พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3221/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยลายเซ็นปลอมและการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์
จำเลยที่ 1 ปลอมลายเซ็นชื่อโจทก์ลงในใบมอบอำนาจร่วมกับลายเซ็นแท้จริงของจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 จัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาททั้งแปลง รวมทั้งส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 รับโอนแล้วได้ครอบครองที่พิพาทตลอดมา ดังนี้การโอนที่พิพาทส่วนของโจทก์ตามลายเซ็นปลอมนั้น ไม่ผูกพันโจทก์ที่พิพาทอันเป็นส่วนของโจทก์ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ครอบครองที่พิพาทอันเป็นส่วนของโจทก์โดยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี โจทก์ได้รู้เห็นแล้วยังคงปล่อยให้จำเลยที่ 3ครอบครองตลอดมา จำเลยที่ 3 ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทส่วนของโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญาซื้อขายแล้ว โจทก์ขอบังคับเรียกค่าปรับ/โอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ ค่าเสียหายพิเศษ/ดอกเบี้ยจำเลยไม่ต้องรับผิด
เมื่อทั้งโจทก์และจำเลยต่างสมัครใจตกลงเลิกสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกันแล้ว โจทก์จะมาขอให้ศาลบังคับเรียกค่าปรับจากจำเลยและขอให้จำเลยจัดการโอนที่ดินพิพาทขายให้แก่โจทก์ในภายหลังอีกหาได้ไม่
จำเลยจะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเพราะต้องถูกริบเงินมัดจำตามสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกแก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นค่าเสียหายพิเศษที่โจทก์ไม่อาจจะคาดคิด หาได้ไม่
ดอกเบี้ยที่จำเลยต้องเสียให้แก่ธนาคาร ไม่ว่าจะมีการเลิกสัญญาซื้อขายที่พิพาทหรือไม่นั้น มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาอันจำเลยจะเรียกร้องจากโจทก์ได้
จำเลยจะฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายเพราะต้องถูกริบเงินมัดจำตามสัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกแก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นค่าเสียหายพิเศษที่โจทก์ไม่อาจจะคาดคิด หาได้ไม่
ดอกเบี้ยที่จำเลยต้องเสียให้แก่ธนาคาร ไม่ว่าจะมีการเลิกสัญญาซื้อขายที่พิพาทหรือไม่นั้น มิใช่ค่าเสียหายโดยตรงอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาอันจำเลยจะเรียกร้องจากโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ของผู้ขายในการส่งมอบทรัพย์สินและขจัดข้อขัดแย้งก่อนการโอนกรรมสิทธิ์ รวมถึงเบี้ยปรับจากสัญญา
หน้าที่ของจำเลยผู้ขายที่ดินและห้องแถว นอกจากจะต้องจดทะเบียนเพื่อให้การซื้อขายสมบูรณ์ มีผลให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์โอนไปยังโจทก์ผู้ซื้อแล้ว จำเลยยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์นั้นแก่โจทก์ โดยกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะเป็นผลให้ทรัพย์นั้นไปอยู่ในเงื้อมมือของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 และ 462 อีกด้วย หาใช่เพียงแต่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แล้วก็ถือว่าผู้รับโอนได้เข้าครอบครองทรัพย์ทีเดียวโดยไม่ต้องมีการส่งมอบกันอีกไม่
เมื่อมีการรบกวนขัดสิทธิปรากฏขึ้นก่อนที่จะมีการโอนต่อกันก็ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ขายจะต้องขจัดเหตุนั้นให้หมดไปเสียก่อนจะบังคับให้โจทก์รับโอนไปทั้ง ๆ ที่การรบกวนขัดสิทธิดังกล่าวยังมีอยู่ไม่ได้ แม้จำเลยจะยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์ แต่เมื่อจำเลยปฏิเสธหน้าที่ในการส่งมอบทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยังไม่ยอมรับโอนได้ และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
การที่จำเลยได้ตกลงไว้ล่วงหน้าในสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นค่าเสียหายในกรณีที่ตนผิดสัญญา ย่อมถือว่าเงินค่าเสียหายจำนวนที่กำหนดไว้นั้นเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนด โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาจากจำเลยได้ตามข้อตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 และ 381 โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบในเรื่องค่าเสียหาย
เมื่อมีการรบกวนขัดสิทธิปรากฏขึ้นก่อนที่จะมีการโอนต่อกันก็ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ขายจะต้องขจัดเหตุนั้นให้หมดไปเสียก่อนจะบังคับให้โจทก์รับโอนไปทั้ง ๆ ที่การรบกวนขัดสิทธิดังกล่าวยังมีอยู่ไม่ได้ แม้จำเลยจะยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อขายกันให้แก่โจทก์ แต่เมื่อจำเลยปฏิเสธหน้าที่ในการส่งมอบทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยังไม่ยอมรับโอนได้ และถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
การที่จำเลยได้ตกลงไว้ล่วงหน้าในสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้เป็นค่าเสียหายในกรณีที่ตนผิดสัญญา ย่อมถือว่าเงินค่าเสียหายจำนวนที่กำหนดไว้นั้นเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนด โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาจากจำเลยได้ตามข้อตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 และ 381 โดยโจทก์ไม่จำต้องนำสืบในเรื่องค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกในการเรียกร้องทรัพย์สินตามพินัยกรรม และการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาท
โจทก์ฎีกาว่า ปัญหาอำนาจฟ้องยุติ คงมีปัญหาเพียงว่าที่พิพาทเป็นของผู้ตายใส่ชื่อจำเลยไว้แทนหรือเป็นของจำเลยจำเลยแก้ฎีกาว่า ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ และขอถือว่ามีประเด็นข้อนี้ในชั้นฎีกาด้วย ซึ่งถูกต้องตามคำแก้ฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ให้
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วยเพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1715 วรรค 2 และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719, 1736
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วยเพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1715 วรรค 2 และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719, 1736
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกและการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทตามพินัยกรรม
โจทก์ฎีกาว่า ปัญหาอำนาจฟ้องยุติ คงมีปัญหาเพียงว่าที่พิพาทเป็นของผู้ตายใส่ชื่อจำเลยไว้แทนหรือเป็นของจำเลยจำเลยแก้ฎีกาว่า ในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้แก้อุทธรณ์โต้แย้งอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ และขอถือว่ามีประเด็นข้อนี้ในชั้นฎีกาด้วย ซึ่งถูกต้องตามคำแก้ฎีกา แต่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์ ซึ่งมีประเด็นในชั้นอุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นอำนาจฟ้องของโจทก์ให้
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วย เพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1715 วรรคสอง และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1736
โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมเรียกร้องให้จำเลยคืนที่พิพาทเพื่อจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมของผู้ตาย ช. ผู้จัดการมรดกร่วมอีกคนหนึ่งไม่ได้เป็นโจทก์ฟ้องด้วย เพราะ ช. เป็นภริยาจำเลย เป็นผู้รับโอนที่พิพาทแทนจำเลยและเป็นพยานจำเลยด้วย แสดงชัดว่า ช. ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1715 วรรคสอง และเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะฟ้องได้ในระหว่างจัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719, 1736
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากผู้ครอบครองโดยมิชอบ และการโอนสิทธิเรียกร้องส่งผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์
เจ้าของทรัพย์มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336เครื่องปรับอากาศได้ถูกนำไปติดตั้งใช้ประโยชน์ในบ้านเช่าโดยผู้เช่านำไปติดตั้งไว้ เมื่อผู้เช่าย้ายไปอยู่ที่อื่น โดยไม่ได้ขนย้ายเอาเครื่องปรับอากาศนั้นไปด้วย เครื่องปรับอากาศนั้นย่อมตกอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของเครื่องปรับอากาศย่อมจะเรียกร้องเอาคืนจากเจ้าของบ้านหลังนั้นได้ เมื่อเจ้าของบ้านตายบ้านเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาท เจ้าของเครื่องปรับอากาศย่อมใช้สิทธิเรียกเอาคืนจากจำเลยได้ การที่ทายาทของผู้ตายได้ตกลงตั้งสำนักงานจัดผลประโยชน์ในทรัพย์มรดกขึ้นเพื่อประโยชน์ในระหว่างทายาทด้วยกันเอง หามีผลลบล้างหน้าที่ของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์นั้นไม่
การที่เจ้าของทรัพย์โอนสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเครื่องปรับอากาศรายนี้แก่โจทก์มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นต่อกันโดยตรงหาใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยได้โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวแจ้งการโอน
สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งตัวทรัพย์สินนั้น โจทก์จะเจาะจงเรียกเอาแต่ราคาของทรัพย์ โดยที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่อาจที่จะคืนทรัพย์นั้นได้ด้วยเหตุใด หาได้ไม่ แม้โจทก์จะเรียกเอาแต่ราคาทรัพย์ ก็มีผลเหมือนกับเรียกเอาทรัพย์ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์เสียก่อนได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ
การที่เจ้าของทรัพย์โอนสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเครื่องปรับอากาศรายนี้แก่โจทก์มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นต่อกันโดยตรงหาใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยได้โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวแจ้งการโอน
สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งตัวทรัพย์สินนั้น โจทก์จะเจาะจงเรียกเอาแต่ราคาของทรัพย์ โดยที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่อาจที่จะคืนทรัพย์นั้นได้ด้วยเหตุใด หาได้ไม่ แม้โจทก์จะเรียกเอาแต่ราคาทรัพย์ ก็มีผลเหมือนกับเรียกเอาทรัพย์ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์เสียก่อนได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามทรัพย์คืนจากผู้ครอบครองโดยไม่ชอบ และการโอนสิทธิเรียกร้องที่ทำให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์โอนไปด้วย
เจ้าของทรัพย์มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336เครื่องปรับอากาศได้ถูกนำไปติดตั้งใช้ประโยชน์ในบ้านเช่าโดยผู้เช่านำไปติดตั้งไว้ เมื่อผู้เช่าย้ายไปอยู่ที่อื่น โดยไม่ได้ขนย้ายเอาเครื่องปรับอากาศนั้นไปด้วยเครื่องปรับอากาศนั้นย่อมตกอยู่ในความครอบครองของบุคคลผู้เป็นเจ้าของบ้าน เจ้าของเครื่องปรับอากาศย่อมจะเรียกร้องเอาคืนจากเจ้าของบ้านหลังนั้นได้ เมื่อเจ้าของบ้านตายบ้านเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาท เจ้าของเครื่องปรับอากาศย่อมใช้สิทธิเรียกเอาคืนจากจำเลยได้ การที่ทายาทของผู้ตายได้ตกลงตั้งสำนักงานจัดผลประโยชน์ในทรัพย์มรดกขึ้นเพื่อประโยชน์ในระหว่างทายาทด้วยกันเอง หามีผลลบล้างหน้าที่ของจำเลยที่มีต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นเจ้าของร่วมในทรัพย์นั้นไม่
การที่เจ้าของทรัพย์โอนสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเครื่องปรับอากาศรายนี้แก่โจทก์มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นต่อกันโดยตรง หาใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยได้โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวแจ้งการโอน
สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งตัวทรัพย์สินนั้น โจทก์จะเจาะจงเรียกเอาแต่ราคาของทรัพย์ โดยที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่อาจที่จะคืนทรัพย์นั้นได้ด้วยเหตุใด หาได้ไม่ แม้โจทก์จะเรียกเอาแต่ราคาทรัพย์ ก็มีผลเหมือนกับเรียกเอาทรัพย์ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์เสียก่อนได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ
การที่เจ้าของทรัพย์โอนสิทธิที่จะเรียกร้องเอาเครื่องปรับอากาศรายนี้แก่โจทก์มีผลเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นต่อกันโดยตรง หาใช่เป็นการโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาทรัพย์ดังกล่าวจากจำเลยได้โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวแจ้งการโอน
สิทธิเรียกร้องเอาคืนซึ่งตัวทรัพย์สินนั้น โจทก์จะเจาะจงเรียกเอาแต่ราคาของทรัพย์ โดยที่ไม่ปรากฏว่าจำเลยไม่อาจที่จะคืนทรัพย์นั้นได้ด้วยเหตุใด หาได้ไม่ แม้โจทก์จะเรียกเอาแต่ราคาทรัพย์ ก็มีผลเหมือนกับเรียกเอาทรัพย์ ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์เสียก่อนได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1437/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีเช่าทรัพย์สินราคาไม่สูง และผลผูกพันสัญญาเช่าเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าไม่เกินเดือนละสองพันบาท และเรียกค่าเสียหายไม่เกินสองพันบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัย ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์หากจำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณา แม้คดีที่โจทก์ฟ้องต้องห้ามคดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจไม่ต้องห้าม
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดระยะเวลาเช่า 12 ปี ซึ่งผู้เช่าเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้เต็ม 12 ปีตามสัญญา แต่มีผลใช้บังคับผู้รับโอนตึกต่อไปได้เพียง 3 ปี เพราะมิได้จดทะเบียนเว้นแต่ผู้รับโอนนั้นจะได้ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิมต่อไปอันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากผู้รับโอนซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต อ้างข้อเท็จจริงที่หาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตต่างกับที่อ้างในศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ เป็นฎีกาต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องแยกพิจารณา แม้คดีที่โจทก์ฟ้องต้องห้ามคดีที่จำเลยฟ้องแย้งก็อาจไม่ต้องห้าม
สัญญาเช่าตึกมีกำหนดระยะเวลาเช่า 12 ปี ซึ่งผู้เช่าเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลใช้บังคับระหว่างคู่สัญญาได้เต็ม 12 ปีตามสัญญา แต่มีผลใช้บังคับผู้รับโอนตึกต่อไปได้เพียง 3 ปี เพราะมิได้จดทะเบียนเว้นแต่ผู้รับโอนนั้นจะได้ตกลงยินยอมเข้าผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นแทนผู้ให้เช่าเดิมต่อไปอันเป็นการตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกซึ่งจะทำให้บุคคลภายนอกคือผู้เช่ามีสิทธิเรียกร้องชำระหนี้จากผู้รับโอนซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 374
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต อ้างข้อเท็จจริงที่หาว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตต่างกับที่อ้างในศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับอุทธรณ์มาและศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้หรือไม่ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าได้ยกขึ้นว่ามาแล้วในศาลอุทธรณ์โดยชอบ เป็นฎีกาต้องห้าม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเดิมผูกพันเฉพาะคู่สัญญาเดิม ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันหากเกิน 3 ปี
จำเลยเช่าตึกแถวของ อ. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญากันเองไว้ล่วงหน้า 3 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี 3 ฉบับ อีกฉบับหนึ่ง 1 ปี แม้จำเลยจะอ้างว่าสัญญาเช่ารายนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือการเช่าธรรมดาเพราะจำเลยได้เสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ อ. ก็ตาม แต่เมื่อมิได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าดังกล่าวก็มีผลผูกพันระหว่างจำเลยกับ อ. เท่านั้น
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2077/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาเช่าเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์: สัญญาเช่าที่มีอายุเกิน 3 ปี ไม่ผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์
จำเลยเช่าตึกแถวของ อ. มีกำหนด 10 ปี โดยทำสัญญากันเองไว้ล่วงหน้า 3 ฉบับ ๆ ละ 3 ปี 3 ฉบับ อีกฉบับหนึ่ง 1 ปี แม้จำเลยจะอ้างว่าสัญญาเช่ารายนี้เป็นสัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือการเช่าธรรมดาเพราะจำเลยได้เสียเงินช่วยค่าก่อสร้างให้ อ. ก็ตาม แต่เมื่อมิได้จดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาเช่าดังกล่าวก็มีผลผูกพันระหว่างจำเลยกับอ. เท่านั้น
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป
ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์นั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนตึกพิพาทมาโดยสุจริตแม้โจทก์จะทราบว่า อ. กับจำเลยมีข้อตกลงอยู่จริง แต่ในกรณีเช่นนี้ก็หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่
แม้สัญญาดังกล่าวจะได้ทำเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทนี้ภายในระยะ 3 ปีเท่านั้น เมื่อโจทก์รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทมาภายหลังกำหนด 3 ปีแล้ว โจทก์จึงไม่ถูกผูกพันที่จะต้องให้จำเลยเช่าต่อไป