พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1051/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้ค้ำประกันความเสียหายจากลูกจ้างละเมิด: 1 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448
ค้ำประกันการทำงานของลูกจ้าง ลูกจ้างทำละเมิด อายุความฟ้องผู้ค้ำประกันมีกำหนด 1 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในเงินดาวน์ที่ชำระด้วยเช็คที่โจทก์เรียกเก็บไม่ได้ และต้องรับผิดในค่าเสียหายจากการใช้รถ
เงินดาวน์เป็นเงินค่าเช่าซื้อส่วนหนึ่งที่ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระในวันทำสัญญา หาใช่เงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่ตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ชัดว่าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมดซึ่งรวมทั้งเงินดาวน์ด้วย ตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีข้อห้ามการชำระค่าเช่าซื้อด้วยเช็คโจทก์ผู้ให้เช่าย่อมรับชำระเงินดาวน์ด้วยเช็คได้ เมื่อโจทก์รับเงินตามเช็คไม่ได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิด
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อและใบเสร็จรับเงินจะระบุว่า โจทก์ได้รับเงินดาวน์จำนวน 25,080 บาทไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าชำระเงินดาวน์ด้วยเช็ค โจทก์ก็นำสืบได้ว่า โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ หาเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่
เมื่อจำเลยที่ 2 เอารถคันพิพาทไปใช้ชำรุดเสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 ครอบครองรถคันนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรค 3 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 601/2513)
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อและใบเสร็จรับเงินจะระบุว่า โจทก์ได้รับเงินดาวน์จำนวน 25,080 บาทไว้ถูกต้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้เช่าชำระเงินดาวน์ด้วยเช็ค โจทก์ก็นำสืบได้ว่า โจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คนั้นไม่ได้ หาเป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารไม่
เมื่อจำเลยที่ 2 เอารถคันพิพาทไปใช้ชำรุดเสียหายจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 ครอบครองรถคันนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรค 3 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 601/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะผู้สลักหลังเช็คคือผู้ค้ำประกัน (อาวัล) มีความรับผิดเท่าผู้สั่งจ่าย ไม่ใช่ผู้สลักหลังตามมาตรา 990
การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้น ฐานะของผู้สลักหลังย่อมเป็นเพียงผู้ค้ำประกันการใช้เงินตามเช็คนั้น (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 และตามมาตรา 940 ผู้สลักหลังย่อมอยู่ในฐานะที่จะต้องผูกพันในเช็คที่พิพาทเป็นอย่างเดียวกันกับผู้สั่งจ่ายเช็คนั้น และย่อมต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค ตามมาตรา 967
ผู้ที่เซ็นชื่อสลักหลังเช็ค มีฐานะเป็นผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 มีความรับผิดเช่นเดียวกับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 หาใช่มีฐานะเป็นผู้สลักหลังไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 990
ผู้ที่เซ็นชื่อสลักหลังเช็ค มีฐานะเป็นผู้รับประกันการใช้เงิน (อาวัล) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 มีความรับผิดเช่นเดียวกับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 หาใช่มีฐานะเป็นผู้สลักหลังไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 990
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้บุคคลอื่น: สิทธิผู้จำนองบังคับคดีกับลูกหนี้/ผู้ค้ำฯ
ในกรณีที่จำนองทรัพย์สินของตนเป็นประกันหนี้ของบุคคลอื่นนั้น ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในลักษณะจำนองซึ่งมิได้มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับผู้จำนองจึงจะขอให้บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนไม่ได้และจะขอให้บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันก่อนก็ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้บุคคลอื่น: สิทธิผู้จำนองบังคับคดีกับลูกหนี้/ผู้ค้ำประกัน
ในกรณีที่จำนองทรัพย์สินของตนเป็นประกันหนี้ของบุคคลอื่นนั้น ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในลักษณะจำนอง ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 689 ในลักษณะค้ำประกันมาใช้บังคับผู้จำนองจึงจะขอให้บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนไม่ได้และจะขอให้บังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันก่อนก็ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็ค: ผู้สลักหลังมีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้สั่งจ่าย ไม่ใช่ผู้ค้ำประกัน
การลงลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังเช็คต้องถือว่าเป็นการสลักหลังตั๋วแลกเงินโดยสมบูรณ์ ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 919 อันมีผลให้ผู้สลักหลังต้องรับผิดต่อผู้ทรงตามมาตรา 914 และมาตรา 989 ให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ในเรื่องเช็คด้วย ผู้สลักหลังจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ค้างชำระให้แก่ผู้ทรง ในเมื่อธนาคารไม่ยอมจ่ายเงินตามเช็คนั้น
ผู้สลักหลังมีฐานะเป็นลูกหนี้ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อผู้ทรงมิได้มีฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน จึงนำมาตรา 700 มาใช้บังคับกรณีนี้มิได้
ผู้สลักหลังมีฐานะเป็นลูกหนี้ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อผู้ทรงมิได้มีฐานะเป็นผู้ค้ำประกัน จึงนำมาตรา 700 มาใช้บังคับกรณีนี้มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันยังใช้บังคับได้ แม้มีการประนีประนอมยอมความในสัญญากู้เดิม
โจทก์ให้ ถ. กู้ยืมเงินไปโดยมีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาโจทก์ฟ้อง ถ. ให้ชำระหนี้ แล้วโจทก์กับ ถ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันศาลพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ ถ. ไม่ชำระเงินตามสัญญา โจทก์จึงนำยึดทรัพย์ของ ถ. ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันให้ชำระเงินส่วนที่ยังขาดอยู่นั้นได้เพราะการที่โจทก์กับ ถ. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลพิพากษาตามยอมนั้น เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องบังคับตามสัญญากู้ไม่ทำให้หนี้ตามสัญญากู้ระงับ และไม่ใช่เป็นการผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ อันจะทำให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ค้ำประกัน: บังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อน หากลูกหนี้มีทรัพย์และชำระได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 1มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ได้. และการบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการยาก โจทก์เองก็ไม่คัดค้านว่า จำเลยที่ 1ไม่มีทรัพย์ ทั้งยินยอมให้จำเลยที่ 2 ไปขายทรัพย์ของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 2 ไม่ สามารถจัดการขายทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้หาทำให้โจทก์ข้ามการบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 1 มาบังคับเอาจากจำเลยที่ 2 ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2931/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 689: บังคับชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1ไม่ชำระให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 1มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ได้. และการบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการยาก โจทก์เองก็ไม่คัดค้านว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ ทั้งยินยอมให้จำเลยที่ 2 ไปขายทรัพย์ของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 2 ไม่สามารถจัดการขายทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้หาทำให้โจทก์ข้ามการบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 1 มาบังคับเอาจากจำเลยที่ 2 ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้และการผ่อนเวลาชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดเมื่อเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ มิใช่ผู้ค้ำประกัน
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ซึ่งกู้เงินโจทก์ ภายหลังจำเลยได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ยอมใช้เงินให้โจทก์ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินตามสัญญารับสภาพหนี้นั้น จำเลยจะอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้หาเพียงพอที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ไม่และที่จำเลยต่อสู้คดีว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้จำเลย ก็มิใช่เป็นเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ที่จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินจากโจทก์3,850 บาท จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15, 22 (4) เพราะทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท จำเลยจึงฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินจากโจทก์3,850 บาท จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 15, 22 (4) เพราะทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท จำเลยจึงฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่ได้