พบผลลัพธ์ทั้งหมด 401 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2069/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษซ้ำตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์: การพ้นโทษด้วยการชำระค่าปรับ และความหมายของการพ้นโทษ
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 73 บัญญัติว่า "ผู้ใดกระทำความผิดต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัตินี้ เมื่อพ้นโทษแล้วยังไม่ครบกำหนดห้าปีกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัตินี้อีกต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น" บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ระบุว่าการพ้นโทษจะต้องเป็นการพ้นโทษจำคุกอย่างเดียว การปรับก็ถือว่าเป็นโทษอย่างหนึ่งตามป.อ. มาตรา 18 (4) ดังนั้น แม้คดีก่อนศาลจะลงโทษจำคุกและรอการลงโทษให้จำเลย แต่ปรากฏว่า คดีนั้นศาลก็ได้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่งด้วย เมื่อมีการชำระค่าปรับครบถ้วนในวันเวลาใด ย่อมถือว่าจำเลยได้พ้นโทษในวันที่ชำระค่าปรับนั้นแล้ว ได้ความว่าขณะกระทำความผิดคดีนี้ จำเลยยังชำระค่าปรับในคดีก่อนไม่ครบถ้วน จึงเป็นกรณีที่จำเลยยังไม่ได้พ้นโทษในคดีก่อนและเมื่อกลับมากระทำความผิดคดีนี้ ซึ่งแม้จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เช่นเดียวกันก็ไม่อาจระวางโทษสองเท่าแก่จำเลยตามพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 73 ได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางระวางโทษสองเท่าแก่จำเลยตามมาตรานี้ จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14306/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระค่าปรับและการกักขังแทนค่าปรับในคดียาเสพติด
ศาลอุทธรณ์พิพากษาปรับจำเลยทั้งสองเกินแปดหมื่นบาท และมิได้สั่งว่าจะบังคับชำระค่าปรับอย่างไร ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้ชัดเจน โดยพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังแทนค่าปรับไม่เกิน 1 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13788/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์คำสั่งปรับค่าประกัน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการพิจารณาค่าปรับจากผิดสัญญาประกัน
หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอลดหรืองดค่าปรับแก่ผู้ประกันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แล้ว ผู้ประกันได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำสั่งแก่ผู้ประกันและผู้ประกันยื่นอุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จึงเป็นการยื่นไม่เกินกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยาย
ส่วนที่ผู้ประกันขอให้ศาลฎีกาพิจารณาและมีคำสั่งกรณีของดหรือลดค่าปรับไปในคราวเดียวกันนี้ด้วยนั้น เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ฉะนั้น จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะพิจารณาและมีคำสั่งอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไป ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ของผู้ประกันได้
ส่วนที่ผู้ประกันขอให้ศาลฎีกาพิจารณาและมีคำสั่งกรณีของดหรือลดค่าปรับไปในคราวเดียวกันนี้ด้วยนั้น เนื่องจาก ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้อง เมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ฉะนั้น จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่จะพิจารณาและมีคำสั่งอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกันจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไป ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ของผู้ประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13417/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการจ่ายเงินรางวัลค่าปรับให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ: ข้อบังคับกระทรวงการคลังมิได้กำหนดหน้าที่โดยตรง
แม้ข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินรางวัลของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร พ.ศ.2544 ข้อ 5 กำหนดว่า "เงินค่าปรับที่ส่วนราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับ ให้หักไว้จ่ายเป็นเงินรางวัล เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจรในอัตราร้อยละ 95 ก่อนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน" ก็ตาม แต่ข้อบังคับดังกล่าวเป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติของส่วนราชการในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติเกี่ยวกับการหักเงินค่าปรับจ่ายเป็นเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจรก่อนนำส่งคลังเท่านั้น ไม่ใช่ข้อบังคับที่กำหนดให้ศาลจ่ายเงินรางวัลค่าปรับแก่ผู้จับกุม โจทก์จึงไม่มีอำนาจยื่นคำขอให้ศาลจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผู้จับกุมตามข้อบังคับดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ต่อสัญญาทางแพ่ง: สัญญาไม่ระงับ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าปรับได้จนถึงวันบอกเลิกสัญญา
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีผลเพียงทำให้ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ป. ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยตนเองต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการแทน หามีผลทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับห้างดังกล่าวต้องสิ้นสุดหรือระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับได้จนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฎีกาในคดีค่าปรับจากการผิดสัญญาประกันตัว: ศาลชั้นต้นรับฎีกาไม่ได้ตาม ป.วิ.อ. ม.119
ผู้ประกันขอลดและขอผ่อนชำระค่าปรับ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ประกันอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ประกันจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างเหมา, ค่าปรับ, การหักค่าเสียหายจากค่าจ้าง, และการชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว กฎหมายบังคับให้คู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม การกำหนดค่าของงานที่จะต้องชดใช้แก่กัน มิใช่เป็นค่าตอบแทนหรือค่าเสียหาย แต่เป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ส่วนค่าของงานที่จะชดใช้แก่กันนั้น ก็ต้องพิจารณาจากมูลค่างานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยตามความจริง จะยึดเอาค่าจ้างที่จะต้องชำระตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เลิกกันแล้วมาเป็นหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะค่าจ้างที่กำหนดให้ชำระแก่กันตามสัญญานั้นอาจมีการกำหนดสิ่งที่มิใช่ค่าของงานลงไปด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่ บัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ และในสัญญาจ้าง ข้อ 20 กำหนดให้จำเลยสามารถเรียกค่าปรับในกรณีที่โจทก์ส่งมอบงานล่าช้าในอัตราวันละ 31,880 บาท แม้จำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้วก็ตาม ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับกรณีส่งมอบงานล่าช้าแก่จำเลย และต้องนำมาหักจากค่าของงานที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรก็ดี ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383
หนังสือค้ำประกันในวงเงินจำนวน 900,000 บาท เป็นหนังสือค้ำประกันที่โจทก์นำมอบให้แก่จำเลย เพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา รวมถึงการประกันความชำรุดเสียหายของงานจ้างที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน 2 ปี นับแต่วันส่งมอบงาน หากไม่มีความเสียหายหรือโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงจะคืนหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์ ทั้งจำเลยยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินแก่จำเลยตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จึงถือว่าจำเลยริบเงิน 900,000 บาท มาเป็นการชำระค่าเสียหายแก่จำเลยแล้วไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่ บัญญัติว่า การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่ และในสัญญาจ้าง ข้อ 20 กำหนดให้จำเลยสามารถเรียกค่าปรับในกรณีที่โจทก์ส่งมอบงานล่าช้าในอัตราวันละ 31,880 บาท แม้จำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์แล้วก็ตาม ดังนั้น โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับกรณีส่งมอบงานล่าช้าแก่จำเลย และต้องนำมาหักจากค่าของงานที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ แต่การที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควรก็ดี ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรตามมาตรา 383
หนังสือค้ำประกันในวงเงินจำนวน 900,000 บาท เป็นหนังสือค้ำประกันที่โจทก์นำมอบให้แก่จำเลย เพื่อเป็นการปฏิบัติตามสัญญา รวมถึงการประกันความชำรุดเสียหายของงานจ้างที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน 2 ปี นับแต่วันส่งมอบงาน หากไม่มีความเสียหายหรือโจทก์ได้ชำระค่าเสียหายแก่จำเลยครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงจะคืนหนังสือค้ำประกันแก่โจทก์ ทั้งจำเลยยังมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ธนาคารใช้เงินแก่จำเลยตามหนังสือค้ำประกันดังกล่าว จึงถือว่าจำเลยริบเงิน 900,000 บาท มาเป็นการชำระค่าเสียหายแก่จำเลยแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าของงานเมื่อสัญญาเลิกกัน การหักกลบลค่าปรับ และค่าฤชาธรรมเนียม
เมื่อสัญญาเลิกกัน คู่สัญญาต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะเดิม การกำหนดค่าของงานที่จะต้องชดใช้แก่กัน จึงมิใช่เป็นค่าตอบแทนหรือค่าเสียหาย แต่เป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถทำให้คู่สัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ส่วนค่าของงานที่จะชดใช้แก่กันนั้น ก็ต้องพิจารณาจากมูลค่าของงานที่โจทก์ทำให้แก่จำเลยตามความเป็นจริง จะยึดเอาค่าจ้างที่จะต้องชำระตามงวดงานที่กำหนดไว้ในสัญญาที่เลิกกันแล้วมาเป็นหลักเกณฑ์อีกไม่ได้ เพราะค่าจ้างที่กำหนดให้ชำระตามสัญญานั้นอาจมีการกำหนดสิ่งที่มิใช่ค่าของงานลงไปด้วย
ที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
ความรับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ฝ่ายใดเป็นผู้เสียก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี
ที่โจทก์และจำเลยตกลงกันว่า จะใช้เงินจำนวนหนึ่ง เมื่อไม่ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร ถือเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383
ความรับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียม ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ฝ่ายใดเป็นผู้เสียก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของนิติบุคคล และการลดค่าปรับจากสัญญาที่ไม่สมเหตุสมผล
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบงานบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นผู้กระทำการแทนโจทก์ซึ่งเป็นจังหวัดโดยผลของกฎหมาย เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ลงลายมือชื่อแต่งให้ ส. อัยการผู้เชี่ยวชาญคดีแพ่ง เขต 8 เป็นทนายความยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วย่อมถือได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องแล้ว ไม่ต้องแสดงสิทธิและหน้าที่ตลอดจนวัตถุประสงค์ของโจทก์ว่ามีอำนาจและขอบเขตการใช้อำนาจอย่างไร หรือต้องแสดงเอกสารสำคัญของอำนาจหน้าที่และวัตถุประสงค์ของโจทก์มาในฟ้อง
โจทก์ตระหนักดีอยู่แล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถที่จะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างได้อย่างแน่นอนตั้งแต่ก่อนถึงเวลาครบกำหนดการทำงานตามสัญญาว่าจ้าง การที่โจทก์ทอดเวลาบอกเลิกสัญญาเป็นเวลาถึง 277 วัน เป็นการไม่พยายามบรรเทาความเสียหายลงไปบ้าง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนผิดไม่บอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควร ทำให้จำนวนเบี้ยปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ที่โจทก์คิดค่าปรับวันละ 2,607 บาท เป็นเวลา 277 วัน เป็นเงิน 722,139 บาท จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
โจทก์ตระหนักดีอยู่แล้วว่าจำเลยทั้งสองไม่สามารถที่จะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างได้อย่างแน่นอนตั้งแต่ก่อนถึงเวลาครบกำหนดการทำงานตามสัญญาว่าจ้าง การที่โจทก์ทอดเวลาบอกเลิกสัญญาเป็นเวลาถึง 277 วัน เป็นการไม่พยายามบรรเทาความเสียหายลงไปบ้าง ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนผิดไม่บอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควร ทำให้จำนวนเบี้ยปรับสูงขึ้นเพราะเหตุที่โจทก์บอกเลิกสัญญาล่าช้าด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์เสียหายเพียงใด ที่โจทก์คิดค่าปรับวันละ 2,607 บาท เป็นเวลา 277 วัน เป็นเงิน 722,139 บาท จึงเป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3921/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาเช่า, การคิดค่าเสียหาย, และการหักเงินชำระหลังฟ้อง: ศาลฎีกาแก้ไขค่าเสียหายตามสัญญาเช่ารถ
สัญญาเช่ารถยนต์บรรทุก 10 ล้อ ข้อ 11.3 และรายละเอียดการเช่าทรัพย์สินกำหนดค่าปรับในกรณีผิดนัดชำระค่าเช่า 123 บาทต่อวัน การที่โจทก์บรรยายฟ้องขอค่าปรับส่วนนี้ตั้งแต่วันผิดนัดชำระค่าเช่าแต่ละงวดถึงวันฟ้องนั้น คำขอของโจทก์ไม่ถูกต้อง เพราะโจทก์สามารถเรียกค่าปรับได้ถึงวันเลิกสัญญาเท่านั้น เนื่องจากเมื่อสัญญาเลิกกันแล้วไม่มีค่าเช่าที่จะชำระให้แก่โจทก์อีก มีแต่ค่าเสียหายเท่านั้น