พบผลลัพธ์ทั้งหมด 532 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ทุจริตเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทางหลวง ยักยอกเงินเข้าตนเอง
จำเลยมีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมเป็นรายได้รัฐบาลโดยขายบัตรให้แก่ผู้ใช้ทางหลวงสายพหลโยธินที่ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตจำเลยได้นำบัตรของด่านรังสิตที่ใช้แล้วมาหมุนเวียนขายให้แก่ผู้ใช้ยานยนต์ซึ่งผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตแล้วยักยอกเอาเงินค่าธรรมเนียมขายบัตรนั้นเป็นประโยชน์ของตนเสียย่อมผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ผิดตามมาตรา 353
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานบัญชีต่อการทุจริตยักยอกเงินของผู้อื่น แม้บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยเป็นพนักงานบัญชีประจำธนาคารออมสิน มีหน้าที่ลงบัญชี และมีระเบียบให้ทำหน้าที่ลงราบการในสมุดฝากเงินและบัตรคู่บัญชีด้วย แต่ปรากฎว่าทางปฏิบัติหาได้ถือตามระเบียบให้จำเลยเป็นผู้ลงรายการในบัตรคู่บัญชีด้วย แต่ปรากฎว่าทางปฏิลัติหาได้ถือตามระเบียบให้จำเลยเป็นผู้ลงรายการในบัตรคู่บัญชีเพียงผู้เดียวโดยเคร่งครัดไม่ บุคคลอื่นเป็นผู้ลงรายการก็มี เมื่อเป็นเหตุให้ผู้จัดการธนาคารออมสินทุจริตยักยอกเงินไป ก็ถือเพียงว่าจำเลยบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น จะฟังว่าจำเลยร่วมกระทำผิดหรือช่วยเหลือให้ความสะดวกในการทุจริตด้วยหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานบัญชีต่อการทุจริตของผู้อื่น แม้บกพร่องตามระเบียบแต่ไม่ถือว่าร่วมกระทำผิด
จำเลยเป็นพนักงานบัญชีประจำธนาคารออมสิน มีหน้าที่ลงบัญชี ทำบัญชีและมีระเบียบให้ทำหน้าที่ลงรายการในสมุดฝากเงินและบัตรคู่บัญชีด้วยแต่ปรากฏว่าทางปฏิบัติหาได้ถือตามระเบียบให้จำเลยเป็นผู้ลงรายการในบัตรคู่บัญชีเพียงผู้เดียวโดยเคร่งครัดไม่ บุคคลอื่นเป็นผู้ลงรายการก็มี เมื่อเป็นเหตุให้ผู้จัดการธนาคารออมสินทุจริตยักยอกเงินไป ก็ถือเพียงว่าจำเลยบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้นจะฟังว่าจำเลยร่วมกระทำผิดหรือช่วยเหลือให้ความสะดวกในการทุจริตด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์: การครอบครองทรัพย์ผู้อื่นโดยทุจริตและไม่ยอมคืนถือเป็นความผิด
นาฬิกาข้อมือแบบหญิงยี่ห้อมิโดเรือนทอง 1 เรือนของผู้เสียหายตกหายเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2502 โดยผู้เสียหายไม่ทราบว่าตกหาย ณ ที่ใด ในวันเดียวกันนั้นเอง บุตรจำเลยเก็บนาฬิกาดังกล่าวได้แล้วนำไปมอบแก่จำเลยซึ่งเป็นมารดาเก็บไว้ วันรุ่งขึ้นผู้เสียหายทราบจึงไปขอนาฬิกาคืนจากจำเลย จำเลยได้เอานาฬิกาซึ่งมิใช่ของผู้เสียหายมาให้ดูและยืนยันว่าเป้นนาฬิกาที่บุตรจำเลยเก็บได้ไม่ยอมคืนนาฬิกาของผู้เสียหายให้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 วรรคต้น.
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2506).
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2506).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อความเสียหายจากการทุจริตของลูกน้อง และการฟ้องร่วมสำหรับความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุมและฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร และมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ กระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพร แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพร ไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชน ในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้น กระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าว เงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการ และใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทย การดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขาย เมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกัาบจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระ จำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมา โดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าว เมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการ พิจารณาพิพากษาแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย และไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งอยกจากกันได้ และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวสารที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการ กระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการ เงินนี้มิใช่เงินในงบประมาณของจังหวัด ไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบ ถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะมิใช่คำสั่งตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในเขตจังหวัดที่ตนมอบหมายเอง เมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิดก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับจะจำหน่ายข้าว ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ขอมอบหมายให้จ่ายจังหวัดทำหน้าที่นี้ ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบ กระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหาย ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วย จะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติต่อตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร และมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ กระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพร แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพร ไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชน ในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้น กระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าว เงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการ และใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทย การดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขาย เมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกัาบจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระ จำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมา โดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าว เมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการ พิจารณาพิพากษาแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย และไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งอยกจากกันได้ และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวสารที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการ กระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการ เงินนี้มิใช่เงินในงบประมาณของจังหวัด ไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบ ถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะมิใช่คำสั่งตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในเขตจังหวัดที่ตนมอบหมายเอง เมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิดก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับจะจำหน่ายข้าว ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ขอมอบหมายให้จ่ายจังหวัดทำหน้าที่นี้ ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบ กระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหาย ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วย จะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติต่อตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานรถไฟทุจริต แก้ไขตั๋วรถไฟที่ใช้แล้ว นำมาขายซ้ำ เบียดบังเงินค่าโดยสาร
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตำแหน่งพนักงานห้ามล้อ ได้นำตั๋วค่าธรรมเนียมรถเร็วที่จำเลยขายแล้วซึ่งถูกขูดลบถอนแก้เครื่องหมายแสดงว่าใช้ไม่ได้แล้ว เพื่อให้ใช้ได้อีกมาขายให้แก่ผู้โดยสารรถไฟ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริตและเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยจำหน่ายตามหน้าที่เป็นของจำเลย จึงเป็นความผิดตามมาตรา 147 และ 151 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 45/2505)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 45/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานรถไฟทุจริตขายตั๋วที่ใช้แล้ว แก้ไขข้อมูล และเบียดบังเงิน
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตำแหน่งพนักงานห้ามล้อได้นำตั๋วค่าธรรมเนียมรถเร็วที่จำเลยขายแล้วซึ่งถูกขูดลบถอนแก้เครื่องหมายแสดงว่าใช้ไม่ได้แล้วเพื่อให้ใช้ได้อีกมาขายให้แก่ผู้โดยสารรถไฟ การกระทำของจำเลยเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยทุจริตและเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมที่จำเลยจำหน่ายตามหน้าที่เป็นของจำเลย จึงเป็นความผิดตามมาตรา 147 และ 151 แห่งประมวลกฎหมายอาญา (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 45/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 388/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่รัฐ กรณีทุจริตเงินเทศบาล ต้องพิจารณาจากวันที่ทราบตัวผู้กระทำผิดจริง ไม่ใช่แค่วันที่รู้เรื่องการทุจริต
ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาลสมุหบัญชีต้องร่วมรับผิดชดใช้เงินคืนให้แก่เทศบาลในกรณีมีการทุจริตอันเกี่ยวกับการรักษาเงินขึ้นนั้นไม่ใช่กฎหมายจะยกเอาระเบียบดังกล่าวนี้ขึ้นวินิจฉัยว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้รับผิดชดใช้เงินแทนในทันทีขณะทราบว่ามีการทุจริตขึ้นโดยมิต้องสอบสวนว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดจริงหรือไม่เสียก่อนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตเบียดบังเงินผลประโยชน์ของทางราชการ มีเจตนาทุจริต
จำเลยรับราชการทำหน้าที่สมุห์บัญชีเกี่ยวกับการเงิน ได้รับเงินผลประโยชน์จากผู้ที่นำมาชำระ แต่มิได้นำเงินส่งคลัง ทั้งมิได้ลงบัญชีรับเงินตามระเบียบ จนกระทั่งผู้บังคับบัญชาไปตรวจบัญชีพบการกระทำของจำเลยเป็นเวลาถึงสองเดือนแม้จำเลยจะหาเงินมาชำระคืนครบถ้วนแล้วก็ตามนับว่าคดีมีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตเบียดบังเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานทุจริตต่อหน้าที่ ช่วยเหลือผู้ต้องสงสัย ปกปิดความจริงเกี่ยวกับอาวุธปืน
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าพนักงาน(ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน) ร่วมกันละเว้นไม่นำปืน(ของกลาง)มีทะเบียนของผู้อื่นที่ตกอยู่กับคนร้ายซึ่งถูกเจ้าทรัพย์กับพวกยิงตาย ส่งพนักงานสอบสวนตามหน้าที่ โดยทุจริต ก็เป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 แล้ว ส่วนที่ยังร่วมกันกล่าวหาว่าเจ้าของปืนกระทำผิดส่งปืนนั้นให้คนร้าย ให้เจ้าของปืนหาเงินมามอบให้จำเลยและจำเลยยังได้ขูดลบเลขทะเบียนปืนเดิมออก ตอกเลขใหม่โดยว่าเพื่อจะช่วยมิให้พนักงานสอบสวนรู้ว่าปืนของกลางเป็นของเจ้าของปืน โดยความจริงจำเลยก็รู้อยู่ว่าเจ้าของปืนมิได้กระทำผิดในเรื่องคนร้ายเอาอาวุธปืนไปเลยนั้น การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เพื่อช่วยเจ้าของปืนมิให้ต้องรับโทษ หรือให้รับโทษน้อยลงด้วยจึงคงเป็นผิดตามมาตรา 148 และมาตรา 265 อีกเท่านั้น และไม่เป็นผิดตามมาตรา 184 และมาตรา 200