คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแจ้งความเท็จ: ผู้เสียหายโดยตรงมีสิทธิฟ้อง แม้ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายเฉพาะ
การที่จำเลยยืมเงินโจทก์และสลักหลังเช็คมอบให้โจทก์ไว้เพื่อใช้หนี้ แต่กลับไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าเช็คหายไป นั้น เห็นได้ชัดว่า เป็นการเสียหายต่อโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย และมีอำนาจฟ้องจำเลย เป็นคดีอาญาต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแจ้งความเท็จ: ผู้เสียหายโดยตรงมีสิทธิฟ้องได้ แม้ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
การที่จำเลยยืมเงินโจทก์และสลักหลังเช็คมอบให้โจทก์ไว้เพื่อใช้หนี้ แต่กลับไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าเช็คหายไป นั้น เห็นได้ชัดว่าเป็นการเสียหายต่อโจทก์โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย และมีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขอทางจำเป็นสงวนไว้สำหรับเจ้าของที่ดินเท่านั้น ผู้เช่าหรือผู้อาศัยไม่มีสิทธิฟ้อง
ผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่ตกอยู่ในที่ล้อม ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349
โจทก์ปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของผู้อื่นโดยเป็นเพียงผู้อาศัย (แม้จะอ้างว่าโจทก์ต้องใช้ทางเดินสายที่ผ่านเข้าไปในที่ดินของจำเลยมาราว 50 ปีแล้ว) แต่โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินอันเป็นสามายทรัพย์ จะมาฟ้องขอให้เปิดทางซึ่งเป็นภารจำยอมเองไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1343/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้ตามสัญญาผ่อนชำระหนี้มีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่ได้โอนหนี้ และการจำหน่ายคดีเมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ส. 30,000 บาท ได้ออกเช็คเป็นการชำระหนี้ให้ก็ขึ้นเงินไม่ได้ และเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราจนจำเลยที่ 1 ต้องเปลี่ยนเช็คให้ใหม่เรื่อยมา ในที่สุดได้ทำสัญญาให้แก่โจทก์ว่าจะผ่อนใช้หนี้ 62,000 บาทให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แม้จะฟังว่าหนี้รายนี้สมบูรณ์เพียงต้นเงิน 30,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยเกินอัตราตกเป็นโมฆะไป หนี้ 30,000 บาทนี้ก็ยังผูกพันจำเลย โจทก์ได้ทวงถามสองครั้งในระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แม้จะทวงถามให้ชำระ 62,000 บาท เกินไปกว่าจำนวนที่ลูกหนี้ต้องผูกพัน จำเลยก็ไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ และมีพฤติการณ์ที่ฟังได้ ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด
แม้จำเลยจะไม่ใช่ลูกหนี้โจทก์ แต่เอกสารผ่อนชำระหนี้และค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องแสดงว่าโจทก์เป็นตัวเจ้าหนี้เอง เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันระบุให้โจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้เองแล้ว ก็ไม่ต้องพิสูจน์ว่าโจทก์รับโอนหนี้มาอย่างไร โจทก์ย่อมฟ้องจำเลย (เป็นคดีล้มละลาย) ตามข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวนั้นได้
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว ความจึงปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายตามคดีอีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งคดีนั้นศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนคำสั่งในคดีนี้ ศาลสูงย่อมสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของภริยา: สินส่วนตัว vs สินบริคณห์ และการมอบอำนาจ
ทรัพย์สินของภริยาซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นสินส่วนตัว ย่อมสันนิษฐานว่าเป็นสินบริคณห์ สามีจึงมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย สามีมีสิทธิฟ้องคดีกล่าวหาว่าผู้อื่นทำให้ทรัพย์สินนั้น ๆ เสียหายได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ และมอบอำนาจให้ภริยาโจทก์ฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีของสามีในทรัพย์สินของภริยา: สินบริคณห์และการมอบอำนาจ
ทรัพย์สินของภริยาซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นสินส่วนตัว ย่อมสันนิษฐานว่าเป็นสินบริคณห์สามีจึงมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย สามีมีสิทธิฟ้องคดีกล่าวหาว่าผู้อื่นทำให้ทรัพย์สินนั้นๆ เสียหายได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ และมอบอำนาจให้ภริยาโจทก์ฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องคดีต้องเกิดจากข้อพิพาทที่ชัดเจน การฟ้องก่อนดำเนินการตามกฎหมายเพื่อพิสูจน์สัญชาติจึงไม่ชอบ
โจทก์ถือหนังสือเดินทางที่พนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่ฮ่องกงออกให้ ระบุว่าโจทก์เป็นคนสัญชาติจีน เมื่อโจทก์เดินทางเข้ามาถึงประเทศไทยเพื่อขออยู่ชั่วคราวกองตรวจคนเข้าเมืองก็อนุญาต แต่ก่อนถึงวันครบกำหนด โจทก์ก็ยื่นฟ้องกรมตำรวจกับหัวหน้ากองตรวจคนเข้าเมืองเป็นจำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นคนไทยโดยกำเนิด ขอให้จำเลยระงับคำสั่งให้โจทก์ออกไปจากประเทศไทย ทั้งนี้ โดยโจทก์ให้เหตุผลว่ากลัวจะถูกส่งออกนอกประเทศไทยเมื่อครบกำหนดวันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ ซึ่งแท้จริงแล้วทางจำเลยยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่จะอยู่ในประเทศไทยและโจทก์ไม่มีหลักฐานใดแสดงว่าก่อนยื่นฟ้องคดีนี้โจทก์ได้เคยร้องต่อจำเลยว่าโจทก์เป็นคนไทย ไม่ได้ยื่นขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลหรือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ โจทก์ยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาโดยโจทก์ร่วมสิทธิการฟ้องระงับ
อัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาเมื่อโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ขอถอนฟ้องและขอถอนคำร้องทุกข์ โดยจำเลยไม่คัดค้านแล้วสิทธินำคดีมาฟ้องร้องย่อมระงับไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งมรดกหลังประกาศรับมรดก: โจทก์มีสิทธิฟ้องได้แม้ไม่คัดค้าน
แม้เมื่อจำเลยไปขอประกาศรับมรดก (ที่ดินตามโฉนด) โจทก์ทราบประกาศนั้นแล้ว ไม่คัดค้านก็ตาม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอแบ่งมรดกรายตามประกาศนั้นได้ ประกาศนั้นหาได้ปิดปากโจทก์มิให้ฟ้องคดีไม่ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามว่า ถ้าไม่คัดค้าน การประกาศรับมรดกเช่นนี้แล้ว จะฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องแบ่งมรดก แม้ทราบประกาศรับมรดกแล้ว ไม่ถือเป็นการปิดปากโจทก์
แม้เมื่อจำเลยไปขอประกาศรับมรดก(ที่ดินตามโฉนด) โจทก์ทราบประกาศนั้นแล้วไม่คัดค้านก็ตามโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอแบ่งมรดกรายตามประกาศนั้นได้ประกาศนั้นหาได้ปิดปากโจทก์มิให้ฟ้องคดีไม่เพราะไม่มีกฎหมายห้ามว่าถ้าไม่คัดค้านการประกาศรับมรดกเช่นนี้แล้วจะฟ้องไม่ได้
of 57