คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถอนฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จและการถอนฟ้องคดีอาญา: ผลกระทบต่อความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175 และ 176
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาหาว่าโจทก์ปลอมและใช้เอกสารสัญญกู้ ขอให้ลงโทษนั้น แม้จำเลยจะถอนฟ้องคดีอาญาเสียระหว่างไต่สวนมูลฟ้องก่อนศาลสั่งประทับฟ้องก็ดี หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่จำเลยกล่าวหาโจทก์เป็นฟ้องเท็จแล้ว จำเลยก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 175, 176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จและการถอนฟ้องคดีอาญา ศาลพิจารณาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 175, 176
จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาหาว่าโจทก์ปลอมและใช้เอกสารสัญญากู้ขอให้ลงโทษนั้นแม้จำเลยจะถอนฟ้องคดีอาญาเสียระหว่างไต่สวนมูลฟ้องก่อนศาลสั่งประทับฟ้องก็ดีหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าฟ้องที่จำเลยกล่าวหาโจทก์เป็นฟ้องเท็จแล้วจำเลยก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 175,176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจากหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการ แม้ใช้ฟ้องแล้วถอนฟ้อง ก็ยังใช้ได้
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องแต่ตั้งทนายเพื่อว่าต่างแก้ต่าง ฯลฯ มิใช่ใบมอบอำนาจทั่วไป แต่เป็นใบมอบอำนาจเฉพาะการเพื่อให้ฟ้องคดี และใบมอบอำนาจนี้มิได้ระบุเจาะจงว่าให้ฟ้องร้องได้เพียงรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ แม้โจทก์จะได้ใช้ใบมอบอำนาจนั้นฟ้องขับไล่จำเลยมาแล้วครั้งหนึ่งและถอนฟ้องไป ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจากหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการ แม้ฟ้องแล้วถอนฟ้อง ก็ยังใช้ได้
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่าให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจดำเนินคดีฟ้องร้องแต่งตั้งทนายเพื่อว่าต่างแก้ต่าง ฯลฯ มิใช่ใบมอบอำนาจทั่วไปแต่เป็นใบมอบอำนาจเฉพาะการเพื่อให้ฟ้องคดี และใบมอบอำนาจนี้มิได้ระบุเจาะจงว่าให้ฟ้องร้องได้เพียงรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะแม้โจทก์จะได้ใช้ใบมอบอำนาจนั้นฟ้องขับไล่จำเลยมาแล้วครั้งหนึ่งและถอนฟ้องไป ก็ไม่ทำให้ใบมอบอำนาจเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การถอนฟ้อง, และสิทธิของบุคคลนอกสัญญา กรณีเช่าที่ดินและการปลูกสร้าง
โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีและโจทก์ที่ 2 ได้ฟ้องในนามของตนเองด้วย ต่อมาโจทก์ที่ 1 ขอถอนฟ้อง และขอถอนใบมอบอำนาจนั้นเสีย โจทก์ที่ 2 จึงขอให้ศาลเรียกโจทก์ที่ 1 เข้ามาในคดี ดังนี้ แม้ศาลจะสั่งให้หมายเรียกแล้วต่อมาเมื่อโจทก์ที่ 1 แถลงว่าไม่ประสงค์จะยุ่งเกี่ยวกับคดีและศาลเห็นไม่สมควรเรียกโจทก์ที่ 1 เข้ามาในคดีก็มีอำนาจเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม โดยให้ยกคำร้องของโจทก์ที่ 2 ได้
เมื่อจำเลยได้ปลูกโรงเรือนในที่พิพาทและครอบครองมาก่อนที่โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 โดยลำพังจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย เพราะจำเลยเป็นบุคคลนอกสัญญาโจทก์ที่ 2 ชอบจะว่ากล่าวเอากับโจทก์ที่ 1 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิออกเสียงเจ้าหนี้ในที่ประชุม, มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลผูกพัน, การถอนฟ้องคดีไม่ขัดต่อคำพิพากษา
คดีล้มละลาย หนี้จำพวกที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้วก่อนวันประชุมเจ้าหนี้นั้น เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่มาประชุมคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ต้องสั่งบั่นทอนในการออกเสียงของเจ้าหนี้นั้น และถือว่าเป็นการออกเสียงที่มีผลตามกฎหมายเมื่อจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ฝ่ายที่ลงมติฝ่ายนี้มีมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ต้องถือว่ามติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมากนี้เป็นมติของที่ประชุมด้วย
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปในฐานะที่โจทก์มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้นั้น ไม่ใช่เป็นคำพิพากษาบังคับให้โจทก์จำต้องดำเนินคดีอย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องจำเลยบางส่วนในคดีที่มีมูลความผิดต่างกัน และสิทธิในการเรียกบุคคลภายนอกเข้าสู่คดี
ในคดีที่มีจำเลยหลายคน โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยคนหนึ่งคนใดหากมิใช่เป็นคดีที่เป็นการชำะรหนี้แบ่งแยกกันมิได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น โดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่ เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้น จะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกัน โดยโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่เป็นเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องจำเลยบางส่วนในคดีที่มีมูลความผิดต่างกัน และสิทธิในการเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี
ในคดีที่มีจำเลยหลายคน โจทก์ขอถอนฟ้องจำเลยคนหนึ่งคนใดหากมิใช่เป็นคดีที่เป็นการชำระหนี้แบ่งแยกกันมิได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น
ฟ้องของโจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลความละเมิดต่างกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้นโดยหาได้รับผิดร่วมกันไม่เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ศาลก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยที่3 ที่ 4 เป็นเรื่องของจำเลยที่ 1 ที่ถูกถอนฟ้องเท่านั้นจะคัดค้านหรือไม่คัดค้าน
การใช้สิทธิให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี แม้ว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ไปแล้ว จำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็ยังขอให้เรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีใหม่ได้ถ้ามีเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) แต่ถ้ามูลความแห่งคดีของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ต่างกันโดยโจทก์ขอให้จำเลยที่1 รับผิดในมูลความละเมิด ส่วนจำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้รับผิดในมูลความผิดสัญญาหมั้น เช่นนี้ ย่อมไม่มีเหตุที่จะเรียกจำเลยที่ 1 เข้ามาในคดีให้ชี้ความรับผิดของจำเลยที่ 1 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแย่งการครอบครอง: การถอนฟ้องและฟ้องใหม่ไม่ทำให้สิทธิเสื่อม
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครองแล้ว แต่ในระหว่างพิจารณาถูกจำเลยที่ 3 ที่ 4 ฟ้องเป็นจำเลย โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 หาว่าโจทก์นำชี้ทำแผนที่พิพาทรุกล้ำที่ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 คู่ความทุกสำนวนจึงได้ตกลงกันต่างถอนฟ้องคดีของตนไป และให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยที่ 1, 2, 3, 4 เป็นคดีใหม่เพื่อสะดวกในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งสองฝ่าย ดังนี้ แม้โจทก์จะฟ้องคดีใหม่นั้นเกิน 1 ปีนับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครองก็ไม่ทำให้คดีใหม่ของโจทก์ขาดอายุความ การถอนฟ้องและฟ้องใหม่ในกรณีเช่นนี้ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องไว้เดิมเสื่อมเสียแต่ประการใด และกรณีไม่เข้ามาตรา 174 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและฟ้องใหม่ไม่ทำให้สิทธิในการฟ้องเดิมเสื่อมเสีย ไม่ถือว่าขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครองแล้วแต่ในระหว่างพิจารณาโจทก์ถูกจำเลยที่ 3 ที่ 4 ฟ้องเป็นจำเลย โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 หาว่าโจทก์นำชี้ทำแผนที่พิพาทรุกล้ำที่ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 คู่ความทุกสำนวนจึงได้ตกลงกันต่างถอนฟ้องคดีของตนไปและให้โจทก์เป็นผู้ฟ้องจำเลยที่ 1,2,3,4 เป็นคดีใหม่เพื่อสะดวกในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งสองฝ่ายดังนี้แม้โจทก์จะฟ้องคดีใหม่นั้นเกิน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เข้าแย่งการครอบครอง ก็ไม่ทำให้คดีใหม่ของโจทก์ขาดอายุความการถอนฟ้องและฟ้องใหม่ในกรณีเช่นนี้ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องไว้เดิมเสื่อมเสียแต่ประการใดและกรณีไม่เข้ามาตรา 174 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย
of 52