คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลอกลวง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 493 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1011/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเครื่องหมายเพื่อหลอกลวง ไม่ถือเป็นการปลอมดวงตราตามกฎหมาย หากไม่ใช่ตราที่ใช้ในราชการ
จำเลยเอาปลอกตะกั่ว ซึ่งประทับตราปลอมเป็นตรามีรูปร่างลักษณะเป็นแบบเดียวกับที่โรงงานกรมอุตสาหกรรมใช้ปิดปากขวดสุราแม่โขงที่แท้จริงมาสวมปากขวดสุราเถื่อนของจำเลยนั้น เป็นเพียงเครื่องหมายเพื่อจะลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่า สุราในขวดเป็นสุราแม่โขงที่แท้จริงเท่านั้น จึงไม่เป็นการปลอมดวงตราตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 211,213 และดวงตราที่ปลอกตะกั่วก็ไม่ใช่ตราที่ใช้ในราชการของกรมโรงงานอุตสาหกรรม หากเป็นตราที่ใช้ในการขายสุราที่เรียกว่าแม่โขง จำเลยปลอมตราที่กล่าวนี้ จึงไม่เป็นการปลอมดวงตราตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 211,213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการนำสืบพยานบุคคลเพื่อต่อสู้ว่าสัญญาไม่สมบูรณ์เนื่องจากถูกหลอกลวง
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การว่าสัญญารายนี้ไม่สมบูรณ์เพราะจำเลยมิได้กู้เงินเอาเงินของโจทก์ไปเลย หากแต่จำเลยถูกหลอกลวงให้พิมพ์ลายมือลงในสัญญา ดังนี้จำเลยย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลเข้าสืบประกอบข้อต่อสู้ของจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการนำสืบพยานเมื่อต่อสู้ว่าสัญญาไม่สมบูรณ์เพราะถูกหลอกลวง
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การว่าสัญญารายนี้ไม่สมบูรณ์เพราะจำเลยมิได้กู้เอาเงินของโจทก์ไปเลย หากแต่จำเลยถูกหลอกลวงให้พิมพ์ลายมือลงในสัญญา ดังนี้ จำเลยย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลเข้าสืบประกอบข้อต่อสู้ของจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตจากการหลอกลวงขายของ ศาลพิจารณาจากคำฟ้องที่ระบุการใช้คำเท็จและรับประโยชน์
ฟ้องของโจทก์แม้จะไม่ใช้ถ้อยคำดัง ก.ม.ลักษณะอาญาบัญญัติไว้ในมาตรา 304,306 แต่เมื่อมีข้อความให้เข้าใจได้ดังนั้นก็เป็นการเพียงพอ
โจทก์ฟ้องบรรยายว่าจำเลยบังอาจใช้อุบายประกอบด้วยคำเท็จมากล่าวหลอกลวงบอกขายสายสร้อยคอทองคำ 3 สายว่าเป็นทองคำแท้ แก่เจ้าทรัพย์เป็นเงิน 1250 บาท เจ้าทรัพย์หลงเชื่อคำเท็จของจำเลยว่าเป็นทองดี จึงมอบเงินจำนวน 1250 บาทแก่จำเลยไป จำเลยได้รับเงินแล้วก็เอาไปเป็นประโยชน์ตนเสียซึ่งความจริงไม่ใช่ทองคำอันแท้จริงดังนี้ก็เป็นฟ้องที่มีองค์เกณฑ์ครบตาม ม. 304,310 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการหลอกลวงขายของ ศาลพิจารณาจากคำฟ้องที่แสดงถึงความรู้ว่าข้อความเท็จ
ฟ้องของโจทก์แม้จะไม่ใช้ถ้อยคำดัง กฎหมายลักษณะอาญาบัญญัติไว้ในมาตรา 304,306 แต่เมื่อมีข้อความให้เข้าใจได้ดังนั้นก็เป็นการเพียงพอ
โจทก์ฟ้องบรรยายว่าจำเลยบังอาจใช้อุบายประกอบด้วยคำเท็จมากล่าวหลอกลวงบอกขายสายสร้อยคอทองคำ 3 สายว่าเป็นทองคำแท้ แก่เจ้าทรัพย์เป็นเงิน 1250 บาท เจ้าทรัพย์หลงเชื่อคำเท็จของจำเลยว่าเป็นทองดี จึงมอบเงินจำนวน 1250 บาทแก่จำเลยไป จำเลยได้รับเงินแล้ว ก็เอาไปเป็นประโยชน์ตนเสีย ซึ่งความจริงไม่ใช่ทองคำอันแท้จริง ดังนี้ก็เป็นฟ้องที่มีองค์เกณฑ์ครบตาม มาตรา 304,310 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารยินยอมเช่าไม่เป็นหนังสือสำคัญตามกฎหมายอาญา การหลอกลวงเพื่อขับไล่ผู้เช่าไม่ผิดฐานฉ้อโกง
เอกสารที่ผู้ให้เช่าหลอกลวงให้ผู้เช่าทำ มีข้อความว่าผู้เช่ายินยอมออกจากห้องเช่าภายในกำหนดนั้น ไม่ใช่เอกสารเกี่ยวกับการตั้งเปลี่ยนแก้ หรือเลิกล้างโอนกรรมสิทธิ์หรือหนี้สินไม่ใช่หนังสือสำคัญตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 6(20)
ความผูกพันระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าในการเช่าบ้านไม่ใช่หนี้สินตามความหมายมาตรา 6(20) กฎหมายลักษณะอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1784/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมตัวเป็นผู้อื่นตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 306(1) แม้ไม่มีตัวตนจริง ก็ถือว่าผิด
คำว่า "ปลอมตัวเป็นคนอื่น" ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 306(1) นั้น มุ่งหมายถึงการแสดงตัวให้เขาหลงเชื่อว่าเป็นคนอื่น ซึ่งไม่ใช่ตัวของตัวเอง
จำเลยใช้ถ้อยคำหลอกลวงให้เขาหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นนายร้อยตำรวจโทประจำกองสอบสวนกลางปทุมวัน (ระบุชื่อ) เมื่อความจริงจำเลยมิใช่เป็นนายร้อยตำรวจประจำกองสอบสวนกลางแล้ว แม้จะไม่ปรากฎว่ามีนายร้อยตำรวจโทชื่อนั้นในกองสอบสวนกลางหรือไม่, ก็ถือว่าเป็นการปลอมตัวตามความหมายในมาตรา 306(1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในความผิดฉ้อโกง ไม่จำเป็นต้องระบุในฟ้องโดยตรง หากพฤติการณ์แสดงเจตนาหลอกลวงได้ชัดเจน
ฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงนั้นจะต้องปรากฏว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตอันเป็นองค์แห่งความผิดอยู่ด้วย แต่หาจำเป็นถึงกับจะต้องระบุถ้อยคำว่า มีเจตนาทุจริตลงในฟ้องโดยตรงเสมอไปไม่ หากฟ้องกล่าวข้อความซึ่งเมื่อพิเคราะห์ทั้งหมดมีความหมายพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริต ก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้ว ซึ่งทั้งนี้จะต้องพิเคราะห์ตามฟ้องเป็นเรื่องๆ ไป
ฟ้องฐานฉ้อโกงที่ไม่มีคำว่าทุจริตในฟ้อง แต่มีความหมายพอให้เข้าใจได้ว่า จำเลยมีเจตนาทุจริต ซึ่งถืว่าเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ฐานฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงใบเสร็จรับเงินโดยเจตนาทุจริตเพื่อหลอกลวงผู้อื่น ถือเป็นความผิดฐานปลอมหนังสือ
จำเลยเป็นเสมียนเทศบาลสังกัดในแผนกสมุหบัญชี มีหน้าที่รับเงินภาษีอากรต่าง ๆ ที่ผู้มีหน้าที่นำมาชำระ ว.ฝากเงินจำเลยมาชำระค่าภาษีโรงเรือน จำเลยเอาเงินใช้เสียแล้วใช้ปลายขั้วแบบพิมพ์ใบเสร็จรับเงินของเทศบาลที่เหลือใช้จากปีก่อนมากรอกข้อความว่า ว.ได้ชำระภาษีโรงเรือนแล้ว จำเลยลงชื่อตนเองในช่องผู้รับเงินและพนักงานเก็บภาษี ซึ่งจำเลยจะเซ็นชื่อช่องพนักงานเก็บภาษีไม่ได้ เพราะไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเก็บภาษี ดังนี้ เป็นการแสดงชัดแจ้งว่าเจตนากระทำเทียมให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จอันแท้จริง จำเลยย่อมมีผิดฐานปลอมหนังสือตามมาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมแปลงเอกสารราชการ (ใบเสร็จรับเงิน) เพื่อหลอกลวงผู้อื่น มีความผิดฐานปลอมแปลงหนังสือ
จำเลยเป็นเสมียนเทศบาลสังกัดในแผนกสมุหบัญชี มีหน้าที่รับเงินภาษีอากรต่างๆ ที่ผู้มีหน้าที่นำมาชำระ ว. ฝากเงินจำเลยมาชำระค่าภาษีโรงเรือน จำเลยเอาเงินใช้เสียแล้วใช้ปลายขั้วแบบพิมพ์ใบเสร็จรับเงินของเทศบาลที่เหลือใช้จากปีก่อนมากรอกข้อความว่า ว. ได้ชำระภาษีโรงเรือนแล้วจำเลยลงชื่อตนเองในช่องผู้รับเงินและพนักงานเก็บภาษี ซึ่งจำเลยจะเซ็นชื่อช่องพนักงานเก็บภาษีไม่ได้ เพราะไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเก็บภาษีดังนี้ เป็นการแสดงชัดแจ้งว่าเจตนากระทำเทียมให้หลงเชื่อว่าเป็นใบเสร็จอันแท้จริงจำเลยย่อมมีผิดฐานปลอมหนังสือตามมาตรา 225
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/92)
of 50