คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้ค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 571 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2483/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้และการผ่อนเวลาชำระหนี้ของผู้ค้ำประกัน รวมถึงอำนาจศาลในการรับฟ้องแย้ง
จำเลยเป็นผู้ค้ำประกันลูกหนี้ซึ่งกู้เงินโจทก์ ภายหลังจำเลยได้ทำสัญญารับสภาพหนี้ยอมใช้เงินให้โจทก์ โจทก์มาฟ้องเรียกเงินตามสัญญารับสภาพหนี้นั้น จำเลยจะอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ หาเพียงพอที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับสภาพหนี้ไม่และที่จำเลยต่อสู้คดีว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้จำเลย ก็มิใช่เป็นเรื่องผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 ที่จำเลยจะหลุดพ้นจากความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง จำเลยฟ้องแย้งเรียกเงินจากโจทก์ 3,850 บาท จำนวนทุนทรัพย์ตามฟ้องแย้งนั้นไม่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะรับไว้พิจารณาพิพากษาได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15, 22(4) เพราะทุนทรัพย์เกิน 2,000 บาท จำเลยจึงฟ้องแย้งมาในคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันและการคืนโฉนดไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดตามสัญญา
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้นการที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2718/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้: การคืนโฉนดไม่ปลดเปลื้องความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 697 เป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้เหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ เช่น การจำนอง จำนำ หรือบุริมสิทธิ โฉนดเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ ลูกหนี้มอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้จึงไม่ทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิใดๆ ในตัวทรัพย์คือที่ดินตามโฉนดนั้น การที่เจ้าหนี้คืนโฉนดให้แก่ลูกหนี้ไป จึงไม่เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกันพ้นความรับผิดไปได้ (อ้างฎีกาที่ 631/2474)
การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ในฐานที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แพ้คดีแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา161 นั้น จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันจะอ้างเหตุที่โจทก์ไม่ทวงถามก่อนฟ้อง ขึ้นเป็นข้อยกเว้นความรับผิดเพื่อค่าฤชาธรรมเนียมความซึ่งลูกหนี้จะต้องใช้ให้แก่เจ้าหนี้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 684 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน: ต้องบังคับจากลูกหนี้ชั้นต้นก่อน หากพิสูจน์ได้ว่ามีทรัพย์สิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระแทน มีผลเท่ากับว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินให้แก่โจทก์ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะใช้ได้ ก็ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ใช้แทนจนครบ โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 838/2494) ดังนั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 ก็จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ และการบังคับชำระหนี้นั้นจะต้องไม่เป็นการยากด้วย (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 980/2513)
โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีที่ดิน 2 แปลง แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 โดยเห็นว่า โจทก์มีสิทธิเลือกบังคับจากจำเลยคนใดก็ได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่มีโอกาสที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินดังกล่าวอ้างอันจะบังคับชำระหนี้ให้โจทก์ได้หรือไม่ จึงควรที่ศาลชั้นต้นจะได้ดำเนินการไต่สวนในเรื่องทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้เป็นที่ยุติเสียก่อน ไม่ควรให้โจทก์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไปได้ทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2223/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน: ต้องบังคับทรัพย์สินลูกหนี้ชั้นต้นก่อน และพิสูจน์ทรัพย์สินลูกหนี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามสัญญากู้ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และ ที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันชำระแทน มีผลเท่ากับว่าให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินให้แก่โจทก์ก่อน ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจะใช้ได้ ก็ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ใช้แทนจนครบ โจทก์จึงต้องดำเนินการบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 838/2494) ดังนั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 ก็จะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ และการบังคับชำระหนี้นั้นจะต้องไม่เป็นการยากด้วย (วินิจฉัยตามแนวฎีกาที่ 980/2513)
โจทก์นำยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา จำเลยที่ 3 จึงยื่นคำร้องยืนยันว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นมีที่ดิน 2 แปลง แต่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 โดยเห็นว่า โจทก์มีสิทธิเลือกบังคับจากจำเลยคนใดก็ได้ จำเลยที่ 3 จึงไม่มีโอกาสที่จะพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินดังกล่าวอ้างอันจะบังคับชำระหนี้ให้โจทก์ได้หรือไม่ จึงควรที่ศาลชั้นต้นจะได้ดำเนินการไต่สวนในเรื่องทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ให้เป็นที่ยุติเสียก่อน ไม่ควรให้โจทก์บังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ไปได้ทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผู้ค้ำประกัน: ฟ้องเกิน 1 ปีหลังทราบการตายลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันยกอายุความได้
เจ้าหนี้โจทก์ฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้หลังจากเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการตายของลูกหนี้เกิน 1 ปีแล้ว ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความผู้ค้ำประกันย่อมยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754(3) ประกอบมาตรา 694 ขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ค้ำประกัน, การเรียกร้องจากลูกหนี้ก่อน, อายุความสัญญาประกันค่าเสียหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 688 ที่ให้สิทธิผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้เรียกร้องเอาชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อนได้นั้น มิได้หมายความว่าถ้าเจ้าหนี้ไม่เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนแล้วจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด เพราะเจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกร้องหรือฟ้องผู้ค้ำประกันฝ่ายเดียวให้รับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยผู้ค้ำประกันจะได้ขอให้โจทก์เรียกร้องเอาชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อนแล้ว โจทก์ไม่ฟ้องเรียกร้องเอาจากลูกหนี้ปล่อยเวลาให้ล่วงมาถึง 6 ปีจึงฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยจะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริต ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับเอาจากจำเลยไม่ได้
ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันขอให้เจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ก่อนนั้นผู้ค้ำประกันต้องพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้มีทางชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการยาก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 689 เมื่อจำเลยไม่นำสืบพิสูจน์ จำเลยก็ไม่อาจอ้างประโยชน์ตามมาตรา 689 นี้ได้
ทรัพย์ที่เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันจะต้องเป็นทรัพย์ของลูกหนี้เมื่อไม่ใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ จำเลยผู้ค้ำประกันจึงไม่มีสิทธิตามมาตรา 690ที่จะยกขึ้นใช้ยันโจทก์
สัญญาประกันค่าเสียหาย มีอายุความฟ้องร้อง 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องผู้กู้และผู้ค้ำประกัน แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ หากผู้กู้ผิดนัด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้และจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ให้การว่า จะได้ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันหรือเปล่าจำไม่ได้สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่รับรองและไม่ยืนยันถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีข้อต่อสู้ และไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ
กู้เงินโจทก์โดยสัญญาจะชำระดอกเบี้ยให้ทุกเดือน แต่มิได้ชำระให้โจทก์ทวงถาม ก็ไม่ชำระ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัด เมื่อมีสัญญาระบุว่าถ้าผู้กู้ประพฤติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดยอมให้โจทก์ฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องผู้กู้ให้ชำระหนี้ได้แม้เงินต้นยังไม่ถึงกำหนดชำระ และเมื่อผู้กู้ผิดนัด โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการต่อสู้ของผู้ค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันอาจยกอายุความได้แม้มีข้อตกลงพิเศษ
เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ แล้วถึงแก่ความตายลงโดยยังมิได้ชำระหนี้โจทก์เพิ่งฟ้องทายาทเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความฟ้องร้อง
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้วผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วยดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญาหรือผู้กู้ถึงแก่กรรมหรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ยผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้นยังแปลไม่ได้ว่า แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันยกอายุความได้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความ แม้ในสัญญาค้ำประกันจะระบุถึงความรับผิดชอบ
เจ้ามรดกกู้เงินโจทก์ แล้วถึงแก่ความตายลงโดยยังมิได้ชำระหนี้. โจทก์เพิ่งฟ้องทายาทเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก. สิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความฟ้องร้อง.
นอกจากข้อต่อสู้ซึ่งผู้ค้ำประกันมีต่อเจ้าหนี้แล้วผู้ค้ำประกันยังอาจยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ได้ด้วย. ดังนั้น เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งมีต่อลูกหนี้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
สัญญาค้ำประกันที่มีข้อความว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้ตามสัญญา. หรือผู้กู้ถึงแก่กรรม. หรือหนี้ระงับด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้กู้ต้องขาดสูญต้นเงินหรือดอกเบี้ย. ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้ให้แทนทั้งสิ้นนั้น. ยังแปลไม่ได้ว่า. แม้เมื่อหนี้เงินกู้ขาดอายุความแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ยอมสละสิทธิไม่ยกอายุความขึ้นต่อสู้.
of 58