คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5954/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจมอบอำนาจดำเนินคดี: ผลสมบูรณ์แม้กรรมการผู้มอบอำนาจเปลี่ยนแปลง และการรับฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาแก้ไขได้
แม้คำสั่งรับฎีกาของศาลชั้นต้นเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกาและศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์แก้แล้ว โจทก์ไม่ยื่นคำแก้ฎีกา จึงไม่จำเป็นที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อมีคำสั่งรับฎีกาของผู้ร้องและส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์แก้อีก
ขณะที่ ธ. และ ส. มอบอำนาจให้ ย. และ ด. ยื่นคำร้องขอคืนของกลางในคดีอาญาและแต่งตั้งให้ทนายความเข้าดำเนินการ ธ. ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ร้อง แม้ว่าขณะที่ ย. และ ด. มอบอำนาจช่วงให้ ก. ดำเนินคดี ธ. จะพ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อกระทำการแทนผู้ร้องไปแล้วก็ตาม ก็หาได้ทำให้ฐานะของผู้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนผู้ร้องสิ้นสุดไปไม่ เมื่อการมอบอำนาจให้ ย. และ ด. ยังไม่ถูกยกเลิกเพิกถอน หนังสือมอบอำนาจเกี่ยวกับการดำเนินคดีและหนังสือมอบอำนาจให้ดำเนินคดีจึงมีผลสมบูรณ์ ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอคืนของกลางดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9556/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อมูลเท็จต่อนายทะเบียนบริษัทเพื่อเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิ และที่ตั้งสำนักงาน ถือเป็นความผิดอาญา
การเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความในหนังสือบริคณห์สนธิ ป.พ.พ. มาตรา 1145 และมาตรา 1146 กำหนดว่า จะกระทำได้ต่อเมื่อมีการลงมติพิเศษ ซึ่งจะต้องมีการประชุมใหญ่โดยมีคำบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติพิเศษ และกำหนดให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องจัดให้ไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้มีการลงมติพิเศษ และเหตุที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของบริษัทจะต้องนำเรื่องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญเพราะมีผลกระทบต่อบุคคลภายนอก กรณีที่จำต้องใช้เอกสารยืนยันภูมิลำเนาคือสำนักงานแห่งใหญ่ของนิติบุคคลเป็นพยานหลักฐานที่มีการรับรองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นที่เชื่อถือได้ในทางกฎหมาย ทั้งกิจการของบริษัท ร. ก็มิได้เป็นเพียงนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวข้องแต่เฉพาะบุคคลในวงศ์เครือญาติของจำเลย หากแต่ต้องติดต่อสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นด้วย จำเลยจะอ้างความเคยชิน และความไว้วางใจระหว่างเครือญาติของจำเลยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ได้ อีกทั้งการที่จำเลยมอบอำนาจให้ทนายความไปยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และแจ้งย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท ร. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครโดยอ้างว่าจำเลยได้บอกกล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2552 โดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์และส่งมอบให้ผู้ถือหุ้น และที่ประชุมวิสามัญมีมติพิเศษให้แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 2 และย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัท จากเดิมที่ตั้งอยู่กรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดราชบุรีโดยไม่เป็นความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267 จำเลยจึงอ้างว่าไม่มีเจตนากระทำความผิดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9270/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของห้างหุ้นส่วนจำกัดหลังการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ และการดำเนินการเพื่อรักษากิจการ
ในวันที่ 8 มีนาคม 2544 โจทก์โดย ท. ลงลายมือชื่อในใบคำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ โดยแก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วนจาก ท. เป็น ว. และเปลี่ยนให้ ว. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน ท. ทั้ง พ. และ น. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแล้ว และในวันเดียวกันโจทก์โดย ท. มอบอำนาจให้ ภ. ไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการดังกล่าว การจดทะเบียนที่กระทำภายหลัง เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 อันเป็นเวลาภายหลังที่ ท. ถึงแก่กรรมแล้วตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2544 ก็เป็นไปตามเจตนาของ ท. และได้แจ้งให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเพื่อจะได้มีการประกาศการเปลี่ยนแปลงลงในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้บุคคลภายนอกทั่วไปทราบเท่านั้น เมื่อนายทะเบียนฯ รับจดทะเบียนไว้แล้ว ตราบใดที่ยังไม่มีการร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวหรือมีการเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนนั้นเป็นอย่างอื่น ก็ยังถือได้ว่า ว. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์โดยชอบ การที่ ภ.ได้ดำเนินการจดทะเบียนเพื่อให้ ว. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่มีจุดประสงค์ให้โจทก์ดำเนินกิจการต่อไปได้ และเป็นไปเพื่อปกปักรักษาประโยชน์ของ ท. ซึ่งเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 828 ประกอบกับปรากฏจากคำเบิกความของ ว. พยานโจทก์ว่า ว. เป็นบุตรชายคนโตของ ท. จึงนับว่าเป็นทายาทของ ท. หุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์คนเดิม ทั้งผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดตกลงให้ ว. เข้ามาเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่และตกลงให้ห้างฯ ยังคงอยู่ต่อไปมิได้ให้ห้างฯ เลิกไป ว. ย่อมเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์โดยชอบ ทั้งยังได้ความว่าก่อนฟ้องคดีนี้ห้างฯ โจทก์ยังดำเนินกิจการอยู่โดย ว. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยยังมิได้เลิกห้างฯ โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7064/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอเปลี่ยนแปลงคู่ความหลังคดีถึงที่สุด และผลของการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ
แม้คดีนี้ถึงที่สุดตามคำสั่งศาลฎีกาที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความศาลฎีกาแล้วก็ตาม แต่ในชั้นบังคับคดีจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลย อันเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว ย่อมมีผลให้คดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 และเป็นคดีกรณีที่จำต้องจัดหาบุคคลผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะเพื่อให้มีคู่ความอยู่โดยครบถ้วนก่อนที่จะส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่โจทก์และดำเนินคดีต่อไป การพิจารณาและมีคำสั่งให้บุคคลใดเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะในคดีซึ่งอยู่ในระหว่างอุทธรณ์เช่นนี้ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ใช่อำนาจของศาลชั้นต้น คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค ๘ ที่ว่า คดีไม่อยู่ในอำนาจที่จะพิจารณาให้คืนคำร้องแก่ศาลชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไป จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกาประกอบกับจำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ดำเนินการตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 8 โดยมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะซึ่งมิใช่เป็นคำสั่งไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีและอยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะสั่งได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นแม้จะเป็นการผิดระเบียบแต่ในชั้นนี้มีประเด็นเพียงเรื่องการจัดหาบุคคลผู้เข้ามาเป็นคู่ความแทนคู่ความมรณะเพื่อให้คดีสามารถดำเนินการไปได้โดยมีคู่ความครบถ้วน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 วรรคหนึ่ง ย่อมไม่เป็นที่เสียหายแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ศาลฎีกาไม่จำต้องเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียนนั้นหรือสั่งแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7337/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลเปลี่ยนแปลงหลังมีกฎหมายใหม่ คดีอยู่ในอำนาจศาลฎีกาฯ
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ข้อ 10/1 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 พ.ศ.2550 มาตรา 3 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องและการพิจารณาคดีจึงเป็นกฎหมายในส่วนวิธีสบัญญัติและมีผลใช้บังคับทันทีนับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ เป็นผลให้คดีที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยในฐานะกรรมการตรวจสอบว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งการดำเนินคดีต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งรวมทั้งคณะกรรมการตรวจสอบตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 36 ถึงมาตรา 44 มีวิธีพิเศษแตกต่างไปจากการดำเนินคดีอาญาทั่วไป เป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ และคุ้มครองคณะกรรมการดังกล่าวมิให้ถูกกลั่นแกล้งดำเนินคดีได้โดยง่าย อันเป็นหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตัวลูกหนี้จากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล
เมื่อจำเลยที่ 1 จดทะเบียนตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด อันดามัน บิซิเนส แอนด์ เซอร์วิส เป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการตาม ป.พ.พ. มาตรา 1015 การที่โจทก์มีหนังสือรับรองให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด อันดามัน บิซิเนส แอนด์ เซอร์วิส เป็นตัวแทนของโจทก์ รหัสตัวแทน พีเค 0004 จะถือว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด อันดามัน บิซิเนส แอนด์ เซอร์วิส ตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16022/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงราคาประเมินและค่าเช่ามาตรฐานกลางมีผลต่อการประเมิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินค่ารายปีประจำปีภาษี 2551 ที่พิพาท โดยอาศัยค่ารายปีประจำปีภาษี 2550 ที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 แต่เมื่อจำเลยกำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางใหม่ตามบันทึกข้อความกรุงเทพมหานคร ที่ กท 1302/222 ก่อนที่โจทก์จะยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2551 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยควรจะนำอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาในการกำหนดค่ารายปีประจำปีภาษีพิพาทด้วย เนื่องจากเป็นการกำหนดเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นแนวทางประกอบการประเมิน แม้บันทึกข้อความกรุงเทพมหานครดังกล่าวจะมิได้บังคับให้ต้องกำหนดค่ารายปีเท่ากับอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางและมิได้ห้ามให้กำหนดค่ารายปีสูงกว่าอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลาง แต่เมื่อปรากฏตามบันทึกดังกล่าวว่าสถานที่ตั้งโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดให้อยู่กลุ่ม 2 เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่อยู่ในกลุ่ม 1 ซึ่งมีค่ารายปีสูงกว่า จึงไม่อาจใช้ค่ารายปีของปีภาษี 2550 ที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปีในปีภาษีพิพาท การที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ไปเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 455/1-2 ซึ่งตั้งอยู่ถนนพระรามที่ 3 ซึ่งมีความกว้างมากกว่าถนนเจริญราษฎร์อันเป็นที่ตั้งโรงเรือนของโจทก์ และมีราคาประเมินที่ดินสูงกว่า ย่อมแสดงให้เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจของสถานที่ตั้งโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่โรงเรือนและที่ดินของโจทก์ที่ได้รับประโยชน์มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินทรัพย์สินของโจทก์สูงกว่าอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลาง แม้จะเท่ากับค่ารายปีที่ล่วงมาแล้ว แต่เนื่องจากทรัพย์สินของโจทก์มีสภาพเศรษฐกิจแตกต่างไปจากเดิม การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดจึงมิได้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 และมาตรา 18 ประกอบแนวทางปฏิบัติตามบันทึกกรุงเทพมหานครดังกล่าว การกำหนดค่ารายปีและคำชี้ขาดจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13791-13792/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอม: การลดอัตราเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
จำเลยมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างบังคับให้ลูกจ้างรวมถึงโจทก์ทั้งสองต้องเป็นสมาชิกกองทุนประกันและออมทรัพย์สถาบันเทคโนโลยี่แห่งเอเซีย โดยสมาชิกส่งเงินสมทบอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือนสมาชิก และจำเลยส่งเงินสมทบอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนสมาชิก ต่อมาจำเลยจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทิสโก้ร่วมทุน 2 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว พนักงานส่วนใหญ่ของจำเลยโอนมาเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทิสโก้ร่วมทุน 2 ซึ่งจดทะเบียนแล้ว แต่โจทก์ทั้งสองไม่โอนไป เมื่อจำเลยไม่ได้บอกเลิกการส่งเงินสมทบตามกฎข้อบังคับของกองทุน กองทุนประกันและออมทรัพย์สถาบันเทคโนโลยี่แห่งเอเชียจึงคงดำเนินการอยู่ มิได้ยุบกองทุนไป จำเลยต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกองทุนซึ่งรวมถึงการส่งเงินสมทบในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนสมาชิก ต่อไป การที่จำเลยเปลี่ยนแปลงอัตราการส่งเงินสมทบจากอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนสมาชิก เป็นอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือนสมาชิก อันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างซึ่งไม่เป็นคุณแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยจึงต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสองก่อน เมื่อไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งสอง จำเลยจึงเปลี่ยนแปลงการส่งเงินสมทบลดลงเป็นอัตราร้อยละ 5 ของเงินเดือนสมาชิก ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12493/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีแจ้งข้อมูลเท็จเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น แม้กระทำในคราวเดียวกัน
แม้จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัทสองบริษัทไปเป็นของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน แต่ ป.อ. มาตรา 91 มิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในคราวเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ คดีนี้ โดยสภาพของการกระทำจำเลยต้องแจ้งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร ให้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นทีละบริษัท การที่จำเลยแจ้งต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครครั้งหนึ่งก็เป็นความผิดสำเร็จกระทงหนึ่งแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10786/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากปลอมแปลงเอกสารเป็นใช้เอกสารปลอม ทำให้ข้ออุทธรณ์เกินกรอบฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจปลอมขึ้นทั้งฉบับและลงลายมือชื่อโจทก์ปลอมในช่องผู้มอบอำนาจ แล้วนำไปใช้หรืออ้างต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 83, 264 วรรคแรก, 268 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกรอกข้อความลงในหนังสือมอบอำนาจซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมหรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ มิได้ร่วมกันทำหนังสือมอบอำนาจปลอมขึ้นทั้งฉบับและลงลายมือชื่อโจทก์ปลอมในช่องผู้มอบอำนาจดังฟ้อง ศาลย่อมลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 83 ไม่ได้ เพราะนอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคสอง และมาตรา 83 จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
of 40