด้วยกรรมสิทธิรวมในอสังหาริมททรัพย์นั้น จะบังคับตามกฎหมายเรื่องหุ้นส่วนแต่อย่างเดียวไม่ได้ เพราะทรัพย์สินอันเป็นประธานที่ผู้เป็นหุ้นส่วนมีอยู่ร่วมกัน คือที่ดินสวนยาง
และส่วนของหุ้นส่วนในเรื่องนี้ก็คือส่วนหนึ่งในสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมในสวนยาง อันเป็นอสังหาริมทรัพย์ จะมีตราจองหรือไม่ ก็ย่อมเป็นสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ เช่นเดียวกัน แม้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งจะมีสิทธิทำนิติกรรมจำหน่ายส่วนของตนได้ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1361 ก็ตาม แต่ก็ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจะสมบูรณ์
ถ้าผู้ได้รับซื้อสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนไว้โดยเพียงแต่ทำสัญญากันเป็นหนังสือเท่านั้น แล้วภายหลังผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นได้ขายสิทธินั้นไป แก่ผู้รับซื้อคนใหม่โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกันโดยสุจริตแล้ว ดังนี้ ผู้รับซื้อคนแรกก็ย่อมจะฟ้องบังคับให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งขายสิทธินั้นแก่ตน โอนสิทธิที่ขายให้แก่ตนไม่ได้
เป็นผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้เข้าสู้คดีในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยแล้ว ภายหลังตนเองได้ร้องสอดเข้ามาในคดีในฐานนะตัวเอง ดังนี้ ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อให้มีผลยกฟ้องแล้ว ศาลก็พอบังคับได้ แต่ถ้าเป็นการร้องสอดเข้ามาเพื่อที่จะให้ศาลบังคับตัวเองในฐานะเป็นตัวแทนจำเลยนั้น ศาลจะบังคับให้ หาได้ไม่ เพราะเป็นเรื่องที่ประโยชน์ของตัวแทนขัดกับประโยชน์ของตัวการ อันเป็นกรณีที่ตัวแทนไม่อาจทำแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยต้องจดทะเบียนเพื่อให้สมบูรณ์ตามกฎหมาย
สิทธิในการอาศัยตึกเป็นสิทธิอาศัยดังที่บัญญัติไว้ใน ป.ม.แพ่งฯ บรรพ 4 ลักษณะ 5 ซึ่งว่ด้วยอาศัยและเป็นทรัพย์สิทธิชะนิดหนึ่ง อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนสิทธิอาศัยต่อเจ้าพนักงานแล้ว ก็ไม่เป็นการบริบูรณ์ตามมาตรา 1299 วรรค 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยในอสังหาริมทรัพย์ต้องจดทะเบียนเพื่อให้บริบูรณ์ตามกฎหมาย
สิทธิในการอาศัยตึกเป็นสิทธิอาศัยดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ลักษณะ 5 ซึ่งว่าด้วยอาศัยและเป็นทรัพย์สิทธิชนิดหนึ่ง อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนสิทธิอาศัยต่อเจ้าพนักงานแล้ว ก็ไม่เป็นการบริบูรณ์ตามมาตรา 1299วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงโรงเรือนเช่า: สิทธิในส่วนควบ vs. กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าโรงเรือนของโจทก์ แล้วจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ โดยดัดแปลงแก้ไข รื้อขนสัมภาระจากโรงเรือนของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหายจึงขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยตามมูลละเมิด เมื่อฟังไม่ได้ว่า เป็นละเมิดแล้วในข้อที่จำเลยจะต้องรับผิดฐานไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าหรือไม่นั้น ไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องว่ากล่าวตามมูลสัญญาเช่า
แม้ในสัญญาเช่าจะใช้คำว่าการดัดแปลงหรือต่อเติมใดๆที่ผู้เช่าได้ทำขึ้นต้องตกเป็นของผู้ให้เช่าก็ดี ก็ย่อมต้องหมายความถึงการกระทำที่มาเป็นส่วนควบของทรัพย์ประธาน สัญญาเช่าที่มีข้อความดังที่ปรากฏนี้ หาอาจทำให้อสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นที่ตกเข้ามาอยู่ในที่เช่าเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของเดิมมีสิทธิฟ้องค่าเสียหายจากการละเมิดต่ออสังหาริมทรัพย์ แม้จะโอนให้ผู้อื่นไปแล้ว
มีผู้ทำละเมิดให้เสียหายแก่อสังหาริมทรัพย์ในขณะที่เจ้าของเดิมยังเป็นเจ้าของทรัพย์นั้นอยู่ แม้ภายหลังจะได้โอนทรัพย์นั้นให้แก่ผู้อื่นไปแล้วเจ้าของเดิมก็ยังมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ผู้ทำละเมิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1581/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาลจึงมีผลผูกพัน
การที่มารดาเอาที่ดินของบุตร ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ไปทำสัญญาจะขายแก่ผู้อื่นนั้นเป็นสัญญาซึ่งตายนัยแห่ง ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1546(1) เป็นที่เข้าใจกันอยู่ว่าจะผูกพันเด็กได้ก็ต่อเมื่อศาลได้อนุญาตให้ขายตามสัญญานั้นแล้ว
(อ้างฎีกาที่ 462/2488)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเรือนเพื่อรื้อถอน ไม่ถือเป็นการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ สัญญาใช้ได้
ทำสัญญาซื้อขายเรือนเพื่อจะรื้อเอาไปนั้น หาใช่ซื้อขายในฐานะอสังหาริมทรัพย์ทำสัญญากันเองก็ใช้ได้
ฟ้องว่า ทำสัญญาซื้อเรือนและครัวไฟจากจำเลย เมื่อรื้อเอาไปและได้ชำระราคาแก่จำเลยไปแล้ว จำเลยให้การต่อสู้คดีกำกวมไม่ชัดแจ้ง แม้จะมีข้อความว่า จำเลยปฏิเสธตลอดข้อหาแต่เมื่อพิเคราะห์ต่อไปในคำให้การนั้น เป็นอันเข้าใจได้ว่าฝ่ายจำเลยรับแล้วว่า ได้มีการซื้อขายกันจริงดังฟ้องไม่ได้คัดค้านในข้อที่ว่าไม่มีการตกลงกันว่าซื้อขายแล้วจะรื้อเอาไป และไม่ได้คัดค้านว่าไม่ได้รับเงินราคาซื้อขายกันแล้ว เช่นนี้เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่สืบพยานก็ต้องฟังว่าจำเลยตกลงซื้อขายเรือนแก่โจทก์เพื่อ+ไปและต้องฟังว่าจำเลยรับเงินราคาเรือนแล้ว
เพียงแต่โจทก์ไม่คัดค้านในการที่ผู้ร้องสอด ร้องเข้ามาเป็นจำเลยร่วมกับจำเลยเดิมนั้น จะแปลว่าโจทก์รับว่าเป็นความจริงตามคำร้องสอดนั้นด้วยยังไม่ได้
of 44