คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาค้ำประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย (อากรแสตมป์) ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในคดีได้ แม้จำเลยจะเคยให้การรับ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยที่ 1 กู้ไป และจำเลยที่2 เป็นผู้ค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ให้การว่า. ไม่มีเจตนาทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงิน. แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับทำสัญญาซื้อขายที่ดินและห้องแถวกันจำเลยที่ 2 ค้ำประกันแต่เพียงว่า.จะไม่ให้จำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ซื้อขายคืนเท่านั้น. ดังนี้ จำเลยที่ 2 มิได้ให้การรับ. และเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการกู้เงิน. ซึ่งจำเป็นที่โจทก์ต้องอ้างหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐานในคดีด้วย. เมื่อสัญญาค้ำประกันที่โจทก์อ้างปิดอากรแสตมป์เพียง 1 บาท แต่ตามประมวลรัษฎากรต้องปิด 10 บาท. เอกสารสัญญาค้ำประกันจึงใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้.
โจทก์จะมีเจตนาฝ่าฝืนกฎหมายประมวลรัษฎากรหรือไม่.ไม่สำคัญ. ถ้ามีการบกพร่องในเรื่องปิดอากรแสตมป์ไม่ครบบริบูรณ์แล้ว.ศาลก็รับฟังเอกสารนั้นๆ เป็นพยานไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารไม่ใช่พ่อค้าตาม ปพพ.มาตรา 165(1) อายุความฟ้อง 2 ปีไม่ใช้กับคดีนี้ สัญญาค้ำประกันไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้ได้
คำว่าพ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165(1) ต้องถือตามความรู้สึกของประชาชนธรรมดาทั่วๆ ไป เข้าใจกัน คือหมายถึงบุคคลที่ประกอบการค้าโดยทำการซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเป็นปกติธุระ ไม่หมายความถึงผู้ประกอบการค้า ซึ่งไม่ได้ทำการซื้อและขายสินค้า ธนาคารพาณิชย์ซึ่งประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ ไม่ใช่พ่อค้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปีตามบทมาตราดังกล่าว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญาค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องจำเลยให้การรับว่า ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องจริง แต่ต่อสู้ว่าลงชื่อในฐานะกรรมการกระทำการแทนบริษัทนิติบุคคล ไม่มีเจตนาค้ำประกันเป็นส่วนตัว ตามคำให้การจำเลยถือได้ว่า จำเลยรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันจริง แม้สัญญาค้ำประกันนั้นจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง คดีก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน เพราะมีประเด็นแต่เพียงว่าจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกันเป็นส่วนตัวหรือไม่
การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ซึ่งทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น จะต้องมีการตกลงผ่อนเวลากันแน่นอนและมีผลว่า ในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องมิได้ หากเพียงแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ยังถือไม่ได้ว่า เป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อไรก็ได้
การที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว เจ้าหนี้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมานานโดยมิได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้น เป็นสิทธิของเจ้าหนี้โดยชอบ มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ค้ำประกัน (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาธนาคารพาณิชย์ และความสมบูรณ์ของสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ซึ่งเป็นธนาคาร เป็นบริษัทจำกัดจดทะเบียนตามกฎหมาย.มีวัตถุประสงค์ประกอบการธนาคารพาณิชย์. มีประเพณีธนาคารคำนวณดอกเบี้ยทบต้น กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรค 2 โจทก์จึงย่อมคิดดอกเบี้ยทบต้นในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมโดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีของธนาคารโจทก์ โดยใช้เช็คเบิกเงินและรับเงินไปจากธนาคารโจทก์ ทั้งจำเลยได้เคยนำเงินเข้าบัญชีเป็นบางครั้ง.เอกสารการเงินนี้เป็นชุดและจำนวนมากด้วยกัน จะนำส่งในวันพิจารณา จำเลยค้างดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องอยู่เป็นเงินทั้งสิ้น 7,290.79 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยค้างอยู่ทั้งสิ้น 57,290.79 บาท คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ขายรถยนต์ที่เอามาเป็นประกันเงินที่จำเลยที่ 1กู้ยืมไปจากโจทก์มาฝากไว้กับธนาคารโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ว่าโจทก์เพิกเฉยต่อทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาประกันเงินกู้ของโจทก์ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของตนพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้ ไม่ชอบที่ศาลบังคับผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาธนาคารพาณิชย์: สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์ใช้บังคับได้หากไม่ขัดกฎหมาย
โจทก์ซึ่งเป็นธนาคาร เป็นบริษัทจำกัดจดทะเบียนตามกฎหมายมีวัตถุประสงค์ประกอบการธนาคารพาณิชย์ มีประเพณีธนาคารคำนวณดอกเบี้ยทบต้น กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง โจทก์จึงย่อมคิดดอกเบี้ยทบต้นในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมโดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์ได้เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยที่ 2 ที่ 3จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีของธนาคารโจทก์ โดยใช้เช็คเบิกเงินและรับเงินไปจากธนาคารโจทก์ ทั้งจำเลยได้เคยนำเงินเข้าบัญชีเป็นบางครั้งเอกสารการเงินนี้เป็นชุดและจำนวนมากด้วยกัน จะนำส่งในวันพิจารณาจำเลยค้างดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องอยู่เป็นเงินทั้งสิ้น 7,290.79 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยค้างอยู่ทั้งสิ้น 57,290.79 บาท คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ขายรถยนต์ที่เอามาเป็นประกันเงินที่จำเลยที่ 1กู้ยืมไปจากโจทก์มาฝากไว้กับธนาคารโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2ที่ 3 ที่ว่าโจทก์เพิกเฉยต่อทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาประกันเงินกู้ของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของตนพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้ไม่ชอบที่ศาลบังคับผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์ แม้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีธนาคาร และฟ้องเคลือบคลุมไม่เป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะ
โจทก์ซึ่งเป็นธนาคาร เป็นบริษัทจำกัดจดทะเบียนตามกฎหมาย.มีวัตถุประสงค์ประกอบการธนาคารพาณิชย์. มีประเพณีธนาคารคำนวณดอกเบี้ยทบต้น. กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง. โจทก์จึงย่อมคิดดอกเบี้ยทบต้นในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมโดยวิธีเบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์ได้. เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน. สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้.
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีของธนาคารโจทก์ โดยใช้เช็คเบิกเงินและรับเงินไปจากธนาคารโจทก์. ทั้งจำเลยได้เคยนำเงินเข้าบัญชีเป็นบางครั้ง.เอกสารการเงินนี้เป็นชุดและจำนวนมากด้วยกัน จะนำส่งในวันพิจารณา. จำเลยค้างดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องอยู่เป็นเงินทั้งสิ้น 7,290.79 บาท รวมต้นเงินและดอกเบี้ย จำเลยค้างอยู่ทั้งสิ้น 57,290.79 บาท. คำฟ้องจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว.
จำเลยที่ 2 ที่ 3 อ้างในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ได้นำเงินที่ขายรถยนต์ที่เอามาเป็นประกันเงินที่จำเลยที่ 1กู้ยืมไปจากโจทก์มาฝากไว้กับธนาคารโจทก์เกินกว่าจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์. ดังนี้ ข้ออ้างของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ว่าโจทก์เพิกเฉยต่อทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 นำมาประกันเงินกู้ของโจทก์. เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 โอนทรัพย์สินของตนพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้. ไม่ชอบที่ศาลบังคับผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 นั้น จึงฟังไม่ขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันเช่าซื้อ: ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีหน้าที่แจ้งผู้ค้ำประกันก่อนยึดทรัพย์ และผู้ค้ำประกันไม่หลุดพ้นความรับผิด
ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ไม่ได้กำหนดว่า เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อ หรือเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเลิกสัญญายึดทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนผู้ให้เช่าซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก่อน ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ
ฎีกาซึ่งมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ประการใด เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน - หน้าที่แจ้งการยึดทรัพย์ - ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ ไม่ได้กำหนดว่า เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ใช้เงินค่าเช่าซื้อ หรือเมื่อผู้ให้เช่าซื้อเลิกสัญญายึดทรัพย์ที่เช่าซื้อคืน.ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก่อน.ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบ.
ฎีกาซึ่งมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ประการใด เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องมีลายมือชื่อคู่สัญญาครบถ้วน หากไม่สมบูรณ์เป็นโมฆะ สัญญาค้ำประกันก็เป็นโมฆะตามไปด้วย
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ถ้าหากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าซื้อฝ่ายเดียวย่อมเป็นโมฆะ เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อจะฟ้องผู้เช่าซื้อให้รับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งสัญญาเป็นโมฆะผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด เพราะการค้ำประกันจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องมีลายมือชื่อคู่สัญญาครบถ้วน หากไม่สมบูรณ์เป็นโมฆะ สัญญาค้ำประกันก็เป็นโมฆะตามไปด้วย
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ถ้าหากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าซื้อฝ่ายเดียวย่อมเป็นโมฆะ เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อจะฟ้องผู้เช่าซื้อให้รับผิดตามสัญญาหาได้ไม่
ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งสัญญาเป็นโมฆะ ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด เพราะการค้ำประกันจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อคู่สัญญา การค้ำประกันตามสัญญาโมฆะก็เป็นโมฆะตามไปด้วย
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย. ถ้าหากทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าซื้อฝ่ายเดียวย่อมเป็นโมฆะ. เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อจะฟ้องผู้เช่าซื้อให้รับผิดตามสัญญาหาได้ไม่.
ทำสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อซึ่งสัญญาเป็นโมฆะ.ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด. เพราะการค้ำประกันจะมีได้แต่เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์.
of 50