คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลอกลวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงเพื่อให้ได้ทรัพย์สินโดยอ้างการชำระหนี้และสัญญาจำนองที่ไม่เป็นผล
เอาความเท็จไปพูดหลอกลวงเขาว่า เจ้าหนี้ของตนเร่งรัดหนี้สินจึงขอเอาเงินจากเขาไปชำระแก่เจ้าหนี้เพื่อรับเอาโฉนดที่ดินคืนมาแล้วจะมาทำจำนองไว้แก่เขา เขาหลงเชื่อมอบเงินให้ไป ชำระหนี้สินจนได้รับโฉนดคืนมามอบไว้แก่เขาแล้ว แต่ไม่ยอมไปทำสัญญาจำนองให้เขาตามที่พูดไว้ดังนี้ เป็นเรื่องกรณีละเมิดต้องใช้สินไหมทดแทนให้แก่เขาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1556/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อและเครื่องหมายของผู้อื่นในสินค้าเพื่อหลอกลวง
จำเลยเอาขวดเปล่าของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด มาใช้อัดน้ำโซดาของจำเลยออกจำหน่าย โดยปรากฏว่า ขวดเปล่าเหล่านั้นมีชื่อบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และตราสิงห์ติดอยู่ที่ขวด โดยติดในเนื้อแก้วขวดบ้างเป็นสลากติดอยู่บ้าง ดังนี้ เป็นการแสดงลักษณะให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัดดังนี้เรียกได้ว่าจำเลยเอาชื่อของบริษัทอื่นซึ่งตนรู้อยู่ว่าไม่มีความชอบธรรมที่จะใช้ มาใช้ให้ปรากฏที่สิ่งสินค้า อันเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 235

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงซื้อขายและการเป็นผู้เสียหาย: ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนถูกหลอกลวง ย่อมเป็นผู้เสียหาย
จำเลยได้หลอกลวงขอซื้อน้ำอัดลมไปจากหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด แล้วไม่ยอมชำระราคา กลับปฏิเสธว่าไม่ได้มาติดต่อขอซื้อน้ำอัดลม ดังนี้ ถือได้ว่าผู้จัดการนั้นเป็นผู้เสียหาย เพราะเป็นผู้ถูกหลอกลวง ส่วนน้ำอัดลมจะเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือไม่ หาเป็นเหตุกระทำให้ผู้จัดการ ซึ่งเป็นผู้เสียหายอยู่แล้วกลายเป็นมิใช่ผู้เสียหายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกกรรมสิทธิที่ดินโดยไม่ชอบ การกดลายพิมพ์นิ้วมือโดยหลอกลวงถือเป็นโมฆะ
มารดากับบุตรมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในที่ดินร่วมกัน ภายหลังบุตรขอให้มารดากดลายพิมพ์นิ้วมือให้ โดยอ้างว่าจะไปขึ้นเงินจำนองที่ดินรายนี้ ครั้นมารดากดลายพิมพ์นิ้วมือให้ไปแล้ว บุตรกลับไปทำเป็นหนังสือมอบอำนาจของมารดาให้บุตรเป็นผู้จัดการยกกรรมสิทธิที่ดินส่วนของมารดาให้แก่บุตร และบุตรได้ดำเนินการมาจนเจ้าพนักงานที่ดินทำนิติกรรมยกให้ที่ดินส่วนมารดาเป็นกรรมสิทธิของบุตร ดังนี้ มารดาย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการให้นี้ได้ เพราะถือได้ว่านิติกรรมการให้ดั่งกล่าว เป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกกรรมสิทธิ์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายจากลายพิมพ์นิ้วมือหลอกลวง
มารดากับบุตรมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน ภายหลังบุตรขอให้มารดากดลายพิมพ์นิ้วมือให้ โดยอ้างว่าจะไปขึ้นเงินจำนองที่ดินรายนี้ ครั้นมารดากดลายพิมพ์นิ้วมือให้ไปแล้ว บุตรกลับไปทำเป็นหนังสือมอบอำนาจของมารดาให้บุตรเป็นผู้จัดการยกกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนของมารดาให้แก่บุตร และบุตรได้ดำเนินการมาจนเจ้าพนักงานที่ดินทำนิติกรรมยกให้ที่ดินส่วนมารดาเป็นกรรมสิทธิ์ของบุตร ดังนี้ มารดาย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนการให้นี้ได้ เพราะถือได้ว่านิติกรรมการให้ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1866/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมขายฝากที่เกิดจากการหลอกลวงด้วยใบมอบอำนาจปลอม ผู้รับซื้อฝากมีสิทธิไล่เบี้ยผู้ขาย
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลซึ่งมูลคดีเรื่องนั้นเกิดขึ้นในเขตนั้น เมื่อศาลจังหวัดนั้นได้ใช้ดุลยพินิจอนุญาต ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องที่ศาลนั้นแล้ว ก็เป็นการชอบด้วย ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 4 (2)
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่านิติกรรมขายฝากระหว่างผู้มีชื่อกับจำเลยเป็นอันใช้ไม่ได้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนนิติกรรมอันใช้ไม่ได้นั้นเสีย ดังนี้ ไม่เกินคำขอในฟ้อง เพราะเป็นลักษณะของการณ์อันเดียวกัน
ทำใบมอบอำนาจปลอมขึ้นว่าเจ้าของที่ดินมอบอำนาจให้ตนเอาที่ดินไปขายฝาก แม้ผู้รับซื้อฝากจะรับซื้อไว้โดยสุจริตและจดทะเบียนการขายฝากไว้แล้ว เจ้าของที่ดินย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายฝากได้ เพราะเจ้าของที่ดินมิได้มอบอำนาจให้ขาย นิติกรรมระหว่างเจ้าของที่ดินกับผู้ซื้อจึงไม่มีต่อกัน ชอบที่ผู้ซื้อจะไปไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงขายของปลอมต้องแสดงกิริยาหรือวาจาหลอกลวงชัดเจน แม้มีเจตนาทุจริตแต่ไม่มีการหลอกลวงจึงไม่เป็นความผิด
ฟ้องว่าจำเลยเอาสร้อยคอ ซึ่งเป็นของปลอมไปขายโดยจำเลยมีเจตนทุจริตหลอกลวงให้เขาเชื่อในสภาพแห่งสร้อยอันเป็นความเท็จ อันเป็นเหตุให้เขาหลงเชื่อและได้ตกลงซื้อสร้อย ดังนี้ ยังไม่เป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 310 เพราะโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยหลอกลวงประการใดจะด้วยกิริยา ด้วยวาจา หรือด้วยประการใด และหลอกลวงอย่างไรมิได้กล่าวในฟ้อง จึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงซื้อขายของปลอม - การระบุรายละเอียดการหลอกลวงในฟ้อง
ฟ้องว่าจำเลยเอาสร้อยคอ ซึ่งเป็นของปลอมไปขาย โดยจำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงให้เขาเชื่อในสภาพแห่งสร้อยอันเป็นความเท็จ อันเป็นเหตุให้เขาหลงเชื่อและได้ตกลงซื้อสร้อย ดังนี้ ยังไม่เป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 310 เพราะโจทก์มิได้กล่าวว่าจำเลยหลอกลวงประการใด จะด้วยกิริยาด้วยวาจาหรือด้วยประการใด และหลอกลวงอย่างไรมิได้กล่าวในฟ้อง จึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1177/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ระบุวัตถุประสงค์ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ศาลย่อมบังคับตามสัญญา หากไม่มีการถูกบังคับหรือหลอกลวง
เช่าเคหะอยู่อาศัยแต่ทำหนังสือสัญญาเช่าว่า เช่าเพื่อการค้าอย่างเดียว ซึ่งฝืนความจริงเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความควบคุมของ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ นั้น ศาลย่อมบังคับให้ตามหนังสือสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเครื่องหมายเพื่อหลอกลวงไม่ถือเป็นการปลอมดวงตราตามกฎหมาย
จำเลยเอาปลอกตะกั่ว ซึ่งประทับตราปลอมเป็นตรามีรูปร่างลักษณะเป็นแบบเดียวกับที่โรงงานกรมอุตสาหกรรมใช้ปิดปากขวดสุราแม่โขงที่แท้จริงมาสรวมปากขวดสุราเถื่อนของจำเลยนั้นเป็นเพียงเครื่องหมายเพื่อจะลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่า สุราในขวดเป็นสุราแม่โขงที่แท้จริงเท่านั้น จึงไม่เป็นการปลอมดวงตราตามที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 211,213 และดวงตราที่ปลอดตะกั่วก็ไม่ใช่ตราที่ใช้ในราชการของกรมโรงงานอุตสาหกรรม หากเป็นตราที่ใช้ในการขายสุราที่เรียกว่าแม่โขงจำเลยปลอมตราที่กล่าวนี้ จึงไม่เป็นการปลอมดวงตราตามที่บัญญัติไว้ใน ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 211,213
of 50