พบผลลัพธ์ทั้งหมด 385 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11031/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในสัญญาซื้อขาย แม้เป็นของจำเลย แต่หากไม่รู้เห็นการกรอกข้อความ สัญญาไม่สมบูรณ์ ไม่ถือเป็นการทำสัญญา
จำเลยให้การว่าลายมือชื่อในหนังสือสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยเป็นเอกสารปลอม คำให้การดังนี้เป็นการปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว นอกจากนั้นยังเป็นการอ้างว่าจำเลยไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์หรือไม่ เมื่อคดีฟังได้ว่าลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อขายเป็นของจำเลยแต่จำเลยไม่ได้รู้เห็นในการเขียนข้อความในหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าว เท่ากับหนังสือสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวไม่ถูกต้อง จำเลยไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทกับโจทก์ดังฟ้อง กรณีจึงไม่เป็นการนำสืบและรับฟังนอกประเด็นที่ให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 869/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากลายมือชื่อไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้แม้จำเลยไม่โต้แย้ง
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) เป็นบทบัญญัติที่บังคับให้โจทก์ ผู้เรียง และผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องต้องลงลายมือชื่อไว้ตามที่แบบพิมพ์คำขอท้ายคำฟ้องอาญาได้กำหนดไว้แต่ตามแบบพิมพ์คำขอท้ายคำฟ้องอาญาของโจทก์เป็นสำเนาเอกสารที่ถ่ายเอกสารมาจากต้นฉบับคำขอท้ายคำฟ้องอาญาที่โจทก์ ผู้เรียง และผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้องได้ลงชื่อไว้แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่มีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว และเมื่อฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเกิดเพราะความผิดพลาดทางเทคนิค ซึ่งเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยจากเหตุที่คำขอท้ายคำฟ้องอาญาของโจทก์เป็นสำเนาเอกสารดังที่โจทก์ฎีกาหรือไม่ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องที่ไม่ชอบนั้นได้ แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้ แต่ปัญหาว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยซึ่งศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจไม่ตรงกับลายมือชื่อจริง สัญญาจำนองไม่ผูกพันจำเลย
จำเลยให้การปฏิเสธว่า ไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ จำเลยไม่เคยมอบอำนาจให้ ว. ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินตามฟ้องไว้แก่โจทก์ ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม ภาระการพิสูจน์ในปัญหานี้จึงตกแก่โจทก์ แต่คำเบิกความของพยานโจทก์มีพิรุธหลายประการ เพราะโจทก์ไม่มีสัญญากู้หรือหลักฐานการรับเงินของจำเลยมาแสดงต่อศาล นอกจากนี้โจทก์ไม่ยื่นบัญชีระบุพยานอ้าง ว. หรือผู้ลงชื่อเป็นพยาน 2 คน ในหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นพยานรู้เห็นโดยตรงเป็นพยานสนับสนุนให้ได้ความตามข้ออ้างของตน ทั้งเมื่อศาลตรวจดูลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจเปรียบเทียบกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ลงไว้ในสารบบที่ดิน เห็นว่า ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย แต่เป็นลายมือชื่อปลอม เพราะคุณสมบัติของการเขียนรูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลย พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมอบอำนาจให้ ว. นำที่ดินตามฟ้องไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันไว้แก่โจทก์ หนังสือสัญญาจำนองจึงไม่ผูกพันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด: การผูกพันตัวการจากลายมือชื่อในหนังสือบอกเลิกสัญญา
ส. เป็นบุตรของ ว. และ ฉ. หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ ส. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดอยู่ด้วย ทั้ง ส. ยังมีหน้าที่ขับรถยนต์คันหนึ่งและเป็นผู้ประสานงานตามสัญญาจ้างเหมารถรับส่งพนักงานของจำเลยระหว่างโจทก์กับจำเลยตลอดมา ส่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ส. ว่า โจทก์เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทน โจทก์จึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่า ส. เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 ประกอบมาตรา 1042 ดังนั้น การที่ ส. ลงลายมือชื่อในหนังสือแจ้งเลิกสัญญาต่อจำเลย ย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ แม้จำเลยจะให้การว่าโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่คดีได้ความว่า ตัวแทนเชิดของโจทก์เป็นผู้บอกเลิกสัญญาก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องนอกประเด็นนอกคำให้การ เพราะเป็นการนำสืบให้ทราบถึงความจริงว่าเป็นอย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินต้องแสดงให้เห็นการกู้ยืมชัดเจน ไม่ต้องระบุชื่อผู้ให้กู้
ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคแรก (เดิม) บัญญัติว่า "การกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" สาระสำคัญของหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคแรก อยู่ที่ว่า มีการแสดงให้เห็นว่ามีการกู้ยืมเงินกันก็เพียงพอแล้ว ไม่ได้บังคับถึงกับจะต้องระบุชื่อของผู้ให้กู้ไว้ ดังนั้น เมื่อโจทก์นำหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันมาฟ้องจำเลยทั้งสาม และปรากฏชัดว่าเอกสารพิพาทมีสาระสำคัญแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ แม้จะไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้กู้ไว้ให้ถูกต้อง แต่ระบุจำนวนเงินและจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้กู้ครบถ้วน จึงถือว่าเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมและค้ำประกันของโจทก์ได้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่สมบูรณ์ (ไม่มีลายมือชื่อ) และการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีที่ผิดพลาด ทำให้ศาลฎีกายกฟ้อง
คำขอท้ายฟ้องโจทก์เป็นเอกสารที่ถ่ายสำเนาจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่มีลายมือชื่อโจทก์ผู้เรียงและผู้พิมพ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) หากศาลชั้นต้นตรวจพบข้อผิดพลาดดังกล่าวก็จะใช้อำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 สั่งให้โจทก์แก้ไขฟ้องให้ถูกต้องหรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้องได้ แต่ถ้าศาลชั้นต้นสั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 แล้ว การที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องหรือไม่ประทับฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ย่อมล่วงเลยเวลาที่จะปฏิบัติได้เพราะศาลชั้นต้นได้สั่งประทับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จสิ้นแล้ว การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาพิพากษาคดีจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาฟ้องของโจทก์ได้ ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของสัญญาจำนองเมื่อลายมือชื่อไม่ตรงกับผู้จำนองจริง และการวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้อง
การที่โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อในช่องผู้จำนองตามหนังสือสัญญาจำนองและมีการมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาจำนองแทนโจทก์ที่ 1 หรือไม่ ย่อมต้องมีข้อเท็จจริงที่จะนำมาพิจารณาเข้ากับข้อกฎหมาย เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ที่ 1 ยอมรับว่าได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาจำนองจริงเพียงแต่อ้างว่าเป็นหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใส่ชื่อในโฉนดหาใช่สัญญาจำนองไม่ จึงไม่มีข้อเท็จจริงในประเด็นเรื่องลายมือชื่อในช่องผู้จำนองตามหนังสือสัญญาจำนองไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาจำนองแทนปรากฏในคำฟ้อง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นวินิจฉัยว่า ตามหนังสือสัญญาจำนองลายมือชื่อในช่องผู้รับจำนองไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 แต่เป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ทั้งไม่มีการมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาจำนองแทนโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 2 เพราะหากมีประเด็นนี้ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 อาจนำสืบข้อเท็จจริงต่างจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยก็ได้ การที่จะยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยขึ้นวินิจฉัยเองจะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีด้วย ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่าการจำนองเฉพาะที่ดินส่วนของโจทก์ที่ 1 เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 714 นั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองและค้ำประกันหนี้: สัญญาบังคับใช้ได้แม้จำนองก่อนรับเงินกู้ การปฏิเสธลายมือชื่อไม่ถือเป็นข้อโต้แย้ง
โจทก์มีหนังสือสัญญากู้ 2 ฉบับ ที่จำเลยทั้งสามเถียงว่า โจทก์ลวงให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อผูกผันเป็นผู้กู้ไว้ก่อน อีกทั้ง อ. พยานโจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการด้านสินเชื่อสาขาหาดใหญ่ของโจทก์มาเบิกความรับรองด้วยว่า หลังจากโจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 กู้จำเลยที่ 1 ก็ได้รับเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนไปจากโจทก์ครบถ้วนแล้วโดยจำเลยที่ 1 ลงชื่อรับเงินไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิเสธว่า ลายมือชื่อผู้กู้มิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 จึงถือว่าโจทก์มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามกฎหมายแล้ว
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องสัญญาค้ำประกันไว้แต่อย่างใดจึงนอกคำให้การของจำเลยที่ 2 และนอกประเด็น
แม้การจดทะเบียนจำนองและจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นประกันหนี้จะทำขึ้นก่อนเวลาที่โจทก์จะส่งมอบเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 707 ว่าด้วยจำนอง บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้นท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร" กล่าวโดยเฉพาะ ตามนัยมาตรา 681 ที่ว่าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ในอนาคตย่อมทำสัญญาค้ำประกันได้ ดังนั้น เมื่อต่อมาโจทก์มอบเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนแก่จำเลยที่ 1 หลังจากทำสัญญาจำนองกันดังกล่าวหนี้เงินกู้ในส่วนนั้นก็สมบูรณ์ การจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวล่วงหน้าจึงบังคับแก่กันได้
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องสัญญาค้ำประกันไว้แต่อย่างใดจึงนอกคำให้การของจำเลยที่ 2 และนอกประเด็น
แม้การจดทะเบียนจำนองและจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นประกันหนี้จะทำขึ้นก่อนเวลาที่โจทก์จะส่งมอบเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 707 ว่าด้วยจำนอง บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้นท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร" กล่าวโดยเฉพาะ ตามนัยมาตรา 681 ที่ว่าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ในอนาคตย่อมทำสัญญาค้ำประกันได้ ดังนั้น เมื่อต่อมาโจทก์มอบเงินกู้ทั้ง 2 จำนวนแก่จำเลยที่ 1 หลังจากทำสัญญาจำนองกันดังกล่าวหนี้เงินกู้ในส่วนนั้นก็สมบูรณ์ การจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวล่วงหน้าจึงบังคับแก่กันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1579/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้, สัญญาค้ำประกัน, การพิสูจน์ลายมือชื่อ, และการบังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 707 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 681 ว่าด้วยค้ำประกันนั้น ท่านให้ใช้ได้ในการจำนอง อนุโลมตามควร" กล่าวโดยเฉพาะตามนัยมาตรา 681 ที่ว่าหนี้ที่อาจเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ในอนาคตย่อมทำสัญญาค้ำประกันได้ ดังนั้นเมื่อโจทก์มอบเงินกู้แก่จำเลยที่ 1 ภายหลังจากทำสัญญาจำนองหนี้เงินกู้ในส่วนนั้นย่อมสมบูรณ์ การจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวล่วงหน้าจึงบังคับแก่กันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมและค้ำประกัน การพิสูจน์ลายมือชื่อ และการรับฟังพยานหลักฐานประกอบ
การแสดงความเห็นของผู้เชี่ยวชาญตาม ป.วิ.พ. มาตรา 130 นั้น อาจแสดงความเห็นด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แล้วแต่ศาลจะต้องการหรือเมื่อคู่ความฝ่ายใดเรียกร้อง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีคู่ความฝ่ายใดเรียกร้องให้ศาลเรียกผู้เชี่ยวชาญมาศาลเพื่ออธิบายด้วยวาจา ศาลย่อมรับฟังความเห็นเป็นหนังสือของผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานหลักฐานประกอบคดีได้