พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารภายใต้คำสั่ง คปท.
จำเลยที่ 2 ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลทหาร ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 29 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 จำเลยที่ 2 จึงอุทธรณ์มิได้ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งศาลอุทธรณ์เป็นศาลยุติธรรมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 2 ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลทหารต่อศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929-930/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองหมื่นบาท และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
คดีสองสำนวนนี้ศาลพิจารณาพิพากษารวมกัน โดยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเหตุที่รถชนกันเป็นเพราะความประมาทเลินเล่อของคนขับรถของโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และจำเลยที่ 2 ข้อที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ว่าเหตุที่รถชนกันเป็นเพราะความประมาทของคนขับรถโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ฝ่ายเดียวนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีสำหรับโจทก์ที่ 1 มีทุนทรัพย์แต่ละสำนวนไม่เกินสองหมื่นบาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยถึงแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3334/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่บุคคลออกจากอสังหาริมทรัพย์ ที่ศาลอุทธรณ์ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้น
คดีฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านเรือนที่จำเลยเข้าไปปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยละเมิด ซึ่งเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ปรากฏว่าขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้เกินเดือนละ 5,000บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้โดยบุคคลภายนอก - ข้อจำกัดการนำสืบ - ใบเสร็จรับเงิน
จำเลยเป็นลูกหนี้เงินกู้ของธนาคารโจทก์ การที่จำเลยนำสืบว่าผู้เช่าซื้อที่ดินจัดสรรจากจำเลย ได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ดินแก่ธนาคารโจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่ง เพื่อให้ธนาคารโจทก์นำเข้าบัญชีหักหนี้เงินกู้ดังกล่าวโดยมี ส. เจ้าหน้าที่ธนาคารโจทก์เป็นผู้รับเงินนั้นเท่ากับนำสืบว่าจำเลยให้บุคคลภายนอกชำระหนี้นั้นด้วยเงินแทนจำเลย เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจทำการแทนธนาคารโจทก์มาแสดง หรือได้มีการคืนสัญญากู้หรือได้มีการแทงเพิกถอนสัญญากู้นั้นแล้ว ทั้งการรับเงินค่าเช่าซื้อที่ดินก็ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ออกใบเสร็จรับเงินมอบให้ ส. ไว้เพื่อเก็บเงินแทนจำเลยหาใช่เป็นใบเสร็จรับเงินของธนาคารโจทก์ไม่ ดังนี้ข้อนำสืบของจำเลยเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง รับฟังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2933/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท: ห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในคดีซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต้องอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2772/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โทษจำคุกเป็นกักขัง และข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจำคุกคนละ 20 วันและปรับคนละ 500 บาท รอการลงโทษจำคุกไว้ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้กักขังจำเลยคนละ 20 วัน แทนโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษและไม่ปรับดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนด 1 ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467-2468/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและข้อจำกัดการเรียกร้องค่าเสียหาย: การฟ้องร้องเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินในคราวเดียวกัน
ฟ้องโจทก์สำนวนหลังเป็นการฟ้องหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดินแปลงเดียวกับสำนวนแรกและบุกรุกในวันเดียวกัน แต่สำนวนแรกโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า จำเลยบุกรุกที่ดินส่วนไหน เนื้อที่เท่าไร และโจทก์ได้รับความเสียหายเพียงใด โจทก์เพิ่งมาบรรยายฟ้องในสำนวนหลังว่า จำเลยบุกรุกเป็นบางส่วน โจทก์จึงได้ฟ้องขับไล่จำเลยตามสำนวนแรก ภายหลังฟ้องแล้วจำเลยยังทำการบุกรุกเรื่อยมาจนกระทั่งหมดทั้งแปลง และขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์สำนวนหลังระบุถึงการบุกรุกของจำเลยในที่ดินแปลงเดียวกันในคราวเดียวกัน และเกี่ยวเนื่องกันกับสำนวนแรกความประสงค์ของโจทก์ที่ฟ้องสำนวนหลังก็เพื่อจะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งโจทก์อาจเรียกร้องได้ตั้งแต่สำนวนแรก แต่โจทก์มิได้เรียกร้องไว้ โจทก์เพิ่งมาเรียกร้องในสำนวนหลัง ฟ้องโจทก์สำนวนหลัง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความในคดีบุกรุก และข้อจำกัดในการอุทธรณ์คดีที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง
ปรากฏจากบันทึกข้อตกลงว่า ผู้เสียหายได้กล่าวหาจำเลยที่ 1 กับพวกอีก 2 คนว่าบุกรุกที่ดินผู้เสียหายในที่สุดจำเลยที่ 1 กับพวกรับว่าได้บุกรุกและยอมออกไปจากที่ดินของผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 1 คนเดียวไม่ยอมออกไป คงครอบครองที่ดินนั้นตลอดมา ถือได้ว่าผู้เสียหายกับจำเลย ที่ 1 ได้ยอมความกันโดยตกลงเลิกคดีกันแล้ว สิทธินำคดีมาฟ้องของโจทก์ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) การที่จำเลยที่ 1 ผิดเงื่อนไขไม่ยอมออกไปจากที่ดินเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่ามิได้มีการร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 โจทก์จะฎีกาว่ามีการร่วมกันบุกรุกซึ่งเป็นข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่ามิได้มีการร่วมกันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 โจทก์จะฎีกาว่ามีการร่วมกันบุกรุกซึ่งเป็นข้อเท็จจริงไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3578/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ในชั้นบังคับคดี: ทุนทรัพย์และข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การพิจารณาถึงสิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาไม่ว่าจะเป็นการอุทธรณ์หรือฎีกาในชั้นไหน ต้องถือตามทุนทรัพย์ในคดีเดิม และต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะมีการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา เมื่อทุนทรัพย์ตามคดีเดิมไม่เกินสองหมื่นบาท ในชั้นบังคับคดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาคดีเช่าและสัญญาจองซื้อที่ไม่สมบูรณ์
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้ง จะอุทธรณ์ฎีกาได้เพียงใดหรือไม่ต้องแยกพิจารณาคนละส่วน
สัญญาจองอาคารพาณิชย์ของโจทก์ ก็คือสัญญาซึ่ง จำเลยมีเจตนาจะเช่าอาคารพาณิชย์ของโจทก์อันเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะทำสัญญาจองตึกแถวกันเป็นหนังสือเมื่อข้อความแห่งสัญญาอันเป็นสาระสำคัญยังไม่ได้ตกลงกันหมดทุกข้อ และสัญญายังมิได้ทำเป็นหนังสือตามที่ตกลงกัน ย่อมนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 จำเลยจะอ้างว่า มีสัญญาจองอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์จำเลยและอ้างสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญานั้นหาได้ไม่
เมื่อพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากระจ่างชัดแล้ว แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่มีใครรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องของจำเลยดีกว่าจำเลยเอง คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยเพิ่มเติม
สัญญาจองอาคารพาณิชย์ของโจทก์ ก็คือสัญญาซึ่ง จำเลยมีเจตนาจะเช่าอาคารพาณิชย์ของโจทก์อันเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์
โจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะทำสัญญาจองตึกแถวกันเป็นหนังสือเมื่อข้อความแห่งสัญญาอันเป็นสาระสำคัญยังไม่ได้ตกลงกันหมดทุกข้อ และสัญญายังมิได้ทำเป็นหนังสือตามที่ตกลงกัน ย่อมนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 จำเลยจะอ้างว่า มีสัญญาจองอาคารพาณิชย์ระหว่างโจทก์จำเลยและอ้างสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามสัญญานั้นหาได้ไม่
เมื่อพยานจำเลยเท่าที่นำสืบมากระจ่างชัดแล้ว แม้จะให้สืบพยานจำเลยต่อไปก็ไม่มีใครรู้ข้อเท็จจริงในเรื่องของจำเลยดีกว่าจำเลยเอง คดีจึงไม่มีประโยชน์อย่างใดที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยเพิ่มเติม