คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทต้องพิจารณาจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ใช่จากพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา
ประเด็นข้อพิพาทในคดีจะต้องพิจารณาจากคำฟ้อง คำให้การ เป็นข้อสำคัญ มิใช่พิจารณาจากข้อเท็จจริงและการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา แม้พยานโจทก์จะได้เบิกความถึงว่า มีการเสนอว่าจะให้ค่าทดแทนแก่จำเลยแล้วก็ตาม แต่ในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้มีการเสนอค่าทดแทนให้แก่จำเลยแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1352 หรือไม่ เมื่อคดีไม่มีประเด็นดังกล่าวเสียแล้ว ศาลจึงไม่อาจพิจารณาพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามฟ้องโจทก์และกำหนดค่าทดแทนเพื่อให้โจทก์ชำระแก่จำเลยได้เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซ้ำ โดยชี้ว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการพิจารณาตามคำพิพากษาศาลฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องโจทก์อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยมีเนื้อหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเช่นเดียวกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาไปแล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาเช่นเดียวกันกับที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยดังกล่าว อันเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดเจนว่าศาลชั้นต้นยกเรื่องอื่นขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลฎีกาในประเด็นที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาไปแล้ว โดยพยายามเบี่ยงเบนให้เกิดเป็นประเด็นใหม่ขึ้นในเรื่องอำนาจฟ้องแล้วสรุปทำนองว่าโจทก์มิได้ถูกโต้แย้งสิทธิจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นการพิพากษาซ้ำซ้อนกับคำพิพากษาเดิมของศาลชั้นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ยอมดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ให้เป็นไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สัญญาและหนังสือรับสภาพหนี้ที่ทำในจังหวัดอื่น ศาลแขวงดุสิตไม่มีอำนาจพิจารณา
คำว่า มูลคดี ตามที่บัญญัติใน ป.วิ.พ. มาตรา 4 นั้น หมายถึง มูลเหตุซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้องแก่โจทก์ คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเรียกค่าสินค้าฝากขายที่จำเลยทั้งสองค้างชำระอันเนื่องจากโจทก์ตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าที่โจทก์ผลิตในจังหวัดพัทลุง โดยพนักงานของโจทก์เป็นผู้ติดต่อกับจำเลยทั้งสองที่จังหวัดพัทลุง แม้มิได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ แต่จำเลยทั้งสองก็ได้แสดงเจตนาสนองรับเป็นตัวแทนที่จังหวัดพัทลุงนั้นเอง ดังนั้น สัญญาที่เป็นมูลเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องร้องของโจทก์จึงเกิดขึ้นที่จังหวัดพัทลุง ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดพัทลุง ส่วนที่ตั้งของสำนักงานโจทก์เป็นเพียงสถานที่ที่พนักงานโจทก์ทำงานอยู่ในเวลาที่จำเลยทั้งสองโทรศัพท์มาติดต่อเพื่อให้ส่งสินค้าเท่านั้น ซึ่งสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อส่งสินค้าไม่ใช่ติดต่อทำสัญญา ย่อมไม่ใช่สถานที่ที่มูลคดีเกิด
การรับสภาพหนี้โดยการทำเป็นหนังสือเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวที่ลูกหนี้กระทำได้เองโดยสมบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ที่จังหวัดพัทลุง หนังสือรับสภาพหนี้ก็มีผลโดยสมบรูณ์ทันที ศาลแขวงดุสิตจึงไม่ใช่ศาลที่มีเขตอำนาจ ศาลแขวงดุสิตจึงชอบที่จะพิพากษายกฟ้องเพื่อให้โจทก์นำคดีไปฟ้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจต่อไป
การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งและศาลแพ่งมีคำสั่งรับฟ้องไว้แล้ว ต่อมาศาลแพ่งมีคำสั่งให้โอนคดีมายังศาลแขวงดุสิตตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ และศาลแขวงดุสิตรับคดีไว้พิจารณา ไม่ถือว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจรับคดีที่ไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจไว้พิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสาม เพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าคดีนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่ง ส่วนที่ศาลแขวงดุสิตรับคดีนี้ไว้พิจารณาก็เป็นไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ศาลแขวงดุสิตใช้ดุลพินิจรับคดีนี้ไว้พิจารณาเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การต้องมีเหตุสมควร ศาลมีอำนาจพิจารณาอนุญาต/ไม่อนุญาต การอ้างไม่เข้าใจกฎหมายหลังรับสารภาพไม่ถือเป็นเหตุสมควร
ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคสอง บัญญัติว่า "เมื่อมีเหตุอันควร จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การของเขาก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาตก็ให้ส่งสำเนาแก่โจทก์" ซึ่งหมายความว่า หากจำเลยประสงค์จะขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การ จำเลยจะต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรว่า จำเลยมีความจำเป็นต้องแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การเพราะเหตุใด มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจของจำเลยทั้งนี้ ศาลมีอำนาจที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตก็ได้ โดยพิจารณาถึงเหตุผลที่จำเลยอ้างอิงในคำร้องว่าเป็นเหตุผลอันสมควรอนุญาตหรือไม่ คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันนัดสอบคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยเรื่องทนายความ จำเลยแถลงไม่ต้องการทนายความ ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง จำเลยให้การรับสารภาพ ต่อมาวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 ซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นจึงอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังอีกครั้งหนึ่ง จำเลยยังคงยืนยันให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ประกอบคำรับสารภาพของจำเลย โดยจำเลยแถลงไม่ติดใจสืบพยาน คดีเสร็จการพิจารณาศาลชั้นต้นให้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 แต่เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2547 จำเลยขอยื่นคำให้การฉบับใหม่เป็นให้การปฏิเสธในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร โดยอ้างว่าไม่เข้าใจข้อกฎหมาย ทั้ง ๆ ที่ศาลชั้นต้นได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้วถึง 2 ครั้ง จำเลยก็ให้การรับสารภาพ ซึ่งแสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อกล่าวหาในความผิดฐานดังกล่าวตามที่โจทก์ฟ้องแล้ว การที่จำเลยขอถอนคำให้การรับสารภาพและขอให้การใหม่เป็นปฏิเสธฟ้องโจทก์ในความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจาร หลังจากที่ให้การรับสารภาพมาแล้วประมาณ 2 เดือนเศษ โดยอ้างเหตุว่าจำเลยไม่เข้าใจข้อกฎหมายนั้น เห็นได้ว่าเป็นการให้การปฏิเสธเพื่อให้มีการสืบพยานต่อไปอีกส่อไปในทางประวิงคดีให้ล่าช้า จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15018/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณาในคดีมโนสาเร่: ศาลพิจารณาชี้ขาดได้โดยไม่ต้องมีคำขอ
ป.วิ.พ. 193 วรรคสี่ (เดิม) และมาตรา 193 ทวิ วรรคสอง ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขาดนัดยื่นคำให้การสำหรับคดีมโนสาเร่ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ดังนั้น การที่จะถือว่าจำเลยในคดีมโนสาเร่ขาดนัดยื่นคำให้การก็จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น จะนำหลักเกณฑ์การขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 197 และมาตรา 198 ที่ใช้สำหรับคดีแพ่งสามัญมาใช้บังคับแก่คดีมโนสาเร่ไม่ได้ เมื่อคดีนี้เป็นคดีมโนสาเร่และจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์จึงมิต้องยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง แต่อย่างใด
การที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาจึงเป็นการขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาซึ่งบทบัญญัติในคดีมโนสาเร่ได้กำหนดเป็นการเฉพาะให้กรณีที่จำเลยขาดนัดพิจารณาให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้ และเมื่อศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยานและพิพากษาคดีจนเสร็จสิ้น กรณีจึงไม่จำต้องให้โจทก์ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดีโดยขาดนัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8842/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลอุทธรณ์ที่รับอุทธรณ์ถือเป็นที่สุด แม้มีเหตุผลประกอบการวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์เป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ได้ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งนี้ให้เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ทวิ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยเกี่ยวกับเหตุที่โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์และอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาจนถึงวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ได้ ก็เป็นเพียงเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อจะรับอุทธรณ์ของโจทก์เท่านั้น แต่ผลที่สุดศาลอุทธรณ์ก็มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอพิจารณาคำขออุทธรณ์ใหม่ vs. การอุทธรณ์คำสั่งศาล - เลือกใช้สิทธิทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลย หากจำเลยไม่พอใจย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หรือวรรคห้าโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน หรืออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 5 ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ซึ่งแม้มีสิทธิที่จะเลือกดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่เมื่อจำเลยได้เลือกอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา 156 วรรคห้าแล้ว จำเลยจะกลับมาขอให้ศาลพิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์: การกำหนดค่าเสียหายในคำฟ้องเป็นหลักพิจารณา
แม้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันเพิกถอนนิติกรรมสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินรวม 3 ฉบับ ซึ่งเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่โจทก์ระบุคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ว่า หากจำเลยทั้งสิบเพิกเฉยให้จำเลยทั้งสิบร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 2,000,000,000 บาท และค่าเสียหายเป็นรายเดือน เดือนละ 2,000,000 บาท นับถัดจากวันครบกำหนดตามคำบังคับ ดังนั้นในส่วนที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจำนวน 2,000,000,000 บาท เป็นการกำหนดจำนวนค่าเสียหายแล้ว จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนค่าเสียหาย 2,000,000,000 บาท มิใช่ค่าเสียหายอนาคตที่กำหนดให้ชำระเป็นระยะเวลาในอนาคต คดีโจทก์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8542/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาภาพรวมทั้งหมด ไม่แยกพิจารณาเฉพาะส่วน
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้า POWERDEKOR ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีความเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ประกอบกับเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างก็เป็นตัวอักษรหลายตัวประกอบกันเป็นคำ จึงต้องพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมทั้งลักษณะของคำ ตัวอักษร และเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้า
เมื่อเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้า POWERDEKOR ของโจทก์และเครื่องหมายการค้า ปรากฏว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า POWER และ DEKOR คำทั้งสองเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่จำนวน 10 ตัว P, O, W, E, R, D, E, K, O และ R ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า และ คำทั้งสองเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่คือ E, U, R, O, D, E, K, O และ R คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร 5 ตัว ได้แก่ P, O, W, E และ R ส่วนคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วมีอักษร 4 ตัว ได้แก่ E, U, R และ O เห็นได้ว่าคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน คงมีแต่คำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองที่มีอักษร 5 ตัว ซึ่งเหมือนกันทั้งห้าตัว ได้แก่ D, E, K, O และ R และแม้ว่าตัวอักษรทั้งหมดของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่เหมือนกันก็ตาม แต่แบบของตัวอักษร (font) เป็นคนละแบบกัน ทั้งเครื่องหมายการค้า POWERDEKOR ของโจทก์ยังใช้เส้นตัวอักษรสีดำมีลักษณะบางกว่าเครื่องหมายการค้า ซึ่งใช้เส้นตัวอักษรสีดำทึบและเข้มกว่า เห็นได้ว่า ลักษณะแบบและขนาดเส้นของตัวอักษรของเครื่องหมายการค้าทั้งสองไม่เหมือนกัน
ในการพิจารณาความเหมือนหรือคล้ายของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต้องพิจารณาในภาพรวมที่ปรากฏทั้งเครื่องหมาย เมื่อปรากฏว่า คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกและคำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างก็เป็นตัวอักษรขนาดเดียวกันหลายตัวเรียงติดต่อเป็นแถวอยู่ในระนาบเดียวกัน การเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าทั้งสองในภาพรวมจึงไม่อาจแยกภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งออกไปโดยไม่นำมารวมพิจารณาในการเปรียบเทียบได้และการที่โจทก์และเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วต่างได้แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของตนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 (1) นั้น ก็มีผลเพียงทำให้โจทก์และเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ไม่มีสิทธิใช้คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของตนได้โดยลำพังแต่เพียงผู้เดียวหรือไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้เท่านั้น หามีผลทำให้คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต้องถูกแยกออกไปไม่นำมารวมพิจารณาหรือกลายเป็นคำที่มีน้ำหนักในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายกันหรือไม่น้อยกว่าคำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง ดังนี้ การเปรียบเทียบว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่จึงต้องพิจารณาในภาพรวมที่มีคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกและคำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองประกอบกันทั้งหมด เมื่อปรากฏว่า คำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือ คำว่า POWER แตกต่างกับคำซึ่งเป็นภาคส่วนแรกของเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว คือ คำว่า อย่างชัดเจน แม้คำซึ่งเป็นภาคส่วนที่สองของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นคำคำเดียวกัน คือ คำว่า DEKOR แต่คำว่า DEKOR หมายถึง DECORATION ที่ผู้ประกอบการจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจำพวกที่ 19 นิยมมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า การที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแยกวินิจฉัยเพียงว่าเครื่องหมายของโจทก์คำว่า DEKOR เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วคำว่า DEKOR จึงไม่ชอบด้วยหลักการพิจารณาเครื่องหมายการค้าที่จะต้องพิจารณาภาพรวมทั้งหมด เมื่อพิจารณาภาพรวมทั้งหมดซึ่งมีคำอันเป็นภาคส่วนแรกและภาคส่วนที่สองประกอบกันแล้วก็เห็นได้ว่า ลักษณะอักษรของเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีความแตกต่างกัน และในการเรียกขานเครื่องหมายการค้าทั้งสองต้องอ่านออกเสียงทุกคำ โดยไม่อาจเรียกขานโดยอ่านออกเสียงเฉพาะคำว่า DEKOR ซึ่งเป็นคำอันเป็นภาคส่วนที่สองที่โจทก์และเจ้าของเครื่องหมายการค้าอื่นที่จดทะเบียนได้แล้วมิได้แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรียกขานได้ว่า พาวเวอร์เดคคอร์ โดยไม่อาจเรียกขานว่า เดคคอร์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเรียกขานได้ว่า ยูโรเดคคอร์ โดยไม่อาจเรียกขานว่า เดคคอร์ เช่นกัน ดังนี้ เมื่อพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมทั้งลักษณะของคำ ตัวอักษร และเสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว เห็นว่า เครื่องหมายการค้าทั้งสองแตกต่างกัน แม้จะได้ความว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างก็ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 19 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้างอันมีลักษณะอย่างเดียวกันก็ตาม แต่เมื่อองค์ประกอบโดยรวมของเครื่องหมายการค้าของโจทก์แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว โอกาสที่สาธารณชนจะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าจึงเป็นไปได้ยาก เครื่องหมายการค้า POWERDEKOR ของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ต้องห้ามรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแพ่งและอาญาที่เกี่ยวเนื่องกัน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้พิจารณาคดีแพ่งที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
ตามฟ้องคดีนี้เป็นคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องคดีอาญา และศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีเป็นศาลจังหวัด จึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีส่วนอาญาเท่านั้น ฟ้องของโจทก์ยังคงมีคดีส่วนแพ่งที่ต้องพิจารณาสั่งต่อไปว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดเกี่ยวกับคดีแพ่งดังกล่าว ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 11 ไม่ต้องรับผิดในคดีส่วนแพ่งนั้น ก็เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก้าวล่วงไปวินิจฉัยโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 11 ในคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา กรณีเป็นเรื่องปรากฏเหตุที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247 (เดิม) และ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งต่อไป
การอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลมีปัญหาเฉพาะคดีส่วนอาญาว่ามีมูลที่ศาลจะประทับฟ้องไว้หรือไม่เท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาสำหรับคดีส่วนแพ่ง
of 38