พบผลลัพธ์ทั้งหมด 476 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1309/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากยินยอมการพนันในพื้นที่จำกัด: ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นยามมีหน้าที่เฉพาะเฝ้าดูแลโกดังมิให้เกิดความเสียหายไม่ปรากฏว่ามีหน้าที่ดูแลหรือป้องกันมิให้มีการเล่นการพนันในสถานที่ของบริษัทจำเลยด้วย แม้โจทก์จะเป็นผู้ยินยอมให้มีการเล่นการพนันในตู้ยามซึ่งเป็นสถานที่ของบริษัทจำเลย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรง หรือกระทำการอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตแต่อย่างใด เมื่อจำเลยเลิกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากสามีของลูกจ้างทำงานกับคู่แข่ง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเพื่อความเหมาะสมเพราะเหตุที่ สามีโจทก์ไปทำงานกับบริษัทอื่นซึ่งถือว่าเป็นคู่แข่งขันทางธุรกิจกับจำเลย เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ตาม มาตรา 49 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการกำหนดค่าเสียหายแทนการรับทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3084-3086/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และกำหนดค่าเสียหายแทนการรับกลับเข้าทำงาน
การที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่า นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างหรือผู้ใดกระทำการใด ๆ เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ถึงมาตรา 123 และการใช้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มิได้บัญญัติว่าถึงที่สุดผู้ถูกกล่าวหาอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้ รวมทั้งการใช้อำนาจหน้าที่ตามมาตรา 41 หากคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ใช้อำนาจหน้าที่ไม่ถูกต้องไม่เหมาะสมประการใด ศาลย่อมมีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมได้ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามความเห็นของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคำสั่งให้โจทก์รับจำเลยกลับเข้าทำงานศาลย่อมมีอำนาจกำหนดให้โจทก์จ่ายค่าเสียหายแทนการรับจำเลยกลับเข้าทำงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างมีอำนาจย้ายงานตามสัญญา หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งย้ายและถูกเลิกจ้าง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างประสบปัญหาด้านการตลาดโดยไม่มีลูกค้าสั่งสินค้าแผนกที่ลูกจ้างทำอยู่ จึงมีคำสั่งย้ายลูกจ้างไปทำงานแผนกอื่น ซึ่งลูกจ้างสามารถทำได้ ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาจ้าง ลูกจ้างไม่ยอมย้าย นายจ้างเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรหลายครั้งก็ไม่ปฏิบัติตาม ฉะนั้นเมื่อนายจ้างเลิกจ้าง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2996/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายงานและการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างมีอำนาจย้ายงานตามสัญญา หากลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งย้ายและถูกเลิกจ้าง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
นายจ้างประสบปัญหาด้านการตลาดโดยไม่มีลูกค้าสั่งสินค้าแผนกที่ลูกจ้างทำอยู่จึงมีคำสั่งย้ายลูกจ้างไปทำงานแผนกอื่นซึ่งลูกจ้างสามารถทำได้ ตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ในสัญญาจ้าง ลูกจ้างไม่ยอมย้าย นายจ้างเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรหลายครั้งก็ไม่ปฏิบัติตาม ฉะนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การจ่ายค่าชดเชย และการไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำในคดีแรงงาน
ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยพนักงานกำหนดว่า พนักงานต้องสุภาพ เรียบร้อย เชื่อฟัง และไม่แสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชาฯ ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายระเบียบและแบบธรรมเนียมของจำเลย ห้ามมิให้ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงในการปฏิบัติงาน ห้ามมิให้กระทำการข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตนเว้นแต่ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งให้กระทำและให้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนทราบในโอกาสแรก การที่โจทก์พูดกับเพื่อนร่วมงานว่า ถ้าโจทก์เป็นประธานสหภาพแรงงาน งานชิ้นแรกที่จะทำคือขับไล่ผู้อำนวยการออก ถ้าโจทก์ออกจะต้องมีคนตายนั้นเป็นการพูดไม่สุภาพ และเป็นการแสดงความกระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา เป็นการผิดวินัยตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวแต่ไม่ถึงกับเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันจำเลยจะไล่ออกปลดออกตามข้อบังคับของจำเลยได้ เมื่อจำเลยปลดโจทก์ออกจากงานย่อมเป็นการเลิกจ้าง กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46, 47
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2521 โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์รับสินจ้างเป็นรายเดือนการเลิกสัญญามีผลสมบูรณ์เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521 จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้โจทก์ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 เพราะมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
จำเลยมีคำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2521 โดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์รับสินจ้างเป็นรายเดือนการเลิกสัญญามีผลสมบูรณ์เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปคือเมื่อสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521 จำเลยต้องรับผิดจ่ายสินจ้างให้โจทก์ถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2521แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ให้รับโจทก์กลับเข้าทำงานหรือจ่ายค่าเสียหาย ศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชย เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 เพราะมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2800-2801/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการจ่ายค่าเสียหายระหว่างถูกเลิกจ้าง: ศาลมีอำนาจสั่งจ่ายค่าเสียหายแม้สั่งให้กลับเข้าทำงาน
การที่ลูกจ้างข่มขู่นายจ้าง ถือว่ามีเหตุอันสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้ มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหาย
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ลูกจ้างเสียหายนายจ้างต้องรับผิดในค่าเสียหายของลูกจ้างในระหว่างที่นายจ้างเลิกจ้าง ศาลมีอำนาจให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายในระหว่างเลิกจ้าง ในเมื่อศาลได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปแล้ว
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ทำให้ลูกจ้างเสียหายนายจ้างต้องรับผิดในค่าเสียหายของลูกจ้างในระหว่างที่นายจ้างเลิกจ้าง ศาลมีอำนาจให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายในระหว่างเลิกจ้าง ในเมื่อศาลได้สั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานต่อไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่ศาลแรงงานอนุญาต ย่อมไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
นายจ้างขออนุญาตศาลแรงงานให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต คดีถึงที่สุด แล้วต่อมาลูกจ้างร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ดังนี้ แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานก็ไม่มีผลบังคับเพราะไม่มีอำนาจวินิจฉัยได้ทั้งนี้เนื่องจากมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ได้ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ฉะนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามที่ศาลแรงงานอนุญาตแล้ว จึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างที่ศาลแรงงานอนุญาต ย่อมไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
นายจ้างขออนุญาตศาลแรงงานให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างศาลแรงงานมีคำสั่งอนุญาต คดีถึงที่สุด แล้วต่อมาลูกจ้างร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม ดังนี้ แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานก็ไม่มีผลบังคับเพราะไม่มีอำนาจวินิจฉัยได้ทั้งนี้เนื่องจากมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ ได้ให้อำนาจศาลแรงงานที่จะอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ ฉะนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามที่ศาลแรงงานอนุญาตแล้ว จึงหาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมแต่อย่างใดไม่