คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญากู้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่ทำก่อนประกาศใช้ประมวลแพ่งฯ ฉบับใหม่ แม้ไม่มีพยานรับรอง ก็สมบูรณ์ได้ตามกฎหมายลักษณกู้หนี้
กู้หนี้ท่านไปก่อนใช้ประมวลแพ่งฯ โดยทำเอกสารและพิมพ์ลายมือให้ไว้เป็นสำคัญ ไม่ต้องมีพะยานรับรองลายมือ สัญญากู้ก็สมบูรณ์ ประมวลแพ่งฯ บรรพ 1-2 พ.ศ. 2466 นั้นได้ยกเลิกเสียสิ้นแล้วโดยประกาศ พ.ศ.2468

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบสัญญากู้ทำให้ผู้ให้หมดสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากผู้ปกครองเด็ก
ส่งมอบสัญญากู้ให้แก่ผู้ปกครองเด็กเพื่อรักษาให้เด็กแล้ว ผู้ให้หมดสิทธิที่จะฟ้องผู้ปกครองเด็กโดยส่วนตัวเรียกสัญญาคืน
วิธีพิจารณาแพ่งอำนาจผู้ให้ที่จะฟ้องได้เพียงไรนั้น ถึงคู่ความไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลก็วินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ไม่สมบูรณ์: สัญญากู้ที่ไม่มีพยานเพียงพอ ไม่ถือเป็นหลักฐานรับเงิน
กดพิมพ์ลายนิ้วมือในหนังสือกู้มีพะยานรับรองแต่คนเดียวใช้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงให้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เกินจริงเข้าข่ายความผิดฐานฉ้อ
หลอกให้เขาลงลายมือในหนังสือสัญญากู้ที่มีจำนวนเงินเกินจากความจริงมีผิดฐานฉ้อ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ ม.3 ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้ง 2 ตัดสินยืนกันมาฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 641/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลายมือชื่อพยานในสัญญากู้ต้องไม่เป็นผู้เขียนสัญญาเอง จึงจะถือเป็นพยานได้
พิมพ์ลายมือต้องมีพะยานลงชื่อ 2 คน ลักษณพะยาน ผู้ใดลงชื่อในฐานเป็นผู้เขียน ไม่ถือว่าเป็นพะยานด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้ที่สมบูรณ์ แม้ข้อความในฟ้องและสัญญาไม่ตรงกัน หากจำเลยยอมรับ
เอาจำนวนเงินที่เป็นหนี้กันอยู่ก่อนแล้วมารวมทำเป็นหนังสือกู้ขึ้นภายหลังสัญญานั้นสมบูรณ์ตามกฎหมายลักษณพะยาน วันโจทก์กล่าวในฟ้องกับวันในสัญญากู้ไม่ตรงกัน เมื่อจำเลยให้การรับว่าก็จริง ก็ตัดสินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของบุคคลที่แสดงตนเป็นหุ้นส่วนและการไม่ปลดหนี้จากการยกเลิกสัญญากู้
ผู้ที่แสดงตนให้คนภายนอกเข้าใจว่าเปนหุ้นส่วนต้องรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนต่อคนภายนอกเสมอด้วยหุ้นส่วน เปนผู้ค้ำประกันเงิน ลงแชร์ของเขา ภายหลังนายวงแชร์ทำสัญญากู้ให้แก่ผู้ลงแชร์ใหม่ แล้วตกลงเลิกสัญญากู้นั้นอีก ผู้ค้ำประกันเดิมไม่หลุดพ้นจากความรับผิดเพราะหนี้เดิมไม่ระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2471

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง, สัญญากู้, การแปลงหนี้, หน้าที่นำสืบพยานในคดีแพ่ง
ที่ดิน จำนอง สัญญากู้ แปลงหนี้ วิธีพิจารณาแพ่งลักษณพะยาน น่าที่นำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10095/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงิน การรับสภาพหนี้ทำให้เริ่มนับอายุความใหม่
สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงิน กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ถึงแม้ผู้ร้องมิได้นำสืบว่าการผิดนัดชำระหนี้เกิดขึ้นเมื่อใด การที่ลูกหนี้ที่ 1 ขอลดวงเงิน แสดงว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับเจ้าหนี้ยังมิได้เลิกกัน เจ้าหนี้เดิมย่อมจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องคือนับแต่วันที่ 7 เมษายน 2543 และวันที่ 28 ธันวาคม 2542 ตามลำดับ เมื่อต่อมาวันที่ 23 ธันวาคม 2552 ลูกหนี้ที่ 1 ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยยอมรับสภาพหนี้ว่า เพียง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้ผู้ร้อง 268,157,036.43 บาท ถือว่าลูกหนี้ที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นรับสภาพหนี้ต่อผู้ร้องตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้ ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 1 ย่อมเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 3 ผู้ค้ำประกันด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 และมาตรา 193/14 ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ ต้องเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2552 ผู้ร้องนำสิทธิเรียกร้องมายื่นคำร้องขอคดีนี้วันที่ 8 มิถุนายน 2553 คดีของผู้ร้องไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4563/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี การคิดดอกเบี้ยผิดนัด และการหักชำระหนี้
จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกอายุความเรื่องดอกเบี้ยค้างชำระเกินห้าปีขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) หรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาอายุความขึ้นแล้ววินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ก่อนฟ้องไม่เกินห้าปีจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 183 ถือไม่ได้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ แม้ปัญหานี้โจทก์มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในฎีกาโดยตรง แต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2536 จากนั้นไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าธนาคารยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอีก คงมีแต่ในวันที่ 31 ธันวาคม 2540 ธนาคารได้นำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักชำระหนี้เท่านั้น โดยมีการหักทอนบัญชีกันตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2536 แสดงให้เห็นเจตนาของธนาคารและจำเลยที่ 1 ว่าไม่ประสงค์จะให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป สัญญาจึงเลิกกันโดยปริยายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2536
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมิได้ระบุข้อตกลงไว้ชัดแจ้งว่าหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามสัญญายอมเสียดอกเบี้ยอัตราผิดนัด แม้สัญญาจะระบุให้ธนาคารเพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในสัญญาได้ไม่เกินอัตราสูงสุดตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยก็หมายความถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกได้จากลูกค้าที่มิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญา แม้ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยจะระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อผิดนัดชำระหนี้หรือผิดสัญญาก็เป็นการให้สิทธิแก่ธนาคารพาณิชย์ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าที่คิดตามปกติเท่านั้น ส่วนจะปรับได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากสัญญานั้นว่ามีข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่ ทั้งการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหนี้จึงต้องตีความข้อตกลงในสัญญาอย่างเคร่งครัด เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้ระบุข้อตกลงไว้ชัดแจ้งว่าหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้หรือผิดเงื่อนไขตามสัญญายอมเสียดอกเบี้ยอัตราผิดนัด โจทก์ไม่อาจคิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้สูงสุดในอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับลูกค้าประเภทกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ไม่ผิดนัดเท่านั้น
of 40