พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำซ้อนในคดีความผิดเกี่ยวเนื่องกัน ศาลต้องคำนึงถึงบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(2)
คดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 2165/2561 ถึง 2171/2561 ของศาลชั้นต้นมีลักษณะแห่งคดี และความผิดเป็นอย่างเดียวเกี่ยวพันกัน จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกัน โจทก์จึงอาจจะฟ้องคดีทั้งแปดสำนวนเป็นคดีเดียวกันได้ แต่โจทก์แยกฟ้องคดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 2165/2561 ถึง 2171/2561 โดยศาลชั้นต้นมิได้สั่งรวมการพิจารณาคดีนี้เข้ากับคดีหมายเลขแดงที่ 2165/2561 ถึง 2171/2561 ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทุกกรรมและจำคุกจำเลยมีกำหนด 20 ปี เต็มตามที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 91 (2) ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2165/2561 ถึง 2171/2561 ของศาลชั้นต้นแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมไม่อาจนำโทษของจำเลยในคดีนี้ไปนับต่อกับโทษของจำเลยในคดีหมายเลขแดงที่ 2165/2561 ถึง 2171/2561 ของศาลชั้นต้นได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกเกินกำหนดที่ ป.อ. มาตรา 91 (2) บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1475/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการรับเงินค่าปรับของเทศบาล: เงินค่าปรับที่ศาลจัดเก็บต้องส่งคลัง ไม่ใช่รายได้ของเทศบาล
พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 มาตรา 34 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บรรดาเงินที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์... ให้นำส่งคลังตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การดำเนินการเกี่ยวกับเงินตามบทบัญญัตินี้ จึงมีข้อต้องพิจารณาว่าเป็นเงินที่หน่วยงานของรัฐนั้น ๆ จัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์หรือไม่ แม้ พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 66 (2) กำหนดให้เทศบาลอาจมีรายได้จากค่าปรับตามแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้ และ พ.ร.บ.รายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 6 กำหนดให้บรรดาค่าปรับเนื่องในกิจการซึ่งเทศบาลได้รับมอบให้เป็นเจ้าหน้าที่อนุวัตการตามกฎหมายใด ให้เป็นรายได้ของเทศบาลนั้นก็ตาม แต่เงินค่าปรับดังกล่าวต้องเป็นกรณีที่ผู้ร้องจัดเก็บหรือได้รับไว้เองอันเนื่องมาจากการปฏิบัติตามกฎหมายที่มอบให้เป็นหน้าที่ของผู้ร้องโดยตรงด้วย ทั้งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีเพียงมาตรา 74 วรรคหกเท่านั้นที่กำหนดให้เฉพาะค่าปรับที่เปรียบเทียบโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีตกเป็นของราชการส่วนท้องถิ่นโดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน โดยเป็นการบัญญัติโยงกับความผิดฐานต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้ตามมาตรา 74 วรรคสอง เมื่อค่าปรับที่จำเลยชำระต่อศาลชั้นต้นในคดีเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาอันเป็นการบังคับโทษในทางอาญาตาม ป.อ. มาตรา 28 มิใช่เงินที่ผู้ร้องจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์อันเนื่องมาจากการเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายที่มอบให้เป็นหน้าที่ของผู้ร้องโดยตรง หรือเป็นค่าปรับที่เกิดจากการเปรียบเทียบของคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิรับเงินค่าปรับที่จำเลยชำระตามคำพิพากษาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2562 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพจำเลยและการพิจารณาคดีอาญา ศาลต้องตรวจสอบพยานหลักฐานแม้จำเลยรับสารภาพ และการลดโทษที่เหมาะสม
แม้ศาลชั้นต้นจะนำแบบพิมพ์คำให้การจำเลย (คดีรับสารภาพไม่ต้องสืบพยาน) มาใช้แต่ก็ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่อยู่ด้านหลังแบบพิมพ์คำให้การดังกล่าวว่า นัดสอบคำให้การวันนี้ โจทก์และจำเลยมาศาล ก่อนเริ่มพิจารณาศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนายความแล้ว จำเลยแถลงว่าไม่มีและไม่ต้องการทนายความ อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง โจทก์และจำเลยแถลงไม่สืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณาให้รอฟังคำพิพากษาวันนี้ และได้อ่านคำพิพากษาให้โจทก์จำเลยฟังในวันนั้นเอง โดยโจทก์จำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวแล้ว ดังนี้ หากโจทก์เห็นว่าการที่จำเลยให้การรับสารภาพ แล้วโจทก์จะต้องสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 240 โจทก์ก็ชอบที่จะคัดค้านหรือแถลงขอสืบพยานโจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน โจทก์จึงไม่มีพยานหลักฐานที่จะให้ศาลฟังลงโทษจำเลยในบทมาตราดังกล่าวได้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาชอบแล้วคดีจึงไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตราเพื่อให้เป็นธนบัตรซึ่งรัฐบาลออกใช้ตาม ป.อ. มาตรา 240 โดยใช้เครื่องพิมพ์ของกลางพิมพ์ธนบัตรปลอมออกมา เครื่องพิมพ์ของกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดฐานดังกล่าว และเครื่องพิมพ์ของกลางมิใช่ทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดมีไว้เป็นความผิด ศาลย่อมไม่มีอำนาจสั่งริบให้ได้ตาม ป.อ. มาตรา 32 จึงให้คืนแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุและการใช้ดุลพินิจของศาลในคดีพยายามฆ่า
การที่ผู้เสียหายกับพวกขว้างปาขวดสุราและไม้เข้าไปยังบริเวณที่จำเลยและ ว. หลบซ่อนอยู่โดยจำเลยและ ว. มิได้ก่อเหตุขึ้นก่อน ย่อมเป็นเหตุทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายกับพวกซึ่งมีจำนวนมากกว่ามีเจตนาประทุษร้ายจำเลยและ ว. อันเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยจึงมีสิทธิกระทำการป้องกันเพื่อให้พ้นจากภยันตรายดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับพวกมีอาวุธร้ายแรงอื่นใดอีก การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวกย่อมไม่ได้สัดส่วนกับการป้องกันตัวของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิด เมื่อกระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายสาหัส จำเลยมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นอันเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3629/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาคำสั่งศาลที่เห็นว่าคดีไม่มีมูล ต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะอุทธรณ์ฎีกา มิใช่ทุกคดี
ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คำสั่งของศาลที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาด แต่คำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลนั้น โจทก์มีอำนาจอุทธรณ์ฎีกาได้ตามบทบัญญัติว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา" ซึ่งหมายความว่า การอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูล ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยลักษณะอุทธรณ์ฎีกา มิใช่โจทก์สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ทุกคดีเสมอไป
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 (เดิม) มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดทางอาญา แต่เป็นเรื่องทางแพ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ที่โจทก์ฎีกาว่า คดีของโจทก์มีมูลความผิดตามฟ้องแล้ว ขอให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป จึงถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้มีการรับรองหรือขออนุญาตให้ฎีกามาด้วย ก็ไม่อาจดำเนินการให้ได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยให้ได้
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 (เดิม) มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดทางอาญา แต่เป็นเรื่องทางแพ่ง และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เนื่องจากเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ที่โจทก์ฎีกาว่า คดีของโจทก์มีมูลความผิดตามฟ้องแล้ว ขอให้ศาลประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป จึงถือเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 แม้โจทก์จะยื่นคำร้องขอให้มีการรับรองหรือขออนุญาตให้ฎีกามาด้วย ก็ไม่อาจดำเนินการให้ได้ เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์มาจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่อาจรับวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3131/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีอาญา: การฟ้องคดีเดียวกันซ้ำซ้อนที่ศาลต่างกันเป็นเหตุให้ฟ้องเป็นอันตกตามกฎหมาย
เมื่อพิจารณาสาระสำคัญแห่งคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสี่กับพวกอีก 2 คน ในคดีก่อนเปรียบเทียบกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสี่ในคดีนี้แล้ว จะเห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสิบสี่ฟ้องกล่าวหาจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนซึ่งเป็นจำเลยในคดีนี้ กระทำความผิดทั้งสองคดีในช่วงวันเวลาเดียวกัน อีกทั้งมูลเหตุแห่งการกระทำความผิดทั้งสองคดีก็เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสิบสี่กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนซึ่งเป็นจำเลยในคดีนี้ นำเอาข้อความ ข้อเท็จจริง หรือข้อมูลอันเป็นความลับที่ปรากฏในรายงานการตรวจสอบสืบสวนเรื่องการทุจริตในมหาวิทยาลัย ว. ที่จำเลยจัดทำขึ้นไปเปิดเผยหรือแจ้งข่าวแก่สื่อมวลชนโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสิบสี่ แม้คดีก่อน โจทก์ทั้งสิบสี่ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะบุคคลธรรมดาในฐานความผิดที่ยอมความได้ และคดีนี้โจทก์ทั้งสิบสี่ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิด ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานในความผิดที่ยอมความไม่ได้ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีนี้และการกระทำความผิดที่มีการฟ้องร้องทั้งสองคดีเกิดขึ้นจากมูลเหตุเรื่องเดียวกันในช่วงวันเวลาเดียวกัน การวินิจฉัยความผิดทั้งสองคดีจึงต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปพร้อมกันในคราวเดียวกัน ดังนี้ การที่โจทก์ทั้งสิบสี่ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนที่ศาลอาญาและหลังจากนั้นได้ฟ้องจำเลยในคดีนี้ที่ศาลชั้นต้น โดยคดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอาญา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสิบสี่นำคำฟ้องเรื่องเดียวกันมายื่นฟ้องจำเลยคนเดียวกันเป็นสองคดีซ้อนกัน ซึ่งเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงปืนขึ้นฟ้า ความผิดฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ และอำนาจศาลในการลงโทษแม้โจทก์มิได้ขอ
การยิงปืนขึ้นฟ้าของจำเลยเป็นการยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 เมื่อคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยใช้อาวุธปืนยิงทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 เท่ากับความผิดตามที่ฟ้องรวมการกระทำความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุด้วย แม้โจทก์มิได้มีคำขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวด้วย แต่เมื่อความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้องรวมการกระทำความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุ ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเองด้วย กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษในข้อเท็จจริงตามที่พิจารณาได้ความ ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทต้องเป็นราคาที่คู่ความตกลงหรือศาลรับรอง การหยิบยกราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่ฟังคู่ความเป็นการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินในสำนวนเป็นราคาที่คณะอนุกรรมการกำหนดไว้เพื่อการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น มิใช่ราคาที่แท้จริงของที่ดินพิพาท ราคาประเมินจึงมิใช่ทุนทรัพย์ที่แท้จริงในคดี เว้นแต่คู่ความจะรับรองและให้ใช้ราคาประเมินดังกล่าวเป็นทุนทรัพย์ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเนื้อที่ 2 ตารางวาเศษ ราคา 100,000 บาท ซึ่งโจทก์ขอถือเป็นทุนทรัพย์ในคดีนี้ โดยเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ดังกล่าว และในชั้นอุทธรณ์ศาลชั้นต้นก็เรียกเก็บค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ 100,000 บาท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 หยิบยกราคาประเมินของเจ้าพนักงานที่ดินว่ามีราคาเพียง 24,800 บาท แล้วพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ โดยเห็นว่าคดีโจทก์ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 252 คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการชดใช้ค่าเสียหายทรัพยากรธรรมชาติจากป่าสงวน การพิจารณาคดีที่ไม่ชอบด้วยกระบวนการ
พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มาตรา 26/4 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดความรับผิดของผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติให้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่รัฐ ส่วนมาตรา 26/5 เป็นบทบัญญัติกำหนดให้อำนาจพนักงานอัยการสามารถเรียกค่าเสียหาย ตามมาตรา 26/4 เข้ามาพร้อมกับคำฟ้องคดีอาญาอันมีลักษณะเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ มิได้เป็นกฎหมายที่กำหนดโทษทางอาญาที่ต้องห้ามมิให้มีผลย้อนหลัง แม้คดีนี้ตามฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยกับพวกร่วมกันกระทำความผิด เมื่อระหว่างต้นเดือนเมษายน 2559 ถึงวันที่ 26 เมษายน 2559 อันเป็นวันก่อนวันที่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 มีผลใช้บังคับก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2559 อันเป็นเวลาภายหลังวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การที่โจทก์มีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายทางทรัพยากรธรรมชาติ 2,939,692 บาท แก่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ค่าภาคหลวง 1,505.30 บาท เป็นเงินค่าธรรมเนียมซึ่งผู้ทำไม้หรือเก็บหาของป่าจะต้องเสียตามความใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 และค่าเสียหายของรัฐ 15,053 บาท เป็นค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มิใช่ค่าเสียหายตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหายหรือเสียหายตามความใน พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2559 มาตรา 26/4 พนักงานอัยการจึงเรียกค่าภาคหลวงและค่าเสียหายของรัฐโดยอาศัย พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2559 มาตรา 26/5 เข้ามาในคดีนี้ไม่ได้ คำพิพากษาในคดีส่วนแพ่งของศาลชั้นต้นยังมิได้กล่าวหรือแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และมิได้วินิจฉัยตามประเด็นแห่งคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) (5) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปโดยยังมิได้สอบคำให้การส่วนแพ่งของจำเลยและโจทก์มิได้นำสืบพยานหลักฐานอันจะทำให้เป็นฐานในการกำหนดค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2559 มาตรา 26/4 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีส่วนแพ่งไปโดยมิชอบ กรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: สิทธิของผู้คัดค้านหลังคำสั่งศาลถึงที่สุด และข้อจำกัดในการขอเพิกถอนคำสั่ง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งสำเนาคำร้องขอแก่ผู้มีชื่อในโฉนดที่ดิน และประกาศคำร้องขอทางหนังสือพิมพ์รายวันแล้ว ไม่มีผู้ใดยื่นคำคัดค้าน จึงเป็นคดีที่ไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 เมื่อศาลชั้นต้นได้ดำเนินการไต่สวนและมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ การดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
แม้ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้อง และคำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ก็ตาม แต่คดีนี้คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดไปแล้วและข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้คัดค้านไม่ปรากฏว่าผู้ร้องโต้แย้งสิทธิอย่างใดแก่ผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ผู้คัดค้านเพียงแต่อ้างว่ามีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้องและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น มิได้ขอให้มีคำสั่งแสดงว่าผู้คัดค้านมีสิทธิเหนือที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้
แม้ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ ถือว่าผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้อง และคำสั่งศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ไม่ผูกพันผู้คัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) ก็ตาม แต่คดีนี้คำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดไปแล้วและข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้คัดค้านไม่ปรากฏว่าผู้ร้องโต้แย้งสิทธิอย่างใดแก่ผู้คัดค้านในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ผู้คัดค้านเพียงแต่อ้างว่ามีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าผู้ร้องและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น มิได้ขอให้มีคำสั่งแสดงว่าผู้คัดค้านมีสิทธิเหนือที่ดินพิพาทแต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวได้