พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากทรัพย์มรดกและหลักการแบ่งสินสมรสเมื่อไม่มีสินเดิม
ภริยาได้รับทรัพย์มรดกจากบิดามารดาของตนมาในระหว่างที่อยู่กินเป็นสามีภริยากับสามี ย่อมถือว่าทรัพย์มรดกที่ได้มานั้น เป็นสินสมรสระหว่างตนกับสามี เมื่อเอาทรัพย์นั้นไปขายได้เงินมา แล้วซื้อที่ดินและบ้านเรือนก็ย่อมถือว่าที่ดินและบ้านเรือนนั้นเป็นสินสมรสอยู่นั่นเอง
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาเมื่อก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 นั้น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มีสินเดิมด้วยกัน ก็ให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วนให้ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน
และในกรณีที่ชายถึงแก่กรรมส่วนของชายย่อมตกเป็นมรดกตกได้แก่บุตรและภรรยาคนละส่วนเท่าๆกัน ถ้ามีภรรยา 2คน ก็คงได้รับส่วนแบ่งร่วมกันเพียงส่วนเดียวและในส่วนเดียวนี้ ยังแบ่งออกเป็น 3 ส่วนภริยาหลวงได้ 2ส่วน ภริยาน้อยได้ 1 ส่วน
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาเมื่อก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 นั้น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มีสินเดิมด้วยกัน ก็ให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วนให้ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน
และในกรณีที่ชายถึงแก่กรรมส่วนของชายย่อมตกเป็นมรดกตกได้แก่บุตรและภรรยาคนละส่วนเท่าๆกัน ถ้ามีภรรยา 2คน ก็คงได้รับส่วนแบ่งร่วมกันเพียงส่วนเดียวและในส่วนเดียวนี้ ยังแบ่งออกเป็น 3 ส่วนภริยาหลวงได้ 2ส่วน ภริยาน้อยได้ 1 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นเดียวกัน: การฟ้องเรียกทรัพย์มรดกซ้ำ แม้เป็นทรัพย์ต่างกัน ย่อมเป็นฟ้องที่ต้องห้าม
โจทก์เคยฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของสามีผู้วายชนม์จากจำเลยจนศาลได้พิพากษาให้แบ่งสินสมรสและแบ่งปันมรดกไปแล้วแม้ทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องขึ้นใหม่ในคดีใหม่เป็นทรัพย์คนละอย่างกับคดีก่อนแต่ก็เป็นเรื่องเรียกทรัพย์จากจำเลยมาแบ่งเป็นสินสมรส และแบ่งมรดกเช่นเดียวกันอันเรียกได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับคดีก่อน ซึ่งได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 แม้โจทก์ได้ขอสงวนสิทธิไว้ในคดีก่อน แต่ศาลก็มิได้พิพากษาว่าไม่ตัดสิทธิจะฟ้องร้องว่ากล่าวหรือนัยหนึ่งไม่ได้ให้สิทธิโจทก์ที่จะฟ้องร้องใหม่ได้ จึงไม่ทำให้โจทก์กลับมีอำนาจฟ้องคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนกับการจัดการศพ: สิทธิเรียกร้องทรัพย์มรดกของผู้จัดการศพ
มารดาของผู้ตาย ซึ่งได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียว ย่อมมีหน้าที่เป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายตาม ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1649 วรรคท้าย ฉะนั้น เมื่อมารดาผู้ตายทำสัญญามอบทรัพย์ของผู้ตายทั้งหมดให้ภรรยาอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย โดยให้ภรรยาคนนั้นรับทำศพผู้ตาย ดังนี้ ย่อมถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน มารดาผู้ตายไม่มีสิทธิจะเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายจากภรรยานั้นในภายหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้จัดการศพ-สัญญาต่างตอบแทน-สิทธิในทรัพย์มรดก
มารดาของผู้ตาย ซึ่งได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียว ย่อมมีหน้าที่เป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1649 วรรคท้าย ฉะนั้นเมื่อมารดาผู้ตายทำสัญญามอบทรัพย์ของผู้ตายทั้งหมดให้ภรรยาอันไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายโดยให้ภรรยาคนนั้นรับทำศพผู้ตาย ดังนี้ ย่อมถือว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน มารดาผู้ตายไม่มีสิทธิจะเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายจากภรรยานั้นในภายหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องหนี้จากทรัพย์มรดก: เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องทายาทภายใน 1 ปี แม้สัญญายังไม่ถึงกำหนด
เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของลูกหนี้ใน 1 ปี นับแต่ลูกหนี้ตาย แม้สัญญาที่ผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ทำไว้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องได้
แม้ทายาทของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์จะเอาทรัพย์มรดกของผู้ตายไปเป็นความกันอย่างไร โจทก์ก็ฟ้องทายาทให้ชำระหนี้โจทก์ได้ ส่วนที่ทายาทเอาทรัพย์มรดกของผู้ตายไปเป็นความกันนั้น ไม่มีในฟ้องและคำให้การ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น
แม้ทายาทของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์จะเอาทรัพย์มรดกของผู้ตายไปเป็นความกันอย่างไร โจทก์ก็ฟ้องทายาทให้ชำระหนี้โจทก์ได้ ส่วนที่ทายาทเอาทรัพย์มรดกของผู้ตายไปเป็นความกันนั้น ไม่มีในฟ้องและคำให้การ จึงเป็นเรื่องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยไม่ชัดเจนตามส่วนครอบครอง ศาลต้องประมูลเพื่อแบ่งเงิน
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกของผู้ตายจากจำเลย โดยบรรยายว่าได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันคนละกึ่ง แล้วต่างได้ปกครองร่วมกันมา จึงขอให้ศาลพิพากษาแบ่งทรัพย์ตามที่ตกลงแบ่งกันคนละครึ่ง แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่า ในการตกลงแบ่งกันนั้น โจทก์ได้ที่ดินแปลงซีกตะวันตกจำเลยได้ซีกตะวันออก ศาลก็จะพิพากษาแบ่งให้ตามนั้นไม่ได้เพราะโจทก์ไม่ได้ตั้งรูปคดีมาในทางขอแบ่งตามส่วนที่ครอบครองและมิได้นำรังวัดให้ปรากฏว่าส่วนที่ตนครอบครองนั้นแค่ไหน ศาลต้องพิพากษาให้ประมูลหรือขายทอดตลาด แล้วแบ่งเงินกันคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากการใช้เงินส่วนแบ่งทรัพย์มรดก รายงานการแบ่งทรัพย์ใช้เป็นหลักฐานได้
จำเลยได้ลงชื่อไว้ในรายงานการแบ่งทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาล รับรองว่าจำเลยได้เอาเงินส่วนได้ของโจทก์ไปใช้ค่าที่ดินที่จำเลยประมูลได้ หากจะว่าเป็นการกู้ยืมเงินก็เป็นหลักฐานเพียงพอตามความประสงค์ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แล้ว โจทก์ใช้หลักฐานนี้ ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก 1 ปี เริ่มนับแต่วันรู้ความตาย แม้มีการฟ้องร้องเรียกทรัพย์มรดกก่อนหน้านี้
ทายาทคนหนึ่งฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของผู้ตายจากผู้ที่ยึดถือไว้ จนชนะคดีได้ทรัพย์มรดกนั้นมา ภายหลังเจ้ามรดกตายเกิน 1 ปีแล้ว ดังนี้ ทายาทคนอื่นจะฟ้องขอแบ่งมรดกนี้จากทายาทผู้ได้มรดกมานั้นอีก ย่อมถือว่า ขาดอายุความมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์มรดกที่ครอบครองแทนกัน การยึดทรัพย์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทรัพย์ที่ศาลสั่งยึดปรากฏว่าเป็นทรัพย์มรดกของภรรยาจำเลยซึ่งได้รับมรดกมาจากบิดามารดา ร่วมกับทายาทคนอื่นๆ แต่ทายาทได้มอบให้จำเลยกับภริยาครอบครองแทนทำได้ผลประโยชน์ก็แบ่งปันกัน ดังนี้ หาเป็นทรัพย์ของจำเลยไม่ ศาลต้องถอนการยึด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และสิทธิของผู้เยาว์ที่ได้รับผลกระทบจากการห้ามเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ก. ไม่เป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยไม่ได้ต่อสู้ความข้อนี้ เป็นแต่กล่าวในคำให้การถึงเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ว่า ทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสของ พ. และ ก. ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อเป็นสามีภรรยากันมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ต้องถือว่าในข้อที่ว่า พ. กับ ก. เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้ง จึงต้องฟังตามคำโจทก์ว่า พ. กับ ก. ไม่ได้เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลจะแบ่งทรัพย์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่ใช่ผัวเมียกันอย่างเป็นเจ้าของร่วมนั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่ชายหญิงทำมาหาได้มาด้วยกัน โดยเห็นเจตนาได้ว่าการที่เขาปฏิบัติต่อกันฉันสามีภรรยา และช่วยกันหาทรัพย์มาเช่นนี้.มีความประสงค์จะหาร่วมกัน
ตามมาตรา 1627 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุตรนอกกฎหมายถ้าบิดาได้รับรองแล้ว แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังอาจมีสิทธิรับมรดกของชายผู้ให้กำเนิดได้ ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา1629(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกกฎหมายของ พ. โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ. แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า พ.ได้รับรองเด็กเป็นบุตรอันจะทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมรดกของพ. หรือไม่นั้น ยังไม่ปรากฏ ความข้อนี้คู่ความมิได้ขึ้นโต้เถียงอย่างชัดแจ้งในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความ เพราะถ้าห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทรัพย์นี้ในฐานที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กผู้เยาว์แล้ว ผู้เยาว์อาจเสียหายได้ ดังนี้ ย่อมเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่
การที่ศาลจะแบ่งทรัพย์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่ใช่ผัวเมียกันอย่างเป็นเจ้าของร่วมนั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่ชายหญิงทำมาหาได้มาด้วยกัน โดยเห็นเจตนาได้ว่าการที่เขาปฏิบัติต่อกันฉันสามีภรรยา และช่วยกันหาทรัพย์มาเช่นนี้.มีความประสงค์จะหาร่วมกัน
ตามมาตรา 1627 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุตรนอกกฎหมายถ้าบิดาได้รับรองแล้ว แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังอาจมีสิทธิรับมรดกของชายผู้ให้กำเนิดได้ ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา1629(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกกฎหมายของ พ. โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ. แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า พ.ได้รับรองเด็กเป็นบุตรอันจะทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมรดกของพ. หรือไม่นั้น ยังไม่ปรากฏ ความข้อนี้คู่ความมิได้ขึ้นโต้เถียงอย่างชัดแจ้งในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความ เพราะถ้าห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทรัพย์นี้ในฐานที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กผู้เยาว์แล้ว ผู้เยาว์อาจเสียหายได้ ดังนี้ ย่อมเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่