พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11482/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต การสละสิทธิโดยปริยาย และผลกระทบต่ออำนาจฟ้อง
แม้ข้อตกลงที่จำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินกู้ค้างชำระทั้งหมดหากจำเลยพ้นจากการเป็นพนักงานจะมีผลบังคับได้ แต่หลังจากจำเลยลาออกแล้วโจทก์ก็ยังรับผ่อนชำระเงินกู้จากจำเลยมาตลอดโดยจำเลยไม่เคยผิดนัด แสดงว่าโจทก์ได้สละสิทธิที่จะเรียกเงินกู้ค้างชำระทั้งหมดด้วยเหตุจำเลยพ้นสภาพการเป็นพนักงานของโจทก์โดยปริยาย นอกจากนั้นการกู้เงินของจำเลยเป็นการกู้เงินสวัสดิการของพนักงานเพื่อที่อยู่อาศัยโดยมีที่ดินพร้อมบ้านจำนองเป็นประกัน ซึ่งหากจำเลยผิดนัดโจทก์ย่อมมีสิทธิบังคับจำนองเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ได้โดยไม่เสียหายอยู่แล้ว การลาออกของจำเลยก็มิได้เกิดจากการกระทำผิดหรือกระทำโดยมิชอบของจำเลย แต่เป็นเรื่องสุขภาพที่ฝ่ายโจทก์ขอให้จำเลยลาออกเอง ทั้งหลังจากลาออกแล้วจำเลยยังมีรายได้เพียงพอแก่การผ่อนชำระเงินกู้อีก ดังนั้น ที่โจทก์ใช้ทั้งสิทธิเรียกให้จำเลยชำระเงินกู้ทั้งหมดในขณะเดียวกันก็รับการผ่อนชำระของจำเลยไปเรื่อยๆ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติว่า "ในการใช้สิทธิแห่งตน บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต" เมื่อการใช้สิทธิของโจทก์ไม่สุจริตอันไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว โจทก์ก็ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7296/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความที่ไม่สมบูรณ์และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา: เงื่อนไขการไม่ประจาน vs. การสละสิทธิ
รายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าฝ่ายโจทก์ร่วมตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยตลอดไป แต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อโจทก์ร่วม โดยจำเลยจะต้องไม่นำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปประจานต่อสาธารณะอีกต่อไป แสดงว่าโจทก์ร่วมจะไม่ดำเนินคดีแก่จำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยไม่นำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปพูดให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยได้ประกาศต่อที่ประชุมใหญ่บริเวณหมู่บ้านว่า โจทก์ร่วมไปขโมยปลา และประกาศเสียงตามสายในหมู่บ้านให้ชาวบ้านนำไข่เน่าไปปาหน้าบ้านโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงไปร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลย ย่อมเห็นได้ชัดว่า ถ้าจำเลยนำเรื่องส่วนตัวของโจทก์ร่วมไปประจานต่อสาธารณะ โจทก์ร่วมยังคงติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ร่วม กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยอมความกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไป
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) โดยยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 5 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8755/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมให้กันส่วนที่ดินจากการบังคับคดี: การสละสิทธิคัดค้านและการยอมรับแผนที่พิพาทมีผลผูกพัน
โจทก์ทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทผู้ร้องกับจำเลยถือกรรมสิทธิ์รวมกันและจำเลยจำนองเฉพาะส่วนของตนไว้แก่โจทก์ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าของใครอยู่ส่วนใด โจทก์จึงนำยึดทั้งแปลง ในชั้นยื่นคำคัดค้านโจทก์ก็ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว แต่คัดค้านว่า การขอกันส่วนเป็นที่ดินตามเนื้อที่ในคำร้องเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ชอบที่ผู้ร้องจะต้องไปขอกันเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินในภายหลัง แต่ในชั้นไต่สวนโจทก์กลับสละสิทธิตามคำคัดค้าน โดยแถลงต่อศาลว่าโจทก์ได้เจรจากับจำเลยแล้ว ไม่ติดใจที่จะคัดค้านการขอกันส่วนของผู้ร้อง แสดงว่าโจทก์ยอมให้ผู้ร้องกันส่วนที่ดินที่ผู้ร้องอ้างว่าครอบครองเป็นส่วนสัดตามคำร้องออกไปจากการบังคับคดีได้ โดยไม่ต้องรอรับเงินกันส่วนหลังจากการขายทอดตลาด ต่อมาเมื่อผู้ร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 ส่วนเท่ากัน โดยผู้ร้องตกลงเอาส่วนด้านตะวันออก จำเลยตกลงเอาส่วนด้านตะวันตก โจทก์ก็แถลงรับต่อศาลว่าตรงตามที่พิพาทกัน อันแสดงถึงการยอมรับในความถูกต้องของการแบ่ง อีกทั้งเมื่อผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาขอให้กันส่วนที่ดินตามคำร้อง โจทก์ก็ไม่ยื่นคำแก้อุทธรณ์และคำแก้ฎีกา ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับที่จะให้มีการบังคับคดีเฉพาะที่ดินส่วนที่ตกลงให้เป็นของจำเลย โดยกันส่วนที่ดินที่ตกลงให้เป็นของผู้ร้องออกจากการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7912/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนชำระหนี้หลังอายุความครบกำหนด ถือเป็นการสละสิทธิอายุความ
จำเลยใช้บัตรเครดิตของธนาคาร ก. ในการซื้อสินค้าและบริการครั้งสุดท้าย ในวันที่ 21 กันยายน 2537 โจทก์ซึ่งรับโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาใช้บัตรเครดิตจากธนาคาร ก. แจ้งให้จำเลยชำระหนี้ภายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2537 แต่จำเลยไม่ชำระตามกำหนดจึงต้องถือว่าธนาคาร ก. อาจบังคับสิทธิเรียกร้องหนี้นับแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2537 เป็นต้นไป เมื่อสัญญาใช้บัตรเครดิตเป็นกรณีที่ธนาคาร ก.ออกเงินทดรองไปก่อนแล้วมาเรียกเก็บเงินจากจำเลยภายหลัง หนี้จากการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการของจำเลยจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 และครบกำหนดวันที่ 10 พฤศจิกายน 2539 แต่ปรากฏว่าหลังจากจำเลยใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการครั้งสุดท้ายแล้ว ธนาคาร ก. บอกกล่าวทวงถามจำเลยให้ชำระหนี้ตลอดมา ปรากฏว่าหลังจากอายุความครบกำหนดแล้ว จำเลยได้ผ่อนชำระหนี้จากการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการให้แก่ธนาคาร ก. หลายครั้งตั้งแต่ปี 2540 ติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงปี 2544 โดยชำระครั้งสุดท้ายวันที่ 8 ตุลาคม 2544 พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่า จำเลยได้สละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 จำเลยย่อมไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้ธนาคาร ก. และโจทก์ได้ และต้องเริ่มนับอายุความจากวันที่จำเลยชำระครั้งสุดท้ายซึ่งนับถึงวันฟ้องยังไม่ครบ 2 ปี สิทธิเรียกร้องในหนี้จากการใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าและบริการตามฟ้องดังกล่าวจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2072/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'CHICLETS CRUNCH' มีลักษณะบ่งเฉพาะ แม้ 'CRUNCH' หมายถึงลักษณะสินค้า แต่โจทก์สละสิทธิ ทำให้เครื่องหมายการค้าเป็นที่รู้จักและแตกต่าง
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "CHICLETS CRUNCH" เพื่อใช้กับสินค้าจำพวก 30 รายการสินค้า หมากฝรั่ง ลูกอม ขนมหวาน แม้คำว่า "CRUNCH" ซึ่งแปลว่าเคี้ยว เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าดังกล่าวโดยตรง แต่โจทก์ได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในคำดังกล่าวแล้ว และโจทก์ใช้คำว่า "CRUNCH" ประกอบกับคำว่า "CHICLETS" ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์ที่ไม่มีในพจนานุกรม โดยตัวอักษรของทั้งสองคำมีขนาดเท่ากันและเรียงต่อกันเป็นลำดับ สาธารณชนย่อมทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าภายในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแตกต่างจากสินค้าอื่น เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12039-12042/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาหลังเลิกจ้าง: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน
สิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เป็นสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่สมัครใจทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องในเงินจำนวนดังกล่าวภายหลังจากที่จำเลยเลิกจ้าง ซึ่งในขณะนั้นโจทก์ทั้งสี่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยและมีอิสระที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของตนเองได้ เพราะพ้นพันธกรณีและอำนาจบังคับบัญชาจากจำเลยไปแล้ว ข้อตกลงอันเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยจึงมีผลสมบูรณ์ หาได้ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะส่งผลให้เป็น โมฆะแต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสี่จึงต้องผูกพันและปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11848/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคัดค้านราคาขายทอดตลาด: การสละสิทธิ & การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพื่อประวิงคดี
แม้จำเลยที่ 2 เพิ่งมาดูแลการขายทรัพย์พิพาทในการขายทอดตลาดครั้งที่ 2 และเพิ่งคัดค้านราคาเป็นครั้งแรกก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทที่นำมาจำนองแก่โจทก์ร่วมกันและอาศัยอยู่บ้านเดียวกัน จึงเชื่อว่าจำเลยที่ 2 ควรรู้ว่าจำเลยที่ 1 คัดค้านราคาในการขายทอดตลาดครั้งแรกเพื่อตนและเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้มีกรรมสิทธิ์รวมไว้แล้ว การที่จำเลยที่ 2 มิได้มาดูแลการขายทอดตลาดครั้งแรกและมิได้คัดค้านราคาในการขายทอดตลาดครั้งแรกด้วยนั้นเท่ากับจำเลยที่ 2 สละสิทธิที่จะคัดค้านราคาสำหรับการขายทอดตลาดครั้งต่อๆ มาด้วยคงมีเพียงสิทธิหาผู้ที่จะเสนอซื้อทรัพย์พิพาทในราคาที่จำเลยที่ 2 ต้องการมาเสนอซื้อในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป แต่จำเลยที่ 2 ก็หากระทำไม่ หรือไม่อาจหาบุคคลเช่นว่านั้นได้ กลับมีพฤติการณ์สลับกับจำเลยที่ 1 มาคัดค้านราคา เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตประวิงการบังคับคดีให้เนิ่นช้าออกไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องเลื่อนการขายทอดตลาดออกไปตามบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่งอีกเพราะได้เลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่งตามคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 แล้ว คดีไม่มีเหตุเพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งกระทำโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11848/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิคัดค้านการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริตเพื่อประวิงคดี ถือเป็นการสละสิทธิ
จำเลยที่ 2 เพิ่งมาดูแลการขายทรัพย์พิพาทในการขายทอดตลาดครั้งที่ 2 และเพิ่งคัดค้านราคาเป็นครั้งแรก แต่จำเลยที่ 2 ควรรู้ว่าจำเลยที่ 1 คัดค้านราคาในการขายทอดตลาดครั้งแรกไว้ ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อตนและเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้มีกรรมสิทธิ์รวมไว้แล้ว เท่ากับจำเลยที่ 2 สละสิทธิที่จะคัดค้านราคาสำหรับการขายทอดตลาดครั้งต่อๆ มาด้วย แต่ยังคงมีสิทธิหาผู้ที่จะเสนอซื้อทรัพย์พิพาทในราคาที่จำเลยที่ 2 ต้องการมาเสนอซื้อในการขายทอดตลาดทรัพย์สินครั้งต่อไป จำเลยที่ 2 ก็หากระทำไม่หรือไม่อาจหาบุคคลเช่นว่านั้นได้ กลับมีพฤติการณ์สลับกับจำเลยที่ 1 มาคัดค้านราคา เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตประวิงการบังคับคดีให้เนิ่นช้าออกไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องเลื่อนการขายทอดตลาดออกไปอีกเพราะได้เลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่งตามคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ดังนัย ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุเพิกถอนการขายทอดตลาดซึ่งกระทำโดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3040/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การในการถามค้านพยานโจทก์: การใช้สิทธิและการไม่โต้แย้งถือเป็นการสละสิทธิ
ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การที่จะถามค้านพยานโจทก์ที่อยู่ในระหว่างสืบพยานได้ โดยจำเลยจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้ ปรากฏว่าในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก โจทก์นำพยานเข้าสืบ 1 ปาก ไม่ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยซึ่งมาศาลขอใช้สิทธิถามค้าน กระทั่งในวันสืบพยานโจทก์ปากสุดท้าย จำเลยมาศาล แต่ไม่ใช้สิทธิถามค้าน เพราะในบันทึกคำพยานโจทก์ดังกล่าว มีข้อความว่า "ตอบจำเลยถามค้าน (ไม่ถาม)" ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า หมดพยานโจทก์และนัดฟังคำพิพากษา จำเลยก็ไม่โต้แย้งกลับลงชื่อรับทราบ ถือว่าจำเลยไม่ใช้สิทธิถามค้านแล้ว จึงเอาเหตุที่มิได้ถามค้านดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างในภายหลังว่า เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพื่อให้ศาลยกเลิกกระบวนพิจารณานั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8679/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้และการสละสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ย: การกระทำของเจ้าหนี้แสดงเจตนาสละสิทธิ
แม้จำเลยตกลงค้ำประกันหนี้ของกิจการร่วมค้าชนิดไม่มีเงื่อนไข และชนิดไม่เพิกถอน จำเลยต้องชำระหนี้ค้ำประกันแก่โจทก์ทันทีที่โจทก์เรียกให้ชำระ โดยไม่มีสิทธิที่จะคัดค้าน และไม่มีสิทธิเรียกให้โจทก์ไปเรียกร้องจากกิจการร่วมค้าก่อนก็ตาม แต่ตามที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกัน จำเลยไม่ได้ชำระหนี้ภายในเวลาที่โจทก์กำหนด โจทก์ก็มิได้ถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญแต่ได้ผ่อนเวลาเรื่อยมา การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่โจทก์ผ่อนเวลาให้ ถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 นอกจากนี้โจทก์ก็รับเงินที่ชำระโดยไม่อิดเอื้อน หรือขอสงวนสิทธิในการเรียกดอกเบี้ย เนื่องจากการชำระหนี้ที่ล่าช้า แต่โจทก์กลับออกใบเสร็จรับเงินให้จำเลยว่าได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากการค้ำประกันแล้ว และโจทก์ยังได้คืนหนังสือสัญญาค้ำประกันทั้ง 8 ฉบับ ให้จำเลยด้วย โจทก์จึงไม่ติดใจเรียกค่าเสียหายที่จำเลยชำระเงินล่าช้า แม้โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวฉบับลงวันที่ 4 มิถุนายน 2541 เรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหายดังกล่าว ก็เป็นการเรียกร้องภายหลังจากการชำระหนี้การค้ำประกันของจำเลยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ย่อมไม่ทำให้โจทก์กลับมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวขึ้นมาอีก จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยเนื่องจากจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ล่าช้า