พบผลลัพธ์ทั้งหมด 567 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขวางอำนาจศาลโดยไม่ส่งเอกสาร ไม่ทำให้โจทก์เสียหายโดยตรง จึงไม่เป็นผู้เสียหาย
โจทก์นำหมายศาลที่สั่งเรียกเอกสารซึ่งอยู่ในครอบครองของจำเลยส่งให้จำเลยที่ศาล จำเลยรับหมายแล้วกล่าวว่า เป็นเรื่องบ้า ๆ บอ ๆ แล้วทิ้งหมายลงบนพื้นทางเดิน ต่อมาโจทก์ได้ให้พนักงานศาลนำส่งหมายเรียกเอกสารเหล่านั้นแก่จำเลยอีก จำเลยจงใจขัดอำนาจศาล ไม่ยอมส่งเอกสารต่อศาล ถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 ข้อ 4 ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง กรณีนี้เป็นเพียงเรื่องที่งดเว้นไม่ยอมกระทำการอย่างหนึ่งขึ้นเท่านั้น สิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยไม่ได้มีต่อกันโดยตรงที่จะต้องให้เอกสารนั้นมาดู การไม่ยอมส่งของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการงดเว้นที่ล่วงสิทธิหน้าที่ของโจทก์ โจทก์ไม่ใช่เป็นผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขวางอำนาจศาลและการไม่เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายอาญา
โจทก์นำหมายศาลที่สั่งเรียกเอกสารซึ่งอยู่ในครอบครองของจำเลยส่งให้จำเลยที่ศาล จำเลยรับหมายแล้วกล่าวว่า เป็นเรื่องบ้าๆบอๆ แล้วทิ้งหมายลงบนพื้นทางเดิน ต่อมาโจทก์ได้ให้พนักงานศาลนำส่งหมายเรียกเอกสารเหล่านั้นแก่จำเลยอีก จำเลยจงใจขัดอำนาจศาล ไม่ยอมส่งเอกสารต่อศาล ถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 ข้อ 4ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง กรณีนี้เป็นเพียงเรื่องที่งดเว้นไม่ยอมกระทำการอย่างหนึ่งขึ้นเท่านั้น สิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยไม่ได้มีต่อกันโดยตรงที่จะต้องให้เอกสารนั้นมาดู การไม่ยอมส่งของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการงดเว้นที่ล่วงสิทธิหน้าที่ของโจทก์ โจทก์ไม่ใช่เป็นผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขวางการส่งเอกสารตามหมายศาล ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้เสียหายที่จะฟ้องอาญาได้
โจทก์นำหมายศาลที่สั่งเรียกเอกสารซึ่งอยู่ในครอบครองของจำเลยส่งให้จำเลยที่ศาล. จำเลยรับหมายแล้วกล่าวว่า เป็นเรื่องบ้าๆบอๆ แล้วทิ้งหมายลงบนพื้นทางเดิน. ต่อมาโจทก์ได้ให้พนักงานศาลนำส่งหมายเรียกเอกสารเหล่านั้นแก่จำเลยอีก. จำเลยจงใจขัดอำนาจศาล. ไม่ยอมส่งเอกสารต่อศาล. ถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย.เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 ข้อ 4.ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง. กรณีนี้เป็นเพียงเรื่องที่งดเว้นไม่ยอมกระทำการอย่างหนึ่งขึ้นเท่านั้น. สิทธิหน้าที่ของโจทก์จำเลยไม่ได้มีต่อกันโดยตรงที่จะต้องให้เอกสารนั้นมาดู. การไม่ยอมส่งของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการงดเว้นที่ล่วงสิทธิหน้าที่ของโจทก์. โจทก์ไม่ใช่เป็นผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807-808/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายข้าวเปลือกเกิน 500 บาท แม้ไม่มีเอกสาร แต่การตวงข้าวถือเป็นการชำระหนี้ โจทก์ฟ้องได้
การซื้อขายข้าวเปลือกราคาเกินกว่า 500 บาท เมื่อจำเลยตวงข้าวไปจากโจทก์แล้ว ถือได้ว่ามีการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 แล้ว แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ก็ฟ้องเรียกราคาข้าวจากจำเลยได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (2) ที่ห้ามไม่ให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาข้าวที่ขายให้จำเลยโดยไม่มีเอกสารเป็นหนังสือมาแสดง แม้เอกสารจะมีข้อความว่า " รับฝากข้าวเปลือก" โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็นเรื่องซื้อขายข้าวกัน
จำเลยที่ 2 กระทำในนามผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เอาตราของบริษัทจำเลยที่ 1 มาดีประทับด้วย ถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ซื้อข้าวไปจากโจทก์ แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซื้อเชื่อข้าวเปลือกเจ้าจากโจทก์ ดังนี้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ผู้ประกอบกสิกรรมฟ้องเรียกเอาค่าผลิตผลแห่งกสิกรรมที่ได้ขายให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทโรงสี กรณีไม่เข้าอยู่ในบังคับแห่งอายุความ 2 ปี อายุความจึงมีกำหนด 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (2) ที่ห้ามไม่ให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้น ต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงเท่านั้น กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาข้าวที่ขายให้จำเลยโดยไม่มีเอกสารเป็นหนังสือมาแสดง แม้เอกสารจะมีข้อความว่า " รับฝากข้าวเปลือก" โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็นเรื่องซื้อขายข้าวกัน
จำเลยที่ 2 กระทำในนามผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้เอาตราของบริษัทจำเลยที่ 1 มาดีประทับด้วย ถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ซื้อข้าวไปจากโจทก์ แทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยซื้อเชื่อข้าวเปลือกเจ้าจากโจทก์ ดังนี้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ผู้ประกอบกสิกรรมฟ้องเรียกเอาค่าผลิตผลแห่งกสิกรรมที่ได้ขายให้จำเลยซึ่งเป็นบริษัทโรงสี กรณีไม่เข้าอยู่ในบังคับแห่งอายุความ 2 ปี อายุความจึงมีกำหนด 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญากู้เป็นหลักฐานหนี้พนัน จำเลยมีสิทธิหักล้างได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธการกู้เงินและปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากู้ให้โจทก์ ลายมือชื่อในสัญญากู้เป็นลายมือชื่อที่จำเลยที่ 1 ลงไว้ในแบบพิมพ์สัญญากู้มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นหลักฐานแห่งหนี้การพนันที่จำเลยที่ 1 เสียแก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้กรอกข้อความอื่นลงในแบบพิมพ์นั้น สัญญากู้ที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม ดังนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมนำสืบหักล้างตามข้อต่อสู้ได้ เพราะมิใช่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องยักยอกเงินภาษีไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดทรัพย์สิน และความรับผิดของโจทก์จากการลงชื่อรับรองเอกสาร
ฟ้องคดีอาญาที่มิได้บรรยายให้ได้ความชัดว่าจำเลยยักยอกเงินที่พวกโจทก์มอบให้จำเลยไปเสียภาษีเท่าใด คงกล่าวไว้มีใจความสำคัญแต่เพียงจำนวนเงินที่มอบให้จำเลยไป จำนวนที่ต้องเสียภาษีรายเดือน จำนวนเงินเหลือรายเดือน จำนวนที่เหลือนี้ได้ตกลงให้จำเลยเก็บรักษาไว้เสียภาษีปลายปี เมื่อโจทก์ถูกสรรพากรเรียกไปพบหาว่าเสียภาษีไม่ครบจึงทราบว่าจำเลยยักยอกเงินที่มอบไป โดยเสียภาษีไม่ครบเท่านั้น ฟ้องของโจทก์จึงขาดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกียวกับทรัพย์หรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับข้อหาว่าจำเลยเบียดบังยักยอกไปอันเป็นสารสำคัญ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
โจทก์ได้เห็นและทราบรายการที่ได้กรอกไว้ในแบบ ภ.ค.4 เพื่อชำระภาษีการค้าที่จำเลยนำมาให้โจทก์เซ็นชื่อเป็นผู้ยื่น โจทก์ได้เซ็นชื่อลงไป จึงต้องรับผิดชอบในความถูกต้องแท้จริงของข้อความตลอดจนจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นการกระทำของโจทก์เอง
โจทก์ได้เห็นและทราบรายการที่ได้กรอกไว้ในแบบ ภ.ค.4 เพื่อชำระภาษีการค้าที่จำเลยนำมาให้โจทก์เซ็นชื่อเป็นผู้ยื่น โจทก์ได้เซ็นชื่อลงไป จึงต้องรับผิดชอบในความถูกต้องแท้จริงของข้อความตลอดจนจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นการกระทำของโจทก์เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำให้การ, การนำสืบพยานหลักฐาน, และการสืบพยานบุคคลแทนเอกสารสัญญาซื้อขาย
จำเลยยื่นคำร้องมีข้อความว่า จำเลยขอให้การปฏิเสธ และติดใจที่จะต่อสู้คดี ไม่ขอให้การใดๆ ก่อนสืบพยานโจทก์ และต่อมาในระยะเวลาที่จำเลยจะยื่นคำให้การได้ จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีไว้ ดังนี้ ศาลชอบที่จะรับคำให้การของจำเลยไว้ได้ หาใช่จำเลยได้แสดงความจำนงไม่ใช้สิทธิต่อสู้คดีไม่
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่า ส.ค. 1 ของจำเลยเป็นเอกสารปลอม โจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างนั้น การที่โจทก์แถลงคัดค้านไว้ ไม่ทำให้หน้าที่นำสืบของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป
จำเลยขอสืบพยานบุคคลแทนหนังสือสัญญาซื้อขาย ระบุชัดแจ้งว่าหนังสือสัญญาหายสาปสูญค้นหาไม่พบ โจทก์คัดค้านแต่เพียงว่า เป็นคำร้องกำกวมเคลือบคลุม ศาลย่อมอนุญาตให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแทนได้
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่า ส.ค. 1 ของจำเลยเป็นเอกสารปลอม โจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างนั้น การที่โจทก์แถลงคัดค้านไว้ ไม่ทำให้หน้าที่นำสืบของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป
จำเลยขอสืบพยานบุคคลแทนหนังสือสัญญาซื้อขาย ระบุชัดแจ้งว่าหนังสือสัญญาหายสาปสูญค้นหาไม่พบ โจทก์คัดค้านแต่เพียงว่า เป็นคำร้องกำกวมเคลือบคลุม ศาลย่อมอนุญาตให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารภาพถ่ายไม่เป็นหลักฐานได้ + วินิจฉัยนอกฟ้อง
ภาพถ่ายเอกสาร(ซึ่งถ่ายจากต้นฉบับ) ไม่ใช่ต้นฉบับของเอกสาร จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93
ฟ้องว่าเป็นหุ้นส่วนกันตามหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วน เมื่อศาลไม่เชื่อว่าเป็นหุ้นส่วนกันตามหนังสือสัญญาหุ้นส่วนนั้น ศาลจะนำพฤติการณ์อื่นซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องมาวินิจฉัยว่ามีหุ้นส่วนกันมิได้เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
ฟ้องว่าเป็นหุ้นส่วนกันตามหนังสือสัญญาเข้าหุ้นส่วน เมื่อศาลไม่เชื่อว่าเป็นหุ้นส่วนกันตามหนังสือสัญญาหุ้นส่วนนั้น ศาลจะนำพฤติการณ์อื่นซึ่งโจทก์มิได้ฟ้องมาวินิจฉัยว่ามีหุ้นส่วนกันมิได้เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเอกสารประกอบคำร้องสอด และอายุความในการเรียกร้องตามพินัยกรรม การครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
ขณะที่ยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมนั้น จำเลยร่วมได้แนบสำเนาเอกสารมาพร้อมกับคำร้อง เมื่ออ้างเอกสารนั้นเป็นพยานจำเลยร่วมจึงไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้โจทก์อีก
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยซึ่งปกครองร่วมกันมา จำเลยร่วมซึ่งปกครองทรัพย์นั้นอยู่ด้วยได้ยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมหลังจากที่โจทก์ฟ้องประมาณ 3 เดือน เพื่อสู้คดีมิให้โจทก์ขอแบ่งทรัพย์สิน มิใช่เรียกร้องเอาทรัพย์มรดก โจทก์จะยกอายุความขึ้นอ้างว่าคดีของจำเลยร่วมขาดอายุความไม่ได้
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์จากจำเลยซึ่งปกครองร่วมกันมา จำเลยร่วมซึ่งปกครองทรัพย์นั้นอยู่ด้วยได้ยื่นคำร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมหลังจากที่โจทก์ฟ้องประมาณ 3 เดือน เพื่อสู้คดีมิให้โจทก์ขอแบ่งทรัพย์สิน มิใช่เรียกร้องเอาทรัพย์มรดก โจทก์จะยกอายุความขึ้นอ้างว่าคดีของจำเลยร่วมขาดอายุความไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนายกทรัพย์เมื่อตายแล้ว คำว่า 'พินัยกรรม' แสดงเจตนาชัดเจน เอกสารเข้าลักษณะพินัยกรรมตามกฎหมาย
การที่เจ้ามรดกใช้คำว่า 'ขอทำพินัยกรรม' ตามความเข้าใจของสามัญชนทั่วไปย่อมเข้าใจว่าเจตนาจะยกทรัพย์สมบัติให้เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วการยกทรัพย์ให้เมื่อยังมีชีวิตอยู่ สามัญชนทั่วไปย่อมไม่ใช้คำว่า พินัยกรรม ทั้งเอกสารก็ไม่มีข้อความที่มุ่งแสดงไปในทางอื่นเช่น ตั้งใจยกทรัพย์ให้ตั้งแต่เจ้ามรดกมีชีวิตอยู่ ข้อความในเอกสารจึงแสดงเจตนาของเจ้ามรดกไปในทางเดียวว่า ให้ยกทรัพย์ให้แก่ผู้มีชื่อตามเอกสารเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วเอกสารดังกล่าวจึงเข้าลักษณะพินัยกรรมตามกฎหมาย